Monday, February 10, 2014

วิตามินบำบัดจากพืชผักสมุนไพร และสตรีวัยทอง

วิตามินบำบัดจากพืชผักสมุนไพร และสตรีวัยทอง



จัดทำโดย อ.หมอสุชาติ ภูวรัตน์
นธ.เอกบาลีประโยค 1-2
(อดีตพระธรรมทูตต่างประเทศ)
B.S. Engineering Design Tech.
 B.A. ศาสนศาสตร์บัณฑิต
B.S. Computer Information Systems
B.TM.  พทย์แผนไทยบัณฑิต
สาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ
บ.ภ.พท.ว.พท.ผ.พท.น.
ครูแพทย์แผนไทย 4 ด้าน
ศูนย์การแพทย์แผนไทยภูเก็ต
ทำเพื่อการศึกษาและประโยชน์แก่ผู้ชม

วิตามินบำบัดจากพืชผักสมุนไพร


วิตามิน หมายถึง สารอาหารที่จำเป็นและร่างกายได้รับจากอาหารที่กินเข้าไป ไม่ได้สังเคราะห์ขึ้นมาเอง (ยกเว้นวิตามินดี) ถ้าปราศจากวิตามินแล้วเราก็ไม่อาจมีสุขภาพที่ดีได้และที่สำคัญคือดำรงชีวิตอยู่ไม่ได้


วิตามินทุกชนิด (ยกเว้นวิตามินบี 12 ) ถูกสร้างขึ้นโดยพืชและเชื่อจุลินทรีย์ เราจึงจำเป็นต้องกินผักผลไม้ รวมทั้ง ข้าว ถั่ว ผลไม้ประเภทเปลือกเเข็ง เมล็ดในของผลไม้ เพื่อให้ได้วิตามินมากขึ้น หรือในทางตรงกันข้าม เราอาจกินเนื้อสัตว์ หรือปลา ซึ่งได้สะสมวิตามินจากพืชผักที่มีมันกินเป็นอาหาร เนื้อปลาเป็นแหล่งที่ดีของวิตามินที่ละลายในไขมัน - ส่วนผักและผลไม้เป็นแหล่งที่อุดมด้วยวิตามินบีและซี
- วิตามินที่ละลายในไขมัน ได้แก่ วิตามิน เอ ดี อี เค
- วิตามินที่ละลายในน้ำ ได้แก่ วิตามิน ซี บีทุกตัว


วิตามินที่ควรรู้จัก

วิตามินเอ : ( เอ เบต้าแคโรทีน และ เอ เรตินอล)

พบมากในผักใบเขียวจัดๆ เช่น ตำลึง คะน้า บรอคโคลี ในผักสีเหลืองและส้ม เช่น แครอท มะละกอ บำรุงสายตา เสริมภูมิต้านทานโรค ทำให้ผิวตกระที่เกิดจากความชราภาพลดน้อยลง กระดูกแข็งแรง ผิวพรรณเปล่งปลั่ง ผม ฟันและเหงือกแข็งแรง รักษาสิว ริ้วรอยเหี่ยวย่นบนใบหน้า เป็นต้น
วิตามินอี : (โทโคเฟอรอล)
วิตามินอีมีมากในจมูกข้าว รำอ่อน วีทเจิร์ม ถั่วทุกชนิด เมล็ดธัญพืช และไข่ ทำให้ดูอ่อนเยาว์เนื่องจากเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ร่วมกับวิตามินเอ ช่วยให้ร่างกายต้านทานมลพิษในอากาศได้มากขึ้น ป้องกันและละลายก้อนเลือด ป้องกันการอ่อนเพลีย ป้องกันการแท้งลูก ป้องกันโรคหัวใจขาดเลือด เป็นต้น
วิตามินซี : (แอสโคบิคร่วมกับ C Complex)
มีมากในผักใบสดและผลไม้สดทุกชนิด ช่วยในการสมานแผล รักษาโรคเลือดออกตามไรฟัน เสริมภูมิต้านทาน ทั้งไวรัสอย่างหวัด และแบคทีเรีย รักษาโรคภูมิแพ้ต่างๆ ป้องกันมะเร็ง เป็นยาระบายอ่อนๆ ป้องกันเลือดเเข็งตัวเป็นก้อน อาการเครียด เป็นต้น
วิตามินบี 1 : ( ไทอามีน)
มีมากในข้าวกล้อง รำข้าว นม ขนมปังโฮล์ทวีท ช่วยย่อยคาร์โบไฮเดรท เสริมสร้างความแข็งแกร่งของจิตใจ ทำให้ระบบประสาท กล้ามเนื้อ และหัวใจทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ
วิตามินบี 2 : (ไรโบฟลาวีน)
มีมากในใบผัก ปลา ไข่ นม ตับ ข้าวกล้อง ช่วยทำให้ผิวพรรณ เล็บ ผมแข็งแรง ช่วยสมานแผลในปากและริมฝีปาก ป้องกันอาการของตาเมื่อยล้า จำเป็นต่อผู้สูงอายุมาก

วิตามินบี 6 : (ไพรีดอกซีน)
มีมากในข้าวกล้อง รำข้าว วีทเจร์ม ถั่วเหลือง แคนตาลูป กระหล่ำ ไข่ จะช่วยป้องกันการการคลื่นไส้ ช่วยสร้างกรดอะมิโนที่ป้องกันอาการแก่ และสร้างไนอาซิน

วิตามินบี 12 : (โคบาลามิน)
มีมากในน้ำปลา ปลาร้า กะปิ ตับ ไข่ นม เนื้อสัตว์ทุกชนิด ช่วยสร้างเม็ดเลือด ช่วยการทำงานของระบบประสาท ความทรงจำ สมาธิ

เซเลเนียม
พบมากในข้าวกล้อง จมูกข้าว วีทเจิร์ม มะเขือเทศ หอมหัวใหญ่ ตับ มีสารต้านอนุมูลอิสระ ลดอาการของวัยหมดประจำเดือน ทำให้ผิวเต่งตึง

