Friday, January 17, 2014

การผดุงครรภ์ไทย

การผดุงครรภ์ไทย
 



จัดทำโดย อ.หมอสุชาติ ภูวรัตน์
นธ.เอกบาลีประโยค 1-2
(อดีตพระธรรมทูตต่างประเทศ)
B.S. Engineering Design Tech.
 B.A. ศาสนศาสตร์บัณฑิต
B.S. Computer Information Systems
B.TM.  พทย์แผนไทยบัณฑิต
สาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ
บ.ภ.พท.ว.พท.ผ.พท.น.
ครูแพทย์แผนไทย 4 ด้าน
ศูนย์การแพทย์แผนไทยภูเก็ต
ทำเพื่อการศึกษาและประโยชน์แก่ผู้ชม


การผดุงครรภ์ไทย 

บทที่ 1 บทนำ

          ผู้ที่จะเป็นผดุงครรภ์ที่ดีต้องมีคุณสมบัติ 2 ประการ
คือ มีความรู้ และสามารถวินิจฉัยสภาวะต่างๆ ของหญิงตั้งครรภ์ และหญิงหลังคลอดได้ เพื่อให้การดูแลที่ถูกต้องเหมาะสม ประกอบกับเป็นบุคคลที่มีอัธยาศัยอ่อนโยน มีความเมตตา และมีคุณธรรมในการดูแลแก่ทุกๆคน ในทุกโอกาส

          การเรียนผดุงครรภ์จำเป็นต้องรู้จัก อวัยวะเพศสืบพันธ์ุ ว่า แต่ละอวัยวะทำหน้าที่ผสมพันธุ์ให้เกิดชีวิตขึ้นได้อย่างไร การสืบพันธุ์จึงเป็นของธรรมดาตามหน้าที่ของธรรมชาติของโลก ไม่ว่ามนุษย์หรือสัตว์ ต้องมีการผสมพันธุ์เพื่อสืบเผ่าพันธุ์ 

          ผดุงครรภ์ทุกคนควรจะต้องรู้จัก อวัยวะส่วนประกอบต่างๆ ที่มีอยู่ในตัวเรารวมถึงหน้าที่ของส่วนต่างๆ เช่น ต้องรู้ว่า อวัยะสืบพันธุ์ของตนนั้นมีส่วนประกอบอะไรบ้าง อยู่ตรงไหน ทำหน้าที่อย่างไร จึงเกิดมีชีวิตขึ้นได้ ผดุงครรภ์จำเป็นต้องเรียนรู้และเข้าใจเรื่องอวัยวะสืบพันธุ์ ส่วนประกอบของร่างกายและการเจ็บป่วยทีจะเกิดขึ้น ถ้าพบคนไข้มีอาการผิดแปลกจากทีเคยพบ ก็ควรส่งต่อแพทย์หรือโรงพยาบาลที่มีเครื่องมือเครื่องใช้ที่จะช่วยผู้ป่วยได้ทัน นอกจากความรู้ในวิชาชีพการผดุงครรภ์ ต้องรู้ถึงบทบาทหน้าทีของผดุงครรภ์ด้วย

1. ความหมายของการผดุงครรภ์
       
          คือ การดูแลมารดาและทารกตั้งแต่ผู้หญิงเริ่มตั้งครรภ์จนถึงคลอด เพื่อแนะนำ แก้ไข ป้องกันอาการต่างๆ ของผู้เริ่มตั้งครรภ์ซึ่งจะมีความเปลี่ยนแปลงในร่างกายเกิดขึ้น ได้แก่
          การปฏิบัติต่อร่างกาย ให้ดูแลรักษาความสะอาดอย่างถูกต้อง รักษาผิวพรรณ และความผิดปกติ คของหัวนม บางคนจะมีหัวนมจม หัวนมคุด เป็นต้น
          แนะนำให้รักษาสุขภาพจิต ให้ทำจิตใจให้แจ่มใส ไม่ให้กังวลต่อการตั้งครรภ์ ซึ่งเป็นปกติของธรรมชาติในการสืบเผ่าพันธ์ ไม่ใช่เป็นโรค ถ้าคนไข้อ่อนเพลีย ให้รบประทานทานยาหอมแบบไทยๆผดุงครรภ์ช่วยปลุกปลอบจิตใจให้ผุ้ตั้งครรภ์เพลิดเพลิน และแนะนำให้ออกกำลังกายเบาๆ แต่งกายให้ดูสดใส สบายตา สบายใจ
          แนะนำอาหารที่มีประโยชน์ มีคุณค่าต่อทารกในครรภ์ และให้เป็นอาหารที่ช่วยให้การขับถ่ายสะดวก และดื่มน้ำให้เพียงพอ
          ป้องกันความผิดปกติที่จะเกิดขึ้น ถ้าผดุงครรภ์สงสัยว่าการตั้งครรภ์นั้นผิดธรรมดา ให้ส่งต่อโรงพยาบาลโดยเร็ว

2. บทบาทหน้าที่ของผดุงครรภ์แผนไทย

          ผดุงครรภ์ มีหน้าที่สำคัญในการดูแลรักษาผู้ตั้งครรภ์ ตั้งแต่แรกเริ่มจนทารกคลอด และมีหน้าที่ชี้แจงแนะนำในสิ่งต่างๆ ให้ผู้เป้นมารดาเข้าใจและปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง 
          แนะนำคู่สมรสที่ต้องการมีลูกให้มีความเข้าใจในการดำเนินชีวิตคู่อย่างถูกต้องตามธรรมชาติ เพื่อจะได้
บุตร-ธิดาที่มีคุณภาพ
          ปัจจุบันนี้การที่ต้องการจะมีลูกได้ตามความปรารถนาได้อย่างมีประสิทธิภาพทั้งที่จำกัดจำนวน หรือผู้ที่ไม่มีลูกก็สามารถให้แพทย์ช่วยได้หลายวิธี โดยวิทยาการที่ทันสมัย
อย่างปลอดภัยและแน่นอน
          การจำกัดจำนวนหรือการทำหมัน แพทย์ก็สามารถทำให้ได้อย่างรวดเร็วและปลอดภัย
          การทำคลอด คำว่า คลอดไม่ได้นั้นไม่มี เพราะถ้าผดุงครรภ์เห็นว่า การคลอดนั้นไม่เป็นที่น่าไว้วางใจ ก็ให้รีบส่งต่อแพทย์หรือโรงพยาบาลที่จะให้การช่วยเหลือ ผู้ที่จะคลอดโดยเร็วที่สุด
          ผู้ประกอบโรคศิลปะแผนไทย 
      สาขาผดุงครรภ์แผนไทย 

    จะทำการคลอดได้เฉพาะรายที่มีครรภ์ปกติ 
ส่วนเรื่องของการข่มท้อง การตรวจภายในช่องคลอด
หรือการใช้เครื่องมือที่ไม่ได้ต้ม นึ่ง มาตัดสายสะดือทารก 
ซึ่งส่งให้เกิดอันตรายต่อมารดาและทารกได้นั้น 
ห้ามมิให้ปฏิบัติ

          สิ่งที่ต้องคำนึงในการผดุงครรภ์ คือ ต้องตั้งมั่นอยู่ในความพยายามที่จะช่วยให้ทารกที่อยู่ในครรภ์นั้นคลอดออกมาให้ได้อย่างสะดวกที่สุดเท่าที่จะช่วยได้ กับทั้งต้องระวังป้องกันรักษาอย่างดีที่สุด ที่จะไม่ให้เกิดอันตรายแก่มารดาและทารกที่จะคลอดออกมา

          การช่วยแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ
1. เรื่องการใช้ยาฆ่าเชื้อ การทำความสะอาด
    เครื่องใช้ต่างๆให้ปราศจากเชื้อ
2. การให้ยาบรรเทาอาการปวดเมื่อมดลูกหดรัดตัว 
    เพื่อรักษาชีวิตให้ทันท่วงที
          ก่อนคลอดบุตร หรือแรกเจ็บท้อง ต้องรักษาความสะอาดมารดาก่อน คือให้อาบน้ำอุ่นฟอกสบู่หรือน้ำที่ผสมน้ำยาฆ่าเชื้อ (ด่างทับทิมเจือน้ำ) ล้างให้สะอาด เช็ดด้วยผ้าสะอาด (ผ่านการตากแดดหรือนึ่งมาก่อน)
          ความสะอาดสำคัญมากทุกกรณีเมื่อเวลาทำคลอด


*************************************

บทที่ 2 จริยธรรมแห่งวิชาชีพผดุงครรภ์ไทย

     ผู้เป็นผดุงครรภ์แผนโบราณ จะต้องประกอบ
ด้วยคุณธรรมประจำใจ มีความเสียสละ 
และมีความรู้ความสามารถในการปฏิบัติงาน
ให้ลุล่วงไปด้วยดี มีเหตุผลในการปฏิบัติ 
และต้องเป็นผู้ที่มีความโอบอ้อมอารี มีอัธยาศัย
อ่อนโยนสุภาพ เป็นผู้ที่มีกาย วาจา ใจ พร้อมที่จะ
ให้ความช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ทุกโอกาส

จริยธรรมของผดุงครรภ์แผนไทย
มี 10 ประการ ดังนี้:-

1.มีเมตตาจิตต่อคนไข้

2.ไม่โลภเห็นแก่ลาภ

3.ไม่โอ้อวดความรู้

4.ไม่หวงกีดกันความรู้ผู้อื่นที่มีความรู้ดีกว่าตน

5.ไม่ลุแก่อำนาจและอคติ

6.ไม่หวั่นไหวต่อสิ่งที่เป็นโลกธรรม 8

7.มีความละอายต่อบาป

8.ไม่เป็นคนเกียจคร้าน

9.มีสติไตร่ตรอง

10.ไม่มีสันดานมัวเมา

*************************************

บทที่ 3 สรีระร่างกายของหญิง
และชายวัยเจริญพันธุ์

ผดุงครรภ์ต้องเรียนรู้ และเข้าใจเรื่องอวัยวะสืบพันธุ์ ถ้ามีการเจ็บป่วยเกิดขึ้นส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกายที่ผิดแปลกไป ก็ควรส่งโรงพยาบาลที่มีเครื่องมือเครื่องใช้ให้การช่วยเหลือทันการ

1. สรีระร่างกายของหญิง
ที่แตกต่างจากชาย


          ระบบอวัยวะสืบพันธุ์ชายประกอบด้วย ต่อมอัณฑะ ท่อน้ำอสุจิ องคชาติต่อมอัณฑะ มีหน้าที่ผลิตน้ำอสุจิ และกลั่นตัวอสุจิ
  • ส่งน้ำอสุจิไปตามสองสาย (สายสองสลึง) 
  • พักอยู่ในถุงน้ำกาม ซึ่งติดอยู่ใต้กระเพาะปัสสาวะทั้งสองข้างน้ำอสุจิ ประกอบด้วยตัวสเปิร์มมาโตซัว ลักษณะเป็นเมือกขาวข้น ออกมาครั้งหนึ่งประมาณ 3-4 ช้อนกาแฟ เมื่อตั้งแต่อายุ 16 ปี จนอาจถึง 70-80 ปี ซึ่งทำให้เกิดบุตรได้ 
       (แต่ไม่แน่นอนแล้วแต่กำลังคน)   



 ระบบอวัยวะสืบพันธุ์หญิงประกอบด้วย มดลูก รังไข่ ช่องคลอด มดลูก เป็นกล้ามเนื้อสามชั้น หนาเหนียวแข็งแรงมาก ไขว้กันตามยาวหนึ่งชั้น ไขว้กันตามขวางหนึ่งชั้น ไขว้เฉลียงหนึ่งชั้น ภายในตัวมดลูกเป็นโพรงรูปห้องสามเหลี่ยมแบนๆมีช่องหนงึ่ ไปทางช่องคลอด อีกสองช่องอยู่ก้นมดลูก ออกไปทางซ้ายและขวา เรียกว่าปีกมดลูกซ้ายขวา ส่วนปีกมดลูก เป็นหลอดทางเดินของไข่สุกเข้าไปโพรงมดลูก ปากหลอดเหมือนปากแตร มดลูกทรงตัวลอยด้วยเอ็นทั้งสองข้าง ถ้าเอ็นขาดทำให้มดลูกออกมาจุกที่ปากช่องคลอด หรือออกมานอกช่องคลอด(กระบังลมหรือดากออก) ช่องคลอด ยาวประมาณ 5-6 นิ้ว ตั้งแต่ปากมดลูกถึงปากช่องคลอด เป็นหนังย่นๆ และเปียกชุ่มอยู่เสมอ

         ปลายปากช่องคลอดตรงปากมดลูก
มีแอ่งสำหรับรองรับอสุจิ มีลักษณะครึ่งกรดครึ่งด่าง 
ถ้าปากช่องคลอดเป็นกรด หรือมีปากมดลูกอักเสบ
  • อสุจิตาย ภรรยาเป็นหมัน ไม่เกิดบุตร 
  • ถ้าปากช่องคลอดเป็นด่าง 
        สเปอร์มาโตซัวมีกำลังดี
  • ไข่ของผู้หญิงเป็นลูกกลมเล็ก 
  • มีกำหนดครบ 22 วัน จึงจะสุกครั้งหนึ่ง
  • ไข่ที่ออกจากรังไข่จะเคลื่อนที่เข้าทางท่อ
       ปากแตรทันที 
  • จะอยู่ตรงนั้น 6-7 วันจึงจะเข้าถึงโพรงมดลูก

พระคัมภีร์มหาโชครัตน์ บันทึกว่า 
สตรีแตกต่างจากบุรุษ 4 ประการ คือ

1. ถันประโยธร (เต้านม) 
2. จริตกริยา
3. ที่ประเวณี (ช่องคลอด) และ
4. ต่อมระดู
2. ต่อมเลือดระดู

         1) หญิง 14-15 ปีขึ้นไป สิ้นตานซาง ต่อมโลหิต
แห่งหญิงจะบังเกิดขึ้นมาตามประเวณีแห่งสตรีภาพ
ได้แก่ โลหิตแห่งหญิงอันเกิดมาแต่หัวใจ ขั้วดี 
ผิวเนื้อ เส้นเอ็นทั้งปวง และกระดูก 
(ใจ ดี เนื้อ เอ็น ดูก)

         2) คนเมืองร้อนหญิงมีระดูอายุประมาณ 12-13 ปี 
แต่คนเมืองหนาวหญิงมีระดูอายุประมาณ 14-15 ปี 
เด็กในเมืองหรือเด็กที่อยู่ตามสถานที่ยั่วยวน
ก็อาจจะมีระดูเร็วกว่าเด็กชนบท

         3) ระดูออกประมาณ 3-4 วัน หรือ 5 วัน 
ครั้งหนึ่งประมาณ 10-15 ช้อนโต๊ะ

         4) ระดูจะออกในวันที่รู้สึกเต้านมคัดแข็ง 
ปวดตึงที่มดลูกจะเป็นวันที่ไข่สุก ผิวหนังใน
โพรงมดลูกหนาขึ้น โลหิตคั่งอยู่มากจะตึงมดลูก
มาก  กลายมาเป็นประจำเดือน แต่ถ้าไข่สุกแล้ว
มีการผสม ก็จะไม่แตกโลหิตต้องเก็บไว้เลี้ยงทารก

        5) ระดูที่ออกควรเป็นเลือดสดๆ ไม่มีกลิ่น
หรือเป็นลิ่ม ถ้ามีกลิ่นโสโครกสงสัยเป็นโรคระดู

        6) ผู้หญิงจะหมดประจำเดือนตั้งแต่อายุ 45-55 ปี

*************************************

บทที่ 4 การปฏิสนธิและการตั้งครรภ์

         ต้นเหตุที่เกิดมนุษย์เกิดจากความพร้อมของบิดามารดา และความสมบูรณ์ของธาตุ 4 มาระคนกัน








1. การปฏิสนธิ (ครรภ์วาระกำเนิด)

         เมื่อสตรีเริ่มวัยสาวไข่จะค่อยๆเจริญจนสุก รังไข่ผลิตไข่สุก ไข่สุกทะลุรังไข่หลุดไปในช่องท้อง และจะถูกดูดเข้าไปในท่อรังไข่ ระยะไข่แตกออกจากรังนี้เกิดประมาณวันที่ 14 หลังจากวันที่มีระดู ตลอดเวลาที่ไข่ยังไม่ตาย ถ้ามีการผสมพันธุ์เกิดขึ้น ก้อนสีเหลืองที่รังไข่นี้ก็เจริญเติบโตมากขึ้น มีคุณภาพห้ามไข่อื่นในรังไข่ไม่ให้สุกอีก ถ้าหากไข่ไม่ได้รับการผสมพันธุ์ ไข่จะมีชีวิตอยู่ได้เพียง 4-5 วันเท่านั้นสีเหลืองที่ติดอยู่ที่รังไข่ก็จะละลายเป็นระดูไหลออกมา ส่วนไข่ที่ได้รับการผสมพันธุ์ มักเกิดที่ปีกมดลูก จะลอยตัวอยู่ในมดลูก 6-7 วัน รวมเป็น 10 วัน











เดือนที่ 5 หันหน้าเข้าสุู่กระดูกสันหลังของมารดา
แผนภาพแสดงการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์
4-5-6-9-13-14-16-20-22-23-24-26-28 วัน - 42 วัน 
และ 8-9-12-16-20 สัปดาห์
ปฐมกะละละ น้ำล้างเนื้อ ชิ้นเนื้อ สัณฐานดั่งไข่งู
ปัญจสาขา เกศา โลมา นขา ทันตา เรียกว่า ชัยเภท 
(ศีรษะ 1 มือ 2 เท้า 2) โลหิตเวียนเข้าเป็นตานกยูง 
ครบไตรมาส โลหิตแตกออกไปตามปัญจสาขา
4 เดือน - อาการครบ 32
5 เดือน - มีจิต และเบญจขันธ์ รู้จักร้อน เย็น
(หันหน้าเข้าสู่กระดูกสันหลังของมารดา 
หันหลังออกข้างนาภี)

อวัยวะห่อหุ้ม และเลี้ยงดูทารก
  ขณะที่ทารกอยู่ในมดลูก
มีอวัยวะต่างๆ หุ้มห่อเลี้ยงดูดังต่อไปนี้

1. รก
  • นำอาหารและออกซิเจนให้ และถ่ายเทของเสีย 
       สายสะดือ สายติดต่อระหว่างแม่และทารก
  • เกิดขึ้นหลังจากเส้นโลหิตมาเลี้ยงไข่ 
       เมื่ออายุ 2 เดือน
  • เป็นรกโดยครบถ้วน เมื่ออายุ 4 เดือน
  • ลักษณะ คล้ายน้ำตาลปึก ขนาด 7-8 นิ้วฟุต 
       หนา 1 นิ้วฟุตหนักประมาณ ½ กิโลกรัม
  • ป้องกันโลหิตมารดาไหลย้อนไปสู่ทารกได้ 
  • (ความดันโลหิตของแม่ และเด็ก)

2.  สายสะดือ มีเส้นเลือดแดง 2 เส้น (แม่ และลูก) 
เส้นโลหิตดำ 1 เส้น (ลูก และแม่)
  • สายสะดือยาว 20-22 นิ้วฟุต
  • เมื่อครบกำหนดคลอด สายสะดือบิดเกลียว
       ประมาณ 10 รอบ
  • มักจะเกาะติดกึ่งกลางรก บางรายเกาะอยู่ที่
       เยื่อหุ้มเด็ก ข้างๆรกจะอันตรายมาก 
       หรือสายสะดือบิดเกลียวมาก
       โลหิตมารดาไปสู่เด็กไม่ได้ อาจเสียชีวิต
การเปลี่ยนแปลงกับอวัยวะต่างๆ 
ของมารดาเนื่องจากการตั้งครรภ์ 
  • การเปลื่ยนแปลง เฉพาะที่ 
  • การเปลื่ยนแปลง โดยทั่วไป 
  • การเปี่ยนแปลงของ การเผาผลาญของร่างกาย
  • การเปลี่ยนแปลงของ ต่อมไม่มีท่อ (ต่อมไร้ท่อ) 
       ในร่างกาย
1. การเปลี่ยนแปลงเฉพาะที่  บริเวณช่องเชิงกราน 
    หน้าท้อง และผิวหนัง

    1)  มดลูก  มีการขยายทั้งขนาดและจำนวน
        ของกล้ามเนื้อ โลหิตหล่อเลี้ยงมากขึ้น
  • ปลายเดือนแรกมีขนาดเล็กน้อย 
  • ปลายเดือนที่สองมีขนาดเท่า 
  • ปลายเดือนที่สามโตเท่าหัวทารก 
  • สัปดาห์ที่ 18 คลำพบมดลูกเหนือหัวเหน่า 
  • ปลายเดือนหก ยอดมดลูกเหนือสะดือพอดี 
  • ยอดมดลูกจะอยู่สูงสุดที่ สัปดาห์ที่ 38 
  • หลังจากนั้นท้องลด ประมาณสัปดาห์ที่ 40 
  • มดลูกในครรภ์หญิงมักเอียงด้านขวามมากกว่า
       ด้านซ้าย ปากมดลูกนิ่มมาก 
  • มดลูกบีบรัดตัวตลอดเวลา 
    2) ช่องคลอด จะมีโลหิตหล่อเลี้ยงมากขึ้น 
    มีสีม่วงช้ำ น้ำหล่อเลี้ยงช่องคลอดมีสภาพกรด

    3) กล้ามเนื้อ เอ็น ข้อกระดูก ในบริเวณช่องต่อ
    เชิงกราน จะนุ่มยืดและเคลื่อนไหวได้มากขึ้น 
    ตั้งแต่เดือนที่ 5

    4) หน้าท้อง จะปรากฏรอยแตกในราวตั้งครรภ์ 
    8 เดือนขึ้นไป จะมีเส้นดำปรากฏขึ้นอีก
    เส้นหนึ่งตรงกลางท้องจากหัวเน่าไปถึงสะดือ

    5) นม เต้านม และบริเวณหัวนม จะโตขึ้นหลังจาก
    ตั้งท้องได้ 1 เดือนขึ้นไป ทำให้มีอาการคัดเพราะ
    ไขมันเพิ่มใต้ผิวหนัง ทำให้รู้สึกปวดเล็กน้อย

    6) ผิวหนัง บริเวณหน้า จะปรากฏจุดดำๆ ทั้งสองข้าง
    โหนกแก้ม และดั้งจมูกคล้ายผีเสื้อ

2. การเปลี่ยนแปลงโดยทั่วไปของ
ร่างกาย ได้แก่ (ระบบอาหาร โลหิต  
หัวใจ ทางเดินปัสสาวะและประสาท)

