Friday, November 10, 2023

วิชา กฎหมาย และจรรยาบรรณวิชาชีพการแพทย์แผนไทย

 วิชา กฎหมาย และจรรยาบรรณวิชาชีพ

การแพทย์แผนไทย


จัดทำโดย อ.หมอสุชาติ ภูวรัตน์

นธ.เอกบาลีประโยค 1-2

(อดีตพระธรรมทูตต่างประเทศ)

B.S. Engineering Design Tech.

 B.A. ศาสนศาสตร์บัณฑิต

B.S. Computer Information Systems

B.TM.  พทย์แผนไทยบัณฑิต

สาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ

บ.ภ.พท.ว.พท.ผ.พท.น.

ครูแพทย์แผนไทย 4 ด้าน

ศูนย์การแพทย์แผนไทยภูเก็ต

ทำเพื่อการศึกษาและประโยชน์แก่ผู้ชม 

-----------------------------------

วิชา กฎหมายและจรรยาบรรณวิชาชีพ​การแพทย์แผนไทย

ใช้ พ.ร.บ.ฯ ข้อบังคับสภาฯ คำประกาศฯ ในการสอบความรู้ ดังนี้ 

พ.ร.บ. สภาวิชาชีพการแพทย์แผนไทย พ.ศ. 2556 

พ.ร.บ. ผลิตภัณฑ์สมุนไพร พ.ศ. 2562

พ.ร.บ. สถานพยาบาล พ.ศ. 2541 และเพิ่มเติม

พ.ร.บ. คุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญา

การแพทย์แผนไทย พ.ศ. 2542 

ข้อบังคับสภาการแพทย์แผนไทย ว่าด้วย

จรรยาบรรณแห่งวิชาชีพการแพทย์แผนไทย พ.ศ. 2557

คำประกาศสิทธิผู้ป่วย 16 เมษายน 2541

-----------------------------

ตำราที่ใช้เป็นแนวทางในการสอบความรู้

วิชากฎหมายและจรรยาบรรณวิชาชีพการแพทย์แผนไทย

1. พระราชบัญญัติวิชาชีพการแพทย์แผนไทย พ.ศ. 2556

2. พระราชบัญญัติผลิตภัณฑ์สมุนไพร พ.ศ. 2562

3. พระราชบัญญัติสถานพยาบาล พ.ศ. 2541 

และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2547

และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2555 

และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2559

และกฎกระทรวงที่ออกตาม พ.ร.บ. สถานพยาบาล พ.ศ. 2541 และที่แก้ไขเพิ่มเติม

4. พระราชบัญญัติคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย พ.ศ. 2542 

5. ข้อบังคับสภาการแพทย์แผนไทย 

ว่าด้วยจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพการแพทย์แผนไทย พ.ศ. 2557

6. คำประกาศสิทธิผู้ป่วย 16 เมษายน พ.ศ. 2541

-----------------------------------

พ.ร.บ. สภาวิชาชีพการแพทย์แผนไทย พ.ศ. 2556

ข้อบังคับสภาการแพทย์แผนไทย

พ.ศ. 2567-2566 และอื่นๆ

ประกาศสภาการแพทย์แผนไทย พ.ศ. 2566


กดลิ้งค์ดู

https://phuketthaitraditionalmedicinecenter.blogspot.com/2013/07/2556_6837.html?m=1

 คลังข้อสอบ พ.ร.บ. สภาวิชาชีพการแพทย์แผนไทย

กดลิ้งค์ดู


-----------------------------------

พ.ร.บ. ผลิตภัณฑ์สมุนไพร พ.ศ. 2562

​ พ.ร.บ.​ผลิตภัณฑ์สมุนไพร​ 40​ ข้อ​ ตอนที่​ 1​

พ.ร.บ.​ผลิตภัณฑ์สมุนไพร​ 90​ ข้อ​ ตอนที่​ 2​

กดลิ้งค์ดู

https://suchartpoovarat.blogspot.com/2021/06/2562.html

คลังข้อสอบ พ.ร.บ. ผลิตภัณฑ์สมุนไพร พ.ศ. 2562

กดลิ้งค์ดู

https://pkthaitraditionalmedicineexamdatabank.blogspot.com/2022/08/2562.html


พ.ร.บ. สถานพยาบาล พ.ศ. 2541 (ฉบับที่ 1) แก้ไขเพิ่มเติม

2547 (ฉบับที่ 2), 2555 (ฉบับที่ 3), 2559 (ฉบับที่ 4)  

แก้ไขเพิ่มเติม กฎกระทรวง 2558, กฎกระทรวง 2562 

แก้ไขเพิ่มเติมประกาศ พ.ศ. 2563



กดลิ้งค์ดู

https://phuketthaitraditionalmedicinecenter.blogspot.com/2013/06/blog-post_28.html?m=1


 คลังข้อสอบ พ.ร.บ. สถานพยาบาล​

กดลิ้งค์ดู

https://pkthaitraditionalmedicineexamdatabank.blogspot.com/2014/12/2541.html?m=1

-------------------------------

พ.ร.บ. คุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญา

การแพทย์แผนไทย พ.ศ. 2542

แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2563 และ 2565


กดลิ้งค์ดู

https://phuketthaitraditionalmedicinecenter.blogspot.com/2013/07/2542_8532.html

คลังข้อสอบ พ.ร.บ. คุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญา

การแพทย์แผนไทย พ.ศ. 2542

กดลิ้งค์ดู

https://pkthaitraditionalmedicineexamdatabank.blogspot.com/2023/03/2542.html

-------------------------------

ข้อบังคับสภาการแพทย์แผนไทย ว่าด้วย

จรรยาบรรณแห่งวิชาชีพการแพทย์แผนไทย พ.ศ. 2557



กดลิ้งค์ดู

คลังข้อสอบจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพการแพทย์แผนไทย 

กดลิ้งค์ดู

https://pkthaitraditionalmedicineexamdatabank.blogspot.com/2015/05/blog-post.html?m=1