สังกะสี
มีมากในตับ วีทเจิร์ม เมล็ดฟักทอง และไข่ ช่วยในการสมานแผลทั้งภายในและภายนอก ช่วยเจริญอาหาร รักษาโรคมีบุตรยาก ป้องกันโรคของต่อมลูกหมาก ช่วยรักษาอาการทางจิตใจ

โพแทสเซียม
มีมากในผลไม้จำพวกส้ม แคนตาลูป มะเขือเทศ ผักใบเขียวทุกชนิด เมล็ดทานตะวัน สะระแหน่ กล้วยหอม ช่วยในการทำงานของสมอง ทำให้สมองได้รับออกซิเจนได้มากขึ้น ช่วยรักษาอาการของโรคภูมิแพ้
ประสบการณ์ในการรักษา ทางศูนย์ธรรมชาติบำบัด บัลวี ใช้ในการรักษาโรคนอนไม่หลับ ภูมิแพ้ การปวดข้อเนื่องจากเข่าเสื่อม นอกจากนี้ วิตามินแอนติออกซิแดนท์ระดับสูง จะช่วยในการรักษาโรคมะเร็ง ซึ่งมีชนิดกินและชนิดให้น้ำเกลือประกอบด้วยกัน
อ้างอิง: สมุนไพรดอทคอม
วิตามิน สารอาหาร และแร่ธาตุ
ที่คุณจะได้รับจากน้ำผัก/ผลไม้สดแต่ละชนิด

ชนิดของสารอาหาร, ชนิด ผัก, ผลไม้วิตามิน A
ผลไม้ กลุ่มส้ม แครอท มะเขือเทศ กะหล่ำ เซอเลอรี มะละกอ ผักขม ผัก-ผลไม้ทีมีสีส้ม/เหลือง พริกไทยสด แตงต่างๆ มะปราง มะม่วง ฟักทอง บีทรูท ยอดแค ใบยอ โหระพา ใบชะพู

วิตามิน B1 แอสพารากัส แครอท หัวบีท เซอเลอรี สับประรด
               พริกไทยสด ขนุน ผักบุ้ง ผักกาดหอม

วิตามิน B2 แอสพารากัส แครอท หัวบีท เซอเลอรี ผักกาด
              บร็อคโคลี ผักบุ้งผักขม ผักชีฝรั่ง พริกไทยสด ขนุน

วิตามิน B3 แอสพารากัส ผักชีฝรั่ง มันฝรั่ง

วิตามิน B5 กะหล่ำปลี ดอกกะหล่ำ ส้ม เกรปฟรุต สตรอเบอรี่

วิตามิน B6 มะนาว แครอท มันฝรั่ง ลูกแพร์ ผักขม

โฟลิค เอซิด แอสพารากัส แครอท หัวบีท เซอเลอรี ผักขม
                  ถั่วงอก ส้ม( Folic acid) ผักชีฝรั่ง ผักใบเขียว

วิตามิน C ผลไม้กลุ่มส้ม ผักผลไม้ เกือบทุกชนิด

วิตามิน K กะหล่ำปลี ผักขม หัวแครอท

วิตามิน E กะหล่ำปลี ถั่วงอก ผักใบเขียว ต้นลีค เมล็ดแอปเปิ้ล
             จมูกข้าว lettuce

ไบโอติน ผักขม ดอกกะหล่ำ ผักขม เกรปฟรุต

ไบโอฟลโวนอยด์ ผลไม้กลุ่มส้ม

คลอรอฟิล ผักใบเขียวแก่ ผักใบเขียว พริกไทยสด

แคลเซียม ผักใบเขียว/เขียวแก่ กะหล่ำปลี หัวบีท หัวผักกาด
               แครอท

โปตัสเซียม ส้มจีน มะนาว องุ่น ผักชีฝรั่ง ผักขม มันฝรั่ง
                 เซอเลอรี กล้วย ผักใบเขียว

โซเดียม หัวบีท แครอท เซอเลอรี มะเขือเทศ เชอรี ลูกท้อ

แมกนีเซียม ผักใบเขียว/เขียวแก่ มะนาว หัวบีท

ฟอสฟอรัส ส้มจีน องุ่น แครอท ผักขม กะหล่ำปี ยอดถั่ว แห้ว

ซัลเฟอร์ องุ่นแดง - ดำ ผักขม แห้ว

เหล็ก แอปริคอต เชอรี แอสพารากัส พรุน องุ่นแดง องุ่นดำ
         ผักขม  ผักชีฝรั่ง หัวบีทรูต

ทองแดง ผักใบเขียว องุ่นแดง องุ่นดำ มันฝรั่ง แอสพารากัส

มังกานีส ผักใบเขียว ส้ม สับประรด แอปเปิ้ล แอปริคอต ผักขม
             สตรอเบอรี่

สังกะสี แครอท แอปเปิ้ล ลูกแพร์ แอสพารากัส ผักใบเขียว

โคบอลท์ แอปเปิ้ล มะเขือเทศ กะหล่ำปลี แครอท หัวบีท มันฝรั่ง
             ผักใบเขียว

ฟลูออรีน องุ่นดำ เชอรี แครอท ผักขม

ไอโอดีน ส้ม ผักขม

ซิลิคอน องุ่น สตรอเบอรี แครอท

เซเลเนียม บร็อคโคลี หอม มะเขือเทศ ต้นหอม ต้นกระเทียม
              หอมใหญ่

กลุ่มกรดอะมิโนที่สำคัญที่มีในผัก-ผลไม้ชนิดต่างมีดังนี้

Arginine แครอท หญ้าอัลฟาฟา หัวบีท แตงกวา เซอเลอรี
              มันฝรั่ง

Histidine แอปเปิ้ล สับประรด ทับทิม มะละกอ แครอท
               หัวบีทรูตเซอเลอรี แตงกวา ลีค กระเทียม หอม
               หัวผักกาด ผักขม หญ้าอัลฟาฟา

Leucine & Isoleucine มะละกอ อโวคาโด มะกอก
Lysine มะละกอ แอปเปิ้ล แอปริคอต แพร์ องุ่น แครอท
           หัวบีทรูต แตงกวา เซอเลอรี

Methionine สับประรด แอปเปิ้ล แตงโม กะหล่ำปลี
                   ดอกกะหล่ำ  กระเทียม