    1) ระบบทางเดินอาหาร
  • คลื่นไส้อาเจียนหลังจากตื่นนอนหรือหลัง
       รับประทานอาหารเช้า
  • ฟันผุง่าย เพราะหินปูนของแม่ต้องให้ทารก
       สร้างกระดูก
  • อยากกินของผิดๆ แปลกๆ เสมอ
  • ท้องขึ้น ท้องเฟ้อ เบื่ออาหาร และท้องผูกเสมอ
       เพราะมดลูกกดลงลำไส้ใหญ่
    2) ระบบทางเดินของโลหิต

         (1) จำนวนโลหิตจะเพิ่มขึ้น15 % ของจำนวนโลหิตทั้งหมดและมีเม็ดเลือดขาวประมาณ15,000 เม็ดซึ่งธรรมดามีเพียง 8,000 เม็ดต่อเลือด 1 คิวบิคมิลลิมีเตอร์ มีผลดีต่อสู้กับพิษที่เกิดจากครรภ์เกล็ดเลือดมีมากขึ้นเพื่อป้องกันมารดาเสียเลือดมากขณะคลอด

      (2) หัวใจทำงานเพิ่มขึ้น  ทำให้กล้ามเนื้อหัวใจ
      โตขึ้นเพราะจำนวนโลหิตที่จะสูบฉีดเพิ่มมากขึ้น

ข้อแนะนำ โรคหัวใจพิการ ไม่ควรมีบุตร

         (3) ความดันของโลหิต ความดันจะต่ำลงเล็กน้อย
        ในครึ่งหลังของการตั้งครรภ์ และสูงขึ้นเล็กน้อย
        เมื่อใกล้คลอด

    3) ระบบทางเดินหายใจ มดลูกดันปอด 
    ทำให้หายใจลำบาก เหนื่อยง่าย

    4) ระบบทางเดินปัสสาวะ  ดังนี้

         (1) ไตทำงานมากขึ้นในครึ่งหลัง 
(คนที่เป็นโรคไตพิการหากตั้งครรภ์จะพิการมากขึ้น 
ทำให้การตั้งครรภ์เป็นพิษง่ายขึ้น) 
ทำให้ปัสสาวะมีไข่ขาว

         (2) ปริมาณน้ำปัสสาวะเพิ่มจำนวนมาก
จากเดิมประมาณ 1 ใน 4 ส่วน และกระเพาะปัสสาวะ
ถูกกดโดยมดลูกทำให้อยากถ่ายปัสสาวะบ่อยๆ

    5) ระบบประสาท อาเจียนตอนเช้า และอาจมีนิสัย
ใจคอตรงข้ามกับเมื่อยังไม่ตั้งครรภ์ 

3. การเผาผลาญของร่างกาย จะมีเพิ่มมากขึ้น 
เพราะทารกมีการเผาผลาญในอวัยวะต่างๆ 
ด้วยในเวลาเดียวกัน

4. ต่อมไม่มีท่อในร่างกาย โตขึ้นทุกต่อม 
    และทำงานมากกว่าธรรมดา

น้ำทูนหัว หรือน้ำคร่ำ 

         เกิดขึ้นในเยื่อบางๆ เป็นน้ำสีเหลืองอ่อนๆ แรกๆ 
เป็นน้ำใสๆ รสเค็มกร่อย 6 เดือนน้ำจะข้นมีกลิ่นแรง
สาบๆ มีสีเปลี่ยนแปลง ถ้าน้ำคร่ำวิปริตจะเป็นสีแดง

         ประโยชน์
  • เพื่อหล่อเลี้ยงทารกไม่ให้ถูกกระทบกระเทือน 
       และเป็นเครื่องถ่างให้มดลูกพองตัวอยู่เสมอ
  • ช่วยให้การหล่อลื่นให้ทารกคลอดสะดวกด้วย
       ถ้าน้ำคร่ำมากเกินกว่า 2 ขวดเบียร์ บางราย
มี 6-8 ขวด  ท้องไม่ยาวรี แต่กลมใหญ่ ตลำดูทารก
ไม่ค่อยพบ ฟังหัวใจทารกไม่ค่อยได้ยิน 
หนังหน้าท้องแบนราบมาก ทำให้ตาทารกผิดปกติ 
ร่างทารกถูกบีบรัดตัวโดยมดลูก น้ำจึงไม่เข้าช่อง
เชิงกราน เมื่อถุงน้ำคร่ำแตกจะมีน้ำไหลออกมามาก

การให้การดูแลแก่หญิงตั้งครรภ  

1. การซักประวัติ
มีผลต่อแม่ และเด็กในระยะครรภ์ เช่น 
ขาดสารอาหาร ปอด ไอ หอบ หัวใจ ไต

     1) อายุ อาชีพ ระยะเวลาการแต่งงาน

     2) ประวัติทั่วไป แบ่งออกเป็น

(1) ประวัติครอบครัว การเจ็บป่วยของสามี 
และบุคคลทั้ 2 ฝ่ายในครอบครัว อาจมีผลต่อการ
ตั้งครรภ์ เช่น โรคเลือด หรือโรคทางพันธุกรรม

(2) ประวัติการเจ็บป่วยในอดีต ก่อนการตั้งครรภ์ 
เพราะโรคการเจ็บป่วยบางอย่าง อาจมีผลต่อมารดา 
และทารกขณะตั้งครรภ์ได้ เช่น ขาดอาหาร 
โรคปอด ไอ หอบ โรคหัวใจ (มีอาการบวม หอบ 
เหนื่อย หรือเหนื่อยง่าย) และโรคไต 
(ปัสสาวะสีน้ำล้างเนื้อ และบวม)

(3) ประวัติการคลอด เพื่อต้องการรู้จำนวนการ
ตั้งครรภ์ และการแท้ง อาการผิดปกติก่อนคลอด 
วิธีการคลอด อาการผิดปกติหลังคลอด 
จำนวนบุตรที่มีชีวิตอยู่ และอื่นๆ

(4) ประวัติการมีระดู อายุที่มีระดูครั้งแรก อาการ
ก่อนมีระดู การมีระดูครั้งสุดท้าย จะนำไปคาดคะเน 
กำหนดการคลอดในครั้งนี้ได้

(5) อาการผิดปกติที่ต้องพบแพทย์ 
 การมีเลือดออกทางช่องคลอด บวมที่หน้า 
มือ เท้า ปวดศีรษะมาก และติดต่อกันนาน ตาพร่า 
มองเห็นไม่ชัด ปวดท้อง อาเจียนเป็นเวลานาน 
ไข้หนาวสั่น มีน้ำใสๆ ไหลทางช่องคลอด เด็กไม่ดิ้น

(6) การนัดตรวจครรภ์ นัดให้พบบ่อยครั้งขึ้น
เมื่อใกล้ครบกำหนกคลอด เริ่มตั้งแต่มีครรภ์
ครบ 28 สัปดาห์ นัดทุกเดือน, อายุครรภ์ 28-36 
สัปดาห๋ นัดทุก 2 ส้ปดาห์, อายุครรภ์ 36 สัปดาห์ 
นัดทุกสัปดาห์

(7) การตรวจครรภ์ ผดุงครรภ์ต้องตรวจครรภ์
เพื่อหาสิ่งผิดปกติ และป้องกันให้การคลอด
ปลอดภัยทั้งมารดา และทารก แนะนำให้มารดา
ไปฝากครรภ์เมื่อตั้งครรภ์

(8) การตรวจเลือด เพื่อหาเชื้อกามโรค หรืออาการ
     ผิดปกติ หรือโรคอื่นที่แพทย์สงสัย

(9) การตรวจปัสสาวะ เพื่อหาน้ำตาล
     และไข่ขาวในปัสสาววะ

2. การให้คำแนะนำผู้ตั้งครรภ์
  • อายุครรภ์ 1-2 เดือน มีอาการคลื่นเหียนอาเจียน
      ตอนเช้า เพราะ เส้นประสาทของมดลูกติดต่อ
      ถึงกระเพาะอาหาร ผดุงครรภ์ควรให้รับประทาน
      ยาหอม หรือใช้มะกรูด มะนาวสูดดมก็ได้
      1) แนะนำเรื่องอาหาร
  • ไข่ นม เนื้อ ปลา ถั่ว ฟักเขียว ฟักทอง 
       มะละกอ กล้วยน้ำว้า ส้ม น้ำมะพร้าวอ่อน 
       ดื่มน้ำให้เพียงพอ เพื่อป้องกันอาการท้องผูก
      2) เครื่องนุ่งห่ม
  • สะอาด สีสด ใส่หลวมๆ สบาย ซักให้สะอาด 
       มีให้เปลี่ยนบ่อยๆ การปฏิบัติต่อร่างกาย
      3) ความสะอาด
  • ถ้าหัวนมจมหรือคุด ให้ใช้ผ้าชุบน้ำอุ่นประคบ
       แล้วดึงหัวนม อย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง
  • คันตามร่างกาย ไม่ให้เกา ใช้ผ้าขนหนูชุบ
       น้ำอุ่นจัดบิดให้แห้งประคบหน้าท้อง 
       และตามตัวที่คัน แล้วโรยด้วยแป้งเด็ก
  • คันตามช่องคลอด ใช้อ่างดินหรือภาชนะตื้นๆ 
       ใส่น้ำอุ่นนั่งแช่ไว้ 5-10 นาทีแล้วซับให้แห้ง 
ข้อแนะนำ ห้ามเล่นน้ำในคลอง
      4) เรื่องการทำงาน 
  • ไม่ให้ทำงานหนัก ควรให้มีเวลาพักผ่อน 
        อาจทำให้แท้ง และเป็นอันตรายได้

      5) การมีเพศสัมพันธ์ 
  • หลังตั้งครรภ์ 6 เดือนแล้ว 
       ห้ามมีเพศสัมพันธ์เด็ดขาด
2. การบำรุงรักษาและการปฏิบัติตัวหลัง
ในระยะตั้งครรภ์ (ครรภ์รักษา) 

         สตรีทั้งปวงมีครรภ์ตั้งขึ้นได้ 15 วัน หรือ 1 เดือน 
มีร่างกายปรากฏให้คนรู้ว่าตั้งครรภ์แล้ว เพราะว่า 
เอ็นผ่านหน้าอกนั้นเขียว หัวนมคล้ำดำเข้าแล้ว 
ตั้งขึ้นเป็นเม็ดรอบหัวนมนั้น 
ก็ให้แพทย์พึงรู้สตรีผู้นั้นมีครรภ์โดยสังเขป

        สตรีมีครรภ์ได้ 1 เดือน
ถ้าไข้รำเพรำพัด คือ 
ให้ราก ให้จุกในอุทร และให้แดกขึ้นแดกลง
เป็นกำลัง และให้ละเมอ เพ้อพกดังผีเข้า 
แพทย์ไม่รู้ว่าเป็นไข้สันนิบาตนั้น หามิได้เลย 
บังเกิดโทษในครรภ์รักษานั่นเอง ให้ทำพิธี
แบบโบราณเสียก่อน พิธีมีดังนี้ ท่านให้ทำบัตร 5 มุม 
เอาแป้งคลึงท้องด้วยมนต์นี้ 
โอม ธิชูภูภะ สวาหะ 5 ที 
แล้วเอาแป้งที่คลึงมาปั้นรูปหญิงคน 1 
รูปภูเขาอัน 1 รูปไก่ตัว 1 รูปม้าตัว 1 เอาลูกไม้ 7 สิ่ง 
ดอกไม้ 7 สิ่ง แล้วเอาข้าวสารโปรยกลางลูกไม้บูชา 
และเอาไปส่งที่ทิศอาคเนย์ ทำ 3 วันหาย 
ถ้าไม่หายท่านให้เอาจันทน์หอม ดอกบัวเผื่อน 
รากบัวหลวง ข้าวเหนียวกัญญา สิริยา 4 สิ่งนี้ 
บดทำแท่งไว้ ละลายน้ำนมโคกินหาย ถ้าไม่หาย 
ให้เอายาขนานนี้ เนื้อโคย่าง 1 ข้าวตอก
ข้าวเหนียวกัญญา 1 บดละลายน้ำผึ้งกินหาย 
ถ้าให้ร้อนใช้ยาขนานนี้ ท่านให้เอาใบไทรย้อย 
ใบหญ้าแพรก ใบพรมมิ ใบตำลึง และดินประสิวขาว 
สิริยา 5 สิ่งนี้บดละลายน้ำซาวข้าวชโลมหาย 
กินก็ได้ ใช้มามากแล้ว

         สตรีมีครรภ์ได้ 2 เดือน แม้เป็นไข้จับๆเป็นเวลา
ทุกวันก็ดี ให้นอนไม่หลับ กินข้าวไม่ได้ ให้เชื่อม 
ให้มึน ให้เป็นอันใดก็ดี เว้นวันจับวันก็ดี ถ้าจะแก้
ให้ทำตามโบราณเสียก่อนดังนี้ ท่านให้ทำแบบ
กลมๆอัน 1 เอาแป้งคลึงท้องด้วยมนต์นี้ 
โอม อมรหิชิวันติ เย สวาหะ 7 ที  
แล้วเอาแป้งที่คลึงนั้นมาปั้นเป็นรูปแมวตัว 1 
เอาผัก 3 สิ่ง เอาลูกไม้ 3 สิ่ง ดอกไม้ 3 สิ่ง 
แล้วจึงเอาข้าวสุกเทรายตีนตอง เอาแป้งหอม 
เอาน้ำมันหอม พรมบัตร  เอาไปส่งที่ทิศบูรพาหาย  
ถ้าไม่หายให้แต่งยาขนานนี้กิน เอาเกสรบัวหลวง 
ดอกจงกลนี หัวแห้วหมู เทียนดำ กระจับบก 
บดละลายน้ำซาวข้าวกินหาย 
(ถ้าไม่หายมีขนานต่อไป ดูยาครรภ์รักษา) 

        สตรีมีครรภ์ได้ 3 เดือน แล้วไข้ ให้ลง ให้ราก 
จุกเสียด แทงหน้า แทงหลัง กินอาหารไม่ได้ 
นอนไม่หลับ ถ้าเป็นดังนี้ไซร้ให้เกรงลูกจะตกเสีย 
ถ้าจะแก้ให้ทำตามโบราณเสียก่อน 
ท่านให้ทำบัตร 3 มุม เอาแป้งเอาถั่วเขียว
คุลีการด้วยกันเข้า คลึงท้องด้วยมนต์นี้ 
โอม สิทธิ สามกาเรติ เทพิน วา อะหัง อิชา กานัง 
มาเรหิ เอหิ เอหิ อาคัจฉันติ กาเมหิเน 7 ที 
แล้วเอาแป้งที่คลึงนั้นมาปั้นเป็นรูปหญิงคน 1 
รูปกระต่ายตัว 1 เอาข้าวสุกกองเป็นจอมปลาก 
เอาเหล้า ข้าว วางในกระบาล น้ำนมโค ผัก 3 สิ่ง 
ดอกไม้ 3 สิ่ง แป้งกระแจะ น้ำมันหอม 
ประพรมบัตรแล้ว เอาไปส่งที่ทิศประจิม 
ทำ 3 วันหาย ประสิทธิ ถ้าไม่หาย 
ให้แต่งยาขนานนี้กิน ท่านให้เอา ยางไข่เน่า 
ยางมะม่วง กระดอม บดละลายน้ำร้อนกินหาย  
ถ้าไม่หาย เอาข้าวตอก ข้าวเหนียวกัญญา 
บดละลายน้ำนมโคกินหาย  

  สตรีมีครรภ์ได้ 4 เดือน เป็นไข้เพื่อเสมหะ 
ให้โทษต่างๆ และเป็นลม ให้เหงื่อตก 
และตกโลหิตก็ดี และประชุมพร้อมกันทั้ง 4 แล้ว
เมื่อใด จึงได้ชื่อว่าเป็นสันนิบาต ถ้าจะแก้ให้ทำ
ตามโบราณเสียก่อน ดังนี้ ท่านให้ทำบัตร 4 มุม 
เอาแป้งคลึงท้องด้วยมนต์นี้ 
โอม เห เห โหติฐะ โหติฐะ เหยะนะ เหยะนะ 
โอม ปักขะสัง สาภะตาวะ ปะสะยันนะ สะนา ริเห 7 ที 
เอาแป้งที่คลึงนั้นมาปั้นเป็นรูปแร้งตัว 1 
รูปงูเขียวตัว 1 รูปคน 2 คน เอาลูกไม้ 2 สิ่ง 
ดอกไม้ 2 สิ่ง ผัก 2 สิ่ง เอาใบมะม่วงรองบัตร 
แล้ว เอาไปส่งที่ทิศพายัพ 3 วันหาย ถ้าไม่หาย
ให้แต่งยานี้กิน ท่านให้เอาโกฐเขมา เกสรบัวหลวง 
รากขัดมอน ดอกจงกลนี บดละลายน้ำนมโคกินหาย 
(ถ้าไม่หายมีขนานต่อไป ดูยาครรภ์รักษา)  
                                  
สตรีมีครรภ์ได้ 5 เดือน และเป็นไข้ให้ลงให้ราก 
ให้จุกหน้า จุกหลัง เป็นสิ่งใดๆก็ดี ก็เป็นเพราะ
ครรภ์รักษานั้นเอง ถ้าจะแก้ให้ทำตามโบราณ
เสียก่อน ดังนี้ ท่านให้ทำบัตร 5 มุม 
เอาแป้งคลึงท้องด้วยมนต์นี้ 
สันติปักขา อะปัตตะนา สันติปาทา อะวัญจะนา 
มาตา ปิตา จะ นิกขันตา ชาตะ เวทะ ปะติกะมะ 
ปะติกะมันตุ ภูตานิ โสหัง นะโม ภะคะวะโต 
นะโม สัตตันนัง สัมมาสัมพุทธา นันติ 7 ที 
แล้วจึงเอาแป้งที่คลึงท้องนั้นมาปั้น
เป็นรูปหญิง 1 คน ดอกไม้ 5 ดอก ผักพล่า 
ปลายำ เหล้าและข้าว เนื้อแห้ง บูชาแล้ว
เอาไปส่งทิศหรดีที่ต้นไม้ใหญ่ 3 วันหาย 
ถ้าไม่หาย ให้แต่งยาขนานนี้กิน ท่านให้เอา
ดอกบัวเผื่อน ดอกบุนนาค ยางมะม่วง 
บดละลายน้ำนมโค กินแก้ลงท้องและลงโลหิต 
แก้จุกเสียดหาย ถ้าไม่หายมีขนานต่อไป 
(ดูยาครรภ์รักษา) 
                                    
สตรีมีครรภ์ได้ 6 เดือน และเป็นไข้ ให้เจ็บแข็ง 
เจ็บขา เจ็บหน้าตะโพก และให้คันทวารอุจจาระ 
ปัสสาวะ แล้วให้เป็นลมจับเนืองๆ 
ถึงจะเสียกระบาลก็ไม่หาย แต่ว่าท่านให้ทำ
ตามโบราณเสียก่อน ท่านให้ทำบัตร 5 มุม 2 ชั้น 
เอาแป้งคลึงท้องด้วยคาถานี้ 
อัคโคหะมัสมิ โลกัสมินติ ภะวะติโลกิติ โลกัสสะ 
สันนิภัพภัทมะหิริ คัพภะปะมุญจันติ 7 ที 
แล้วจึงเอาแป้งที่คลึงท้องนั้นมาปั้น
เป็นรูปวัวตัว 1 รูปม้าตัว 1 รูปไก่ตัว 1 
เอาน้ำมะนาว 1 น้ำมันงา 1 ผัก 7 สิ่ง 
ลูกไม้ 7 สิ่ง ดอกไม้ 7 สิ่ง ขนม 7 สิ่ง 
เอาข้าวคั่วรายตีนตอง แล้วจึงเอาสุรา 
แป้งน้ำมันที่ดี ประพรมบูชา 
เอาไปส่งทิศหรดี 3 วันหาย ถ้ายังไม่หาย 
ให้แต่งยาขนานนี้กิน ท่านให้เอาเม็ดในส้มซ่า 
เปลือกสะแก จันทน์แดง จันทน์ขาว 
ดอกจงกลนี เอาเท่ากันบดละลายน้ำนมโค 
กินหาย ถ้าไม่หาย ให้ประกอบยาสุขุมขึ้นไป 
(ดูยาครรภ์รักษา) 
เพราะกุมารนั้นแก่กล้าอยู่แล้ว     

สตรีมีครรภ์ได้ 7 เดือน และไข้ให้เป็นไปต่างๆ 
ให้ลง ให้รากโลหิตก็ดี และให้ร้อนภายใน 
ให้เป็นไข้ไปต่างๆ ถ้าแก้ให้ทำตามโบราณ
เสียก่อน ท่านให้ทำบัตร 4 มุม 2 ชั้น 
เอาแป้งคลึงท้องด้วยมนต์นี้ 
โอม นะมัสสามิ นะโม จะ สุคะโต ปัจจุปปันนา 
ปัญจะพุทธา ปะนะ โอม สิมะหาสิ 
ครั้นกูแบ่งกดขี่กู จะบูชาแก่เทวดา 
อันประสิทธิ์ในสงสาร โอม สิทธิกาล 
มหาสิทธิกาล สะวาหะ 7 ที 
แล้วจึงเอาแป้งที่คลึงท้องนั้นมาปั้น
เป็นรูปเสือตัว 1 รูปแร้งตัว 1 
เอาข้าวสารขาวรายตีนตอง จันทน์แดง 
จันทน์ขาว ผัก 3 สิ่ง ข้าวตอก ดอกไม้บูชา 
ส่งทิศประจิม 3 วันหาย

สตรีมีครรภ์ได้ 8 เดือน และเป็นไข้ ท่านว่า
ไม่เป็นไรนัก เพราะกุมารนั้นแก่กล้า จวนจะ
คลอดอยู่แล้ว ถ้าเป็นไข้รำเพรำพัดต่างๆ 
ท่านให้ทำตามโบราณเสียก่อน ท่านให้ทำบัตร
กลมใบ 1 เอาแป้งคลึงท้องด้วยคาถานี้ 
สัพเพเทวา ปิสาเจวะ อาฬะวะกาทะโยปิจะ 
ขัคคัง ตาละปัตตัง ทิสวา สัพเพ ยักขา 
ปะลายันติ 7 ที 
แล้วจึงเอาแป้งที่คลึงท้องนั้นมา
ปั้นเป็นรูปม้าตัว 1 เอาข้าวสารขาวรายตีนตอง 
ผัก 2 สิ่ง ดอกไม้ 2 สิ่ง เอาใบมะม่วงร่อง 
แป้งหอม น้ำมันหอม ประพรมบูชา 
แล้วเอาไปส่งทิศอีสานต้นไม้ใหญ่ 3 วันหาย 
ถ้าไม่หาย ให้แต่งยาขนานนี้กิน ท่านให้เอา 
เม็ดผักกาด รากบัวหลวง ข้าวเหนียวกัญญา 
บดด้วยน้ำซาวข้าว น้ำท่าก็ได้ กินหาย 
ถ้าไม่หาย (ดูยาครรภ์รักษา)