หน้า 20

เล่ม 131 ตอนพิเศษ 204 ง ราชกิจจานุเบกษา 13 ตุลาคม 2557

ข้อบังคับสภาการแพทย์แผนไทย

ว่าด้วยจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพการแพทย์แผนไทย พ.ศ. 2557

อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 24 (4) (ฏ) ประกอบมาตรา 30 แห่งพระราชบัญญัติ วิชาชีพการแพทย์แผนไทย พ.ศ. 2556 คณะกรรมการสภาการแพทย์แผนไทยโดยความเห็นชอบของ สภานายกพิเศษ จึงออกข้อบังคับไว้ ดังต่อไปนี้

ข้อ 1 ข้อบังคับนี้เรียกว่า “ข้อบังคับสภาการแพทย์แผนไทย ว่าด้วยจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพ การแพทย์แผนไทย พ.ศ. 2557”

ข้อ 2 ข้อบังคับนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

ข้อ 3 ในข้อบังคับนี้

“วิชาชีพการแพทย์แผนไทย” หมายความว่า วิชาชีพที่เกี่ยวกับการประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทย และการประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทยประยุกต์

“ผู้ประกอบวิชาชีพ” หมายความว่า บุคคลซึ่งได้ขึ้นทะเบียนและรับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพ การแพทย์แผนไทยหรือผู้ประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทยประยุกต์จากสภาการแพทย์แผนไทย “คณะกรรมการว่าด้วยจริยธรรมการทําวิจัยในมนุษย์” หมายความว่า คณะกรรมการที่สถาบัน องค์กรหรือหน่วยงานแต่งตั้งขึ้นเพื่อทําหน้าที่ทบทวนพิจารณาด้านจริยธรรมของการศึกษาวิจัยและ การทดลองในมนุษย์ เพื่อคุ้มครองสิทธิ ความปลอดภัยและความเป็นอยู่ที่ดีของอาสาสมัครในการศึกษาวิจัย และการทดลองในมนุษย์



หมวด 1

หลักทั่วไป

ข้อ 4 ผู้ประกอบวิชาชีพย่อมดํารงตนให้สมควรในสังคมโดยธรรม เคารพต่อกฎหมาย ของบ้านเมือง

ข้อ 5 ผู้ประกอบวิชาชีพย่อมไม่ประพฤติหรือกระทําการใด ๆ อันอาจเป็นเหตุให้เสื่อมเสีย เกียรติศักดิ์แห่งวิชาชีพ

ข้อ 6 ผู้ประกอบวิชาชีพย่อมประกอบวิชาชีพ โดยยึดถือสุขภาพและความปลอดภัยของผู้ป่วย และประชาชนเป็นเป้าหมายสูงสุด โดยไม่คํานึงถึงฐานะ เชื้อชาติ สัญชาติ ศาสนา สังคมหรือการเมือง

หน้า 21

เล่ม 131 ตอนพิเศษ 204 ง ราชกิจจานุเบกษา 13 ตุลาคม 2557

หมวด 2

การประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทย

ข้อ 7 ผู้ประกอบวิชาชีพพึงหมั่นศึกษาหาความรู้ ความก้าวหน้าทางวิชาการต่างๆ เพื่อรักษาไว้ ซึ่งมาตรฐานแห่งวิชาชีพการแพทย์แผนไทย ตามที่สภาวิชาชีพการแพทย์แผนไทยกําหนด

ข้อ 8 ผู้ประกอบวิชาชีพต้องรักษามาตรฐานของการประกอบวิชาชีพในระดับที่ดีที่สุด และพยายามให้ผู้ป่วยพ้นจากอาการทรมานจากโรคและความพิการต่างๆ โดยไม่เรียกร้องสินจ้างรางวัลพิเศษ นอกเหนือจากค่าบริการที่ควรได้รับตามปกติ

ข้อ 9 ประกอบวิชาชีพต้องไม่จูงใจหรือชักชวนให้ผู้ป่วยมารับบริการทางวิชาชีพเพื่อผลประโยชน์ ของตน

ข้อ 10 ผู้ประกอบวิชาชีพต้องไม่ให้หรือรับผลประโยชน์เป็นค่าตอบแทนเนื่องจากการรับ หรือส่งผู้ป่วยเพื่อรับบริการทางการแพทย์

ข้อ 11 ผู้ประกอบวิชาชีพต้องปฏิบัติต่อผู้ป่วยโดยสุภาพมีน้ําใจ มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี ปราศจาก การบังคับขู่เข็ญ ล่วงเกินและลวนลามผู้ป่วยด้วยกาย วาจา ใจ ทางด้านกามารมณ์และอื่น ๆ

ข้อ 12 ผู้ประกอบวิชาชีพต้องไม่หลอกลวงผู้ป่วยให้หลงเข้าใจผิดในการประกอบวิชาชีพ

ข้อ 13 ผู้ประกอบวิชาชีพต้องไม่ประกอบวิชาชีพโดยไม่คํานึงถึงความปลอดภัยและความสิ้นเปลือง ของผู้ป่วย

ข้อ 14 ผู้ประกอบวิชาชีพต้องไม่ให้คํารับรองอันเป็นเท็จ

ข้อ 15 ผู้ประกอบวิชาชีพต้องไม่เปิดเผยความลับของผู้ป่วยซึ่งตนทราบมาเนื่องจาก การประกอบวิชาชีพ เว้นแต่ด้วยความยินยอมของผู้ป่วย หรือเมื่อต้องปฏิบัติตามกฎหมายหรือตามหน้าที่