Phenylalanine สับประรด แอปเปิ้ล แครอท หัวบีท
                        ผักขม ผักชี ฝรั่ง มะเขือเทศ

Threonine มะละกอ แครอท หญ้าอัลฟาฟา ผักใบเขียว

Trytophan แครอท เซอเลอรี หัวบีท กะหล่ำปลี ผักขม
                  หญ้าอัลฟาฟา

Valine แอปเปิ้ล แครอท ทับทิม หัวผักกาด เซอเลอรี หัวบีท
           ผักชีฝรั่ง มะเขือเทศ กระเจี๊ยบ แตง

หมายเหตุ  การรับประทานน้ำ ผัก/ผลไม้สด ควรจะมีการเปลี่ยนชนิดไปเรื่อยๆเพื่อจะได้สามารถรับ สารอาหาร และแร่ธาตุที่มีประโยชน์ได้ครบถ้วน
อ้างอิง: Good Health (Thailand)

วัยชรากับเสริมวิตามินเอ และแคลเซียมด้วยสมุนไพร
ตามหลักทฤษฎีการแพทย์แผนไทย แบ่งวัยของมนุษย์เป็น 3 ช่วงวัย ได้แก่
แรกเกิดถึง 15 ปีเป็นวัยเด็ก
อายุตั้งแต่ 16-32 ปีเป็นวัยรุ่น
อายุตั้งแต่ 32 ปีขึ้นไปเป็นวัยชรา
ถือว่าเซลล์ต่างๆ เริ่มคงที่และเริ่มมีความเสื่อมของสังขาร สำหรับคนวัยทำงานถือว่า
อายุ 60 ปีเกษียณและเป็นวัยชรา ที่เริ่มเหงาเพราะไม่ต้องทำงาน มีปัญหาสุขภาพจิตและสุขภาพกายเริ่มรุ่มเร้า

ประเทศในแถบเอเชียรวมถึงประเทศไทยกำลังจะเผชิญกับปัญหาโครงสร้างประชากรทางสังคมที่มีผู้สูงวัยมากขึ้น ขณะที่เด็กแรกเกิดลดจำนวนลง ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อโครงสร้างทางเศรษฐกิจและสังคมเช่นเดียวกับประเทศทางยุโรปและอเมริกา
โดยส่วนหนึ่งมาจากปัญหาการคุมกำเนิดและวิทยาการทางการแพทย์ที่เจริญขึ้น ช่วยรักษามนุษย์ให้มีอายุยืนยาวและอยู่ในวัยชราได้นาน

ปัญหาของผู้สูงวัยคือปัญหาสุขภาพที่หลากหลายเพราะความเสื่อมของร่างกาย เช่น เบาหวาน สายตาฝ้าฟาง เป็นต้อหินต้อกระจก ความดันโลหิตสูง ข้อเสื่อม กระดูกพรุน สมองเสื่อม โรคย้ำคิดย้ำทำ ท้องผูก นอนไม่หลับ เบื่ออาหาร ปัญหาสุขภาพจิต และอื่นๆ อีกมากมาย
การดูแลสุขภาพผู้สูงวัยในประเทศไทยยังไม่มีสวัสดิการจากรัฐที่จะเข้ามาดูแล ผู้สูงวัยในประเทศไทย จึงดำเนินชีวิตอย่างตามมีตามเกิด บางคนโชคดีที่ลูกหลานคอยดูแล แต่มีอีกไม่น้อยที่ลูกหลานต่างจงใจทอดทิ้งสุขภาพของผู้สูงวัย
จำเป็นต้องได้รับการใส่ใจดูแล สำหรับประเทศไทยมีสมุนไพรเป็นจำนวนมาก
เป็นทั้งอาหารและยาที่สามารถนำมาใช้ในการดูแลและแก้ไขปัญหาสุขภาพของผู้สูงวัยได้ จะนำเสนอสมุนไพรที่มีสรรพคุณบำรุงสายตา และบำรุงกระดูก เหมาะกับผู้ที่มีปัญหาสายตาฝ้าฟางและเป็นโรคกระดูกพรุน

ผู้สูงวัยมักมีปัญหาเกี่ยวกับโรคทางสายตา เช่น ตาฝ้าฟาง เคืองตา และมักขาดวิตามิน โดยเฉพาะวิตามินเอที่ช่วยในการมองเห็น วิตามินเอเป็นสารที่ร่างกายขาดไม่ได้ จะทำให้อวัยวะต่างๆ ในร่างกายผิดปกติและเกิดโรคได้
ประโยชน์ของวิตามินเอ ช่วยในการมองเห็นและปรับสายตาเมื่อเปลี่ยนจากที่สว่างมาเป็นที่มืด หรือจากที่มืดมาเป็นที่สว่าง จึงควรให้ผู้สูงวัยทานอาหารที่มีวิตามินเอสูง ได้แก่ พืชผักสมุนไพรที่มีสีเขียวเข้ม สีเหลือง สีส้ม เช่น

วิตามินเอ จากพืชผักสมุนไพร จะอยู่ในรูปของโปรวิตามินเอ หรือเบต้าแคโรทีน
เมื่อจับกับน้ำมันก็จะเปลี่ยนเป็นวิตามินเอที่ร่างกายสามารถนำไปใช้ได้ กลุ่มพืชผักที่มีการวิจัยว่ามีวิตามินเอสูง ได้แก่

กะเพรา มีสารเบต้าแคโรทีนซึ่งจะเปลี่ยนเป็นวิตามินเอ และสรรพคุณช่วยเป็นยาขับลม แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ จุกเสียดแน่นท้อง แก้คลื่นไส้อาเจียนจากอายุไม่ปกติ บรรเทาอาการหอบหืด
ขี้เหล็ก ช่วยให้นอนหลับ ระงับประสาท มีวิตามินเอสูงช่วยบำรุงสายตาเป็นอย่างดี
แครอต ผักที่มีเบต้าแคโรทีนสูงมาก โดยเฉพาะถ้าทำเป็นเครื่องดื่ม ร่างกายสามารถดูดซึมได้ดีกว่า และยังช่วยให้ผิวพรรณสวย ช่วยขับปัสสาวะเนื่องจากมีปริมาณเกลือโปตัสเซียมสูง

