Friday, January 31, 2014

การทำลูกประคบสด-แห้ง ประโยชน์-วิธีประคบ-ข้อควรระวัง-การเก็บรักษา


การทำลูกประคบสด และแห้ง
ประโยชน์-วิธีประคบ-ข้อควรระวัง-การเก็บรักษา


จัดทำโดย อ.หมอสุชาติ ภูวรัตน์
นธ.เอกบาลีประโยค 1-2
(อดีตพระธรรมทูตต่างประเทศ)
B.S. Engineering Design Tech.
 B.A. ศาสนศาสตร์บัณฑิต
B.S. Computer Information Systems
B.TM.  พทย์แผนไทยบัณฑิต
สาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ
บ.ภ.พท.ว.พท.ผ.พท.น.
ครูแพทย์แผนไทย 4 ด้าน
ศูนย์การแพทย์แผนไทยภูเก็ต
ทำเพื่อการศึกษาและประโยชน์แก่ผู้ชม


การทำลูกประคบสด
     วัตถุส่วนประกอบ



ที่

ชื่อสมุนไพร

น้ำหนัก
(กรัม)

สรรพคุณ
1
ไพลสด             
500
แก้ฟกบวม เคล็ดยอก ขับลม ท้องเดิน และช่วยขับระดูนิยมใช้เป็นยาหลังคลอดบุตร
2
ผิวมะกรูดสด
ใบมะกรูดสด
100
ขับลมในลำไส้ ขับระดู ขับผายลมแก้ไอ แก้อาเจียนเป็นโลหิตแก้ช้ำใน ดับกลิ่นคาว
3
ตะไคร้สด
200
บำรุงไฟธาตุ  แก้โรคทางเดินปัสสาวะ ขับลมในลำไส้ทำให้เจริญอาหาร  แก้คาว
4
ใบมะขามแก่สด
ใบส้มป่อยสด
100
ขับเสมหะในลำไส้  แก้บิด แก้ไอ ต้มเอาน้ำโกรกศีรษะเด็กเช้ามืด แก้หวัดคัดจมูกถ่ายเสมหะ ล้างเมือกมันในลำไส้ แก้บิด  ฟอกโลหิตระดู ประคบให้เส้นเอ็นหย่อน
5
ขมิ้นชันสด
ขมิ้นอ้อยสด
100
แก้โรคผิวหนัง ผื่นคัน สมานแผล ขับลม แก้ท้องร่วง แก้ไข้เพื่อดี คลั่งเพ้อ แก้ไข้เรื้อรังตำพอก แก้ฟกบวม อักเสบ แก้ครั่นเนื้อครั่นตัว สมานลำไส้ ขับปัสสาวะ แก้ระดูขาว
6
พิมเสนเกล็ด
  30
แก้ลมวิงเวียนหน้ามืด บำรุงหัวใจ ทำจิตใจให้ชุ่มชื่น แก้ปวดท้อง แก้แผลสด / เรื้อรัง
7
การบูร
  30
แก้คัน เกลื่อนฝี แก้เคล็ดขัดยอก บวม แก้ปวดข้อ แก้ปวดเส้นประสาท ปวดท้องแก้ปวดตามเส้น บำรุงธาตุ ทำให้อาหารงวด ขับลมในลำไส้ แก้ธาตุพิการ  กระจายลม
8
เกลือแกง
  40
 รักษาผิวหนังให้สะอาดกันกลากเกลื้อนและพยาธิผิวหนัง รักษาท้องไม่ให้อาหารบูด    
รวม
   1,100

      ขั้นตอนการทำ
1.   นำไพลสด,  ผิวมะกรูด หรือใบมะกรูดสด,  ตะไคร้สด,  ใบมะขาม หรือใบส้มป่อยสด, ขมิ้นชัน    หรือขมิ้นอ้อยสดหั่นบางๆ ตำพอหยาบๆ
2.  ใส่พิมเสน,  การบูร,  และเกลือแกง  ผสมรวมกัน
3.  ห่อเป็นลูกประคบหนักลูกละ 100 กรัม ด้วยผ้าขาว 
ขนาด 35 ซ.ม. x 35 ซ.ม. มัดด้วยเชือกยาว 1 เมตร
ถ้าหากต้องการลูกประคบหนักลูกละ 150 กรัม  ห่อด้วยผ้าขาว  ขนาด 50 ซ.ม. x 50 ซ.ม.



การทำลูกประคบแห้ง

     วัตถุส่วนประกอบ


ที่

ชื่อสมุนไพร

น้ำหนัก
(กรัม)