ข้อ 16 ผู้ประกอบวิชาชีพต้องไม่ปฏิเสธการช่วยเหลือผู้ที่อยู่ในระยะอันตรายจากการเจ็บป่วย เมื่อได้รับคําขอร้องและตนอยู่ในฐานะที่จะช่วยได้

ข้อ 17 ผู้ประกอบวิชาชีพพึงให้คําแนะนําเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพและการใช้ยาแก่ผู้ป่วย

ข้อ 18 ผู้ประกอบวิชาชีพต้องไม่ใช้หรือสนับสนุนให้มีการประกอบวิชาชีพโดยผิดกฎหมาย

หมวด 3

การโฆษณาการประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทย

ข้อ 19 ผู้ประกอบวิชาชีพต้องไม่โฆษณา ใช้ จ้างหรือยินยอมให้ผู้อื่นโฆษณาการประกอบวิชาชีพ ความรู้ความชํานาญในการประกอบวิชาชีพของตน

ข้อ 20 ผู้ประกอบวิชาชีพต้องไม่โฆษณา ใช้ จ้างหรือให้ผู้อื่นโฆษณาการประกอบวิชาชีพ ความรู้ความชํานาญในการประกอบวิชาชีพของผู้อื่น

หน้า 22

เล่ม 131 ตอนพิเศษ 204 ง ราชกิจจานุเบกษา 13 ตุลาคม 2557

ข้อ 21 การโฆษณาตามข้อ 19 และข้อ 20 อาจกระทําได้ในกรณีต่อไปนี้

(1) การแสดงผลงานในวารสารทางวิชาการหรือในการประชุมวิชาการ

(2) การแสดงผลงานในหน้าที่ หรือในการบําเพ็ญประโยชน์สาธารณะ

(3) การแสดงผลงานหรือความก้าวหน้า ทางวิชาการเพื่อการศึกษาของมวลชน

(4) การประกาศเกียรติคุณเป็นทางการโดยสถาบันวิชาการ สมาคม หรือมูลนิธิ

ข้อ 22 ผู้ประกอบวิชาชีพสามารถแสดงข้อความเกี่ยวกับการประกอบวิชาชีพของตนที่สถานที่ ทําการประกอบวิชาชีพได้เพียงข้อความเฉพาะเรื่องต่อไปนี้

(1) ชื่อนามสกุล และอาจมีคําประกอบชื่อได้เพียง ตําแหน่งทางวิชาการ ฐานันดรศักดิ์ ยศ และบรรดาศักดิ์เท่านั้น

(2) ชื่อปริญญา วุฒิบัตรหรือหนังสืออนุมัติ หรือหนังสือแสดงคุณวุฒิอย่างอื่น ซึ่งตนได้รับจาก สภาวิชาชีพการแพทย์แผนไทย หรือสถาบันที่ทางราชการรับรอง

(3) ประเภทของการประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทย

(4) เวลาทําการ

ข้อ 23 ผู้ประกอบวิชาชีพสามารถแจ้งข้อความการประกอบวิชาชีพ เฉพาะการแสดงที่อยู่ ที่ตั้งสถานที่ทําการประกอบวิชาชีพ หมายเลขโทรศัพท์ หรือการสื่อสารอื่น หรือข้อความที่อนุญาต ตามข้อ 22

ข้อ 24 ผู้ประกอบวิชาชีพผู้ทําการเผยแพร่ให้ข้อมูลทางวิชาการหรือตอบปัญหาเกี่ยวกับวิชาชีพ ทางสื่อมวลชน ถ้าแสดงตนว่าเป็นผู้ประกอบวิชาชีพต้องไม่แจ้งสถานที่ทําการประกอบวิชาชีพส่วนตัว ทํานองการโฆษณาและต้องไม่มีการแจ้งข้อความตามข้อ 22 ในที่เดียวกันหรือขณะเดียวกันนั้นด้วย

หมวด 4

การปฏิบัติต่อผู้ร่วมวิชาชีพ

ข้อ 25 ผู้ประกอบวิชาชีพพึงยกย่องให้เกียรติและเคารพในศักดิ์ศรีซึ่งกันและกัน รวมทั้ง สร้างความสามัคคีในหมู่ผู้ร่วมวิชาชีพ

ข้อ 26 ผู้ประกอบวิชาชีพต้องไม่เอาผลงานของผู้ประกอบวิชาชีพอื่นมาเป็นของตน

ข้อ 27 ผู้ประกอบวิชาชีพต้องไม่ให้ร้าย หรือดูหมิ่นเหยียดหยามผู้ร่วมวิชาชีพด้วยกัน

ข้อ 28 ผู้ประกอบวิชาชีพต้องไม่ชักจูงผู้ป่วยของผู้อื่นมาเป็นของตน

หมวด 5

การปฏิบัติต่อผู้ร่วมงาน

ข้อ 29 ผู้ประกอบวิชาชีพพึงยกย่องให้เกียรติและเคารพในศักดิ์ศรีของผู้ร่วมงาน 
ข้อ 30 ผู้ประกอบวิชาชีพต้องไม่ให้ร้าย หรือดูหมิ่นเหยียดหยามผู้ร่วมงาน

หน้า 23

เล่ม 131 ตอนพิเศษ 204 ง ราชกิจจานุเบกษา 13 ตุลาคม 2557

ข้อ 31 ผู้ประกอบวิชาชีพพึงส่งเสริมและสนับสนุนให้ผู้ร่วมงานมีโอกาสเพิ่มพูนความรู้ ทางวิชาการที่เกี่ยวข้อง