ผักเชียงดา จากการศึกษาพบว่า ผักเชียงดาในรูปแบบของผักสดที่ไม่ผ่านขบวนการแปรรูป มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระได้ดี และป้องกันการแตกตัวของเม็ดเลือดแดง และการเสียหายของดีเอ็นเอสูงสุด
ตำลึง บำรุงสายตา เป็นยาเย็นใช้ใบตำคั้นเอาน้ำผสมกับสมุนไพรตัวอื่นๆ แก้คัน ขับพิษร้อน พิษแสบ ปวด และคันตามตัวได้ดี ช่วยเจริญอาหาร บำรุงน้ำดี ทำให้ระบบขับถ่ายสะดวก รักษาโรคลำไส้และกระเพาะอาหาร

ผักแพรว แก้ลม แก้กระเพาะอาหารพิการ อุจจาระหยาบ แก้ท้องมาน แก้ริดสีดวง แก้หืด ไอ แก้เส้นประสาทพิการ แก้ปวดเมื่อยตามข้อกระดูก
แค รักษาโรคหวัดคัดจมูก บำรุงสายตา ป้องกันโรคเลือดออกตามไรฟัน
ดอกแค ใช้แก้ไข้ได้ แต่ต้องไม่เอาไส้ออก
ผักบุ้ง ช่วยให้เจริญอาหาร เป็นยาถอนพิษ บำรุงธาตุ คนที่ชอบเป็นตาต้อ ตาแดง หรือคันนัยน์ตาบ่อยๆ ตลอดจนมีอาการตาฝ้าฟาง จำพวกคนสายตาสั้น จะทำให้สายตาแจ่มใส บำรุงสายตา
ฟักทอง ป้องกันมะเร็งในปอด ป้องกันเบาหวาน ป้องกันโรคทางเดินหายใจ บำรุงสายตา คุมน้ำตาลในเลือด
สำหรับโรคกระดูกพรุน ยังเป็นปัญหาสำคัญที่พบมาก เนื่องจากเซลล์ของกระดูกมีการสลายมากกว่าการสร้าง พบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย เพราะระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนลดต่ำลงมาก ทำให้มีการละลายของหินปูนหรือแคลเซียมออกจากกระดูกทีละน้อย การสูญเสียแคลเซียมของกระดูกทำให้ความแข็งแรงของกระดูกลดลง กระดูกหักง่าย การได้รับแคลเซียมเพียงพอจะช่วยเพิ่มความหนาแน่นของกระดูก และแคลเซียมยังช่วยควบคุมการทำงานของหัวใจ ระบบประสาทและกล้ามเนื้อ เป็นธาตุที่จำเป็นในการแข็งตัวของเลือดทำให้เลือดหยุดไหลเวลาเกิดบาดแผล
พืชผักสมุนไพรที่มีแคลเซียมสูง ได้แก่
ยอ แก้ปวดบวมอักเสบ โรคเกาต์ แก้อาการคลื่นไส้อาเจียน แก้ปวดข้อ นิ้วมือ นิ้วเท้า ใช้ใบตำคั้นน้ำทาบริเวณที่ปวด ขับโลหิตระดู ขับผายลม ขับเลือดลม
มะเขือพวง ช่วยแก้ไอ ช่วยย่อยอาหาร ขับปัสสาวะ แก้เบาหวาน สารสกัดจากทั้งต้นมีผลต่อการหายใจและความดันโลหิต

ผักกระเฉด เป็นผักที่มีวิตามินเอและแคลเซียมสูงมาก
กระถิน ช่วยขับลมในกระเพาะ บำรุงโลหิต เสริมสร้างกระดูกและฟันให้แข็งแรง
ดอกกระถิน ช่วยรักษาตาเป็นเกร็ดกระดี่ ผักกูด แก้ไข้ตัวร้อน แก้พิษอักเสบ บำรุงสายตา บำรุงโลหิต แก้โลหิตจาง ป้องกันเลือดออกตามไรฟัน ขับปัสสาวะ
มันเทศ แก้โรคกระดูกพรุน กระดูกเปราะ ช่วยสร้างภูมิคุ้มกัน บำรุงสายตา
การดูแลสุขภาพของผู้สูงวัยเป็นสิ่งสำคัญ โดยเฉพาะความต้องการทางสังคมจากลูกหลาน ซึ่งต้องดูแลเอาใจใส่อย่างใกล้ชิดจะก่อให้เกิดสุขภาพจิตที่ดี และมักนำไปสู่ร่างกายที่แข็งแรงได้ง่าย ควรพาท่านไปออกกำลังกายเบาๆ เดินเล่น หรือท่ากายบริหารฤๅษีดัดตน ซึ่งเป็นการออกกำลังกายแบบเบาๆ ไม่ให้หักโหมและเหมาะกับผู้สูงวัยมาก ก็เป็นการนำความสุขมาสู่สมาชิกผู้สูงวัยในครอบครัวได้เป็นอย่างดียิ่ง.
อ้างอิง:  ไทยโพสต์
สตรีวัยทอง
ในช่วงชีวิตของผู้หญิง มีการปรับเปลี่ยนการดำรงชีวิตอยู่หลายระยะ ตั้งแต่ วัยเด็ก วัยสาว วัยแม่จนถึง วัยทอง ซึ่งหากเราทำความเข้าใจกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในแต่ละช่วงของชีวิต มีการปฏิบัติตน และทานอาหาร (เสริม) ที่เหมาะสม เราก็สามารถที่จะมีความสุขได้กับทุกช่วงของชีวิตทีเดียว