สตรีมีครรภ์ได้ 9 เดือน และเป็นไข้สิ่งใดๆก็ดี 
ท่านว่ายังอยู่ในครรภ์รักษา แต่ว่ากุมารที่อยู่
ในครรภ์นั้นแก่กล้าอยู่แล้ว ถ้าเป็นไข้ก็เป็น
แต่ภายนอก เว้นไว้แต่เป็นไข้อหิวาตกโรค  
ถึงกระนั้นก็ดี ถ้าเป็นฝีเอก และฝีตัด กุมาร
จะอันตรธานก่อนมารดา  ถึงจะตายก่อนมารดา
ก็จะพาเอามารดาไปด้วย 
ว่ายาวเท่านี้ ด้วยอุบัติเหตุแห่งกุศลกรรม
ของบุตรผู้นั้น ถ้าจะเป็นเหตุใดๆ ให้ทำตาม
โบราณเสียก่อน ท่านให้ทำบัตรกลมใบ 1 
มี 9 ชั้น ดุจบัตรพระเกตุ  
เอาแป้งคลึงท้องด้วยคาถานี้ 
เถโร ปาปิมะ เต อังคะปัจจังคานิ อะหัง 
ปัสสามิ กิงมังคัง ปะนะ สะกะละสะรีรัง 
นิกขะมะ ละหุปาปิมะ  
เสกตามกำลังวัน แล้วจึงเสกน้ำรด
ด้วยคาถานี้ 8 คาบ 
สันติ ปักขา อะปัตตะนา สันติ ปาทา 
อะวัญจะนา มาตาปิตา จะ นิกขันตา 
ชาตะ เวทะ ปะติกะมะ สะหะ สัจเจ 
กะเต มัยหัง มหาปัชชะลิโตสิขี วัชเชสิ 
โสฬะสะ กะรีสานิ อุทะกัง ปัต์วา ยะถา 
สิขี สัจเจนะ เม สะโม นัตถิ เอสา เม 
สัจจะ ปาระมีติ  
แล้วจึงเอาแป้งที่คลึงท้องนั้นมาปั้นเป็นรูป
สิงห์ตัว 1 รูปอีแร้งตัว 1 รูปครุฑตัว 1 
เอาผักยำ 7 สิ่ง  ดอกไม้ 7 สิ่ง เอาใบมะม่วง
กระล่อนรองบัตร เอาแป้ง เอากระแจะ 
และน้ำมันหอมประพรมบัตรบูชา แล้วเอาไปส่ง
ที่ทิศอาคเนย์ ทำ 3 วันหาย ถ้าไม่หาย 
ให้แต่งยาขนานนี้กิน ท่านให้เอารากละหุ่งแดง 
ยางงิ้ว ขิงสด บดละลายน้ำแรมคืนกินหาย 
ถ้าไม่หาย (ดูยาครรภ์รักษา)

สตรีมีครรภ์ได้ 10 เดือน สตรีผู้นั้น
เป็นคนโบราณ มีชาติอันสูง เทพดาจุติลงมา
ปฏิสนธิในครรภ์ผู้นั้น ถ้าเป็นไข้ในอุธร
สิ่งใดๆก็ดี ท่านให้ทำตามโบราณเสียก่อน 
ท่านให้ทำบัตรกลม 3 ชั้น 
เอาแป้งคลึงท้องด้วยคาถานี้  
ยะโตหัง ภะคินี อะริยายะ ชาติยา ชาโต 
นาภิชานามิ สัญจิจจะ ปาณัง ชีวิตา โวโรเปตา 
เตนะ สัจเจนะ โสตถิ เต โหตุ โสตถิ 
คัพภัสสะชาติยา ชาโต นาภิยัง สัมผัสสานัง 
ปฏิฆาตายะ อัพ์ยาปัชฌะปะระมะตายาติ 
แล้วจึงเอาแป้งที่คลึงท้องนั้นมาปั้น
เป็นรูปสิงห์ตัว 1 รูปครุฑตัว 1 รูปแร้งตัว 1 
เอาผัก 7 สิ่ง กับเครื่องมัจฉะ มังสะ ทั้งปวง 
แล้วเอาแป้งหอม น้ำมันหอมประพรม 
เอาธูปเทียนจุดบูชาจงดี เมื่อจะบูชา
ให้ว่าคาถานี้ตามกำลังวัน
  
ปูรัตถิมัส์มิง ทิสาภาเค สันติ เทวา มะหิทธิกา 
เตปิ ตุมเห อะนุรักขันตุ อาโรค์เยนะ สุเขนะ จะ 
ภะวะตุ สัพพะมังคะลัง รักขันตุ สัพพะเทวา 
สัพพะ พุทธานุภาเวนะ สะทา โสตถี ภะวันตุ เต 
ปูรัตถิมัส์มิง ทิสาภาเค สันติ เทวา มะหิทธิกา 
เตปิ ตุมเห อะนุรักขันตุ อาโรค์เยนะ สุเขนะ จะ 
ภะวะตุ สัพพะมังคะลัง รักขันตุ สัพพะเทวา 
สัพพะ พุทธานุภาเวนะ สะทา โสตถี ภะวันตุ เต  
ธัมมานุภาเวนะ สะทา โสตถี ภะวันตุ เต  
ปูรัตถิมัส์มิง ทิสาภาเค สันติ เทวา มะหิทธิกา 
เตปิ ตุมเห อะนุรักขันตุ อาโรค์เยนะ สุเขนะ จะ 
ภะวะตุ สัพพะมังคะลัง รักขันตุ สัพพะเทวา 
สัพพะ พุทธานุภาเวนะ สะทา โสตถี ภะวันตุ เต 
สังฆานุภาเวนะ สะทา โสตถี ภะวันตุ เต 

บูชาแล้วจึงเอาไปส่งที่ทิศบูรพา ทำ 3 วันหาย 
ถ้าไม่หายให้แต่งขนานอื่นกิน  
(ดูยาครรภ์รักษา)

3. การแท้ง (ครรภ์วิปลาส) 

         มักเกิดขึ้นเมื่ออายุครรภ์มากกว่า 3 เดือน

        สาเหตุที่ทำให้เกิดการแท้ง

1. ต้นเหตุเกี่ยวกับไข่
เกิดจากการตายของไข่ที่ฝังตัวลงในพื้นเยื่อมดลูก ทำให้เกิดการแท้ง ต้นเหตุที่ทำให้ไข่ตาย เช่น

    1) ครรภ์ไข่ปลาอุก
    2) โรคของรก  (รกติดเชื้อซิฟิลิส รกเกาะต่ำ)
    3) โรคของสายสะดือ   (สายสะดือยาวไป)
    4) โรคของเยื่อถุงน้ำหุ้มเด็ก (น้ำหล่อเลี้ยงเด็กมากไป 
        หรือ น้อยไป)
    5) โรคของตัวเด็กเอง   (ที่เกิดจากความไม่สมประกอบ)

2. ต้นเหตุที่เกี่ยวกับมารดา

    1) เกี่ยวกับอวัยวะภายในช่องเชิงกราน มักเกี่ยวกับความผิดปกติของมดลูก

    2) เกี่ยวกับการผิดปกติที่เกิดแก่มารดาแล้วเป็นผลที่ทำให้เด็กตายบ่อย ได้แก่ รคที่ทำให้มารดามีไข้สูง ยาสลบ การกระทบกระเทือนจากภายนอก มีความเครียด และความวิตกกังวล เกี่ยวกับต่อมภายในผิดปกติ

3. ต้นเหตุเกี่ยวกับพ่อ 
      ได้แก่ ตัวสเปิร์มอ่อนแอ เนื่องจากเป็นซิฟิลิส, การถูกรังสี x-ray มากไป หรือการดื่มสุราจัด

            ชนิดของการแท้ง 

     การแท้ง คือ การที่มีโลหิตออกมาทางช่องคลอดในระยะที่มีอายุครรภ์ต่ำกว่า 28 สัปดาห์
ทำให้มดลูกบีบตัวเยื่อถุงน้ำหุ้มตัวเด็กติดกับพื้นมดลูกแยกออกจากมดลูก มีอาการเลือดไหลทางช่องคลอดออกมาโรคที่โลหิตออกทางช่องคลอด อาจเป็นพวกท้องนอกมดลูก มะเร็งปากมดลูก ปากมดลูกเป็นแผลก็ได้

        การแท้งแยกออกได้ 3 ระยะ คือ

1. ระยะที่ 1  คือ แท้งในระยะ 2 เดือนแรกของการตั้งครรภ์ 
    ไม่อันตราย

2. ระยะที่ 2  คือ แท้งในระยะตั้งครรภ์ได้ 3-4 เดือน รกเกิดแล้ว ถ้าแท้งเกิดขึ้นเศษรกเหลือค้าง ทำให้มดลูกบีบตัวไม่ดี แผลที่รกหลุดไม่ปิดสนิท อาจมีการตกเลือดหรือการติดเชื้อตามมา

3. ระยะที่ 3  คือ แท้งในระยะตั้งครรภ์ได้ 5-7 เดือน เกือบคล้ายการคลอดแบบธรรมดา เด็กออกง่ายกว่าการดูแลรักษาหญิงที่มีการแท้ง

            การดูแลรักษาหญิงที่มีอาการแท้ง
  • ให้นอนพักนิ่ง 1 สัปดาห์ ให้อาหารแต่พอควร
  • งดเหล้า ห้ามใช้ยาถ่าย ให้ใช้น้ำมันละหุ่ง
  • ถ้าอาการไม่น่าไว้วางใจ ให้พบแพทย์เพื่อ
      ไม่ให้เกิดอันตรายแก่มารดา
        การดูแลหญิงที่มีทารกตายในครรภ์

      เลือดไปเลี้ยงสายสะดือไม่เพียงพอ 
มดลูกขาดกำลัง เป็นอันตรายต่อผู้คลอดมาก
อาการมีอาการเจ็บท้องอย่างรุนแรงด้านใด
ด้านหนึ่งของมดลูก หน้าท้องตึงละมีเลือดออก
ทางช่อคลอด ฟังเสียงหัวใจของทารกไม่ได้ยิน 
และทารกไม่ดิ้น ต้องรีบส่ง รพ. ทันที ช่วยป้องกัน
การช็อค หรือให้ยาบำรุงหัวใจการเจริญเติบโต
ของทารกในครรภ์

        การดูแลหญิงแท้งบุตร รกติด
  • ถ้ามดลูกหมดแรงหดรัดตัว
      ควรเป็นหน้าที่แพทย์แผนปัจจุบัน
  • ถ้ามดลูกยังไม่แก่พอที่จะหลุดออกมา 
       ให้คนไข้พักนิ่งๆ ให้อาหารพอควร
4. การเจริญของครรภ์ (ครรภ์ปริมณฑล)


       การเจริญเติบโตของทารกในครรภ์

          ในระยะ 1 เดือนแรก
  • 2 สัปดาห์ เป็นกระดูกอ่อน เกิดเนื้อสมอง 
         และเนื้อประสาท หัวใจ
  • 3 สัปดาห์ เหมือนตัวด้วง
  • 4 สัปดาห์ จะเกิดทรวงอกและช่องท้อง 
         เกิดปุ่มเป็นนิ้วมือนิ้วเท้า 
  • 5 สัปดาห์ โตเท่าไข่นกพิราบยาวประมาณ 1 นิ้ว
         เดือนที่ 2 ปากจมูกหูตา มือเท้างอกขึ้นเป็นจุดดำๆ


              เดือนที่ 3 เริ่มเกิดเป็นนิ้วมือนิ้วเท้า 
แยกออกเป็นนิ้วๆ

         เดือนที่ 4 อวัยวะเกิดเกือบพร้อมกันหมด แต่ตาไม่มี 
ทารกเริ่มดิ้น

         เดือนที่ 5 ได้ยินเสียงหัวใจเต้นถนัดอวัยวะมีครบบริบูรณ์ ลืมตาและหลับตาได ้

         เดือนที่ 6 สายสะดือยาว 12 นิ้ว เท่าตัวทารก 
หากคลอดในระยะนี้ บางทีเลี้ยงรอดแต่ต้องใช้
ความร้อนเลี้ยงร่างกายให้อุ่น บางทีคลอด
ได้เพียง 12 วัน ก็ตาย เนื่องจากในกระเพาะอาหาร
ของทารกยังไม่มีกรดแลคติคที่ทำหน้าที่ย่อย

         เดือนที่ 7 หากคลอดในระยะนี้เลี้ยงรอด
แต่ห้ามอาบน้ำเย็น ควรให้เกลือละลายน้ำกร่อยๆ 
หยอดให้กินก่อน 2-3 วัน
   
        เดือนที่ 8 ทารกมีอวัยวะครบทุกอย่าง 
สายสะดือยาว 16 นิ้ว เท่ากับทารก

        เดือนที่ 9 สายสะดือและตัวยาวเท่ากัน 17 นิ้ว 
เริ่มมีเจ็บท่องเตือนและเจ็บท้องคลอด

        กิริยาทารกในครรภ์ 

        ทารกจะงอตัวอยู่ในมดลูก และลอยตัวอยู่
ในน้ำคร่ำ สายสะดือติดต่อเป็นขั้วอยู่กับรก 
ทารกโตประมาณ 3 เดือน มารดาจะรู้สึกว่าทารกดิ้น

       ครรภ์ผิดปกติ หรือ การตั้งครรภ์ผิดปกติ


1. รกเกาะติดอยู่ที่ปากมดลูก เวลาคลอดรกจะออกมา 
เลือดจะออกมามาก สตรีผู้คลอดมักตาย

การช่วยเหลือ ต้องรีบผ่าท้องคลอดรกออกมา 
และช่วยให้ทารกคลอดได้โดยเร็ว ระงับโลหิตแล้ว
ส่งแพทย์ด่วน


2. ไข่สุกที่ผสมแล้วไปติดอยู่ที่หลอดปากแตร มักเป็นแก่หญิงที่เคยมีบุตรแล้ว มักจะนูนข้างๆท้องที่ทารกติดอยู่ อยู่มาในไม่ช้าถุงหุ้มตัวเด็กจะแตกออก มักทำให้สตรีนั้นเป็นอันตราย ถ้าพบเช่นนี้ภายใน 2-4 สัปดาห์ สมควรทำอย่างใดอย่างหนึ่งให้ทารกตาย (แพทย์แผนปัจจุบันทำ)

        โรคแทรกซ้อนขณะตั้งครรภ์

1. อาเจียนอย่างรุนแรง หลัง 16 สัปดาห์ ถ้ายังไม่หายบางรายอาจเป็นจนกระทั่งคลอด
  •  อาการรุนแรง เหนื่อยง่าย เพลีย ซึม ลิ้นแห้ง ผิวหนังแห้ง ลมหายใจมีกลิ่น ปัสสาวะสีเข้ม มักขาดน้ำและสารอาหารควรได้รับการรักษาตั้งแต่แรกดีกว่าปล่อยไว้นานๆ
2. พิษแห่งครรภ์  พบหลัง 28 สัปดาห์ มักเกิดขึ้นกับครรภ์แฝด เป็นโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูงเรื้อรัง หรือ
ตั้งครรภ์ไข่ปลาอุก
  • ความดันโลหิตสูง 140 / 90 มิลิเมตรปรอท หรือความดันโลหิตเพิ่มขึ้นมากขึ้น
  • บวมมากกว่าปกติ เช่น ขา เท้า มือ ท้อง และใบหน้า
  • น้ำหนัก เพิ่มขึ้นมากกว่าสัปดาห์ละ ½ กิโลกรัม
  • ปวดหัว ตาพร่า ตามัว พบไข่ขาวในปัสสาวะตรวจครรภ์อย่างสม่ำเสมอ ถ้ามีอาการผิดปกติให้พบแพทย์ทันที
3. โรคหัวใจ
  • ถ้าเกิดขึ้นจะอันตรายเพราะหัวใจต้องทำงานมากกว่าปกติอยู่แล้ว ถ้าเป็นอาการมากๆ ควรทำแท้ง แต่ถ้าจะตั้งครรภ์ได้แพทย์ต้องช่วยเหลือการคลอดและต้องได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิดถามอาการว่ามีอาการเหนื่อยบ่อยหรือไม่ถ้าผู้ป่วยเป็นโรคหัวใจให้แพทย์ตรวจตามนัดและแพทย์ทำคลอดเอง
4. ท่อทางเดินปัสสาวะอักเสบ
  • ปวดท้องรุนแรง โดยเฉพาะบริเวณปั้นเอว ไข้สูง หนาวสั่น ชีพจรเต้นเร็วปัสสาวะขุ่นข้น ส่งต่อแพทย์ เพราะอาจติดเชื้อรุนแรงอาจทำให้แท้งได้
*************************************

บทที่ 5 การทำคลอดปกติ

        1. อาการที่แสดงการทำคลอดบุตร
  • ก่อนการคลอด 2-3 วัน เต้านมจะแข็งคัด ปากช่องคลอดบวม ท้องลดต่ำลง ท้องกลมแข็ง มีอาการเป็นเหน็บชาที่เท้า 
       เกิดอาการบวมขา เลือดลมคั่ง เพราะมดลูก
       มากดทับ เส้นเลือดใหญ่
  • ก่อนหน้านั้น 1 วัน ปากมดลูกเริ่มแย้ม อย่าข่มท้อง เพราะศีรษะทารกมักจะกดทับขื่อจนเป็นรอยบุ๋ม ถ้ามดลูกเปิดถึง 3 นิ้ว ก็เกือบถึงกำหนดคลอด ถุงน้ำคร่ำก็จะแตก ผดุงครรภ์ช่วยบอกจังหวะการเบ่งของมารดาได้ถูกต้อง จะปลอดภัย
การตรวจปากมดลูก

        ตัดเล็บให้ชิดเนื้อ ล้างมือด้วยสบู่หรือฟองน้ำ 
ล้างให้ถึงข้อศอก แล้วใช้วาสลินทาตามนิ้วมือ
ใช้นิ้วชี้และนิ้วกลางเหยียดตรง สอดสองนิ้วเข้าไป
ในทวารหนัก  ปากมดลูกเปิดเท่าเหรียญสลึง 
ปากมดลูกเปิดเท่าเหรียญบาท กว้างถึง 3 นิ้ว  
รอไปอีก 2 ขั่วโมง ตรวจทุกๆ ชั่วโมง จะคลอดในชั่วโมงนี้

            2. อุปกรณ์การทำคลอด

1. ผ้ากันเปื้อน 1 ผืน
2. ผ้าพลาสติกปูรองคลอด 1 ผืน
3. ผ้าเช็ดมือ 2 ผืน
4. หมวกคลุมผม 1 ใบ
5. กรรไกรปลายปั้นสำหรับตัดสายสะดือ 1 อัน
6. ลูกโป่งยางสำหรับสวนอุจจาระ 1 อัน
7. ลูกโป่งยางสำหรับดูดเลือด 1 อัน
8. ชามกลม 2 ใบ
9. ชามรูปไต 1 ใบ
10. เชือกผูกสะดือ ผ้าห่อสะดือ 1 ห่อ
11. แปรงล้างมือ 1 อัน
12. คีมคีบเครื่องมือต้ม 1 อัน
13. สบู่ และกล่องสบู่ 1 ชุด
14. แอลกอฮอล์ 1 ขวด
15. ทิงเจอร์ไอโอดีน 50 ซีซี. 1 ขวด
16. ยาหยอดตา หรือขี้ผึ้งปฏิชีวนะป้ายตา
      เด็ก 1 ขวด หรือหลอด
17. แอมโมเนีย
18. มีดโกนหนวด หรือมีดโกน 1 เล่ม
19. ด่างทับทิม 1 ตลับ
20. สำลี
21. ผ้าอนามัย 

ผ้ากันเปื้อน 1 ผืน

  ผ้าพลาสติกปูรองคลอด 1 ผืน

ผ้าเช็ดมือ 2 ผืน

หมวกคลุมผม 1 ใบ

กรรไกรปลายปั้นสำหรับตัดสายสะดือ 1 อัน

ลูกโป่งยางสำหรับสวนอุจจาระ 1 อัน

ลูกโป่งยางสำหรับดูดเลือด 1 อัน

ชามกลม


ชามกลม 2 ใบ

ชามรูปไต 1 ใบ

ที่หนีบสายสะดือ

แปรงล้างมือ 1 อัน

คีมคีบเครื่องมือต้ม 1 อัน
(คีมเอนกประสงค์)

สบู่ และกล่องสบู่ 1 ชุด

แอลกอฮอล์ 1 ขวด

ทิงเจอร์ไอโอดีน 50 ซีซี. 1 ขวด

ยาหยอดตา หรือขี้ผึ้งปฏิชีวนะป้ายตา
เด็ก 1 ขวด หรือหลอด

แอมโมเนีย 

 มีดโกนหนวด

มีดโกนหนวด หรือมีดโกน 1 เล่ม


ด่างทับทิม 1 ตลับ

สำลี

การตัดสายสะดือ

เชือกผูกสะดือเด็ก

ผ้าห่อสายสะดือ

ผ้าอนามัย 1 โหล

ผ้าอนามัย

         3. วิธีการทำคลอดปกติ และการดูแลในขณะคลอด

        สาเหตุที่ทารกไม่สามารถผ่านออกมาได้ 
เพราะกระเพาะปัสสาวะและอุจจาระปิดขวางทาง
ช่องคลอด หรือดันปากมดลูกหมุนเปลี่ยนท่าไป 
ทำให้ศีรษะไม่หมุนเลื่อนต่ำขึ้นมา
        แรงหดรัดตัวของมดลูกหมดกำลังลง เช่น 
ท้องสาว หรืออายุผู้คลอดมากเกินไป

1. การดูแลด้านจิตใจแก่หญิงตั้งครรภ์ขณะคลอดบุต

       1) ดูแลสภาพจิตใจของหญิงขณะรอคลอดบุตร  
        ความรู้สึกไม่สบาย ทำให้กายและจิตอ่อนเพลีย

       2) การดูแลการกลัวคลอดบุตร

       3) ดูแลการตอบสนองด้านอารมณ์ ความกลัว
        และการเจ็บครรภ์

       4) ดูแลความต้องการเพื่อนต้องการเอาใจ 
        คำพูดเพราะๆ การนวด

2. วิธีการคลอดบุตร   มี 3 วิธี คือ

        1)  คลอดได้เองตามปกติ
       2) ท้องแก่ หรือทารกโตมาก (คลอดผิดธรรมดา)
       3) คลอดใช้เครื่องมือช่วย กระทำได้โดย
แพทย์แผนปัจจุบันเท่านั้น