หมวด 6

การทดลองในมนุษย์

ข้อ 32 ผู้ประกอบวิชาชีพผู้ทําการทดลองในมนุษย์ต้องได้รับความยินยอมจากผู้ถูกทดลองเป็น ลายลักษณ์อักษร และต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการว่าด้วยจริยธรรมการทําวิจัยในมนุษย์

หมวด 7

การปฏิบัติตนเกี่ยวกับสถานที่ทําการประกอบวิชาชีพ

ข้อ 33 ผู้ประกอบวิชาชีพต้องปฏิบัติตนเกี่ยวกับสถานที่ทําการประกอบวิชาชีพตามกฎหมาย ว่าด้วยสถานพยาบาลและกฎหมายว่าด้วยยา

ประกาศ ณ วันที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2557

ทรงยศ ชัยชนะ

รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข ปฏิบัติราชการแทน

ปลัดกระทรวงสาธารณสุข

นายกสภาการแพทย์แผนไทย

--------------------------------


คำประกาศสิทธิและข้อพึงปฏิบัติของผู้ป่วย 10 ประการ

สิทธิมนุษยชนมีหลักสำคัญที่ยอมรับในระดับสากลนั้น คือ บุคคลมีสิทธิที่จะตัดสินใจในกิจการ ต่าง ๆ ส่วนตัวด้วยตนเอง ซึ่งแสดงถึงความเป็นอิสระของมนุษย์

โดยเฉพาะผู้ป่วย ถือว่าเป็นบุคคลที่จะต้องได้รับความช่วยเหลือทั้งในด้านร่างกาย จิตใจ ตลอดจนการได้รับรู้ข้อมูลต่าง ๆ เพื่อสมควรประกอบการ ตัดสินใจของตนเอง ฉะนั้นผู้ป่วยจึงเป็นบุคคลสำคัญที่จะต้องได้รับการพิทักษ์สิทธิ

ในหลายๆ ประเทศได้ นำสิทธิของผู้ป่วยมาบัญญัติเป็นกฎหมาย สำหรับประเทศไทยมิได้ระบุไว้เป็นกฎหมายโดยตรง แต่มีกำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 28 ว่า บุคคลย่อมอ้างศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ หรือใช้สิทธิเสรีภาพของตนได้เท่าที่ไม่ละเมิดสิทธิเสรีภาพของบุคคลอื่น ๆ และมาตรา 31 ระบุว่า บุคคลย่อมมีสิทธิและเสรีภาพในชีวิตและร่างกายและในประมวลกฎหมายอาญา กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 ได้มีการกำหนดสิทธิผู้ป่วยซึ่งประกอบด้วยสิทธิในการ ตัดสินใจที่จะรับหรือเลือกบริการทางการแพทย์ สิทธิที่จะได้รับบริการทางการแพทย์ที่มีมาตรฐาน สิทธิที่ จะได้รับการบอกกล่าวหรือสิทธิที่จะรู้ สิทธิส่วนตัวและสิทธิในครอบครัว สิทธิที่จะได้รับความปลอดภัย สิทธิที่จะได้รับการชดเชยความเสียหาย และสิทธิที่จะได้รับการปกปิดเรื่องราวไว้เป็นความลับ สำหรับประเทศไทยนั้น

ผู้ประกอบวิชาชีพ สภาวิชาชีพ และหน่วยงานที่มีส่วนสัมพันธ์กับผู้ป่วยโดยตรง ซึ่งได้แก่ แพทยสภา สภาการพยาบาล สภาเภสัชกรรม ทันตแพทยสภา และคณะกรรมการ ควบคุมการประกอบโรคศิลปะ ได้ร่วมกันประกาศสิทธิของผู้ป่วย เมื่อวันที่ 16 เมษายน 2541 ไว้ดังนี้

     1. ผู้ป่วยทุกคนมีสิทธิพื้นฐานที่จะได้รับบริการด้านสุขภาพ ตามบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ
     2. ผู้ป่วยมีสิทธิที่จะรับบริการจากผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพโดยไม่มีการเลือกปฏิบัติ เนื่องจากความแตกต่างด้านฐานะ เชื้อชาติ สัญชาติ ศาสนา สังคม ลัทธิการเมือง เพศ อายุ และลักษณะของความเจ็บป่วย
     3. ผู้ป่วยที่ขอรับบริการด้านสุขภาพมีสิทธิที่จะได้รับทราบข้อมูลอย่างเพียงพอ และเข้าใจชัดเจน จากผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพ เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถเลือกตัดสินใจในการยินยอมหรือไม่ยินยอมให้ผู้ประกอบ วิชาชีพด้านสุขภาพปฏิบัติต่อตน เว้นแต่เป็นการช่วยเหลือรีบด่วนหรือจำเป็น
     4. ผู้ป่วยที่อยู่ในภาวะเสี่ยงอันตรายถึงชีวิต มีสิทธิที่จะได้รับการช่วยเหลือรีบด่วนจากผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพโดย ทันทีตามความจำเป็นแก่กรณี โดยไม่คำนึงว่าผู้ป่วยจะร้องขอความช่วยเหลือหรือไม่
     5. ผู้ป่วยมีสิทธิที่จะได้รับทราบชื่อ สกุล และประเภทของผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพที่เป็นผู้ให้บริการแก่ตน
     6. ผู้ป่วยมีสิทธิที่จะขอความเห็นจากผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพอื่น ที่มิได้เป็นผู้ให้บริการ แก่ตน และมีสิทธิในการขอเปลี่ยนผู้ให้บริการและสถานบริการได้
     7. ผู้ป่วยมีสิทธิที่จะได้รับการปกปิดข้อมูลเกี่ยวกับตนเอง จากผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพ โดยเคร่งครัด เว้นแต่จะได้รับความยินยอมจากผู้ป่วยหรือการปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมาย
     8. ผู้ป่วยมีสิทธิที่จะได้รับทราบข้อมูลอย่างครบถ้วนในการตัดสินใจเข้าร่วม หรือถอนตัวจากการเป็นผู้ถูกทดลองในการทำวิจัยของผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพ
     9. ผู้ป่วยมีสิทธิที่จะได้รับทราบข้อมูลเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลเฉพาะของตนที่ปรากฏในเวชระเบียนเมื่อร้องขอ ทั้งนี้ข้อมูลดังกล่าวต้องไม่เป็นการละเมิดสิทธิส่วนตัวของบุคคลอื่น
   10. บิดา มารดา หรือผู้แทนโดยชอบธรรม อาจใช้สิทธิแทนผู้ป่วยที่เป็นเด็กอายุยังไม่เกินสิบแปดปีบริบูรณ์ ผู้บกพร่องทางกายหรือจิต ซึ่งไม่สามารถใช้สิทธิด้วยตนเองได้