ฮอร์โมน
ฮอร์โมนเป็นสารเคมีที่ผลิตขึ้นโดยต่อมต่าง ๆ ภายในร่างกาย เพื่อให้การทำหน้าที่ต่าง ๆ ภายในร่างกายเป็นไปอย่างสมดุล สำหรับฮอร์โมนที่เกี่ยวข้องกับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของสตรีวัยทอง ได้แก่   estrogen และ progesterone
Estrogen เป็นฮอร์โมนที่สร้างจากรังไข่ซึ่งมีอิทธิผลต่อระบบต่างๆ ของสตรีอย่างมาก เช่น
1. ควบคุมการเจริญและการทำงานของระบบสืบพันธุ์ การเพิ่มของไขมันร่างกายเมื่อเข้าสู่วัยสาว
2. ทำให้เกิดการสะสมของของเหลวและเกลือในเนื้อเยื่อ
3. ช่วย calcium ในการเข้าไปเสริมสร้างกระดูก
4. ลดระดับ low density lipoprotein (LDL) cholesterol
5. การรักษาระดับน้ำตาลในเลือด

Progesterone เป็นฮอร์โมนที่สร้างจาก corpus luteum จะทำหน้าที่เกี่ยวกับการหลุดลอกตัวของเยื่อบุโพรงมดลูกทำให้เกิดเป็นประจำเดือนออกมา นอกจากนี้ยังทำหน้าที่เกี่ยวกับระบบประสาทในการทำให้เกิด sedative ดังนั้นการที่มีระดับ progesterone สูง อาจทำให้เกิดอาการซึมเศร้าและเหนื่อยล้าได้ นอกจากฮอร์โมน 2 ตัวที่ได้กล่าวไปแล้ว ยังมีฮอร์โมนที่ทำหน้าที่ในการประสานและควบคุมหน้าที่ซึ่งกันและกันระหว่าง ฮัยโปธาลามัส ต่อมปิตูอิตารีกลีบหน้า และรังไข่ ให้เป็นไปอย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ ได้แก่ follicle-stimulating hormone (FSH) และ luteinizing hormone (LH) ซึ่งจะไม่ลงรายละเอียดของฮอร์โมนทั้ง 2 ตัวนี้ เพียงแต่ต้องการให้ทราบว่าในสตรีวัยทองนี้ FSH และ LH  จะมีระดับสูงขึ้น ซึ่งเชื่อว่าเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดอาการแปรปรวนต่าง ๆ ของสตรีวัยทอง

ช่วงอายุวัยทอง
จากการสำรวจในประเทศสหรัฐอเมริกา พบว่าสหัสวรรษใหม่ที่จะมาถึงในปีหน้านี้จะมีสตรีวัยทองในประเทศสหรัฐอเมริกาถึง 36 ล้านคน คือประมาณ 30% ของเพศหญิง ซึ่งในประเทศไทยเองก็คาดว่าน่าจะเป็นตัวเลขที่มากกว่า 10 ล้านคน

วัยทอง หรือ Climacteric period หรือ Menopausal period นี้ จะเกิดกับสตรีที่มีอายุ40-45 ปี ขึ้นไป ซึ่งเป็นวัยที่กำลังมีความก้าวหน้าในการงาน และเป็นกำลังที่สำคัญในการพัฒนาประเทศ จึงเป็นที่น่าเสียดาย หากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนภายในร่างกาย จะก่อให้เกิดปัญหาทั้งด้านสุขภาพกายและสุขภาพใจกับสตรีในชีวิตช่วงนี้
Menopausal period อาจเกิดได้ทั้งจากธรรมชาติและจากการผ่าตัดมดลูกหรือรังไข่ โดยในช่วงระยะนี้ สตรีวัยทองจะเกิดปัญหาด้านสุขภาพเนื่องมาจากการลดระดับและการไม่สมดุลของระดับฮอร์โมน  estrogen และ progesterone ในรายที่ระดับ estrogen เริ่มลดลง จะทำให้รอบประจำเดือนห่างกันมากขึ้น และประจำเดือนมาน้อยลง จนกระทั่งหมดไปอย่างถาวร ส่วนรายที่ยังคงมี estrogen อยู่ แต่ไม่มีการผลิต progesterone จะทำให้มีประจำเดือนมามากและบ่อยกว่าปกติ

นอกจากนี้ ในระยะวัยทองร่างกายสตรียังสามารถที่จะเปลี่ยนฮอร์โมน androstenedione ในเซลล์ไขมันให้เป็น estrogen ได้ ซึ่งเป็นเหตุผลอย่างหนึ่งที่ทำให้ สตรีที่ค่อนข้างท้วมจะมีอาการแปรปรวนของสตรีวัยทองน้อยกว่าสตรีที่มีรูปร่างผอม
อาจแบ่ง Menopausal period ออกได้เป็น 3 ระยะคือ
1. Premenopause คือสภาวะก่อนหมดประจำเดือน ซึ่งยังคงมีประจำเดือนอย่างสม่ำเสมอ บางครั้งอาจพบว่ามีประจำเดือนขาดหายไปบ้าง แต่ไม่เกิน 3 เดือน และโดยทั่วไปถือว่าสภาวะนี้จะเริ่มต้นเมื่ออายุประมาณ 40 ปี
2. Perimenopause คือสภาวะก่อนหมดประจำเดือน อาจมีประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอ หรือไม่มีประจำเดือนมาเป็นระยะเวลา 3-11 เดือน มักจะเกิดกับสตรีอายุเฉลี่ย 47.5 ปี
3. Postmenopause คือสภาวะหมดประจำเดือนอย่างถาวร (มากกว่า 12 เดือนขึ้นไป)