3. การเจ็บท้อง คือ การที่กล้ามเนื้อของมดลูกหด
รัดตัวลง เพื่อให้ทารกจะถูกผลักดันให้ออก
ไปตามทางที่เปิดอยู่ทางปากมดลูกมี 3 ลักษณะ คือ
      1) การเจ็บท้องเตือน
      2) การเจ็บท้องคลอด
      3) การเจ็บท้องหลังคลอด
  • การหดรัดตัวไม่แน่นอน
  • ทำให้ศีรษะทารกเลื่อนต่ำลงมา อยู่ตามแนวยาว
  • อาการ เมื่อยหลัง ปวดกระเบนเหน็บ 
      กระดูกสันหลังโค้งไปข้างหน้ามากขึ้น
  • การหดรัดตัวแร งขึ้นแ ละ แน่นอน 
       เจ็บประมาณ 1 นาที
  • ท้องแข็ง ปวดท้องน้อย กระเบนเหน็บ 
       หลังโคนขา การเจ็บท้องคลอดแบ่งได้ 3 ระยะ
ไม่มีอะไรเหลืออยู่ในมดลูกอีกเลย รัดตัวตลอดเวลา 
คลายตัวนานๆครั้ง รู้สึกมากขึ้นเมื่อทารกดูดนม 
เพราะเป็นการกระตุ้นให้มดลูกหดรัดตัวมากขึ้น
เพราะเส้นประสาทติดกัน
4. การเบ่ง เป็นการใช้กล้ามเนื้อหลังและกระบังลม 
ซึ่งจะหดรัดตัวอย่างแรงทำให้กล้ามเนื้อภายใน
ช่องท้องเล็กลง ความดันในช่องท้องมีมากขึ้น 
การเบ่งนี้เกิดขึ้นเมื่อปาดมดลูกเปิดแล้ว ไม่มีอะไร
กีดขวาง ทารกจะออกผ่านมาได้โดยสะดวก

 5. ปัจจัยที่มีผลต่อการคลอด  
ความเหมาะสมของกระบวนการคลอด 3 ประการ คือ

     1) ช่องทางคลอด
คือ อวัยวะภายในอุ้งเชิงกราน ประกอบด้วยกระดูก
เชิงกรานและเนื้อเยื่ออ่อนที่ระบุเชิงกราน 
ทางช่องคลอดเริ่มตั้งแต่รูปากมดลูก
ตลอดช่องคลอดจนถึงปากช่องคลอด

     2) กำลังการคลอด แบ่งเป็น 2 ชนิด คือ

  • การเจ็บท้องคลอด 
  • การเบ่ง
    กำลังการผลักดันเกิดจากการหดรัดตัวของ
มดลูก  การผลักดันต่อทารกโดยตรง  
มารดาออกกำลังเบ่งการผลักดันต่อทารกทางอ้อม

     3) ร่างของทารก 
     ในการคลอดทารกไม่มีการช่วยเหลือตัวเองในการเคลื่อน ความกดดันของการหดตัวรักของตัวมดลูกบังคับให้ศีรษะอยู่เบื้องล่างและอยู่ในทางทรงคว่ำแต่ในตอนหลังของการเกิด ศีรษะกลับถูกบังคับให้เปลี่ยนแปลงเป็นทรงหงาย โดยร่างของทารกต้องไม่ใหญ่เกินไป และท่าศีรษะต้องงออยู่เบื้องล่าง และทรงคว่ำ แขนและขาพับกับทรวงอก

     6. อาการของมารดาเมื่อทารกคลอด
  • ศีรษะทารกเลื่อนมาที่ปากมดลูก รู้สึกว่าท้องลด 
       (ทารกกลับตัวแล้วศีรษะลงมาอยู่ในอุ้งเชิงกราน)
  • ศีรษะถึงปาดมดลูกแล้ว ก็ดันปากมดลูก
        ให้แย้มออก มีเมือกหรือเสมหะจุกอยู่ในปาก
        มดลูกหลุดออกมาจากช่องคลอดโดยมี
        ปากมดลูกอาจมีโลหิตเจือ แสดงว่า
        ปากมดลูกขยายตัว
  • รู้สึกเจ็บท้องและปวดตามกระเบนเหน็บ 
        หน้าขาและหัวเหน่า เท้าบวม เจ็บครรภ์ถี่
        เป็นพักๆ แสดงอาการอยากปวดปัสสาวะ
        อุจจาระด้วย
  • น้ำคร่ำก็ดันถุงน้ำคร่ำตุงออกมาจากถ่าง
      ปากมดลูกให้ขยายตัวออก ปากมดลูกจะ
      ขยายโต จนทารกสามารถคลอดออกมาได้ 
      ลมเบ่งเกิดจากการที่มดลูกหดตัว น้ำคร่ำมี
      ประโยชน์ทำให้เกิดการหล่อลื่น
  • แพทย์และผดุงครรภ์ต้องช่วยในตอนนี้ 
      เมื่อมีลมเบ่ง ต้องประคองศีรษะและช่วยรับ
      ตัวทารกหรือหมุนศีรษะให้พอดีกับช่องเชิงกราน
      
7. กระบวนการคลอด 

          อาศัยความเหมาะสม 3 ประการ คือ 
1. ช่องคลอด 2. กำลังการคลอด และ 3. ร่างกายเด็ก

          กระบวนการคลอดบุตร แบ่งได้ 3 ระยะ คือ

1. ระยะปากมดลูกเปิด  คอมดลูกขยายและเริ่ม
บางลง หากใช้นิ้วคลำพบว่าปากมดลูกมีรูใช้นิ้ว
สอดเข้าไปได้ และรอบรูปเป็นสันแข็ง เอามือกด
จะรู้สึกว่าหยุ่นๆ และมีน้ำในถุง เรียกว่า ถุงน้ำทูนหัว
หรือถุงน้ำคร่ำ

2. ระยะเบ่ง กลไกการคลอดเริ่มเกิดขึ้น มดลูกเริ่ม
ขยายออก การผลักดันให้เด็กเคลื่อนลงมานั้น 
ใช้ทั้งกำลังมดลูกและกำลังเบ่งของมารดา 
เมื่อเด็กคลอดออกมา เรียกว่า ตกฟาก

3. ระยะรกคลอด ภายหลังคลอดออกมาจะเหลือรก
และสายสะดือ ถุงน้ำหล่อเด็กออกมา 
เมื่อเด็กออกมามดลูกหดรัดตัวลง แข็งบ้าง 
อ่อนตัวลงบ้าง มดลูกอยู่สูงเพียงสะดือ 
จากนั้นมดลูกหดรัดตัวไป 15-20 นาที
จนกระทั่งรกหลุดออกมาจากผนังมดลูก ทำให้
เลือดออกมา และสายสะดือเคลื่อนตามออกมา

         8. ลักษณะที่ทารกจะคลอด 
 ตั้งแต่เคลื่อนจากมดลูกจนตกฝาก มี 3 แบบ คือ





1. ท่าคว่ำหน้าออก

2. ท่าหงายหน้าออก



3.ท่าเอาก้น ขาหรือ เท้าออก


   ท่าเอามือ และแขนออก ผดุงครรภ์ไม่สามารถทำคลอดท่านี้ได้ เพราะมีความรู้ไม่พอ สาเหตุเกิดจากการฝืนท้องมากเกินไป ทำให้ศีรษะทารกพลาดจากช่องคลอด แขนจึงเคลื่อนมาที่ช่องคลอด และออกมา ถ้าจะช่วยโดยให้แขนเข้าไปตามเดิม เพราะทารกจะกลับเองไม่ได้ ต้องรู้ว่าถ้ามือคว่ำตัวทารกคว่ำ มือหงายตัวทารกหงาย ถ้าข้อเข่าพับเท้าจะอยู่ที่ก้น ทารกจะคลอดออกมาไม่ได้ คล้ายกับทารกขวางตัว แพทย์ต้องช่วยให้คลอดแบบอื่นๆ ถ้าผดุงครรภ์พบ ควรนำส่งโรงพยาบาลทันที 

          9. การปฏิบัติของผดุงครรภ์ในระยะของการคลอด

1) ความสะอาดของผดุงครรภ์
  • ผดุงครรภ์ต้องรักษาความสะอาด เปลี่ยนเสื้อผ้าให้สะอาด
  • สถานที่คลอดต้องสะอาดปลอดโปร่งล้างด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อโรคให้ทั่ว (กำมะถัน ฟอร์มาลีน) อย่าให้มีกลิ่นโสโครก
2) การปฏิบัติการช่วยเหลือในระยะคอมดลูกเปิด
  • ไม่ควรให้ผู้คลอดนอนอย่างเดียว ให้ลุกเดินบ้าง จงทำให้ผู้คลอดเพลินและลืมความเจ็บปวดไปบ้าง ซึ่งจะช่วยให้ศีรษะทารกลดต่ำลงเร็วขึ้น แต่ไม่ควรให้ออกแรงหรือเข้าห้องส้วม
  • เมื่อใกล้ระยะที่ 2 ของการคลอด มีอาการเจ็บท้องมากขึ้นหรือปวดกระเบนเหน็บมากขึ้น อาจแนะนำให้กดบีบกระเบนเหน็บ เพื่อบรรเทาอาการเจ็บปวด
  • ระยะนี้อาจมีถุงน้ำทูนหัวแตกได้ ควรป้องกันการไหลเลอะเทอะ เช่นให้ผู้คลอดนอนลงบนหม้อนอน หรือถ้าถึงเวลาถุงยังไม่แตกก็ควรใช้กรรไกรเจาะถุงที่ยื่นโป่งออกมาโดยใช้นิ้วแนบปลายกรรไกรสอดเข้าไปในถุง ขณะถุงน้ำแตกให้สังเกตสีและปริมาณของน้ำทูนหัวและจดจำเวลาที่แตกด้วข
  • หากผิดปกติเป็นสีเขียว เพราะมีขี้เทาปนอยู่ด้วย อยู่ในเขตอันตราย
  • ผู้คลอดมักมีอาการหงุดหงิดถึงหวาดกลัว ควรปลอบใจและให้กำลังใจว่าการคลอดกำลังดำเนินโดยปกติ
  • ถ้าเจ็บครรภ์มากขึ้น ควรสวนอุจจาระปัสสาวะ จะได้ไม่ขัดขวางการคลอด ควรชำระช่องคลอดด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อ ขนตามอวัยวะเพศควรโกนออกเสียด้วยก็จะดีมาก
  • อาหาร ให้กินน้ำชา น้ำนม น้ำมะพร้าวอ่อน น้ำชุบ หรือเหล้า ปรั่นดี เพื่อชูกำลัง
3)  การปฏิบัติ และการช่วยเหลือมารดาในระยะเบ่ง
  • ช่วยสอนผู้คลอดให้เบ่งในวิธีถูกต้อง ไม่ร้องครวญครางขณะเบ่ง เพราะทำให้ขาดการออกกำลังช่วยมดลูก ขณะมดลูกคลายตัว ให้ยืดขาให้สบาย ช่วยนวดและชวนคุยบ้าง
  •  เมื่อเมื่อยขณะนอนหงายนานๆ ก็ควรนอนตะแคงได้บ้าง แต่ถ้าทารกโผล่ต้องให้ผู้คลอดนอนหงายต่อไป
  •  ควรฟังเสียงหัวใจทารกเป็นครั้งคราว เพื่อให้แน่ใจว่าการคลอดก้าวหน้า
  • ต้องสังเกตที่บริเวณฝีเย็บและที่ปากช่องคลอดจะมีการเบ่งและจะหายไปในเวลาพัก ต้องคอยดูที่ปากช่องคลอดตลอดเวลา เพราะศีรษะทารกอาจเกิดมาได้กะทันหัน ทำให้ฝีเย็บขาดรุนแรงได้
  • ถ้าปากมดลูกเปิดขยายไม่เต็มที่ ไม่ต้องเร่งรัด ถ้าเห็นว่านานเกินไปอาจป้ายยา (น้ำมันเบลลาดอนนา) ที่ปากมดลูก
  • หาที่ยึดรั้งให้มารดา หรือมีที่ให้สำหรับยันเท้า จะได้มีแรงเบ่งดีขึ้น
4)  การปฏิบัติ และการช่วยเหลือทารกในระยะคลอด
  •  ถ้ามีอาการเจ็บปวดมากเกินควร ควรให้ยาหอมดม
  •  เมื่อทารกคลอดออกมาแล้ว ต้องให้ศีรษะทารกอยู่ข้างซ้ายของมารดา โดยตะแคงตัวข้างขวาลง หันหน้าทารกเข้าหามารดา เพื่อให้โลหิตในห้องหัวใจเดินได้สะดวก และปลุกทารกให้ตื่น ควักเมือกออกจากปากและจมูกของทารก
  • ผูกสายสะดือของทารกเป็นสองตอนแล้วตัดระหว่างกลางที่ผูกนั้น ใช้น้ำมันมะกอกเช็ดไขมันที่ติดตามผิวออก แล้วส่งให้ผู้ช่วยช่วยพาอาบน้ำอุ่น จากนั้นหยอดตาด้วยกรดเงิน 0.1%
5) การทำคลอดรก การตรวจรก และสายสะดือ

          ถ้าทารกคลอดออกมาครั้งแรก ถ้ามีเลือดตามตัวทารกออกมา แสดงว่าทารกจะติดที่ปากมดลูก เพราะเวลาคลอดทารกจะเอาหัวดันมดลูก รกจึงหลุดออกมาพร้อมกับตัวทารก หรือมิฉะนั้นปากมดลูกฉีกขาดในเวลาที่ทารก ออกมาจึงมีเส้นเลือดไหลมาพร้อมกับตัวทารก นับว่าผิดธรรมดาหรือมีอันตราย



                                        
 ระยะรกคลอด
        คือ การลอกตัวของรกหลุดจากผนังมดลูก 
ถูกผลักดันออกจากโพรงมดลูกลงไปอยู่ในช่องคลอด 
จนกระทั่งเดินพ้นจากช่องคลอด แล้วเส้นโลหิตจะตีบลง 
โลหิตก็หยุด ต่อไปก็จะออกเป็นน้ำคาวปลา 
ใช้เวลา 20-30 นาที ตามรายปกติจะไม่เกิน 1 ชั่วโมง 
      เมื่อรกหลุดออกจากผนังมดลูกแล้ว มดลูกก็จะ
หดรัดเล็กลงไปอีก รกถูกดันจากโพรงมดลูกออกมา 
สายสะดือที่ติดอยู่กับรกจึงเลื่อนต่ำลงมาอีกด้วย  
ลักษณะที่ทำให้สันนิษฐานว่า รกลอยตัวออกจาก
นังมดลูกแล้ว คือ

1. สายสะดือเลื่อนต่ำลงมามากกว่าเดิม  (คลำไม่พบ)

2. เลือดไหลตามมา 

3. มดลูกเล็กลง และค่อนข้างแบน (มักเอียงด้านขวา)

4. มดลูกลอยสูงกว่าเดิม และสูงกว่าระดับสะดือ

กลไกการควบคุมการตกเลือด รกหลุดออกจาก
มดลูก  มดลูกหดรัดตัวลง โลหิตตีบน้อยลง

         วิธีป้องกันรกบิน

คือผูกซ้ำที่สายสะดือแล้วใช้ไม้ตับคาบที่สายสะดือ
แล้วผูกโยงกับขาผู้คลอดจนกว่าจะคลอดรก

             โรคของรก

เกิดมีไขมันมาก แข็งกระด้างเป็นไต เป็นเม็ดฝังใน 
แห้งเหี่ยวทำให้แลกเปลี่ยนโลหิตไม่สะดวก 
ถ้ารกผิดปกติ ทารกอาจเป็นโรคขาดสารอาหาร 
ผอมแห้ง ร่างกายไม่สมบูรณ์ โรคของรกได้แก่


         1. รกขวางทาง 

             คือ การที่รกเกาะตัวผิดตำแหน่ง คือ 
รกตั้งอยู่ตำแหน่งปากมดลูก มี 3 ชนิด คือ

1)  รกเกาะต่ำ (Marginal placenta previa)

2) รกเกาะอยู่ที่ส่วนล่างของมดลูกและที่มดลูกด้วย 
(Partial placenta previa)

3) การที่รกปิดปากมดลูกจนมิดหมด 
(Total placenta previa)

         อาการที่สำคัญ ถุงน้ำทูนหัวแตกแล้ว 
เลือดไม่หยุด เลือดออกมาขณะมดลูกหดรัดตัว 
ส่วนนำเข้าเชิงกรานไม่ได้

         สาเหตุ
  • เนื่องจากการเกาะของไข่ที่ผสมพันธ์แล้ว เกาะที่ผนังมดลูกอยู่ต่ำมาก และเอนลงมาเกาะอยู่ที่บริเวณคอมดลูกด้านใน
  • บางรายรกใหญ่และกว้างกว่าธรรมดามากแล้วมาคลุมมาถึงคอมดลูกด้านในหรือปิดปากมดลูกไว ้โดยมากมักเป็นในเวลาตั้งครรภ์แล้วประมาณ 22 สัปดาห์  ขึ้นไป
        หมายเหตุ การแพทย์แผนปัจจุบันรกของเด็ก
ทำหน้าที่คล้ายตับ เพราะมีกระบวนการ Metabolize



         2. รกลอกตัวก่อนเวลา (Abruption placenta)
              อาจพบในมารดาที่มีประวัติการกระทบ
กระแทก เป็นอันตรายมาก เนื่องจากมีโอกาส
ตกเลือดหรือเสียชีวิตในเวลาต่อมา ทารกก็อาจขาด
อากาศหายใจ และเสียชีวิตได้เช่นกัน

อาการที่สำคัญ ปวดท้องอย่างมากบริเวณข้างมดลูก
ที่รกเกาะ เลือดอาจจกค้างข้างใน ไม่ไหลออกมา 
เป็นเหตุผลที่อาจตกเลือดอย่างแรงแต่จำนวนเลือด
ที่ออกมาไม่ได้มากนัก ท้องแข็งตึง คลำส่วนนำไม่ได้ 
และผู้ป่วยมักมีอาการของโรคพิษแห่งครรภ์

         วิธีตรวจรก
              ต้องดูรก และช่องคลอดว่าจะปกติเหมือนเดิม
แล้วหรือไม่ ถ้ามีรอยแหว่ง ให้ตัดเล็บของผู้ทำคลอด
ให้สั้น และล้างมือให้สะอาดเพื่อตรวจว่ารกติดที่ใด 
เพื่อเอานิ้วแซะออก จากนั้นใช้น้ำยาล้างให้สะอาด 
ถ้าพบแผลยาวถึงทวารหนัก ให้ส่งต่อ

หน้าที่ของรก 2 อย่าง คือ
1. การหายใจแทนปอดของทารก
2. ทำหน้าที่แลกเปลี่ยนอาหารกับมารดาทางโลหิต

ข้อสังเกต เคยออกสอบ

สายสะดือบวม และรก

ตัดสายสะดือคลอดพร้อมถุงน้ำคร่ำ

เรื่องของสายสะดือ
  • สายสะดือเกิดขึ้นตอนทารกอายุเดือนเศษ สายสะดือมีลักษณะเป็นเนื้อขาวๆ คล้ายลำไส้ เหนียวเหมือนไขมันแต่ไม่มีเส้นประสาท และน้ำเหลือง (ตัดแล้วไม่เจ็บ) แรกๆเป็นเส้นตรง พอเด็กดิ้นก็เป็นเกลียวเป็นปม ทำให้ทารกผอม
  • การดึงสายสะดืออาจจะทำให้มดลูกปลิ้นออกมาเป็นอันตรายต่อมารดา ห้ามดึงแรงเป็นอันขาด
         


การตัดสายสะดือ
  • ทำความสะอาดมือ ใช้ด้ายหรือไหมชนิดเหนียวๆ ต้มหริอแช่แอลกอฮอล์เสียก่อน เครื่องมือต้องฆ่าเชื้อแล้ว
  • ก่อนตัดสายสะดือต้องรูดสายสะดือไปทารก 2-3 ครั้ง แล้วกดบีบจนไม่มีเส้นเลือดเต้น ผูกสายสะดือเปราะหนึ่งให้ห่างจากท้อง 2-3 นิ้ว ห่างอีก 2 นิ้ว แล้วผูกอีกเปราะหนึ่ง จับสายสะดือให้ชิดกับหน้าท้องแล้วใช้กรรไกรหรือเครื่องมือที่เตรียมไว้ตัดให้เหลือความยาวจากตัวทารก 2 นิ้ว แล้วใช้ทิงเจอร์ไอโอดีนหรือแอลกอฮอล์เช็ดตรงรอยที่ตัดนั้น
  • หลังจากนั้นตรวจดูอาการของมารดา เปลี่ยนผ้านุ่ง ตรวจช่องคลอด คลึงมดลูกให้เล็ก ใส่สำลีซับหรือผ้าอนามัย เปลี่ยนวันละ 2-3 ครั้ง ห้ามลุกนั่งเด็ดขาด แล้วให้รับประทานยาขับน้ำคาวปลา หรือยาควินินและแอลไพรินอย่างละ 1 เม็ด เมื่อครบ 5 วันค่อยลุกขึ้นมานั่ง
         วิธีห่อสายสะดือทารก

1. ใช้ผ้าสำลีตัดเป็นชิ้นสี่เหลี่ยม เส้นผ่าศูนย์กลาง
ประมาณ 4 นิ้วและตัดช่องตรงกลาง ผ้านั้นกะพอ
ให้สายสะดือลอดลงมาได้

2. ใช้ alcohol 70% เช็ดให้ถึงโคนสะดือ ทำสายสะดือ
ให้เป็นวงกลมขดแล้วพับผ้าสี่เหลี่ยมทบเข้าหากัน
แล้วห่อสะดือไว้ เอาสำลีช้อนกัน 2 ผืน ผืนในใช้พัน
รอบท้องทารก ผืนนอกใช้ชายผ้าฉีกเป็นริ้วๆ 
สัก 3-4 ริ้ว ห่อพันทับอีกที ใช้ชายผ้าที่ฉีกเป็นริ้วนั้น
ผูกไว้เป็นคู่ๆ ให้แน่นพอควร

3. ห่อตัวทารก ทุกๆวัน ควรล้างสายสะดือ 
ล้างด้วย alcohol 70% หรือน้ำยาบอริค 
หรือคาร์บอริค 3% หรือ 1% อย่าให้เป็นหนอง

          การปฏิบัติเมื่อทารกคลอดแล้ว

               ใช้ผ้าสำลีพันนิ้วมือเช็ดในปากและจมูกทารก 
หยอดตาด้วยกรดเงิน 0.1 % เอาน้ำมันมะกอกทา
ให้ทั่วตัวทารก เช็ดด้วยสำลีและฟอกสบู่และเช็ด
ตัวทารกด้วยน้ำอุ่นจนหมดไขมันเอาขึ้นเช็ดตัว
ให้แห้ง หุ้มห่อทารกด้วยผ้าขนหนู

          การรักษาตัวของมารดาหลังคลอด

1. ท้องลูกคนแรกให้อยู่ไฟ 40 วัน คนต่อไปอยู่ 30 วัน

2. อาหารส่วนใหญ่ให้เป็นหมูหรือปลา ได้แก่ 
ปลาช่อนต้ม ผัด หรือแกงอย่างใดก็ได้

3. ห้ามถูกน้ำฝน ลม

4. ห้ามเดินมากๆ และห้ามยกของหนัก 
ต้องการพักผ่อนและยาเข้าไปขับล้างภายในมดลูก

อาการผิดปกติที่ควรส่งต่อไปโรงพยาบาล 

1. มดลูกฉีกขาด (มดลูกแตก)

         เจ็บปวดเหมือนถูกมีดเฉือนเป็นไปโดยเฉียบ
พลัน อาการหดรัดตัวของมดลูกไม่มี ผู้คลอดช็อค 
ชีพจรเต้นเบา พบส่วนนำได้ง่าย เพราะส่วนของ
ทารกอยู่อีกข้าง เพราะการคลอดชักช้า ป้องกัน
ไม่ให้มีเหตุการณ์เช่นนี้เกิดขึ้นโดยตรวจผู้คลอด
อย่างถี่ถ้วน และใกล้ชิด เมื่อการคลอดติดขัด 
ไม่ควรปล่อยให้ฉีกขาด ให้รีบส่ง รพ.