--------------------------------

ข้อบังคับสภาการแพทย์แผนไทย

ว่าด้วยการเป็นสมาชิกสภาการแพทย์แผนไทย พ.ศ. 2566


หน้า 51

เล่ม 140 ตอนพิเศษ 187 ง ราชกิจจานุเบกษา 7 สิงหาคม 2566 ข้อบังคับสภาการแพทย์แผนไทย

ว่าด้วยการเป็นสมาชิกสภาการแพทย์แผนไทย  พ.ศ. 2566

เพื่อให้ประชาชนหรือองค์กรอื่นใดที่เกี่ยวข้องกับการแพทย์แผนไทย มีส่วนร่วมเป็นสมาชิก  สภาการแพทย์แผนไทย โดยสร้างความร่วมมือในการช่วยเหลือ แนะนำ เผยแพร่ ให้การศึกษา แก่ประชาชน และองค์กรอื่นในเรื่องที่เกี่ยวกับการแพทย์แผนไทย ตลอดจนส่งเสริมการศึกษา  การพัฒนา การวิจัย การประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทย และการประกอบวิชาชีพการแพทย์ แผนไทยประยุกต์ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในการสืบทอด อนุรักษ์ ศึกษา วิจัย การพัฒนาภูมิปัญญา  รวมถึงองค์ความรู้ต่าง ๆ ทางการแพทย์แผนไทย และการรับเป็นสมาชิกสภาการแพทย์แผนไทย  เป็นไปด้วยความเรียบร้อยภายใต้หลักธรรมาภิบาลและสิทธิเสรีภาพของปวงชนชาวไทย ซึ่งได้รับ

ความคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย

อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 24 วรรคหนึ่ง (4) (ก) ประกอบมาตรา 30 วรรคหนึ่ง (1)  แห่งพระราชบัญญัติวิชาชีพการแพทย์แผนไทย พ.ศ. 2556 คณะกรรมการสภาการแพทย์แผนไทย  โดยความเห็นชอบของสภานายกพิเศษ จึงออกข้อบังคับไว้ ดังต่อไปนี้

ข้อ 1 ข้อบังคับนี้เรียกว่า “ข้อบังคับสภาการแพทย์แผนไทยว่าด้วยการเป็นสมาชิกสภาการแพทย์ แผนไทย พ.ศ. 2566”

ข้อ 2 ข้อบังคับนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

ข้อ 3 ให้ยกเลิก ข้อบังคับสภาการแพทย์แผนไทยว่าด้วยการเป็นสมาชิกสภาการแพทย์ แผนไทย พ.ศ. 2557 และข้อบังคับสภาการแพทย์แผนไทย ว่าด้วยการเป็นสมาชิกสภาการแพทย์ แผนไทย (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2559

บรรดาข้อบังคับ ระเบียบ ประกาศ หรือคำสั่งอื่นใดในส่วนที่ได้กำหนดไว้แล้วในข้อบังคับนี้  หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับข้อบังคับนี้ ให้ใช้ข้อบังคับนี้แทน

ข้อ 4 ในข้อบังคับนี้

คณะกรรมการ” หมายความว่า คณะกรรมการสภาการแพทย์แผนไทย

นายกสภา” หมายความว่า นายกสภาการแพทย์แผนไทย

เลขาธิการ” หมายความว่า เลขาธิการสภาการแพทย์แผนไทย

สมาชิก” หมายความว่า สมาชิกสภาการแพทย์แผนไทย

ข้อ 5 ให้นายกสภาการแพทย์แผนไทยเป็นผู้รักษาการตามข้อบังคับนี้เป็นผู้วินิจฉัยปัญหา เกี่ยวกับการปฏิบัติตามข้อบังคับหรือข้อบังคับนี้ไม่ได้กำหนดไว้ เพื่อปฏิบัติให้เป็นไปตามข้อบังคับนี้ ทั้งนี้ ต้องไม่ให้ขัดหรือแย้งกับกฎหมายมติของคณะรัฐมนตรี และระเบียบ ข้อบังคับ ข้อกำหนด  นโยบาย มติ หรือประกาศที่คณะกรรมการก าหนด