การเสื่อมสภาพของการทำงานของรังไข่ (การลดระดับของ estrogen) จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงต่ออวัยวะหรือระบบต่างๆ ในร่างกายของสตรีวัยทอง ทำให้เกิดอาการต่าง ๆ โรคบางอย่างตามมา เช่น
1)     อาการร้อนวูบวาบ ตามร่างกาย เหงื่อออกในเวลากลางคืน ปวดศีรษะ นอนไม่หลับ ซึ่งมักเรียกกลุ่มอาการเหล่านี้ว่าเป็น Hot Flushes หรือ Hot Flashes
2)     มีอาการซึมเศร้า หงุดหงิด กังวลใจ อารมณ์หวั่นไหวง่าย ความจำเสื่อม ไม่มีสมาธิ อ่อนเพลีย
ความต้องการทางเพศลดลง
3)     ช่องคลอดแห้ง รู้สึกแสบร้อนบริเวณปากช่องคลอด มีการหย่อนยานของมดลูกและช่องคลอด
มีการหย่อนยานของกระเพาะปัสสาวะ ทำให้กลั้นปัสสาวะไม่อยู่ ขณะไอหรือจาม และมีความอยากถ่ายปัสสาวะอยู่เสมอ
4)     ผิวหนังแห้ง เหี่ยวย่น ผมแห้ง ผมร่วง
5)     ปวดตามกล้ามเนื้อ ปวดหลัง ปวดตามข้อ
6)     เต้านม มีขนาดเล็กลง หย่อน
7)     มีการกระจายตัวของไขมันมาสะสมที่บริเวณหน้าท้อง และภายในช่องท้อง
8)     มีแนวโน้มที่จะเกิดฟันผุและสูญเสียฟันได้ง่าย รวมทั้งมีการอักเสบของเหงือกหรือจะเกิดอาการเลือดออกจากเหงือกได้ง่ายหลังจากได้รับการกระทบกระเทือนเพียงเล็กน้อย
9)     อาจมีอาการ ตาแห้ง
10) ระบบการฟังเสื่อมลง
11) มีอัตราเสี่ยงต่อโรคมะเร็งลำไส้ และโรคตับ
12) โรคระบบหลอดเลือดและหัวใจ
13) โรคสมองฝ่อ (Alzheimer's disease), ความจำเสื่อม
14) โรคกระดูกพรุน (Osteoporosis) ทำให้กระดูกหักได้ง่าย
จากทั้ง 14 อาการข้างต้นนี้ ผู้อ่านที่เป็นสตรีวัยทองหรือกำลังจะก้าวสู่ช่วงวัยทอง อย่าเพิ่งมีอาการตื่นตระหนกเกินเหตุเนื่องจากความเจริญของวิวัฒนาการในปัจจุบัน ตลอดจนถึงความสามารถของนักวิจัยทั้งหลาย

ได้สรุปว่า (สตรีวัยทอง) สามารถที่จะบรรเทาหรือชะลออาการต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นนี้ได้จากการใช้ชีวิตที่เหมาะสม ได้แก่ การรับประทานอาหารหรือโภชนาการที่ดีมอบให้กับร่างกายอย่างเหมาะสมกับวัย ลดความเครียดต่าง ๆ จากการทำงาน ดื่มน้ำวันละ 6-8 แก้ว มีการออกกำลังกายที่ถูกต้องเพื่อให้อวัยวะและข้อต่าง ๆ ของร่างกายได้ใช้งานอยู่เสมอ ร่วมกับการเสริมฮอร์โมนทดแทน ซึ่งอาจอยู่ใน รูปของยาหรือสารอาหารตามธรรมชาติ (phytoestrogens)

Phytoestrogens คืออะไร ?
Phytoestrogens เป็นสารประกอบธรรมชาติประเภท lignans และ isoflavones ซึ่งสามารถออกฤทธิ์ทางชีววิทยาได้คล้าย estrogens มักพบในพืชหลายชนิด เช่น ถั่วเหลือง ชะเอม Black cohosh โสมตังกุย
มีหลักฐานที่บ่งชี้ว่า phytoestrogens สามารถลดการเกิดกระดูกพรุน โรคระบบหลอดเลือดและหัวใจและความเสี่ยงของโรคมะเร็งบางชนิด โดยเฉพาะประเภทที่มีความเกี่ยวข้องกับฮอร์โมน เช่น มะเร็งเต้านม และมะเร็งต่อมลูกหมาก

นอกจากนี้จากการศึกษาทางระบาดวิทยา พบว่า ผู้หญิงญี่ปุ่นมีอุบัติการณ์การเกิดมะเร็งเต้านมน้อยกว่าผู้หญิงในประเทศตะวันตก เช่นเดียวกับผู้ชายญี่ปุ่นก็มีอุบัติการณ์การเกิดมะเร็งต่อมลูกหมากน้อยกว่าผู้ชายในประเทศตะวันตก ทั้งนี้อาจเนื่องจากวัฒนธรรมการกินอาหารของชาวญี่ปุ่น ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นประเภทถั่วเหลือง เช่น เต้าหู้ ซุป (miso) และยังมีรายงานว่า genistein (เป็น isoflavonesชนิดหนึ่ง) สามารถยับยั้งการเกิดเซลล์มะเร็ง ส่วน daidzein (isoflavones อีกชนิดหนึ่ง) สามารถป้องกันโรคกระดูกพรุนโดยไปเสริมการสร้างกระดูก ขณะเดียวกันก็ช่วยลดการเสื่อมของกระดูก และทั้ง 2 ตัวนี้ สามารถป้องกันโรคระบบหลอดเลือดและหัวใจ โดยยับยั้งการจับตัวของเม็ดเลือด และลดระดับโคเลส-ตอรอลในเลือด

โดยทั่วไป แพทย์มักจะจ่าย estrogen ในการบำบัดอาการต่าง ๆ ของสตรีวัยทอง แต่ก็มีหลายรายที่เลือกใช้ Phytoestrogens เนื่องจากหลายสาเหตุ เช่น
1. มีประวัติการเป็นมะเร็งเต้านม เนื่องจาก estrogen จะกระตุ้นให้เกิด proliferation ของเนื้อเยื่อเต้านมปกติ และที่เป็นมะเร็ง
2. มีประวัติมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก
3. ตับเสื่อมหน้าที่อย่างรุนแรง
4. โรค Porphyria (โรคขาด enzyme ชนิดหนึ่งในการสังเคราะห์ hemoglobin)
5. เลือดออกผิดปกติจากช่องคลอดที่ยังหาสาเหตุไม่ได้
6. ทนอาการข้างเคียงของยาไม่ได้