2. มดลูกปลิ้น

         เกิดจากการดึงรั้งสายสะดือเร่งด่วนเกินไป 
การคลอดฉับพลัน  การไอจาม การคลอดในท่านั่ง 
ผนังมดลูกขาดการหดรัดตัวที่ดีเพราะใช้เวลานาน  
ปฐมพยาบาล และนำส่ง รพ. ทันที

3. การตกเลือดหลังคลอด

         คือ การมีเลือดออกมากผิดปกติ หลังคลอดรก
แล้วเมื่อทารกคลอดออกมาแล้วจนกระทั่งพ้นระยะ
เรือนไฟ มีเลือดออก ประมาณ 500-600 ซี.ซี.

การปฏิบัติของผดุงครรภ์แผนไทย

1. ป้องกันการช็อคเนื่องจากเสียโลหิตมาก

2. หมั่นฟังหัวใจตรวจทารก และตรวจอาการ
ทั่วๆไปของผู้คลอด

3. ควรให้รับประทานยาหอมบำรุงหัวใจ
ก่อนนำส่งโรงพยาบาล

การตกเลือดภายนอก 
มักเกิดจากการตกเลือดภายในก่อนแล้ว
ไหลผ่านคอมดลูก 

อาการแสดง ในระยะมีครรภ์ มีเลือดออกเล็กน้อย 
ไม่มีอาการผิดปกติ แต่อาจเป็นอาการแรกของรก
ลอกก่อนเวลา หรือมีอุบัติเหตุกระทบกระเทือน 
หรือปรากฏอาการแสดงของโรคไต อาจมีการ
ตกเลือดร้ายแรงเป็นอันตราย

อาการสำคัญ หน้าซีด ริมผีปากซีด เปลือกตา
ซีดขาว  ชีพจรเต้นเร็ว เหงื่อออกมาก เหนื่อย 
คอแห้ง กระหาย  หาว กระสับกระสาย ตะคริว 
หมดสติ ตาย  ถ้าพบเจอ นำส่ง รพ. ทันที

สาเหตุการตกเลือดหลังคลอด
1. การฉีกขาดของช่องคลอด เช่น ที่คอมดลูก 
ที่ช่องคลอด หรือที่ฝีเย็บ เป็นต้น 

2. มดลูกหดรัดตัวน้อย หรือไม่หดรัดตัว 
จึงมีเลือดออกในบริเวณนั้นมาก 

3. เป็นโรคเกี่ยวกับเลือด (เลือดเสีย เลือดจาง) 
หรือเนื่องจากการแตกของเส้นโลหิต

การปฏิบัติแก้ไข
1. ตรวจให้ถี่ถ้วนว่าตกเลือดเนื่องจากอะไร 
ถ้าเนื่องการฉีกขาดของช่องคลอด ให้ใช้ผ้าก๊อซอุด
ไว้ให้แน่นก่อน เมื่อรกออกมาแล้วจึงนำส่ง
โรงพยาบาลโดยด่วน

2. ถ้าเนื่องจากรกติดค้างควรช่วยเหลือมดลูก
จนมดลูกหดรัดตัวดีแล้วหรือบีบมดลูกเพื่อให้
รกหลุดจากผนังมดลูก

3. รกติดค้างแน่นไม่หลุดหรือเศษรกติดค้าง จำต้อง
ทำการล้วงออกโดยส่งโรงพยาบาลโดยเร็วที่สุด

*************************************

บทที่ 6 การดูแลมารดาและทารกในระยะหลังคลอด

             ในระยะหลังคลอดต้องให้การดูแลมารดา
เป็นพิเศษ เพราะร่างกายมารดาอ่อนเพลียมาก 
จากบาดแผลและโลหิต

          การดูแลมารดาในระยะหลังคลอด 
จำแนกได้ 2 ระยะ คือ
                  1. ระยะ 1 ชั่วโมงแรกหลังคลอด และ
                  2. ระยะ 2 เดือนแรกหลังคลอด

1. ระยะ 1 ชั่วโมงแรกหลังคลอด
  • มดลูกที่หมดสิ่งกีดขวางแล้ว มดลูกจะหดรัดตัวเป็นก้อนแข็ง ทำให้ปวดท้อง ซึ่งเป็นการแสดงออกที่ดีเพราะมดลูกทำงานอยู่เสมอ ทำให้แผลที่รกเกาะบีบให้ตีบทำให้เลือดหลอดเลือดตัน และแข็งตัวเป็นก้อน ทำให้เลือดหยุด 
       กลายเป็นน้ำคาวปลา

การช่วยมารดาเมื่อคลอดบุตรแล้ว
  • คอยคลอดรก ให้กินยาควินิน + เอสไพริน อย่างละ 1 เม็ดแล้วคลึงมดลูก มารดานอนหงายตั้งขางอเข่า เอาหมอนหนุนตรงเอวพอสบาย ให้นอนเฉยๆ จนรกออกเอง ถ้าพักอยู่ประมาณ 25 นาทีแล้วรกยังไม่ออก ให้รีบนำส่งโรงพยาบาล
  • เมื่อรกออกให้ทานยาประสะไพลเพื่อขับน้ำคาวปลา แล้วคลึงมดลูกต่อ ระหว่างนั้นให้ทำความสะอาด
  • ห้ามมารดาลุกนั่งเป็นอันขาด   อาจล้มสลบ และตายได้
  • เมื่อเปลี่ยนผ้าให้มารดาแล้ว ใช้ผ้าพันท้องมารดา ให้ยาขับน้ำคาวปลา แล้ววางกระเป๋าน้ำร้อนที่หน้าท้องให้อุ่น
  • บาดแผล ถ้ามีขาดประมาณ 2 ซม. ขึ้นไป ส่ง รพ. ถ้าแผลขนาดน้อยประมาณ 1 ซม. ไม่ต้องเย็บ ล้างวันละ 2 ครั้ง ใช้ด่างทับทิมละลายน้ำอุ่น แล้วซับให้แห้ง เพื่อโรยยาผงต่อไปจนหาย

การปฏิบัติตัวระหว่างอยู่ไฟ
  • คลอดบุตรวันแรก ให้รับประทานยาขับน้ำคาวปลาทุกๆ 3 ชั่วโมง วันที่ 2 รับประทาน 3 ครั้งต่อวัน วันที่ 3-4 รับประทานเช้าและเย็น วันที่ 5 ให้รับประทาน 1 ครั้งต่อวัน
  • เมื่อหยุดรับประทานยาขับน้ำคาวปลาแล้วให้รับประทานน้ำเกลือที่ชื่อโซดาไฮซัลเฟต ต่อไปอีก 6 สัปดาห์ วันละ 2 ครั้ง ส่วนยาควินินนั้นให้รับประทานมื้อละ 1 เม็ด ตั้งแต่วันแรกคลอดตอนเช้า และกลางคืนจนครบ 5 วัน
  • คลอดบุตรได้ 3 วันแต่ยังไม่ถ่ายอุจจาระ กินน้ำมันละหุ่ง 1 ช้อนโต๊ะ การรัดท้องอยู่ไฟ ทำ 10 วัน
การช่วยเหลือทารกที่คลอดแล้ว
  • ควักเลือดในจมูก และในปากออกโดยใช้ผ้าพันนิ้ว  มือกดที่หน้าท้องทารกเบาๆ กระตุ้นให้แรงสัก 2-3 ครั้ง   มือวักน้ำร้อนที่หน้าอกทารก เอามือกระตุ้นที่ท้องอีก   ใช้น้ำร้อนสลับเย็น   หิ้วตัวทารกขึ้นโดยจับข้อเท้าทารกยกให้หัวทารกห้อยลง  เขย่าหน้าอก   บีบลมออกจากปอด ให้น้ำอุ่นอาบเรื่อยๆ  ปากจุ๊บจมูก และทารกโดยแรง
  • การหายใจครั้งแรกของทารก ประสาท ปอด ผิวหนัง โลหิต  มดลูกหดรัดตัวแรง ทำให้เลือดไปเลี้ยงศีรษะทารกติดขัด ศูนย์กลางประสาทที่บังคับการหายใจจึงถูกกระตุ้นก่อนออกจากช่องคลอด ถูกบีบรัดตลอดเวลา เมื่อเกิดมาไม่มีอะไรบีบ ทำให้หายใจจึงมีเสียงร้องขึ้น   ผิวหนังภายนอกหลังคลอด เย็นกว่า ในท้องมารดา ความเย็นเป็นตัวกระตุ้นการหายใจหลังคลอด เลือดในร่างกายของทารกไหลผ่านสู่สมองโดยรวดเร็ว กระตุ้นประสาท ทำให้ร้องได้
2. การดูแลมารดา 2 เดือนแรกหลังคลอด
  • อวัยวะในช่องเชิงกรานกลับคืนสู่สภาพเดิมเหมือนก่อนตั้งครรภ์ประมาณ 6 - 8 สัปดาห์
  • อวัยวะที่ยังต้องทำงานต่อไป 2 อย่าง คือ 
            1. เต้านม  ซึ่งต้องให้นมต่อไปจนกว่าเด็กหย่านม ตามธรรมชาติราว 10 เดือน 
            2. รังไข่  ซึ่งตามธรรมชาติจะไม่มีไข่สุกไม่มีระดูตลอดการที่เด็กกินนมอยู่ แต่ไม่แน่นอนทุกคน
การเปลี่ยนแปลงทั่วไปของมารดาหลังคลอด
1. ชีพจร  ปกติ หรือช้าเล็กน้อย

2. อุณหภูมิ  หลังคลอดความร้อนของแม่
ขึ้นประมาณ 99  องศาฟาเรนไฮต์ ใน 2-3 ชั่วโมง
แรกหลังคลอด อาจสูงถึง 100 องศาฟาเรนไฮต์
เนื่องจากออกกำลังมาก ถ้าการคลอดใช้เวลานาน
หลังคลอดเสร็จความร้อนอาจสูง
ถึง 101 องศาฟาเร็นไฮต์ ในระหว่างนอนพัก
หลังคลอด ความร้อนอาจสูงขึ้นอีกแต่ไม่มากนัก
เนื่องจากนมคัดซึ่งมักปรากฏหลังคลอด 3 วัน 
อาการท้องผูก และความตื่นเต้นทำให้ความร้อนสูง
ขึ้นได้เช่นกัน แต่ถ้าความร้อนสูงกว่าปกติมาก 
มักเกิดจากความสกปรกของช่องคลอด และมดลูก

3. ความดันโลหิต ลดลงทันใดหลังทารกคลอด 
จะต่ำสุดเมื่อรกออกแล้ว  และจะค่อยๆ ตืนสู่ปกติ
ในราววันที่ 5 หลังคลอด

4. การถ่ายเทของเสียออกจากร่างกาย

    1) ถ่ายปัสสาวะ มากกว่าปกติ ใน 3 วันแรก 
ต่อไปภายใน 7 วันหลังคลอดจะคืนสภาพปกติ 
จะตรวจพบน้ำตาลในปัสสาวะในราว 3 วันหลังคลอด 
เมื่อลูกดูดนมแล้ว น้ำตาลจะลดลง ในระหว่าง
มดลูกเข้าอู่ธาตุเบ็บโตนจะปรากฏในปัสสาวะ 
และมีธาตุยูเรียสูงมาก ส่วนธาตุเม็ดเลือดขาว
บางคนมีนิดหน่อยหลังคลอด
        การถ่ายปัสสาวะ ถ่ายยาก และเจ็บปวด
เวลาถ่ายใน 2-3 วันแรก เนื่องจากช่องเชิงกราน
ระบมอักเสบ
    2) การถ่ายของเสียทางผิวหนัง มีเหงื่อออกมาก
    3) การถ่ายอุจจาระ ท้องผูกเสมอ

5. การเปลี่ยนแปลงของโลหิต
    เม็ดโลหิตขาวซึ่งขึ้นถึง 10,000 เซลล์
ต่อ 1 เดซิลิตรระหว่างเวลาคลอด จะลดสู่ปกติ
หลังคลอด 2 วัน
    แต่ในวันที่ 3 เม็ดโลหิตขาวจะเพิ่มสูงขึ้นเล็กน้อย
เนื่องจากเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ เม็ดโลหิตแดงและ
    ความเข้มข้นของโลหิตแดงจะลดน้อยลงใน 3 วัน
แรกของการคลอด แต่ต่อไปจะคืนสู่สภาพปกติ

6. การเปลี่ยนแปลงเฉพาะอวัยวะบางส่วน
ของร่างกายมารดา 
ได้แก่ การเข้าอู่ของมดลูก คือมดลูกค่อยเปลี่ยนแปลงสู่สภาพเหมือนก่อนตั้งครรภ์ ขนาดมดลูกหดตัวลง การเปลี่ยนแปลงของกล้ามเนื้อ และเส้นโลหิตของมดลูก การเปลี่ยนแปลงของเยื่อบุพื้นมดลูก

    1) ขนาดมดลูกหดตัวลงทันที  
หลังจากรกออกแล้ว มดลูกจะรัดตัวแน่น แล้วค่อยคลายตัวสลับกันอยู่เช่นนี้
ตำแหน่ง และรูปร่างมดลูกจะเปลี่ยนแปลงไป มดลูกจะอยู่เต็มช่องเชิงกรานพลิกตัวไปด้านหน้าเล็กน้อยเป็นรูปเรียว ส่วนยอดมดลูกหนามาก ส่วนล่างมดลูกบางอ่อน ปากมดลูกหนาปกติ ยอดมดลูกสูงกว่าหัวเหน่าประมาณ 5 นิ้วฟุต คนมีเคยลูกแล้วจะอยู่สูงกว่านี้เล็กน้อย ถ้ากระเพาะปัสสาวะมีน้ำเต็มยอดจะสูงกว่านี้
อีก 10 วัน ต่อไปจะค่อยหดตัวลงวันละเล็กน้อยจนถึงสัปดาห์ที่ 6 จะเข้าสู่สภาพปกติ

การลดขนาดของมดลูกตามปกติ
    ปลายสัปดาห์ที่ 1 ยอดมดลูกจะลดลงเหลือกึ่งกลาง
ระหว่างหัวเหน่ากับสะดือ
    ปลายสัปดาห์ที่ 3 ยอดมดลูกจะคลำพบอยู่เหนือ
หัวเหน่าเท่านั้น

การหดตัวมดลูกจะหดตัวช้ามากในรายต่อไปนี้

     (1) มีก้อนโลหิตยังตกค้างมดลูก
     (2) มีเศษรกตกค้างอยู่ในมดลูก
     (3) มีเนื้องอกที่ตัวมดลูก
     (4) ทารกไม่ได้ดูดนมแม่ เช่น ทารกเกิดก่อน
    กำหนด ไม่มีกำลังดูดนม หรือเกิดแล้วตาย
     (5) มดลูกอักเสบทั่วไป

2) การเปลี่ยนแปลงกล้ามเนื้อ 
และเส้นโลหิตของมดลูก
จำนวนกล้ามเนื้อมดลูกคงมีเท่าเดิม แต่เมื่อหลัง
คลอดแล้วขนาดจะค่อยๆ เล็กลง
ทั้งส่วนกว้าง และยาว

การเปลี่ยนแปลงของเส้นโลหิตของมดลูก

     (1) เส้นโลหิตแดง  ขนาดของเส้นโลหิตแดง
เล็กลง โดยกล้ามเนื้อของเส้นโลหิตหดตัว
และเยื่อภายในหลอดโลหิต และเส้นโลหิตถูกทำลาย 

     (2) เส้นโลหิตดำ จะสูญหายไป และกลายเป็น
        เนื้อพังผืดเกิดขึ้นแทนที่

     (3) การเปลี่ยนแปลงของเยื่อบุพื้นมดลูก  

หลังคลอดแล้วเยื่อบุพื้นมดลูกส่วนบนจะหลุดไปภายใน 10 วัน ปนออกมากับน้ำคาวปลา และเยื่อพื้นส่วนลึกของมดลูกจะตั้งต้นเจริญเติบโตใหญ่ตั้งแต่วันที่ 15 หลังคลอดเป็นต้นไป และเรียบร้อยภายใน 2 เดือน ในบริเวณแผลที่รกเกาะของมดลูกหลังคลอดแล้วจะกลายเป็นเนื้อที่ประมาณ 4 นิ้วฟุต นูนสูงกว่าระดับอื่นในพื้นที่มดลูก แผลนี้จะมีโลหิตก้อนเล็กๆ ปิดอยู่ และแผลนี้ถ้ามีเชื้อสกปรกอยู่ในมดลูกกระทำให้เกิดอักเสบ
เป็นสันนิบาตหน้าเพลิงขึ้นในเวลาต่อไป ส่วนอื่นๆ ของพื้นที่มดลูกก็มีโอกาสอักเสบจากเชื้อโรคได้เหมือนกัน แต่ไม่มากนัก ภายหลังคลอดแล้วใต้แผลที่รกเกาะนี้จะมีโลหิตขาวจำนวนมากล้อมรอบแผลไว้เพื่อคอยฆ่าเชื้อโรคที่เกิดในแผล และจะกระจายออกไป ฉะนั้นหลังคลอดแล้ว 3 วันไม่ควรขูดมดลูกเลย เพราะจะทำให้กำแพงเม็ดโลหิตขาวนี้เสียไป จนกว่า 2 สัปดาห์แล้ว จึงจะขูดมดลูกได้ แผลนี้เมื่อปลายสัปดาห์ที่ 2 จะเหลือโตเพียง 3 ซม. เท่านั้น และเมื่อปลายสัปดาห์ที่ 6 เป็นเพียงจุดแดงๆ เล็กๆ เท่านั้น

7.   การเปลี่ยนแปลงของคอมดลูก 
หลังคลอดแล้วปากมดลุกมีลักษณะอ่อนมาก รูปร่างไม่ค่อยเหมือนเก่า ปลายสัปดาห์แรกยังเปิดอยู่ขนาด 2 นิ้ว มือลอดเข้าไปได้ คอมดลูกกลับเข้าที่ช้ามาก และจะเรียบร้อยเหมือนเดิมเมื่อครบ 1 เดือน

8.   การเปลี่ยนแปลงของช่องคลอด
จะกลับสู่สภาพเดิมนาน 3 สัปดาห์ แต่จะไม่เหมือนเดิม เนื่องจากฉีกขาดเพราะการคลอด เมื่อหายแล้วแผลจะกลายเป็นแผลเล็กๆ ปากช่องคลอดจะกว้างกว่าเดิม เยื่อพรหมจรรย์ขาดหมดเหลือแต่ตุ่มเยื่อติดอยู่ข้างๆ ปากช่องคลอดเท่านั้น

9.   น้ำคาวปลา

จะไหลออกมาปกติ ในสัปดาห์แรกออกจากแผลที่รกเกาะพื้นมดลูก แผลที่คอ และปากมดลูก และช่องคลอดฉีกขาดก่อนใน 2-3 ชั่วโมงแรก น้ำคาวปลามีลักษณะโลหิตใส และโลหิตก้อนๆ แบ่งได้เป็น 3 ชนิด     
      1) มีสีแดง ใน 3 วันแรก ประกอบด้วยเม็ดเลือดแดง เม็ดเลือดขาว เยื่อพื้นมดลุก และเมือก เรียกว่า น้ำคาวปลาแดง 
      2) วันที่ 4 - 7 เปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลซีดๆ มีเม็ดโลหิตแดง เม็ดโลหิตขาวมาก เรียกว่า น้ำคาวปลาเหลือง
      3) หลังวันที่ 7 จะเปลี่ยนเป็นสีเหลือง แล้วกลายเป็นสีเขียวอ่อนๆ ในที่สุดกลายเป็นขาวมาก ประกอบด้วยไขมัน และเยื่อมดลูก และเม็ดโลหิตขาว เรียกว่า น้ำคาวปลาขาว

จำนวนน้ำคาวปลาที่ออกประมาณ 500-1,000 ซีซี. แล้วค่อยลดน้อยลงจนหมด ทีแรกน้ำคาวปลาเป็นด่าง และค่อยกลายเป็นกรดเมื่อเกือบหมดแล้ว เชื้อโรคในน้ำคาวปลาธรรมดาไม่ร้ายแรง ถ้าเป็นหนองในก็มีเชื้อหนองในออกมาด้วย หญิงผิวดำน้ำคาวปลาจะออกมาก ถ้าล้างมดลูกหลังคลอด หรือเกิดอักเสบขึ้น น้ำคาวปลาจะออกน้อย

การรักษาช่องคลอด

ใช้ผ้าขาวสะอาดซ้อนทับพับหลายชั้น โตเท่าฝ่ามือ หรือใช้ผ้าขาวห่อสำลีปิดปะไว้ที่ช่องคลอด ต้องล้างช่องคลอดให้สะอาดเสียก่อนด้วยน้ำด่างทับทิม หรือน้ำยาฆ่าเชื้อโรค เพื่อให้ดูดน้ำเหลืองภายในแล้วผูก
โยงไว้กับเอว ต้องเปลี่ยนวันละ 2-3 ครั้ง หรือใช้ผ้าอนามัยก็ได้ ที่นอนมารดาใช้แผ่นพลาสติก หรือกระดาษฟางรองทับข้างบนได้ สำหรับรับน้ำหลือง หรือน้ำคาวปลา

10. ความรู้สึกเจ็บท้องหลังคลอด
เนื่องจากมดลูกบีบตัว ด้วยเหตุ 3 ประการ คือ
1) มักเกิดในหญิงเคยมีบุตรแล้วหลายคน
2) เกิดในเมื่อเด็กดูดนม
3) ในเมื่อยังมีก้อนดลหิตตกค้างอยุ่ในมดลูกนอกจากนี้มีในพวกที่มดลูกบีบตัวไม่ดี หรือการเอารกออกไม่ดี แต่อาการมักหายไปหลังคลอดแล้ว 4 วัน