หน้า 52

เล่ม 140 ตอนพิเศษ 187 ง ราชกิจจานุเบกษา 7 สิงหาคม 2566

หมวด 1

การดำเนินการรับสมัครสมาชิก

ข้อ 6 ให้นายกสภาประกาศให้ประชาชนหรือองค์กรอื่นใดที่เกี่ยวข้องกับการแพทย์แผนไทย  ยื่นคำขอเป็นสมาชิกสภาการแพทย์แผนไทย เพื่อร่วมมือในการช่วยเหลือ แนะนำ เผยแพร่ และให้ การศึกษาแก่ประชาชนและองค์กรอื่นในเรื่องที่เกี่ยวกับการแพทย์แผนไทย ตลอดจนส่งเสริมการศึกษา  การพัฒนา การวิจัย การประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทย และการประกอบวิชาชีพการแพทย์ แผนไทยประยุกต์ให้เกิดความร่วมมือในการสืบทอด อนุรักษ์ ศึกษา วิจัย และพัฒนาภูมิปัญญา  รวมถึงองค์ความรู้ต่าง ๆ ทางการแพทย์แผนไทย

ประกาศตามวรรคหนึ่งอย่างน้อยต้องมีรายการ ดังต่อไปนี้

(1) ชื่อประกาศ

(2) เหตุผลหรือบทบัญญัติกฎหมายที่ให้อำนาจในการออกประกาศ

(3) รายละเอียดเกี่ยวกับคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของผู้ที่จะสมัครสมาชิก ระยะเวลา  และสถานที่ขอใบสมัคร สถานที่รับสมัครสมาชิก และวิธีการรับสมัครสมาชิก เอกสารและหลักฐาน ที่ใช้ในการสมัคร ค่าจดทะเบียนสมาชิก ค่าบำรุง ค่าธรรมเนียมในการสมัคร ค่าธรรมเนียมในการ ออกเอกสารประจำตัวใหม่ รวมทั้งวิธีการแจ้งผลการรับสมัครสมาชิก

(4) เงื่อนไข คุณสมบัติและหลักเกณฑ์ความรู้ในวิชาชีพการแพทย์แผนไทยที่กำหนดในการ  สมัครสมาชิก

(5) หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการสอบความรู้หรือการประเมินตามที่กำหนดในการ สมัครสมาชิก

(6) ชื่อบัตรสมาชิก

(7) รูปแบบของบัตรสมาชิก

(8) รูปแบบของหนังสือสำคัญการเป็นสมาชิก

(9) สิทธิประโยชน์ของสมาชิก

(10) วันออกประกาศ

หมวด 2

คุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของสมาชิก

ข้อ 7 สมาชิก แบ่งออกได้ ดังต่อไปนี้

(1) สมาชิกสามัญ

(2) สมาชิกวิสามัญ

(3) สมาชิกกิตติมศักดิ์


หน้า 53 

เล่ม 140 ตอนพิเศษ 187 ง ราชกิจจานุเบกษา 7 สิงหาคม 2566

ข้อ 8 สมาชิก ต้องมีคุณสมบัติทั่วไป และไม่มีลักษณะต้องห้าม ดังต่อไปนี้

ก. คุณสมบัติทั่วไป

(1) มีอายุไม่ต่ ากว่ายี่สิบปีบริบูรณ์

(2) มีความรู้ในวิชาชีพการแพทย์แผนไทย ดังต่อไปนี้

(ก) ได้รับการฝึกอบรมจากสถาบันหรือสถานพยาบาลที่สภาการแพทย์

แผนไทยรับรองโดยมีผู้ประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทยซึ่งได้รับอนุญาตให้ถ่ายทอดความรู้เป็นผู้ให้การอบรม และต้องสอบผ่านความรู้ตามที่กำหนดไว้ในข้อบังคับสภาการแพทย์แผนไทย หรือ (ข) ได้รับปริญญาหรือประกาศนียบัตรเทียบเท่าปริญญาสาขาการแพทย์

แผนไทยหรือสาขาการแพทย์แผนไทยประยุกต์จากสถาบันการศึกษาที่สภาการแพทย์แผนไทยรับรอง และต้องสอบผ่านความรู้ตามที่กำหนดไว้ในข้อบังคับสภาการแพทย์แผนไทย หรือ (ค) เป็นผู้ที่ส่วนราชการรับรองความรู้การแพทย์พื้นบ้านไทย โดยผ่าน

การประเมินหรือการสอบตามที่กำหนดไว้ในข้อบังคับสภาการแพทย์แผนไทย

ข. ลักษณะต้องห้าม

(1) เป็นผู้ประพฤติเสียหายซึ่งคณะกรรมการเห็นว่าจะนำมาซึ่งความเสื่อมเสีย เกียรติศักดิ์แห่งวิชาชีพ

(2) เป็นผู้เคยต้องโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดในคดีที่จะนำมาซึ่งความเสื่อมเสีย เกียรติศักดิ์แห่งวิชาชีพ

(3) เป็นผู้วิกลจริต จิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ หรือไม่เป็นโรคที่กำหนดไว้ใน ข้อบังคับสภาการแพทย์แผนไทย

ข้อ 9 สมาชิกสามัญ ต้องเป็นผู้ที่มีใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทยหรือ ผู้ประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทยประยุกต์ของสภาการแพทย์แผนไทย โดยมีคุณสมบัติทั่วไปและ ไม่มีลักษณะต้องห้ามตามข้อ 8

ข้อ 10 สมาชิกวิสามัญ เป็นผู้ที่มีความรู้ในวิชาชีพการแพทย์แผนไทย โดยมีคุณสมบัติทั่วไป และไม่มีลักษณะต้องห้ามตามข้อ 8

ข้อ 11 สมาชิกกิตติมศักดิ์ เป็นผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งคณะกรรมการแต่งตั้งโดยมติเป็นเอกฉันท์ โดยมีคุณสมบัติทั่วไปและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามข้อ 8