โภชนาการสำหรับสตรีวัยทอง
มีหลักฐานบ่งชี้ว่า อาหารมีส่วนสัมพันธ์กับอาการต่างๆ ของสตรีวัยทองอย่างมากโดยพบว่า อาหารที่สามารถช่วยบรรเทาอาการของสตรีวัยทอง ได้แก่ อาหารประเภทถั่ว ข้าวซ้อมมือ ปลา ผักและผลไม้สด ซึ่งอาหารเหล่านี้มักเป็นองค์ประกอบอยู่ในอาหารของชาวเอเชีย พบว่ามีผู้หญิงญี่ปุ่นเพียง 10-15% ที่มีอาการของสตรีวัยทอง ขณะที่พบอาการเหล่านี้ในสตรีอเมริกันถึง 80-85%
อาหารประเภทถั่วเหลือง: มี phytoestrogen ซึ่งออกฤทธิ์คล้าย estrogen ชนิดอ่อน สามารถบรรเทาอาการช่องคลอดแห้งและโรคกระดูกพรุนได้
อาหารประเภทถั่ว (legumes: lentils,garbanzo,black beans) เป็นแหล่งของโปรตีนและสารอาหารที่จำเป็นสำหรับสตรีวัยทอง เช่น แคลเซียม แมกนีเซียม โปแตสเซียม วิตามินบี คอมเพล็กซ์ สังกะสีและเหล็ก ซึ่งสามารถช่วยบรรเทาอาการที่ประจำเดือนมามากผิดปกติได้
เมล็ดธัญญาพืชทั้งเปลือก: มี phytoestogen ประเภท lignans ซึ่งมีฤทธิ์ estrogen อย่างอ่อน และมีเส้นใยสูง จะช่วยควบคุมระดับโคเลสเตอรอล และ estrogen ในร่างกาย
กรดไขมัน ได้แก่ linoleic acid (พบใน เมล็ดลินิน เมล็ดฟักทอง เมล็ดงา เมล็ดทานตะวัน) และ
linolenic acid (พบในปลาชนิดต่าง ๆ และพืชบางชนิด เช่น เมล็ดลินิน เมล็ดฟักทอง ถั่วเหลือง และผักใบเขียว) กรดไขมันที่จำเป็นเหล่านี้ร่างกายไม่สามารถสร้างขึ้นได้เอง แต่เป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับการทำงานของร่างกาย โดยเมื่อ estrogen มีระดับลดลงกรดไขมันเหล่านี้ จะทำหน้าที่เพิ่มความชุ่มชื้นให้แก่ผิวหนังช่องคลอด และเยื่อบุช่องคลอด
มีอาหารบางประเภทที่สตรีวัยทองควรระมัดระวัง ได้แก่
1) caffeine พบใน กาแฟ ชา (ดำ) โคลา และช็อกโกแลต อาจทำให้เกิดอาการกระวนกระวาย และมีการแปรปรวนของอารมณ์
2) แอลกอฮอล์ จะไปกดระบบประสาทส่วนกลาง ทำให้เกิดอาการเหนื่อยล้า และซึมเศร้า
3) น้ำตาล จะไปลดการเก็บกัก วิตามินบี คอมเพล็กซ์ และแร่ธาตุที่จำเป็น ทำให้เกิดอาการกระวนกระวาย และการตึงเครียดของประสาท
4) อาหารประเภทเนื้อสัตว์และไขมันอิ่มตัว องค์ประกอบของเนื้อสัตว์ส่วนใหญ่จะเป็นสารโปรตีนและไขมัน การรับประทานอาหารประเภทเนื้อสัตว์จึงต้องพิจารณาในส่วนของไขมัน ดังนั้นจึงควรหลีกเลี่ยงเนื้อสัตว์ประเภทติดมัน เช่น ขาหมู หนังเป็ด หนังไก่ เพราะจะเป็นสาเหตุให้เกิดโรคไขมันใน  เลือดสูง  นอกจากนี้อาหารประเภทเครื่องในสัตว์ก็เป็นสาเหตุทำให้เกิดโรคข้ออักเสบได้
5) เกลือและโซเดียม การรับประทานอาหารที่มีเกลือและอาหารที่มีโซเดียมสูง จะทำให้เกิดอาการบวมและความดันโลหิตสูง นอกจากนี้การรับประทานอาหารที่มีโซเดียมสูง ยังเพิ่มโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคกระดูกพรุน เนื่องจากโซเดียมจะไปเพิ่มการขับถ่ายแคลเซียมจากร่างกาย

สมุนไพรกับสตรีวัยทอง
องค์การเภสัชกรรมได้ผลิตยาจากสมุนไพร เพื่อบำบัดหรือบรรเทาอาการต่าง ๆ ของสตรีวัยทอง 6 ชนิด ได้แก่
1. Flava Soy capsule ผลิตจากสารสกัดถั่วเหลือง (Glycine max) ซึ่งในแต่ละแคปซูลจะมี
isoflavones ไม่น้อยกว่า 25 มก.
สรรพคุณ : บรรเทาอาการ hot flashes, โรคระบบหลอดเลือดและหัวใจ และป้องกันโรคกระดูกพรุน
2. Angelisin tablet ผลิตจากสารสกัดโสมตังกุย (Angelica sinensis) ซึ่งในแต่ละเม็ดจะมีสารสกัดโสมตังกุย เทียบเท่ารากโสมตังกุย 1.5 กรัม
สรรพคุณ : ทำให้มดลูกบีบตัวเป็นปกติ เพิ่มการทำงานของตับ และเพิ่มจำนวนเม็ดเลือดแดง
3. Cimiraf tablet ผลิตจากสารสกัด Black cohosh (Cimicifuga racemosa) ซึ่งในแต่ละเม็ดจะมีสารสกัด Black cohosh เทียบเท่าราก Black cohosh 20 mg
สรรพคุณ : บรรเทาอาการ hot flashes (ลดการหลั่ง LH)
4. Mem-o-G tablet ผลิตจากสารสกัดใบแปะก๊วย (Ginkgo biloba) ซึ่งในแต่ละเม็ดจะมี ginkgo-flavone glycosides 24% bilobalide และ ginkgolides 6%
สรรพคุณ : บรรเทาอาการซึมเศร้า อาการหลงลืม และโรคระบบหลอดเลือดและหัวใจ
5. Chofibrin capsules ผลิตจากสารสกัดกระเทียม (Allium sativum) ซึ่งในแต่ละแคปซูลจะมีสารกัดกระเทียม 350 มก.
สรรพคุณ : ลดโคเลสเตอรอลในเลือด และละลายลิ่มเลือด
6. Calmaco tablet ผลิตจากใบขี้เหล็ก (Cassia siamea) ซึ่งในแต่ละเม็ดจะมี anhydrobarakol ไม่น้อยกว่า 10 มก.
สรรพคุณ : ช่วยให้นอนหลับ