11. การเปลี่ยนแปลงของเต้านม
การเปลี่ยนแปลงเต้านมในเวลาตั้งครรภ์ เมื่อคลอดแล้วนมก้ยังคัดเต่งอยู่ตามเดิมจนคลอดแล้ว 2 วัน
ในระหว่างวันที่ 2 นี้ ถ้าบีบเต้านมจะมีน้ำขุ่นๆ เหลืองๆ ขาวๆ ไหลออกมาเหมือนจวนจะคลอด น้ำใสๆ เรียกว่า โคลอสตัม (Colostom) ประกอบด้วย น้ำเหลืองมีไขมัน และสิ่งอื่นๆ เล็กน้อย มีคุณภาพเป็นยาระบายอ่อนๆ ให้เด็กคลอดใหม่ๆ เมื่อกินนมแม่ท้องจึงไม่ผูก
อาการจริง จะปรากฏในวันที่ 3 เต้านมจะคัดตึง และเจ็บปวดเล็กน้อย น้ำนมขุ่นข้น ลักษณะสีขาว ในระยะนี้มารดาจะรู้สึกครั่นตัวเล็กน้อย เนื่องจากเต้านมคัด
        สำหรับผู้มีบุตรคนแรก
ใน 24 ชั่วโมงแรก       มีน้ำนมราว   15 ซีซี. 
                ในวันที่ 2    มีน้ำนม         60 ซีซี. 
                ในวันที่ 3    มีน้ำนม       150 ซีซี.
ในวันที่ 4 เป็นต้นไป   มีน้ำนมราว  500 ซีซี.
ประกอบด้วยนม 12 % (มีธาตุโปรตีน 12 %  ธาตุไขมัน 4 % ธาตุคาร์โบไฮเดรท 6 %)  มีน้ำ 88 %
       ในน้ำนมยังมีส่วนประกอบอีก คือ เกลือ หินปูน เกลือฟอสเฟต น้ำหล่อเลี้ยงจากต่อมต่างๆ ในร่างกายมารดา วิตามิน และสิ่งป้องกันโรค (Antibodies) มีหลายอย่าง เด็กกินนมแม่จะฉลาด และแข็งแรง 
จำนวนน้ำนม และคุณภาพผิดกันแล้วแต่เหตุปัจจัยต่อไปนี้
       1) ชนชาติ (ยิว จีน แขก และญี่ปุ่น มีน้ำนมดีกว่า และมากกว่า) 
       2) รูปร่าง  (หญิงผอมเกร็งมีน้ำนมมากกว่าคนอ้วนใหญ่โตแข็งแรง) 
       3) อาหาร (อาหารดีมีน้ำนมมาก และดีกว่า) 
       4) อายุ     (อายุระหว่าง 18-40 ปี มีน้ำนมมากกว่า อายุต่ำ หรือสูงกว่านั้นน้ำนมไม่ดี และนมน้อย)
       5) ระดู     (ถ้าระดูไม่ดี นมไม่ดี เด้กจะปวดท้อง และท้องเสียในเวลานี้)
       มารดาที่กินยาบางชนิด เช่น ยาถ่าย เหล้า และฝิ่นปรอท ผ่านน้ำนมได้ ดังนั้น แม่กินยาถ่ายต้องคิดถึงลูกเสมอ เพราะทำให้ลูกท้องเดินได้ อาหารที่แม่กินทำให้น้ำนมเปลี่ยนแปลงได้บ้าง อาหารรสเผ็ดจัด เปรี้ยวจัด ถ้าแม่กินจะทำให้เด้กท้องเสียได้
               
 การปฏิบัติตัวของมารดาหลังคลอด

1. ภายหลังคลอดทันทีทันใด ต้องสังเกตว่ามดลูกรัดแน่นหรือเปล่า และต้องแต่งปากมดลูก และช่องคลอด ดังได้กล่าวมาแล้ว
       อุจจาระ และปัสสาวะ  หลังถ่ายทุกครั้ง ต้องล้างปากช่องคลอดให้สะอาดด้วยด่างทับทิมอ่อนๆ หรือแช่น้ำยาแซฟลอน 1 ซีซี. ต่อน้ำ 1,000 ซีซี. เสมอ แล้วเช็ดแห้ง

2. หน้าท้อง ต้องใช้ผ้ารัดหน้าท้องให้แน่นภายหลังคลอดแล้ว เพื่อให้มดลูกเข้าอู่เร็วขึ้น และไม่ให้หน้าท้องหย่อนยาน และยังช่วยให้ถ่ายอุจจาระ และปัสสาวะสะดวกอีกด้วย  ต้องนวดหน้าท้องบ่อยๆ เพื่อให้กล้ามเนื้อหน้าท้องทำงานดี หลังคลอด 10 วัน ควรหาหมอนวดที่ชำนาญนวดหน้าท้องทุกวันให้ครบ 3 สัปดาห์

3. การพักผ่อน  หลังคลอดแล้วต้องให้มารดาพักผ่อนนอนหลับให้มากๆ ใน 2-3 วันแรก อย่าให้กังวน และตื่นตกใจใดๆ ควรให้นอนอยู่กับเตียง 10 วัน อย่างน้อยควรเป็น 4 วัน (หลังคลอด 3 วัน ควรให้คนไข้นอนคว่ำ ใช้หมอนรองบริเวณท้องน้อย เพื่อยกบริเวณสะโพกสูงขึ้น นานครั้งละ 10 นาที เช้า - เย็นทุก ๆ วัน เพื่อให้ยอดมดลูกพลิกกลับไปอยู่ด้านหน้าเมื่อมดลูกเข้าอู่แล้วจะได้อยู่ในลักษณะเดิมเหมือนก่อนตั้งครรภ์ เวลามีระดูความเจ็บปวดจะได้น้อยลง หลังอยู่กับเตียงได้ 10 วัน ควรลุกเดินวันละ 1-2 ชั่วโมงทุกๆวัน จนถึงเวลาทำงานได้ปกติ

4. การนอน  สำคัญมาก ต้องให้นอนมาก ๆ ถ้านอนไม่หลับให้ยาระงับประสาทเล็กน้อย เช่น
ยาโปแตสเซียมโบรไมด์ (Mixt Potassium Bromide) 30 ซีซี. ก่อนนอน ถ้านอนไม่หลับอาจทำให้เป็นโรคเส้นประสาทได้ในระยะหลังคลอด

5. อาหาร  หลังคลอดแล้ว 24 ชั่วโมง ควรให้อาหารธรรมดาที่มีคุณภาพดี เช่น นม ไข่ไก่ ไม่ต้องงดอาหารเพราะต้องเลี้ยงทารกด้วยน้ำนมมารดา
         การคลอดแบบโบราณ หมอตำแย หรือผู้ทำคลอดโดยมากจะให้มารดาอดอาหารหลังคลอด จึงเป็นโรคเหน็บชากันมาก ส่งผลให้ทารกดูดนมมารดาที่เป็นเหน็บชา ส่วนมากมักตาย

6. ลำไส้   หลังคลอดแล้วมารดามักท้องผูกเสมอ ควรให้ยาระบายอ่อน ๆ เช่น น้ำมันละหุ่ง 30 ซีซี. ในวันที่ 2 หลังคลอด

7. หัวนม  ควรทำความสะอาดเต้านม และหัวนมทุกครั้งเวลาขำระร่างกาย โดยใช้สบู่กับน้ำอุ่นๆ หลังหัวนมเพื่อชำระเหงื่อไคลออกให้สะอาด น้ำนมจะได้ออกสะดวก ไม่เกิดนมหลง (นมคัด) หรือเป็นพิษ มารดาควรใช้ฟองน้ำชุบน้ำอุ่นเช็ดให้ทั่วตัว ถ้าเป็นผดก็โรยแป้งบอริคสัก 7-8 วัน ควรรักษาความสะอาดของร่างกาย และเครื่องนุ่งห่มให้ดี และก่อนจะอุ้มเด็กควรล้างมือให้สะอาดทุกครั้ง

 (คำว่า อดอาหารหลังคลอด น่าจะใช้คำว่า หลีกเลี่ยงอาหารบางอย่างระหว่างพักผ่อนหลังคลอดบุตร)

     อาหารมารดาหลังคลอดบุตรใหม่ ควรรับประทานมื้อละน้อยๆ ก่อน รับประทานอาหารย่อยง่าย ขณะร้อนๆ และนมสดมากๆ และเป็นอาหารบำรุงน้ำนมเพื่อลูก ควรเลี่ยงอาหารย่อยยาก ของหมักดอง และอาหารรสเผ็ดจัด และรสเปรี้ยวจัดด้วย เป็นต้น
     
     วัฒนธรรมภาคเหนือ  
    ให้รับประทานข้าวจี่ คือ ข้าวเหนียวที่นึ่งแล้วปั้นเสียบไม้ไผ่จี่ คือ ย่างให้เหลืองหอมน่ากินกับน้ำพริก ต้องเป็นพริกแห้งย่างให้เกรียมตำกับข่า เกลือ (เกลือคั่วจนเหลืองสำหรับคนอยู่กรรมหลังคลอดบุตร)  

    ผักต้ม ได้แก่ ผักกาดเขียว (ผักกาดดสภณ) หน่อข่า กะหล่ำปลี ยอดผักต่างๆ กินกับน้ำพริก

    ปลาช่อน  เช่น ปลาช่อนทาเกลือ หรือปลาช่อนย่างแห้ง แกงต่างๆ ใส่พริกหอมชูกลิ่นชูรส และขับลม

    หมูย่าง  ต้ม หรือผัดก็ได้ 
    อาหารที่ต้องหลีกเลี่ยง  ได้แก่ แตงกวา ฟักเขียว ฟักทอง หน่อไม้ หรือของมีรสเย็นต่างๆ 

    น้ำดื่ม  ใช้ไพลสด หรือแห้งต้มน้ำดื่มแทนน้ำเปล่า
    การแปรงฟัน อาบน้ำ  ใช้น้ำอุ่น ส่วนใหญ่ภาคเหนือใช้ใบไม้ต้มอาบ ได้แก่ ใบเปล้าหลวง หมากผู้หมากเมีย ใบไพล ตะไคร้แกงทั้งต้น ใบมะขาม ใบละหุ่ง ผักบุ้งแดง ใบหนาด ฯลฯ แต่ละท้องถิ่นใช้แตกต่างกัน

    ตามหลักคนจีน  จะต้องตุ๋นกระเพาะหมูใส่ชีอิ้วขาว และพริกไทย ให้กินระหว่างอยู่ไฟ อย่างน้อยให้รับประทานสัปดาห์ละ 1 วัน และยังมีไก่ผัดขิงหรือหมูผัดขิงใส่เหล้า หรือเหล้าที่ขายให้มารดาหลังคลอดดื่ม

    ถ้าอยู่ไฟ  จะไม่ให้มารดาหลังคลอดออกมาถูกฝน ถูกลม ให้อยู่ในห้องพัก และให้นอนพักผ่อนมากๆ 
ต้องหยุดทำงาน ท้องแรก หรือลูกหัวปี 40 วัน ห้ามยกของหนัก และเดินมากเด็ดขาด ห้ามอาบน้ำเย็น เพราะช่วยหลังคลอดสุขภาพมารดาหลังคลอดขาดภูมิคุ้มกัน เมื่อคลอดเรียบร้อยแล้วควรให้กินยาขับน้ำคาวปลา ตามกำหนดของ
ผู้ปรุงยาแต่ละขนาน 

การปฏิบัติสำหรับผู้ทำการคลอด
ผู้ทำการคลอดควรปฏิบัติต่อผู้คลอดบุตร ดังนี้

1. ใน 5 วันแรก ควรเยี่ยมผู้คลอดบุตรทุกๆ วัน เพราะ ในวันที่ 3 - 5 เป็นระยะที่เกิดโรคแทรกซ้อนได้ 
ต่อไปเยี่ยมวันเว้นวันจนครบ 2 สัปดาห์ จึงหยุดการเยี่ยมได้ 

2. ในการเยี่ยมแต่ละครั้งต้องสังเกตุอาการทั่วไปของมารดาว่าสบายดีหรือไม่ และวัณหภุมิของร่างกาย จับชีพจรดุว่าปกติดีหรือไม่ ถ้าผิกปกติมาก เช่น หยิงหลังคลอดมีอาการไข้สูง และชีพจรเต้นเร็ว ต้องนึกถึงสิ่งต่อไปนี้
     1) สันนิบาตหน้าเพลิง (Puerperium Infection)
     2) น้ำคาวปลาเดินไม่สะดวก
     3) นมคัดมาก และอักเสบแดง
     4) ไข้จากสิ่งอื่น เช่น ไข้จับสั่น หวัด เป็นต้น

3.  หลังคลอดแล้ว 48 ชั่วโมง ควรให้ยาถ่ายน้ำมันละหุ่ง 30 ซีซี. 1 ครั้ง แม้ท้องไม่ผูกก็ตาม โดยมากท้องมักผูก ประโยชน์ยาถ่าย
     1) แก้ท้องผูก
     2) ช่วยให้น้ำคาวปลาเดินสะดวก 
     3) ทำให้น้ำนมออกได้มาก 
     4) ทำให้การไหลเวียนโลหิตของอวัยวะเชิงกรานดีขึ้น
ถ้ามารดาไม่ถ่ายอุจจาระถึง 2 วัน ควรสวนอุจจาระ 1 ครั้ง ก่อนให้ยาถ่ายน้ำมันละหุ่ง

4. ความดันโลหิต ถ้ามีแาการบวม หรือเมื่อตั้งครรภ์ปรากฏว่ามีอาการเป็นพิษจากการตั้งครรภ์เกิดขึ้น ต้องวัดความดันวันละครั้ง หรือทุกครั้งที่ไปเยี่ยม ตรวจไข้ ถ้าความดันสูงมาก ควรให้ยาระบายด้วยน้ำมันละหุ่งทุกๆวัน

5. การถ่ายปัสสาวะขณะทำคลอดอาจได้รับความกระทบกระเทือนบริวณกระเพาปัสาวะ และหลอดปัสสาวะ เมื่อคลอดแล้วบางคนถ่ายปัสสาวะไม่ออก ถ้าถ่ายไม่ออกเอง 8-10 ชั่วโมง ต้องสวนปัสสาวะ การสวนต้องระวังความสะอาดให้มาก

6. เยี่ยมมารดาหลังคลอดทุกครั้งต้องตรวจดูยอดมดลูกว่าอยู่สูงเท่าใด โดยคลำหน้าท้องเปรียบเทียบระดับของมดลูกทุกๆวัน เพื่อได้จะรู้ว่ามดลูกเข้าอู่ดีหรือไม่ และควรดูสีน้ำคาวปลาซึ่งติดผ้าอยู่ ดูจำนวนไหลออก และมีกลิ่นเหม้นหรือไม่ ถ้ามีกลิ่นเหม็นมักเกิดจากพวกสันนิบาตหน้าเพลิงอย่างแรง

7. ให้คำแนะนำการปฏิบัติตัวแก่มารดาหลังคลอด ดังนี้
     1) หลังคลอด 6 ชั่วโมง ให้นอนตะแคงได้บ้างแล้ว
     2) วันที่ 2 เวลารับประทานอาหาร ใช้หมอนพิงหลังได้บ้างแล้ว
     3) วันที่ 3 - 4 ให้ลุกขึ้นนั่งเวลารับประทานอาหารได้บ้าง เมื่อเสร็จแล้วให้นอนพัก อย่าลุกไปจากเตียง
     4) วันที่ 5 - 7 เดินได้บ้างเล็กน้อย
     5) ต่อจากนั้นค่อยๆ ลุกขึ้นเดินได้มากขึ้นทุกๆวัน จนถึงวันที่ 16 จึงทำงานเบาๆ ได้
     6) ถ้าเป็นผู้ทำงานหนัก เช่น ชาวสวน ชาวนา ควรพักบผ่อน 6 สัปดาห์ขึ้นไปจึงควรทำงานเป็นปกติ

การปฏิบัติตัวของมารดาเวลาให้ทารกดูดนม

1. ต้องล้างหัวนมให้สะอาด คือ ฟอกสบู่ทุกครั้งเมื่ออาบน้ำเช้า-เย็น มือมารดาก้ต้องทำความสะอาดทุกครั้งก่อนให้ลูกดูดนม

2. ในเวลาที่ทารกดูดนมต้องปลุกทารกให้ตื่นอยู่เสมอ 
อย่าให้หลับ

3. ต้องสลับเปลื่ยนเต้านมให้ทารกดูดทั้ง 2 ข้าง เพื่อน้ำนมจะได้ไหลเท่าๆกันทั้ง 2 ข้าง และอย่าให้ทารกดูดนมข้างใดนานเกินไป จะทำให้นมทั้ง 2 ข้างไม่เท่ากัน และจะทำให้หัวนมแตกได้

4. ในขณะที่มารดาลุกจากเตียงไม่ได้ เวลาทารกดูดนมให้มารดานอนตะแคงให้ทารกดูดนม เมื่อมารดานั่งได้แล้ว ควรนั่ง และวางทารกที่กน้าขาทั้ง 2 ข้างในท่าที่สบายที่สุด

5. อย่าให้ลูกดูดนมเร็วเกินไป เพราะจะทำให้ทารก
สำรอกนมออกมาได้

6.หลังจากทารกดูดนมแล้ว อุ้มทารกไว้ในแขนให้หัวทารกสูงกว่าลำตัว ลูบหลังเบา ๆ ให้ทารกเรอเสียก่อน หรือกล่อมให้ทารกหลับก่อนแล้วจึงให้ทารกนอนเปล

การให้น้ำทารก 
1. ใน 3 วันแรกให้ทารกดื่มน้ำอุ่นๆ ให้มาก ๆ เนื่องจากน้ำนมมารดายังออกไม่พอ เพราะน้ำหนักตัวจะลดลงมากกว่าธรรมดา ถ้าหากทารกเป็นดีซ่านเพราะเม็ดโลหิตแดงแตกมาก ทำให้ตัวเหลือง และตาเหลือง

2. หลังจาก 3 วันแรกแล้ว ควรให้ดื่มน้ำอุ่นๆ ครั้งละ 1-2 ช้อนโต๊ะ หลังจากให้นมแล้วราว 1 ชั่วโมง โดยใส่ขวดมีหัวนมให้ดูด หรือหยอดใส่ปากก็ได้ แต่อย่าให้ใกล้ระยะให้นมเกินไป เพราะจะทำให้ทารกอิ่มเสียก่อน และอย่าให้หลังจากให้นมเพราะจะทำให้ทารกสำรอก ควรให้ 1 ชั่วโมงหลังจากให้นมทารกแล้ว
การให้ทารกดื่มน้ำอุ่นก็เพื่อเพิ่มจำนวนน้ำในตัวทารกให้มาก เพื่อป้องกันท้องผูก และป้องกันร่างกายทรุดโทรม

ลักษณะของทารกที่เจริญเติบโตดี

1. น้ำหนักขี้นทุกๆวันๆละประมาณ 150- 200 กรัม

2. ควรถ่ายอุจจาระวันละ 3-4 ครั้ง มีลักษณะ
สีเหลืองเหลว ไม่เป็นมูกนมปน

3. ผิวหนังทารกแดง เปล่งปลั่ง และร้องเสียงดัง 
แข็งแรงเล่นหัวดี ดูดนมได้ดี นอนหลับเป็นปกติ

การเลี้ยงทารกด้วยนมผสม
ถ้ามารดาไม่สามารถให้ทารกดูดนมได้ 
และหาแม่นมไม่ได้ จำเป็นต้องเลี้ยงทารก
ด้วยนมผสม ควรปฏิบัติดังนี้

1. ต้องล้างขวดนมให้สะอาด และต้มให้เรียบร้อย
ทุกครั้งก่อนใส่นม

2. เลือกนมชนิดที่ทดลองให้ทารกว่า จะมีความพอดี 
เหมาะสมตามที่ฉลากของนมชนิดนั้น ๆ ถ้าทารก
มีอาการผิดปกติ ควรรีบปรึกษาแพทย์โดยเร็ว

การรัดท้องในระยะหลังคลอด

เป็นการกระทำเพื่อป้องกันไม่ให้มดลูกเคลื่อนเอี้ยว
ไปจากที่ของมดลูก และเพื่อไม่ให้หนังหน้าท้อง
หย่อนยาน และยังทำให้อวัยวะทุกส่วนที่หย่อนยาน
กลับเข้าที่เดิม จึงจะต้องรัดหน้าท้อง 
และรับประทานยา ผ้าสำหรับรัดหน้าท้องนั้น 
ใช้ผ้าขาวขนาดกว้างพอดีกับหน้าท้องขนาด
ประมาณ 8 นิ้วฟุต ยาว 2 เมตร
ใช้เป็นผ้ารัดท้องปูขวางที่นอนด้านหลังตรงเอว 
หรือสอดเข้าไปใต้เอว แล้วเอาผ้าขาวอีกผืนหนึ่ง
ทำเป็นวงกลมหนาๆ ขนาดโตเท่าฝ่ามือ วางทับที่
หน้าท้องตรงบริเวณมดลูก ก่อนจะพันผ้าทับ
หน้าท้อง ต้องคลึงมดลูกให้แข็งตัวเสียก่อน 
แล้ววางผ้าวงกลมตรงมดลูก แล้วจึงนำผ้าผืนที่ใช้
รัดท้องพันทับขึ้นมาอืกชั้นหนึ่ง รัดพอสบาย
อย่าให้แน่นเกินไป หรือหลวมเกินไป 
แล้วใช้เข็มกลัด และซ่อนปลายเข็มกลัดไว้ 
ควรพันหน้าท้องไว้นาน 15 วัน 
(ต้องพันใหม่ทุกวันหลังเช็ดตัว หรือเปลี่ยนเสื้อผ้า)  
ถ้าน้ำคาวปลาไม่เดินต้องแก้ผ้าพันออกตรวจดู 
อย่าให้ผ้าพันนั้นกดตรงมดลูกเกินไปจนโลหิต
ไม่เดิน ควรพันไว้แต่พอดีๆ เท่านั้น


การทับหม้อเกลือหลังคลอด
ถ้าคลอดธรรมดา หลังคลอดไม่เกิน 10-12 วัน 
ทับหม้อเกลือได้ ถ้าผ่าหน้าท้องคลอด 
ต้องรอให้ครบ 1 เดือนจึงจะทำได้)


อุปกรณ์ทับหม้อเกลือ
1. เตาถ่าน 1 เตา
2. เกลือเม็ด
3. หม้อดินใบเล็ก 2 ใบ
4. ผ้าขาวขนาด 50 X 50 เซ็นติเมตร 1 ผืน
5. เครื่องยา ไพล ว่านนางดำ การบูร ใบพลับพลึง




ครื่องยาเข้ากระโจม 
ได้แก่ ใบมะกรูด ใบมะนาว ใบส้มโอ ใบข่า 
ตะไคร้ทั้ง 5 ใบมะขาม ใบพลับพลึง ใบส้มป่อย 
ใบว่านน้ำ ผักบุ้งแดงทั้ง 5 อย่างละ 1 กำมือ 
และการบูร
                                             