หมวด 3

คำขอเป็นสมาชิก หนังสือสำคัญการเป็นสมาชิก และบัตรสมาชิก

ข้อ 12 ให้เลขาธิการตรวจสอบคำขอเป็นสมาชิกและเอกสารประกอบ หากเห็นว่าถูกต้อง ครบถ้วน ให้เสนอต่อนายกสภา หรือสภาการแพทย์แผนไทยเพื่อพิจารณา แล้วแต่กรณี


หน้า 54

เล่ม 140 ตอนพิเศษ 187 ง ราชกิจจานุเบกษา 7 สิงหาคม 2566

ในกรณีที่เลขาธิการตรวจสอบแล้วเห็นว่าไม่ถูกต้องครบถ้วน ให้แจ้งผู้ยื่นคำขอดำเนินการแก้ไข ให้ถูกต้องหรือเพิ่มเติมเอกสารและหลักฐานให้ครบถ้วนภายในระยะเวลาที่กำหนด หากผู้ยื่นคำขอ ไม่ดำเนินการดังกล่าวให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลาที่กำหนด ให้ถือว่าผู้ยื่นคำขอไม่ประสงค์ จะเป็นสมาชิก

ข้อ 13 เมื่อนายกสภาหรือสภาการแพทย์แผนไทยพิจารณาอนุมัติหรือไม่อนุมัติให้เป็นสมาชิกแล้ว  ให้เลขาธิการแจ้งคำสั่งดังกล่าว ให้แก่ผู้ยื่นคำขอภายในสิบห้าวัน

ในกรณีที่ผู้ยื่นคำขอไม่เห็นด้วยกับคำสั่งไม่อนุมัติให้เป็นสมาชิกของนายกสภา ให้ผู้ยื่นคำขอยื่น อุทธรณ์เป็นหนังสือต่อคณะกรรมการภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำสั่งดังกล่าว คำวินิจฉัยของคณะกรรมการในกรณีดังกล่าว ให้ถือว่าเป็นที่สุด

ข้อ 14 ในกรณีที่ผู้ยื่นคำขอได้รับแจ้งคำสั่งอนุมัติให้เป็นสมาชิกแล้ว ให้ผู้ยื่นคำขอชำระ ค่าจดทะเบียนสมาชิก ค่าบำรุง ค่าธรรมเนียมในการเป็นสมาชิกตามประกาศและรายละเอียดที่กำหนดไว้ ในประกาศตามข้อ 6 ภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำสั่งดังกล่าว แล้วให้เลขาธิการลงทะเบียน สมาชิกและจัดทำหนังสือสำคัญการเป็นสมาชิกตามแบบที่ได้กำหนดไว้ในประกาศตามข้อ 6  แล้วแต่กรณี พร้อมออกบัตรประจำตัวสมาชิกซึ่งมีลายมือชื่อของนายกสภาเป็นหลักฐาน  

ข้อ 15 ในกรณีที่หนังสือสำคัญการเป็นสมาชิก หรือบัตรสมาชิกหมดอายุ สูญหาย  ถูกทำลายในสาระสำคัญ หรือประสงค์ขอออกเอกสารประจำตัวใหม่ เนื่องจากกรณีขอเปลี่ยนชื่อตัว  ชื่อสกุล ยศ ที่อยู่ ที่ติดต่อ รวมทั้งการแก้ไขเพิ่มเติมอื่น ๆ ให้ยื่นคำขอพร้อมชำระค่าธรรมเนียม  แล้วนำความตามข้อ 6 ข้อ 12 ข้อ 13 และข้อ 14 มาบังคับใช้โดยอนุโลม แล้วแต่กรณี

ข้อ 16 คำขอ ใบสมัคร การอนุญาต หรือการดำเนินการใด ๆ ตามข้อบังคับนี้ จะกระทำ ในรูปของข้อมูลและธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ก็ได้ ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยธุรกรรม ทางอิเล็กทรอนิกส์ 

หมวด 5

สิทธิ หน้าที่ของสมาชิก และการสิ้นสุดสมาชิกภาพ

ข้อ 17 สิทธิและหน้าที่ของสมาชิกสามัญ มีดังต่อไปนี้

(1) เป็นผู้ที่ได้รับการขึ้นทะเบียนและรับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทย หรือผู้ประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทยประยุกต์ ขอหนังสืออนุมัติหรือวุฒิบัตรแสดงความรู้ความชำนาญ ในการประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทย หรือการประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทยประยุกต์หรือ ขอหนังสือแสดงวุฒิอื่นในวิชาชีพการแพทย์แผนไทย โดยปฏิบัติตามข้อบังคับ ระเบียบ หรือประกาศ ของสภาการแพทย์แผนไทยว่าด้วยการนั้น

(2) แสดงความเห็นเป็นหนังสือเกี่ยวกับกิจการของสภาการแพทย์แผนไทยส่งไปยังคณะกรรมการ เพื่อพิจารณา และในกรณีที่สมาชิกรวมกันตั้งแต่ห้าสิบคนขึ้นไปเสนอให้คณะกรรมการพิจารณาเรื่องใด


หน้า 55

เล่ม 140 ตอนพิเศษ 187 ง ราชกิจจานุเบกษา 7 สิงหาคม 2566

ที่เกี่ยวกับกิจการของสภาการแพทย์แผนไทย คณะกรรมการต้องพิจารณาและแจ้งผลการพิจารณา ให้ผู้เสนอทราบภายในเก้าสิบวันนับแต่วันได้รับเรื่อง

(3) เลือก รับเลือก หรือรับเลือกตั้งเป็นกรรมการ เฉพาะสมาชิกที่มีใบอนุญาต

(4) ผดุงไว้ซึ่งเกียรติศักดิ์แห่งวิชาชีพและปฏิบัติตนตามพระราชบัญญัติวิชาชีพการแพทย์แผนไทย  พ.ศ. 2556