สรรพคุณ
1
ไพลแห้ง            
300
แก้ฟกบวม เคล็ดยอก ขับลม ท้องเดิน และช่วยขับระดู นิยมใช้เป็นยาหลังคลอดบุตร
2
ใบมะกรูดแห้ง
100
แก้ไอ แก้อาเจียนเป็นโลหิต แก้ช้ำใน ดับกลิ่นคาว
3
ตะไคร้แห้ง
200
บำรุงไฟธาตุ  แก้โรคทางเดินปัสสาวะ ขับลมในลำไส้ ทำให้เจริญอาหาร  แก้คาว
4
ใบมะขามแก่แห้ง
ใบส้มป่อยแห้ง
200
ขับเสมหะในลำไส้  แก้บิด แก้ไอ ต้มเอาน้ำโกรกศีรษะเด็กเช้ามืด แก้หวัดคัดจมูก
ถ่ายเสมหะ ล้างเมือกมันในลำไส้ แก้บิด ฟอกโลหิตระดู ประคบให้เส้นเอ็นหย่อน
5
ขมิ้นชันแห้ง
ขมิ้นอ้อยแห้ง
100
แก้โรคผิวหนัง ผื่นคัน สมานแผล ขับลม แก้ท้องร่วง แก้ไข้เพื่อดี คลั่งเพ้อ แก้ไข้เรื้อรัง  ตำพอก แก้ฟกบวม อักเสบ แก้ครั่นเนื้อครั่นตัว สมานลำไส้ ขับปัสสาวะ แก้ระดูขาว
6
พิมเสนเกล็ด
  30
แก้ลมวิงเวียนหน้ามืด บำรุงหัวใจ ทำจิตใจให้ชุ่มชื่น แก้ปวดท้อง แก้แผลสด / เรื้อรัง
7
การบูร
  30
แก้คัน เกลื่อนฝี แก้เคล็ดขัดยอก บวม แก้ปวดข้อ แก้ปวดเส้นประสาท ปวดท้อง แก้ปวดตามเส้น บำรุงธาตุ ทำให้อาหารงวด ขับลมในลำไส้ แก้ธาตุพิการ  กระจายลม
8
เกลือแกง
  40
รักษาผิวหนังให้สะอาดกันกลากเกลื้อนและพยาธิผิวหนัง รักษาท้องไม่ให้อาหารบูด    
รวม
1,000

       ขั้นตอนการทำ
1.   นำไพล,  ใบมะกรูด ตะไคร้ ใบมะขาม หรือใบส้มป่อย, ขมิ้นชัน  หรือขมิ้นอ้อยหั่นบางๆ  ตากแห้ง / อบ
2.   ใส่พิมเสน การบูร และเกลือแกง  ผสมรวมกัน
3.   ห่อเป็นลูกประคบหนักลูกละ100 กรัม ด้วยผ้าขาว 
      ขนาด 35ซ.ม. x 35 ซ.ม. มัดด้วยเชือกยาว 1 เมตร



ประโยชน์ของการประคบ 
จากตัวยาสมุนไพรและความร้อน)
1. บรรเทาอาการปวดเมื่อย
2. ช่วยลดอาการบวม อักเสบของกล้ามเนื้อ เอ็น ข้อต่อหลัง 24 - 48 ชั่วโมง
3. ลดอาการเกร็งของกล้ามเนื้อ
4. ช่วยให้เนื้อเยื่อ พังผืด ยืดตัวออก
5. ลดการติดขัดของข้อต่อ
6. ลดอาการปวด
7.ช่วยเพิ่มการไหลเวียนของโลหิต

   วิธีการประคบ
 1. นำลูกประคบที่ได้ไปนึ่งในหม้อนึ่ง ใช้เวลานึ่งประมาณ 15 - 20 นาที
 2. นำลูกประคบที่รับความร้อนได้ที่แล้วมาประคบคนไข้ที่มีอาการต่างๆ โดยสับเปลี่ยนลูกประคบ
 3. จัดท่าคนไข้ให้เหมาะสม เช่น นอนหงาย นั่ง นอนตะแครง ขึ้นอยู่กับตำแหน่งที่จะทำการประคบสมุนไพร
 4. นำลูกประคบที่รับความร้อนได้ที่แล้วมาประคบบริเวณที่ต้องการประคบ

      (การทดสอบความร้อนของลูกประคบคือ แตะที่ท้องแขนหรือหลังมือ)
 5. ในการวางลูกประคบบนผิวหนังคนไข้โดยตรงในช่วงแรกๆ ต้องทำด้วยความเร็วไม่วางแช่นานๆ เพราะคนไข้จะทนร้อนไม่ได้มาก

 ข้อควรระวังในการประคบสมุนไพร
1.      ไม่ควรใช้ลูกประคบที่ร้อนเกินไป โดยเฉพาะบริเวณผิวหนังที่เคยเป็นแผลมาก่อนหรือบริเวณที่มีกระดูกยื่น และต้องระมัดระวังเป็นพิเศษในผู้ป่วย
2.      โรคเบาหวาน อัมพาต ในเด็กและผู้สูงอายุ เพราะมักมีความรู้สึกในการรับรู้และตอบสนองช้าอาจทำให้ผิวหนังไหม้พองได้ง่าย
3.      ไม่ควรใช้การประคบสมุนไพรในกรณีที่มีอาการอักเสบ บวม แดง ร้อน ในช่วง 24 ชั่วโมงแรกเพราะจะทำให้อักเสบบวมมากขึ้นและอาจมีเลือดออกมากตามมาได้
 4. หลังจากประคบสมุนไพร เสร็จใหม่ ๆ ไม่ควรอาบน้ำทันที เพราะจะไปล้างตัวยาจากผิวหนังและร่างกายยังไม่ สามารถปรับตัวได้ทัน อาจทำให้เกิด เป็นไข้ได้

 การเก็บลูกประคบสมุนไพร
 ลูกประคบสมุนไพรที่ใช้ครั้งหนึ่งแล้วสามารถเก็บไว้ได้นาน 3-5 วัน หลังจากใช้แล้วควรผึ่งลูก ประคบให้แห้ง เก็บใส่ถุงหรือภาชนะปิดฝาให้แน่น แช่ตู้เย็นจะเก็บได้นานขึ้น 7 วัน ให้สังเกตถ้าลูกประคบมีเชื้อราปรากฏให้เห็นและมีกลิ่นเหม็นเปรี้ยว หรือสีเหลืองจางลง แสดงว่าตัวยาเสียไม่มีคุณภาพไม่ควรนำมาใช้อีกต่อไปเพราะจะใช้ไม่ได้ผล
























No comments:

Post a Comment