ก่อนเข้ากระโจม
อย่าเพิ่งรับประทานอาหาร 
ถ้าจะทำประคบเปียก อาจทำให้อาเจียน

วิธีทำ
นำเครื่องยาทุกชนิดใส่หม้อต้ม ใส่น้ำให้เต็มหม้อ 
(ต้องใช้เตาถ่าน) ปิดฝาหม้อจนกว่าจะใช้ 
เพื่อป้องกันกลิ่นยาจะหนีไป

เวลาเข้ากระโจม  ใช้เวลาเข้ากระโจมไม่เกิน 
15—20 นาที ค่อยแย้มฝาหม้รมไอให้ทั่ว ลืมตา
รมควัน รมทั้งตัว เวลาออกจากกระโจมแล้วต้องรอ
ให้ตัวแห้งเสียก่อน แล้วจึงเอาน้ำต้มยาผสมอาบ
หมายเหตุ  ถ้ามารดาเป็นไข้ ห้ามทำเด็ดขาด

โลหิตเป็นพิษ
       ตำรานี้ สำหรับแก้โลหิตระดูขัด และคลอดบุตร 
โลหิตออกไม่สิ้นเชิง หลายคนว่าเป็นบ้าพุทธยักษ์
บางคนว่าพรายเข้าอยู่ บางคนว่าเป็นไข้สันนิบาต 
เพราะว่าโลหิตนั้นตีขึ้นจับหัวใจก็ให้คลั่งเพ้อ 
บางทีขบฟัน ตาเหลือก แลบลิ้น เท้าเย็นมือเย็น 
เพราะว่าโลหิตเสียออกไม่หมด จึงทำให้เป็นไปต่างๆ 
       หญิงใดคลอดบุตรได้ 1, 2, 3 วันก็ดี จนถึง 1 เดือน
ก็ดี กำหนดโรคร้ายนั้นยังอยู่ ถ้าถึง 2 เดือนแล้ว 
จึงพ้นกำหนดโลหิตเน่าร้าย 
       ถ้าว่ากำลังโลหิตกล้านักตีขึ้นไป ให้สลบ 
ให้ชัก มือกำ เท้ากำ อ้าปากไม่ออก ลิ้นกระด้าง 
คางแข็ง ทำให้คนทั้งหลายกลัว อันนี้ชื่อว่า 
โลหิตเน่าเป็นใหญ่กว่าลมทั้งหลาย จึงทำให้เกิดโทษ
ดังกล่าว (มียารักษา ให้ศึกษาในตำราเวชกรรม)

 สันนิบาตหน้าเพลิง หรือการติดเชื้อโรคของมารดา
ในระยะหลังคลอด 

เกิดจากการรักษาความสะอาดไม่เพียงพอในระหว่างเวลาทำคลอด หรือการคลอดกินเวลานานหลายชั่วโมง หลังจากถุงน้ำทูนหัวทารกแตกแล้ว มารดาอาจรับเชื้อโรคจากภายนอก ทำให้เกิดการอักเสบแก่มดลูก และอวัยวะภายในช่องเชิงกราน ชาวบ้านเรียกว่า 
สันนิบาตหน้าเพลิง  ซึ่อทำให้ผู้คลอดบุตรเสียชีวิตจำนวนไม่น้อย อาการสันนิบาตหน้าเพลิงจะเกิดภายใน 2 สัปดาห์หลังคลอด

เชื้อโรคที่ทำให้เกิดโรคสันนิบาตหน้าเพลิง  
มีหลายชนิดได้แก่
1. เชื้อสเตร็พโตคอคัส (Steptococcus) เป็นเชื้อที่พบบ่อยที่สุด และอันตรายมากที่สุด โดยมากเป็นพวกที่ทำให้เม็ดโลหิตแดงแตกได้

2. เชื้อสแตฟไฟโลคอคคัส (Staphylococcus) อาจทำให้เกิดอาการได้มาก แต่พิษร้ายแรงน้อยกว่าพวกสเตร็พโตคอคคัส

3. เชื้อเอสเชอลิเซียโคไล (Escherichia coli) อาจพบได้อยู่ชนิดเดียว หรือมีปนอยู่กับเชื้ออื่น และทำให้เชื้ออื่นมีพิษแรงขึ้นอีก เมื่ออยู่ในมดลูกทำให้เิกดมีลมขึ้น เชื้อนี้มาจากอุจจาระ เมื่อถ่ายอุจจาระแล้วล้างปากช่องคลอดไม่ถูกวิธี หรือไม่สะอาดพอ

4. เชื้อหนองใน กล่าวว่าเป็นต้นเหตุทำให้มีไข้ในระยะหลังคลอดบ่อยๆ แต่มีอาการไข้ไม่มากนัก มักปรากฏอาการในวันที่ 5 ผู้คลอดบุตรไม่ตายด้วยพิษของมัน

5. เชื้อโรคคอตีบ เคยพบในรายที่มดลูกอักเสบหลังคลอด ถ้าเกิดจากเชื้อนี้ พื้นมดลูกจะมีอาการอักเสบหลุดลอกตัวออกมาเป็นแผ่นๆ
     นอกจากนี้ยังมีเชื้ออื่นๆ อีกหลายอย่าง แต่เป็นชนิดที่ไม่ใคร่พบบ่อยนัก

สาเหตุที่ทำให้เกิดสันนิบาตหน้าเพลิง คือ

1. หญิงหลังคลอดมีอาการอ่อนแอลง ทำให้เกิดโรคนี้ได้ง่าย ซึ่งมีสาเหตุมาจาก

     1) ในระยะตั้งครรภ์
          (1) ป่วยเป็นโรคเรื้อรังต่างๆ เช่น บิด ไข้จับสั่น กามโรค มีพิษเกิดเกิดจากการตั้งครรภ์
          (2) ขาดอาหาร คือ ได้รับอาหารไม่เพียงพอในช่วงเวลาตั้งครรภ์
          (3) ร่วมเพศกับสามีในระยะ 3 เดือนแรก และในเดือนหลังของการตั้งครรภ์ดังกล่าวมาแล้ว

     2) ในระยะคลอด  ได้แก่
          (1) ตกโลหิตมาก หรือได้รับบาดเจ็บจากการคลอดมาก
          (2) ความสกปรกมาจากผู้ทำการคลอด เช่น ไม่รักษาความสะอาดเพียงพอในเวลาทำคลอด
          (3) ถุงน้ำทูนหัวทารกแตกอยู่นาน ตั้งแต่ 4 ชั่วโมงขึ้นไปก่อนทารกคลอด

    3) ในระยะเวลาหลังคลอด 
          (1) ทำการล้างช่องคลอด หรือตรวจช่องคลอดในช่วงสัปดาห์แรกหลังคลอด
          (2) น้ำคาวปลาเดินไม่สะดวก หรือเดินน้อยกว่าปกติ
          (3) ทารกตาย และเน่าอยู่ในครรภ์ 
หรือมีเศษรกค้างในครรภ์

ที่มาของเชื้อโรคที่ทำให้เกิดสันนิบาตหน้าเพลิง เกิดจาก

1. จากร่างกายภายนอกร่างกายผู้คลอด

     1) ความสกปรกของผุทำการคลอดนำไปโดย

          (1) ฝอยน้ำลายของผู้ทำการคลอด เวลาทำการคลอดไม่ระวังน้ำลายกระเด็นลงไปในบริเวณปากช่องคลอด โดยไอ จาม พูด หรือหัวเราะ เพราะฉะนั้นคนทำคลอดต้องปิดปาก จมูกด้วยผ้าก๊อซอย่างน้อย 4 ชั้น
          (2) จากนิ้วมือของผู้ทำการคลอด ซึ่งไม่ล้างมือให้สะอาดเสียก่อน
          (3) จากเครื่องมือที่ใช้ ต้มไม่สะอาดพอ หรือไม่ได้ต้ม และไม่ทำความสะอาดให้เพียงพอ
เพราะฉะนั้น เวลาทำคลอดต้องระวังความสะอาดให้มากที่สุด มือก้ต้องล้างฟอกสบู่ให้สะอาด แล้วใส่ถุงมือ เครื่องมืออุปกรณ์ที่ใช้ต้องสะอาดทุกๆอย่างต้องสะอาดหมด

    2) จากสามี โดยเกี่ยวข้องกับสามีใน 1 เดือนแรกของการตั้งครรภ์ เพราะว่าอวัยวะสืบพันธุ์ของผู้ชายมีเชื้อสเตร็พโตคอคคัด (StrepTococcus) ชนิดทำลายเม็ดโลหิต เมื่อคลอดแล้วเชื้อที่อยู่ที่ช่องคลอดจะเข้าไปในมดลูก ทำให้เกิดสันนิบาตหน้าเพลิงขึ้น

    3) จากผงในอากาศ ในสถานที่สกปรก เช่น คลอดในห้องที่เคยป่วย มีผู้ป่วยมีเชื้อโรคนี้อยู่ก่อน และสถานที่ๆไม่ได้ทำความสะอาด

2. จากภายในร่างกายผู้คลอดเอง
 เช่น มารดาหลังคลอดมีฟันผุอยู่ก่อนคลอด หรือเคยเป็นทอนซิลอักเสบบ่อยๆ หรือมีการอักเสบในส่วนอื่นๆ ของร่างกาย ถ้าเชื้อพวกนี้เข้าสุ่กระแสโลหิตของผู้ป่วยแล้ว มีผลให้เยื่อบุพื้นมดลูกอักเสบได้

ลักษณะของการอักเสบของพื้นมดลูก เป็นดังนี้

การอักเสบจะปรากฎที่แผลที่รกเกาะ  เพราะเป็นแผลมีโลหิตก้อนเล็กๆติดอยู่มาก และจะต้องเน่าหลุดลงมาภายหลัง ซึ่งเป็นที่เจริญเติบโตของเชื้อโรคได้อย่างดี การอักเสบเริ่มเกิดขึ้นแล้วจะแผ่ไปทั่วบริเวณแผลที่รกเกาะ และต่อไปก็ทั่วเยื่อพื้นภายในมดลูก อีกทางหนึ่งเชื้ออาจลามมาจากแผลที่คอมดลูกได้ เพราะเวลาคลอดปากมดลูกจะต้องมีการฉีกขาดเสมอ ถ้าแผลที่ปากมดลูกได้รับเชื้อโรคดังกล่าวแล้ว เชื้อจะลุกลามอักเสบเข้าถึงแผลที่รกเกาะ เยื่อมดลูกก็จะอักเสบทั่วไป ทำให้พื้นมดลูกหนาหยาบ และมีโลหิตมาเลี้ยงมากขึ้น และมีน้ำคาวปลาออกน้อยลง ซึ่งเป็นการอักเสบอย่างแรง ถ้ารักษาไม่ถูกต้องทำให้ตายได้ ถ้าหากว่าพื้นมดลูกอักเสบจากเชื้อที่ทำให้เนื้อเน่า ทำให้เยื่อมดลูกเน่ามากขึ้น ซึ่งเป็นของธรรมดา น้ำคาวปลาที่ออกจะเหม็นเน่า แต่ไม่มีความร้ายแรงอย่างใด

อาการของสันนิบาตหน้าเพลิง

1. อาการมักจะปรากฏในวันที่ 2-4 หลังคลอด ถ้าปรากฏอาการเร็ว แสดงว่าอาการของโรครุนแรงมาก ถ้าเกิดจากเชื้อหนองใน ยิ่งมีอันตรายมาก เพราะลุกลามได้รวดเร็ว

2. มีอาการไข้ตลอดเวลา ถ้าเป็นไข้สูงทันทีทันใด และหนาวสั่น แสดงว่าพิษของเชื้อโรคเข้าในโลหิตมาก อาการไข้จะสูงกว่าธรรมดา ซึ่งควรมีระยะหลังคลอด (อุณหภูมิขึ้นสูงถึง 102-103 องศาฟาเรนไฮต์)

3. ชีพจรเต้นเร็ว มากกว่า 120 ครั้งต่อนาที เนื่องจากพิษของเชื้อโรคทำให้หัวใจต้องทำงานมาก

4. อาการหนาวสั่น ในรายที่เชื้อไม่รุนแรง คนไข้จะรู้สึกหนาวๆ เท่านั้น ถ้ามีอาการหนาวสั่น แสดงว่ามีพิษในโลหิตมาก ถ้ามีอาการหนาวสั่นบ่อยๆ ควรสงสัยว่า มีหนองจากพื้นมดลูกซึ่งอักเสบอยู่แล้วหลุดเข้าในกระแสโลหิตได้

5. มดลูกบวมอักเสบ และเวลากดบริเวณมดลูกด้านหน้าท้องจะเจ็บมาก และมดลูกเข้าอู่ช้า เนื่องจากมีโลหิตคั่งค้างอยู่มาก ขนาดของมดลูกจึงลดตัวลงช้ากว่าธรรมดา แต่ในรายที่เชื้อโรคเข้าในกระแสโลหิตแล้ว มดลูกอาจลดตัวลงได้วันละเท่าๆกันกับรายที่ไมีมีอาการอักเสบเลยก็ได้ น้ำคาวปลาจะมีสีแดงจัดและเหม็นมาก อาการไข้มีเล็กน้อย ถ้ามีการอักเสบที่มดลูก และเชื้อโรคเข้ากระแสโลหิต ผุู้คลอดบุตรจะมีอาการไข้สูง หนาวสั่น น้ำคาวปลาน้อย และกลิ่นไม่เหม็นนัก อันตรายแก่มารดาหลังคลอดมีมาก
6. ท้องร่วง และอาเจียน (ไม่มีในทุกรายเสมอไป) แต่มีในรายที่เชื้อแรง และมีอาการไข้สูง และในรายที่เยื่อบุช่องท้องอักเสบ

7. อาการอื่นๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้ เช่น ปวดศีรษะมาก 
นอนไม่หลับ ลิ้นหนาขาว เหงื่อออก สติฟั่นเฟือง 
เพราะอาการไข้ และพิษของโรค
การดูแลช่วยเหลือ
ต้องรักษาช่องคลอดให้สะอาด และเครื่องมือ
อุปกรณ์ที่ใช้ต้องสะอาดทุกอย่าง ถ้าจะรักษา
ให้หายต้องใช้ยาจำพวกยาฆ่าเชื้อโรค 
เพราะมีเชื้ออยู่ในโลหิต ทำลายพิษเชื้อโรค
ในโลหิตก็หายได้จริง เมื่อตรวจพบรีบ
นำส่งโรงพยาบาลได้ทันที จะได้ปลอดภัยทุกอย่า

ภาวะน้ำคาวปลาไม่ออก 
เป็นเพราะปากมดลูกหย่อนยานต่ำลงมา 
แล้วไปติดปากช่องคลอด 
ทำให้น้ำคาวปลาเดินไม่ได้
การดูแลช่วยเหลือ 
1. ให้ฝืนมดลูกขึ้นข้างบน หรือผลักมดลูกไปมา 
อาจทำให้น้ำคาวปลาออกได้
2. ให้ล้างมดลูกเช้า – เย็น ด้วยน้ำผสมด่างทับทิม 
หรือน้ำยาปรอทคลอไรด์ หรือแซฟลอน 
ให้รักษาความสะอาดช่องคลอดให้เรียบร้อย 
เครื่องมืออุปกรณ์ หม้อสวนต้องลวกน้ำร้อน 
หรือล้างให้สะอาด
ความสะอาดสำคัญมากๆ จะลืมไม่ได้

อาการที่อาจเกิดขึ้นกับสตรีระหว่างอยู่ไฟ
คือ สตรีที่คลอดบุตรแล้วใหม่ๆ บางคนปวดท้องแทบ
จะทนไม่ไหว เพราะมดลูกบีบรัดตัวแรงเข้า
การดูแลช่วยเหลือ
ด้วยการให้กินยาทิงเจอร์ฝิ่นการบูร หรือจันทลีลา
ก็ได้ ใช้ความร้อนทับหน้าท้องอุ่นจัดๆ อยู่เสมอ 
อาจหายได้แน่นอน ถ้าไม่หายสงสัย
ตกเลือดคั่งภายใน ให้ส่ง แพทย์ทันที

ภาวะเต้านมคัด
 คือ น้ำนมไหลออกไม่ได้ โดยหัวนมแข็ง
ทำให้ช่องน้ำนมตีบตัน
การดูแลรักษา
ให้ใช้วาสลีน หรือขี้ผึ้งทาปาก ทาที่หัวนม
แล้วเอาน้ำอุ่นๆ ประคบ หรือใช้ที่ดูดนม
ที่เป็นหลอดแก้วก้นยางปั้ม

ภาวะนมคัดมาแต่กำเนิด
โรคนี้ไม่มีช่องทางน้ำนม ทำให้น้ำนมไหลออกไม่ได้ 
หรือเกิดบุตรตายแล้ว 2-3 วัน นมจะคัดมาก 
ถ้าทิ้งไว้อาจเป็นฝี
การดูแลรักษา
ให้เอาการบูร 2 ออนซ์ และแอลกอฮอล์ 12 ออนซ์ 
ละลายเข้าด้วยกัน ใช้ทาหัวนมวันละหลายๆครั้ง 
เมื่อน้ำนมแห้ง นมที่คัดก็จะเล็กลงได้

การดูแลมารดาตามบทบาทของการผดุงครรภ์ไทย 
(ใช้ตำรับยาสมุนไพร)

1.  ท้อง 2 เดือน  ถ้ายาขนานก่อนไม่หาย 
    ให้ใช้ยาขนานนี้ ดังต่อไปนี้

ขนานที่ 1 ยาแก้กิน
ส่วนประกอบ  รากบัวหลวง รากบัวเผื่อน แห้วสด 
กระจับสด ใบผักแว่น ขิงสดเล็กน้อย
วิธีใช้  บดละเอียดผสมด้วยน้ำแรมคืน 
หรือน้ำนมโคก็ได้ รับประทาน
สรรพคุณ  แก้ปวดท้อง และท้องขึ้น หาย


ขนานที่ 2 ยาชโลม
ส่วนประกอบ  ใบหนาด ใบโพกพาย  รากผักไห่  
เม็ดในขนุนละมุด  ดินสอพอง
วิธีใช้  บดละเอียดผสมด้วยน้ำซาวข้าว 
ชโลมหายดีนัก

2.  ท้อง 3 เดือน   ถ้ายาขนานก่อนไม่หาย ให้ใช้
ยาขนานต่อไปนี้

ขนานที่ 1 ยากิน

ส่วนประกอบ  ข้าวตอก  ข้าวเหนียวกัญญา
วิธีใช้  บดละเอียดละลายด้วยน้ำนมโค 
รับประทาย หาย

ขนานที่ 2 ยาชโลม

ส่วนประกอบ  รากกระจับบก ใบบัวหลวงอ่อน 
จันทน์หอม เปราะหอม หญ้าแพรก แฝกหอม 
เถาชิงช้าชาลี
วิธีใช้  บดละเอียดละลายน้ำซาวข้าว ชโลม ดีนัก

3.  ท้อง 4 เดือน   ใช้ยาต่อไปนี้

ขนานที่ 1 ยากิน

ส่วนประกอบ  ดอกสัตตบงกช โกฐกระดูก 
รากบัวหลวง กระจับบก จันทน์หอม รากขัดมอน 
หัวแห้วหมูรากมะตูม ผลผักชี ขิงสด ยา 10 สิ่งนี้ 
นำมาเท่ากัน (น้ำหนักเสมอภาค)
วิธีใช้  ต้ม 3 เอา 1 รับประทาน หาย

ขนานที่ 2 ทั้งกิน ทั้งชโลม
ส่วนประกอบ  รากสลอดน้ำ รากหญ้านาง 
รากทองหลาง รากพุมเรียงบ้าน พุมเรียงป่า 
จันทน์แดง จันทน์ขาว รากพุงดอ รากตำลึง 
รากฟักข้าว เกสรบัวหลวง ดินประสิว ดินสอพอง 
ยา 12 สิ่งนี้เอาเท่ากัน
วิธีใช้  บดเป็นผง ทำแท่งไว้ ละลายน้ำซาวข้าว 
ทั้งกิน ทั้งชโลม ดีนัก
สรรพคุณ  เป็นยากล่อมลูกไม่ให้เป็น
อันตรายได้วิเศษนัก

4.  ท้อง 5 เดือน  ถ้ายาขนานก่อนไม่หาย 
ให้ใช้ยาต่อไปนี้

ส่วนประกอบ  ใบบัวบก  เทียนดำ  ขมิ้นผง  ปูนแดง
วิธีใช้  บดละเอียด ละลายน้ำสุรา รับประทาน
สรรพคุณ  แก้ลงโลหิต (ถ่ายเป็นเลือด) 
ทางทวารหนักทวารเบา นั้นหาย

*************************************

บทที่ 7 การเจริญเติบโต และการดูแลทารก

         การเลี้ยงดูทารกให้เจริญเติบโตทั้งร่างกาย และจิตใจ แข็งแรงสมวัยนั้นต้องเริ่มจากบิดามารดามีความต้องการ และตั้งใจให้กำเนิดบุตร เพื่อทารกเกิดมาแล้วสามารถให้การเลี้ยงดูอย่างดี ทั้งด้านอาหาร ความสะอาด การป้องกันโรคต่างๆ เป็นต้น ซึ่งมารดาครรภ์แรกอาจไม่ทราบวิธีการเลี้ยงดูที่ถูกต้องเหมาะสม จึงเป็นหน้าที่ของผดุงครรภ์ที่จะต้องให้การดูแล ให้การแนะนำมารดาในด้านต่างๆ ดังนี้