สตรีวัยทองแต่ละคนจะมีโรคหรืออาการต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นแตกต่างกัน ดังนั้น ความจำเป็นในการใช้ยาของแต่ละคนจะแตกต่างกันไปตามอาการ ซึ่งผู้หญิงควรทำความเข้าใจ ศึกษาถึงความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในร่างกายของตัวเราเอง ควบคู่ไปกับการปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกร ก็จะทำให้สตรีวัยทองสามารถก้าวเข้าสู่ช่วงชีวิตระยะนี้ได้อย่างมีความสุขและเต็มไปด้วยพลังในการดำเนินชีวิต



อาการสตรีวัยทองกับสมุนไพร

อาการสตรีวัยทอง

วิตามินและแร่ธาตุที่ต้องการ
สมุนไพร / ยาจากสมุนไพร
ประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอ
และหรือมามาก
วิตามิน เอบี คอมเพล็กซ์ : ช่วยลดสภาวะประจำเดือนมามาก
วิตามิน ซี : เพิ่มความแข็งแรงของหลอดเลือดและเพิ่มการดูดซึมของ
ธาตุเหล็ก
ไบโอฟลาโวนอยด์ (พบในผลไม้
รสเปรี้ยว) : ควบคุมระดับ estrogenและลดสภาวะประจำเดือนมามาก
เหล็ก พบในถั่วลิสง เนื้อสัตว์ ไข่แดง

สารสกัด
โสมตังกุย / Angelisin
tablet
Osteoporosis
(โรคกระดูกพรุน)
แคลเซียม พบในนมและผลิตภัณฑ์ นม ผักใบเขียว
สังกะสี พบในเนื้อสัตว์ ตับไข่เป็ด ไก่ อาหารทะเล
แมกนีเซียม พบในผักใบเขียว
ถั่วลิสง ถั่วเหลือง ถั่วแระ
สารสกัดถั่วเหลือง / Flava Soy
capsule
Hot Flashes
(ร้อนวูบวาบ เหงื่อออกตอนกลางคืน)
วิตามิน อี
ไบโอฟลาโวนอยด์
สารสกัดถั่วเหลือง / Flava Soy
capsule
สารสกัด black cohosh /
Cimiraf tablet
ช่องคลอดแห้ง
กรดไขมันที่จำเป็น ได้แก่ linoleic
acid และ linolenic acid พบในเมล็ดลินิน เมล็ดฟักทอง
เมล็ดงา เมล็ดทานตะวัน
ถั่วเหลือง ปลา
และผักใบเขียว
วิตามินอี
สารสกัดถั่วเหลือง /Flava Soy
capsule
นอนไม่หลับ
อารมณ์แปรปรวน
- วิตามิน บี คอมเพล็กซ์
- แมกนีเซียม
ใบขี้เหล็ก / Calmaco tablet
โคเลสเตอรอลสูง / โรคระบบหลอดเลือดและหัวใจ
- เมล็ดธัญญาพืชทั้งเปลือก
(มีซีลีเนียม,
 แมงกานีส)
กระเทียม /Chofibrin capsule
สารสกัดถั่วเหลือง /
Flava Soy capsule
ความจำเสื่อม
-
-สารสกัดใบแปะก๊วย/ Mem-o-G
tablet

อ้างอิง :องค์การเภสัชย์กรรม

ตำรับยาสมุนไพรสำหรับวัยทอง

 (ที่มา การดูแลสุขภาพวัยทองหน้า 201 มสธ)

ส่วนประกอบ
1.เถาบอระเพ็ด
2.เมล็ดข่อย
3.เปลือกต้นทิ้งถ่อน
4.เปลือกต้นตะโกนา
5.หัวหญ้าแห้วหมู
6.เหง้ากระชาย
7.รากกระชาย
8.เมล็ดพริกไทย

สรรพคุณ แก้ปวดเมื่อ ปวดหลัง ปวดตามข้อ ข้ออ่อนแรงไม่มีกำลัง ป้องกันโรคเบาหวาน รักษามะเร็งระยะเริ่มต้น แก้ริดสีดวง ตัดรากฝี แก้หวัดเรื้อรัง
แก้แพ้อากาศ รักษาแผลเน่าเปื่อยพุพอง แก้หอบหืด เป็นลมวิงเวียน
รักษาโรคกระเพาะอาหาร บำรุงสมรรถภาพทางเพศ ทำให้ไม่แก่เร็ว
ทำให้ร่างกายแข็งแรง อายุยืน

วิธีทำ ใช้ตัวยาน้ำหนักสิ่งละเท่าๆกัน เช่น 50 กรัม หรือ 100 กรัม เป็นต้น
ผึ่งตากหรืออบให้แห้งบดเป็นผงละเอียด
ใช้น้ำผึ้งเป็นกระสายยาปั้นเม็ดลูกกลอนเท่าปลายนิ้วหรือลูกมะเขือพวง
อบหรือผึ่งให้แห้ง ใส่ภาชนะเก็บไว้รับประทาน

วิธีใช้ รับประทานวันละครั้งก่อนนอน
วันแรก  1 เม็ด
วันที่สอง 2 เม็ด
วันที่สาม 3 เม็ด ยานี้รสร้อน คนมีธาตุร้อน ใช้ครั้งละ 3 เม็ด วันต่อๆไป ครั้งละ 3 เม็ด
วันที่สี่  4 เม็ด
วันที่ห้า  5 เม็ด  สำหรับคนมีธาตุปกติ วันต่อๆไป ครั้งละ 5 เม็ด
                            
เมื่อมีอาการดีขึ้นหรือหายแล้ว ถวายกล้วยน้ำว้า 1 หวี ตักบาตร 3 เช้า
อุทิศส่วนกุศลให้เจ้าของตำรับยา เจ้ากรรมนายเวร จะได้ตัดรากถอนโคน




No comments:

Post a Comment