(5) ส่งเสริมความสามัคคีและผดุงเกียรติของสมาชิก

(6) ผดุงไว้ซึ่งสิทธิ ความเป็นธรรม และส่งเสริมสวัสดิการให้แก่สมาชิก

(7) สิทธิประโยชน์ของสมาชิกตามที่ได้กำหนดไว้ในประกาศตามข้อ 6 แล้วแต่กรณี โดยไม่ขัด ต่อกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้อง

ข้อ 18 สิทธิและหน้าที่ของสมาชิกวิสามัญ มีดังต่อไปนี้

(1) ขอหนังสืออนุมัติหรือวุฒิบัตรแสดงความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพการแพทย์ แผนไทย หรือการประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทยประยุกต์หรือขอหนังสือแสดงวุฒิอื่นในวิชาชีพ การแพทย์แผนไทย โดยปฏิบัติตามข้อบังคับ ระเบียบ หรือประกาศของสภาการแพทย์แผนไทยว่าด้วยการนั้น

(2) แสดงความเห็นเป็นหนังสือเกี่ยวกับกิจการของสภาการแพทย์แผนไทยส่งไปยังคณะกรรมการ เพื่อพิจารณา

(3) ผดุงไว้ซึ่งเกียรติศักดิ์แห่งวิชาชีพและปฏิบัติตนตามพระราชบัญญัติวิชาชีพการแพทย์แผนไทย  พ.ศ. 2556

(4) ส่งเสริมความสามัคคีและผดุงเกียรติของสมาชิก

(5) ผดุงไว้ซึ่งสิทธิ ความเป็นธรรม และส่งเสริมสวัสดิการให้แก่สมาชิก

(6) สิทธิประโยชน์ของสมาชิกตามที่ได้กำหนดไว้ในประกาศตามข้อ 6 แล้วแต่กรณี  โดยไม่ขัดต่อกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้อง

ข้อ 19 สิทธิและหน้าที่ของสมาชิกกิตติมศักดิ์ มีดังต่อไปนี้

(1) ขอหนังสืออนุมัติหรือวุฒิบัตรแสดงความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพการแพทย์ แผนไทย หรือการประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทยประยุกต์หรือขอหนังสือแสดงวุฒิอื่นในวิชาชีพ การแพทย์แผนไทย โดยปฏิบัติตามข้อบังคับ ระเบียบ หรือประกาศของสภาการแพทย์แผนไทย ว่าด้วยการนั้น

(2) แสดงความเห็นเป็นหนังสือเกี่ยวกับกิจการของสภาการแพทย์แผนไทยส่งไปยังคณะกรรมการ เพื่อพิจารณา

(3) ผดุงไว้ซึ่งเกียรติศักดิ์แห่งวิชาชีพและปฏิบัติตนตามพระราชบัญญัติวิชาชีพการแพทย์แผนไทย  พ.ศ. 2556

(4) ส่งเสริมความสามัคคีและผดุงเกียรติของสมาชิก

(5) ผดุงไว้ซึ่งสิทธิ ความเป็นธรรม และส่งเสริมสวัสดิการให้แก่สมาชิก

 

หน้า 56

เล่ม 140 ตอนพิเศษ 187 ง ราชกิจจานุเบกษา 7 สิงหาคม 2566

(6) สิทธิประโยชน์ของสมาชิกตามที่ได้กำหนดไว้ในประกาศตามข้อ 6 แล้วแต่กรณี โดยไม่ขัด ต่อกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้อง

ข้อ 20 สมาชิกภาพของสมาชิกสิ้นสุดลงเมื่อ

(1) ตาย

(2) ลาออก

(3) ขาดคุณสมบัติตามข้อ 8

(4) คณะกรรมการมีมติให้พ้นจากสมาชิกภาพ เพราะเห็นว่าเป็นผู้นำมาซึ่งความเสื่อมเสีย เกียรติศักดิ์แห่งวิชาชีพโดยมีลักษณะต้องห้ามตามข้อ 8 ข (1) หรือ (2)

(5) มีลักษณะต้องห้ามตามข้อ 8 ข (3) และผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมจำนวนไม่น้อยกว่าสามคน  ซึ่งคณะกรรมการกำหนด ลงความเห็นว่าไม่สามารถบำบัดรักษาให้หายเป็นปกติได้หรือต้องใช้ ระยะเวลาในการบำบัดรักษาเกินกว่าสองปี

ในกรณีที่สมาชิกผู้ใดมีลักษณะต้องห้ามตามข้อ 8 ข (3) แต่ยังไม่ถึงขนาดที่สมาชิกภาพ สิ้นสุดลงตามวรรคหนึ่ง (5) คณะกรรมการอาจมีมติให้พักใช้ใบอนุญาตของสมาชิกผู้นั้นได้ โดยมี กำหนดเวลาตามที่เห็นสมควรแต่ไม่เกินสองปี และให้นำความในมาตรา 31 ตามพระราชบัญญัติ วิชาชีพการแพทย์แผนไทย พ.ศ. 2556 มาใช้บังคับโดยอนุโลม

ข้อ 21 เมื่อสมาชิกภาพของสมาชิกผู้ใดสิ้นสุดลง ให้สภาการแพทย์แผนไทยดำเนินการถอนชื่อ สมาชิกผู้นั้นออกจากทะเบียนสมาชิก

ประกาศ ณ วันที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2566

ชนิญญา ชัยสุวรรณ

นายกสภาการแพทย์แผนไทย









จบติวเข้มกฎหมายและจรรยาบรรณวิชาชีพการแพทย์แผนไทย 2567

-----------------------------------





No comments:

Post a Comment