1. การเลี้ยงทารกด้วยนมมารดา
        ใน 2-3 วันแรกหลังคลอดแล้ว น้ำนมมารดาจะเป็นน้ำใสๆ ที่เรียกว่า นมน้ำเหลือง  น้ำนมใสๆ นี้มีโปรตีนเท่ากับในโลหิตของมารดา ซึ่งนับว่าเป็นอาหารที่ดีที่สุด และมีประโยชน์แก่ทารกที่เกิดใหม่ เมื่อทารกดื่มนมน้ำเหลืองเข้าไปในกระเพาะอาหารแล้ว กระเพาะอาหารทารกไม่ต้องทำงานมาก จะซึมเข้าในโลหิตทันที โดยไม่ต้องย่อย ต่อมา 3-4 วัน น้ำนมเหลืองใสๆนี้เปลี่ยนสีเป็นสีขาวขึ้น ซึ่งเป็นระยะพอดีกับการย่อยอาหารของทารก (การปรับตัวของธรรมชาติ) จะเคยชิน ทำการย่อยอาหารใหม่ได้เลย และน้ำนมเหลืองนี้ก็เป็นยาถ่ายขี้เทาได้ดีอีกด้วย
     1.1 ระยะเวลาการให้นมของมารดา
         ระยะ 2-3 วันแรกหลังคลอดแล้ว ควรให้ทารกดื่มน้ำต้มสุกอุ่นๆ ให้ทุก 2-3 ชั่วโมง ไม่จำเป็นต้องใส่ของหวาน (เช่น น้ำผึ้ง น้ำตาล) ลงในน้ำนี้ เพราะร่างกายของทารกในระยะนี้ไม่มีความต้องการ และอาจทำให้ปวดท้องได้ด้วย ถ้าใน 2-3 วันแรก มารดายังไม่มีน้ำนมมาเลย ไม่ควรให้นมผสมแก่ทารก เพราะใน 3 วันแรกในลำไส้ของทารกยังอัดแน่นด้วยขี้เทา ยังไม่ต้องการอาหารใดๆทั้งสิ้น นอกจากน้ำเท่านั้น จนภายหลังน้ำนมมารดาออกมาแล้วจึงให้กินได้บ้าง น้ำนมน้ำเหลืองนี้จะกระตุ้นให้ขี้เทาที่อยู่เต็มในลำไส้ทารกให้ถ่ายออกมา เมื่อเป็นเช่นนี้แล้ว ทารกจะเริ่มหิวโหย ในท้องจะมีลมมาก ทารกจะร้องกวน ถ้าทารกมีอาการเช่นนี้เกิดขึ้นในระยะนี้ อย่าทำการสวนลำไส้ทารก
         หลังจากทารกเกิด 2 วันแล้ว ควรให้ดูดนมมารดาข้างละ 3 นาที จะทำให้น้ำนมออกเร็วขึ้น เมื่อเอาทารกออกจากการดูดนมแล้ว ควรให้ทารกดื่มน้ำสุกสัก 1-2 ช้อนชาเสมอๆ 
         วันที่ 3 ให้ทารกดูดนมเพิ่มเป็นข้างละ 5 นาที 
         วันทื่ 4 เพิ่มขึ้นเป้นข้างละ 7 นาที 
         วันที่ 5 เพิ่มขึ้นเป็นข้างละ 10 นาที
และให้ตามเวลา และควรให้ดูดนมมารดาเวลาเท่ากันทั้ง 2 ข้าง การให้นมทารกควรให้เป็นเวลาห่างกัน 3 ชั่วโมงต่อ 1 ครั้ง เช่น มื้อแรกให้เวลา 06.00 น. มื้อต่อๆไปควรให้เวลา 09.00 น., 12.00 น., 15.00 น. และมื้อ 18.00 น. ถ้าให้ดังนี้ได้จะดีมาก ก่อนให้ทารกดูดนม ควรใช้สำลีชุบน้ำอุ่นๆ ล้างบริเวณหัวนมทุกครั้ง  เมื่อดูดนมแล้วก็ควรล้างอีกครั้งหนึ่งด้วย จากนั้นให้ทารกดื่มน้ำสุก 1-2 ช้อนกาแฟ ทุกครั้งหลังจากดูดนม เพื่อเป็นการล้างปากให้สะอาดด้วย

ประโยชน์ของการให้ทารกดูดนม 3 ชั่วโมงต่อครั้ง คือ 
     1) ภายในท้องทารกมีเวลาว่างมากขึ้น
     2) ทารกมีเวลาพักผ่อนนอนมาก
     3) ทารกมีกำลังแรงที่จะดูดนม
     จะเป็นการออกกำลังกายทำให้ขากรรไกรแข็งแรง และยังทำให้น้ำนมมารดามากขึ้นด้วย
ในเวลากลางคืนไม่ควรให้นมตั้งแต่แรกเกิด คือ ในระหว่าง 22.00 น. ไปจนถึง 06.00 น. ถ้าร้องควรให้น้ำ
สุกอุ่นๆ แทน ถ้าทารกร้องนอนไม่หลับอีกก้ควรให้ตอนเวลา 22.00 น. ได้บ้าง ถ้าทารกหลับก็ให้หลับต่อไป จนกว่าจะตื่นจึงให้ดูดนมต่อไป
     1.2  การดูแล และให้นมทารก
         การดูแลทารกและให้บมของมารดาแก่ลูก เมื่อการคลอดและทุกอย่างเรียบร้อย ให้มารดารับประทานยาขับน้ำคาวปลา หรือยาประสะไพล ยาไฟประลัยกัลป์ เพื่อขับน้ำคาวปลา และรักษามดลูกให้เข้าอู่ และยาประสะน้ำนม
         การให้นมลูกหลังคลอด บางตนก็จะมีน้ำนมมาเร็ว บางคนก็จะมัหลังคลอด 1-2 วัน น้ำนมที่เริ่มมีมาจะเป็นน้ำสีเหลืองรสกร่อยๆ ซึ่งมีประโยชน์อย่างยิ่งต่อทารก เพราะช่วยถ่ายขี้เทาและล้างท้องทารก
         ทุกครั้งที่จะให้นมลูก มารดาต้องล้าวหัวนมให้สะอาดก่อนจะให้นมลูก มารดาควรคลึงเต้านมให้ทั่ว
เสียก่อน แล้วจึงให้ลูกดูดนม

ประโยชน์ของน้ำนมแม่ต่อทารก
     1. มีคุณค่าด้านอาหารครบถ้วน เพราะกลั่นกรองมาจากเลือดในอกของมารดา ถ้าลูกหิวเมื่อใด แม่จะรู้ถึงความต้องการอาหารของลูก คือ น้ำนมจะไหลออกมาเอง  
     2. ด้านจิตใจแม่กับลูก จะมีความผูกพันซึ่งกันและกัน ลูกจะมีความสุขเวลาที่ได้ดูดนมแม่ มีความผูกพัน ดูดดื่ม อบอุ่น ลูกจะมีสุขภาพจิตที่ดี
     3. ด้านสมอง เวลาลูกกินนม แม่สามารถถ่ายทอดความรัก ความนึกคิดให้ลูกซึมซับได้รับรู้ความความคิด ความฟ่วงใยซึ่งกันและกัน ทารกที่กินนมแม่จะมีความคิดอ่านและความมั่นใจในตัวเอง
     4. น้ำนมแม่ สะอาดกว่าอาหารอื่นใด เมื่อลูกหิวก๋ไม่ต้องเตรียมเพราะธรรมชาติสร้างมาให้พร้อมแล้ว
     5. น้ำนมแม่ เป็นอาหารวิเศษที่ธรรมชาติสร้างมา น้ำนมของมารดานั้น จะมีความเข้มข้นขึ้นตามความเจริญของทารก
     6. น้ำนมของมารดา ก็มีขอบเขตจำกัดได้ เช่น เมื่อลูกเจริญวัยขึ้น น้ำนมก็จะลดลง เพราะลูกกินอาหารได้เองแล้ว
     7. ประโยชน์ของการให้น้ำนมแม่แก่ลูกนั้น ยังช่วยยืดเวลาการตั้งครรภ์ คือเป็นการคุมกำเนิดไปด้วย
     8. ข้อสำคัญของการให้นมลูก ถ้าแม่มีภารกิจเกิน 3-4 ชั่วโมง เมื่อจะให้นมลูก ให้บีบน้ำนมทิ้งก่อนแล้วค่อยคลึงเต้านมให้ทั่ว 
เพื่อให้ลูกกินนม


น้ำนมมารดาให้โทษแก่ทารก
1. แม่ไม่สบาย เป็นไข้
2. แม่ที่ถูกสัตว์มีพิษกัดต่อย
3. แม่มีครรภ์ มีท้องอ่อน ห้ามลูกกินนม

นคัมภีร์ปฐมจินดา ท่านกล่าวไว้ว่า
น้ำนมพิการมี 3 จำพวกดังนี้
1. สตรีขัดระดู จำพวกหนึ่ง
2. สตรีอยู่ไฟมิได้ จำพวกหนึ่ง
3. สตรีมีครรภ์อ่อน จำพวกหนึ่ง
**ถ้าสตรีมีลักษณะนี้ ถ้ากุมารกินน้ำนมเข้าไป
ดุจบริโภคยาพิษ จะบังเกิดโรคาพยาธิได้


2. การเจริญเติบโตด้านร่างกายของทารกในวัยต่างๆ  

ทารกครบกำหนดและสมบูรณ์ที่เกิดมา 
ต้องมีลักษณะ ดังนี้
1. น้ำหนักราว 3,000 กรัมขึ้นไป หากจะต่ำกว่าก็ต้อง
    ไม่น้อยกว่า 500 กรัม
2. เคลื่อนไหวตัวได้แข็งแรง
3. ออกมาแล้ว ร้องเสียงดัง
4. ผิวหนังตามตัวหนา
5. เล็บมือเล็บเท้าเป็นปกติ
6. ขนตามตัวไม่มี
7. ใบหน้าอิ่ม ไม่เหี่ยวย่นเหมือนคนแก่
8. ดูดนมได้แรงดี

ทารกไม่ครบกำหนด ไม่สมบูรณ์ คลอดออกมาแล้ว
มีลักษณะ ดังนี้
1. น้ำหนักตัวน้อยกว่าปกติ
2. เคลื่อนไหวตัวไม่แข็งแรง
3. ร้องเสียงแผ่วเบามาก
4. ผิวหนังตัวบางและใส ดุจผิวหนังของลูกหนู
ที่ออกมาใหม่ๆ
5. เล็บมือ เล็บเท้ายาวผิดปกติ
6. มีขนตามตัว
7. ใบหน้าเหี่ยวย่นเหมือนคนแก่
8. ดูดนมไม่แข็งแรง

อาการที่ทารกรับประทานมากไป มีอาการดังนี้ 
1. อุจจาระบ่อยๆ คือเกินกว่าวันละ 3 ครั้ง 
ครั้งแรกจะมีสีเหลืองเหนียว ต่อไปจะค่อยๆ 
เปลี่ยนเป็นเหลวและเปลี่ยนเป็นสีเขียว 
และในที่สุดจะเหลวเป็นน้ำ
2. จะอาเจียนและลงท้อง เนื่องจากกระเพาะอาหาร
อ่อนเพลียไม่มีกำลังที่จะย่อย
3. เสียดท้อง มีอาการกระสับกระส่าย ไม่หลับ 
ไม่นอน ร้องให้โยเย ซึ่งทำให้มารดาเข้าใจว่า
ทารกมีอาการหิว จึงให้ดูดนมเข้าไปอีก 
อาการเลอเป็นมากขึ้น
        น้ำหนักตัวตอนแรกจะเพิ้มขึ้น แต่ต่อมา
จะลดลงเป็นลำดับ ซึ่งมักจะทำให้มารดาเข้าใจ
ว่าน้ำนมของตนไม่ถูกกับตัวทารก และพยายาม
จะให้ทารกหย่านม
4. ทารกมักจะร้อง และในขณะที่เอานมออกจากปาก 
แม้จะนอนนิ่งๆ ก็อาจร้องเช่นเดียวกัน
        สำหรับรายที่ให้ทารกดูดนมไม่เป็นเวลา คือ 
เมื่อทารกร้องขึ้นเมื่อใด ก็เอานมให้ทารกดูด
ทุกครั้งไป ซึ่งแสดงว่าให้นมทารกมากเกินไป 
จึงมีอาการดังกล่าว จึงควรหัดให้ทารกรับประทาน
นมเป็นเวลาทุก 3 ชั่วโมง หรือ 4 ชั่วโมงก็ได้
        ถ้าจะให้ทารกดูดนมน้อยนั้น ควรให้มารดา
ประมาณเวลาดูดนม ถ้าทารกดูดนม 8-10 นาที
ก็ควรลด ให้ดูดสัก 5-7 นาที ทารกบางคนดูดนมเร็ว
ประมาณ 5-7 นาทีก็อิ่มแล้ว
        นอกจากนี้ ถ้ามีอุจจาระเป็นสีเขียว 
ควรให้รับประทานน้ำมันละหุ่งสัก 1 ช้อนชา 
ถ้าเวลานี้ถึงเวลารับประทานนม 
ก็ควรให้น้ำสุกไปก่อน เมื่อระบาย
แล้วจึงให้รับประทานนมต่อไปตามเดิม

ทารกดูดนมน้อยไป มีอาการดังนี้ 
1. มักร้องไห้ทั้งก่อนนอนและหลังดูดนมแล้ว
2. อุจจาระที่ถ่ายออกมาเป็นก้อนเล็กๆ ไม่มากนัก 
และสีน้ำตาลแกมเขียว หรือบางที
มีสีเขียวมีเมือกปน คล้ายเสมหะ
3. น้ำหนักตัวไม่เพิ่มขึ้นเท่าที่ควร ถ้าจะให้ทารก
ดูดนมมากขึ้น ควรปฏิบัติตามวิธีให้นมมากขึ้น
ตามที่ได้กล่าวมาแล้ว หรือชั่งน้ำหนักทารก
ตรวจดูด้วย เพื่อดูว่าน้ำหนักตัวทารกขึ้นหรือลง

การให้อาหารทารกในวัยต่างๆ มีไว้ดังนี้
นมหวานไม่ควรให้ทารกรับประทาน เพราะมีน้ำตาล
มากเกินไป ทำให้ขาดอาหารเลี้ยงร่างกาย 
และทำให้ท้องเสียบ่อยๆ ควรให้นมผง 
จะเป็นชนิดใดควรปรึกษาสูตินรีแพทย์

อาหารที่ใช้เพิ่มให้กับทารกนอกจากนมมีดังนี้
     เมื่ออายุทารก   2 เดือน ควรให้น้ำส้มคั้น
หรือน้ำผลไม้เล็กน้อย
     เมื่ออายุทารก   3 เดือน ควรให้กล้วยน้ำว้าบดหรือ
กล้วยหักมุกเผาบด พอควร
     เมื่ออายุทารก   4 เดือน ควรให้ข้าวบด
กับน้ำแกงจืดตามสมควร
     เมื่ออายุทารก   5 เดือน ควรให้ไข่แดงสุกเพิ่ม
     เมื่ออายุทารก   6 -7 เดือน เพิ่ม ตับบด ปลา 
เนื้อหมูสับ ทำให้สุกเพิ่มทีละน้อย ทีละอย่าง 
ครั้งแรกๆ ควรให้ทีละ 1 ครั้ง และต่อไป
เพิ่มวันละ 2 ครั้งหรือสามครั้ง
     เมื่ออายุทารก   8-10 เดือน ให้ข้าวและกับ
วันละ 2 มื้อ ให้ขนมปังบ้าง ตัดเป็นชิ้นๆให้เด็ก
ถือกินเอง เพื่อต้องการให้เหงือกและฟันแข็งแรง
     เมื่ออายุทารก  1 ปี ให้อาหารและผลไม้
อย่าง
ผู้ใหญ่ได้ ยกเว้นอาหารที่มีรสเผ็ดร้อนวันละ 3 มื้อ

การเจริญเติบโตของทารกปกติ เป็นดังนี้
     เมื่ออายุ  1 เดือน  จ้องหน้าคนพูดด้วย 
และจะทำปากคล้ายจะพูด
     เมื่ออายุ  2 เดือน   ยิ้มได้ ออกเสียงอ้อแอ้ 
มองตามคนผ่าน
     เมื่ออายุ  3 เดือน   ชันคอแข็ง หันมองตามเสียง
     เมื่ออายุ  4 เดือน   คว่ำเอง หัวเราะดัง 
คว้าของและถือได้
     เมื่ออายุ  5 เดือน   คว่ำอละหงายเองได้ 
ชอบเอามือดึงเท้า และเอาของเข้าปาก
     เมื่ออายุ  6 เดือน   เวลวจับยืนจะเต้นขย่ม นั่งเอง 
แขนยันพื้นได้
     เมื่ออายุ  7 เดือน   นั่งเอง รู้จักเสียง
เรียกชื่อตัวเอง พูดได้บางคำที่ไม่มีความหมาย 
เป็นพยางค์เดียว
     เมื่ออายุ  8 เดือน   คืบได้ จับให้ยืนเกาะได้ 
พูดคำที่ไม่มีความหมาย สองพยางค์ได้
     เมื่ออายุ  9 เดือน   คลานได้ โหนตัวขึ้นยืนเอง 
หยิบของด้วยหัวแม่มือและนิ้วชี้
     เมื่ออายุ 10 เดือน  เมื่อเกาะยืนยกขาได้ 
ยกมือลา หรือไหว้ได้
     เมื่ออายุ 11 เดือน  เดินเกาะราว 
พูดคำที่มีความหมายได้คำเดียว สนใจรูปภาพ
     เมื่ออายุ 12 เดือน  ยืนได้เอง จูงมือข้างเดียว
เดินได้ ชอบโยนชองทิ้ง พูดได้ 2-3 คำ
     เมื่ออายุ 15 เดือน  คลานขึ้นบันไดได้ เดินคล่อง 
ป้อนอาหารเข้าปากเองได้
     เมื่ออายุ 18 เดือน  เกาะราวขึ้นบันไดได้ 
พูดได้หลายคำ เมื่อปวดปัสสาวะ อุจจาระ จะบอกได้
     เมื่ออายุ 21 เดือน  เดินถอยหลังตามอย่างได้ 
ทำตามคำสั่งง่ายๆ ได้ 2-3 อย่าง
     เมื่ออายุ 24 เดือน  ขึ้นลงบันไดได้เอง 
เตะลูกบอลก็ได้ พูดคล่อง มักไม่ปัสสาวะลดที่นอน

3. อาการและการดูแลรักษาทารกในวัยต่างๆ 

 3.1 โรคสะท้าน (บาดทะยักในเรือนไฟ)
       โรคนี้เป็นเมื่อสายสะดือหลุด และมีเชื้อโรคเข้าไปในแผลสายสะดือ แผลหายแล้วประมาณ 7-8 วัน โรคนี้ก็จะแสดงอาการที่แผลจะอักเสบขึ้น และมีอาการทำให้ขากรรไกรแข็งและชักกระตุกเป็นพักๆ เมื่อเป็นขึ้นแล้วรักษาไม่หาย มียารักษาสงบเพียงชั่วคราวเท่านั้น ต้องตายทุกราย
        การดูแลรักษา  ต้องรักษาสายสะดือให้ดี อย่าให้เป็นแผล เน่า หรือเป็นหนอง ในชั้นแรกต้องสะอาดทุกอย่างในเรื่องการตัดสายสะดือ มือ เชือก ผ้าห่อ การตัด ใส่ยา เปลี่ยนผ้า อย่าให้ถูกน้ำเป็นอันขาดจนกว่าสายสะดือจะหลุดใช้เวลา 5 ถึง 7 วัน และอย่าดึงสายสะดือเด็ดขาด ต้องปล่อยให้หลุดเอง

 3.2 โรคทวารตัน 
        ทารกเกิดใหม่ๆ บางคนจะได้พบทวารตัน แต่นานๆจะได้พบสักคน คิออุจจาระไม่ออก ที่ช่องทวารหนักมีเยื่อบางๆ เหมือนพังผืดปิดช่องทวารหนักลึกเข้าไปประมาณ 1 นิ้ว ควรนำส่งโรงพยาบาล

 3.3 อาการปัสสาวะไม่ออก
        เมื่อทารกคลอดออกมาแล้ว อยู่ในระหว่างเรือนไฟ เกิดปัสสาวะไม่ออก จะเห็นได้จากผ้าปูที่นอนทารกไม่เปียกเลย และบางครั้งทารกจะร้องบ่อยๆ
        การดูแลรักษา ท้องผูก ให้สวนด้วยน้ำอุ่นๆ ล้างท้องเสียก่อน ถ้ายังไม่ออกเอาทารกนั้นแช่น้ำ 1 ชั่วโมง ถ้ายังไม่ออก ให้ใช้ยา สบิรทเอเทอร์ไนเตรท ทาบริเวณท้องน้อยตรงกระเพาะปัสสาวะ
ถ้ายังไม่ออก ควรนำส่งโรงพยาบาล

3.4 อาการปวดท้องของทารกในเรือนไฟ
        โรคทารกปวดท้องในเรือนไฟนี้ จะสังเกตได้จาดทารกร้องให้ไม่หยุด และบางทีเหงื่อออกเท้าเย็นนิ้วมือหงิก และร้องมากเป็นพักๆ บางครั้งร้องกรี๊ดก็มี
        การดูแลรักษา  ต้องเคาะดูที่หน้าท้องทารกว่าท้องขึ้นหรือเปล่า ถ้าท้องขึ้นให้เอาโซดาไบคาร์บอเนตผสมกับน้ำอุ่น 1-2 หยด ละลายให้กิน (อาจใช้ไพลสดฝนกับฝาละมี ละลายน้ำอุ่นหยดให้ทารกกิน และทาท้องและยอดอกทารก ก็จะบรรเทาอาการท้องขึ้น) ถ้ายังไม่หายร้อง ให้กินทิงเจอร์ฝิ่นการบูร 2-3 หยด ถ้าท้องผูกให้สวนด้วยน้ำอุ่นๆ แล้วใช้ผ้าพันท้องพันให้อุ่นไว้ เช่น ใช้ใบพลูลนไฟนาบท้องให้อุ่นไว้ หรือใช้มหาหิงคุ์ทาท้องไว้บ้าง ก็อาจจะหายได้ง่าย (ถ้าทารกกินนมแม่ ก็ขอให้แม่ระวังอาหารด้วย ถ้าอาหารรสจัดๆ จะส่งผลให้ลูกมีอาการ เพราะอาหารแสลงท้องทารก

3.5 โรคหลอดน้ำดีตันของทารก
       โรคนี้เป็นเพราะหลอดน้ำดีตัน มีอาการท้องขึ้น ตาเหลือง เป็นอย่างนี้สัก 5-6 วัน ถุงน้ำดีแตก มีอาการโลหิตออกทางปาก ทางจมูก ทารกจะเป็นอันตราย
       การดูแลรักษา  เมื่อเห็นทารกมีอาการท้องขึ้น ตัวเหลือง และอุจจาระปัสสาวะเหลือง ท้องผูก ให้ล้างท้อง แล้วให้กินโซดาไบคาร์บอเนตละลายน้ำจางๆ แล้วใช้ผ้าชุบน้ำอุ่นปิดลงตรงชายโครงข้างขวา ต้องให้ผ้านั้นอุ่นอยู่ตลอดเสมอ จะใช้ใบพลูหรือพลับพลึงนาบพออู่นๆก็ได้ ทำอย่างนี้ถ้าไม่ทุเลา จะทำให้ถุงน้ำดีแตกภายใน 7 วัน ทารกจะต้องตาย การรักษาโรคนี้รักษาไม่หาย แต่ต้องรักษาไปตามอาการ หรือพอตรวจรู้อาการดังกล่าว ควรรีบส่งโรงพยาบาลทันที เพราะเป็นโรคที่รักษายาก

3.6 โรคฝีดาษและโรคหัดของทารก

       ทั้ง 2 โรคนี้อาจเป็นกับทารกในเรือนไฟได้ และก็ยังมีวิธีป้องกัน ถ้ามีคนเป็นฝีดาษชุกชุม ให้นำทารกปลูกฝี ถ้าเป็นหัด หรือมีคนรอบบ้านเป็นหัด ก็ให้พาทารกหนีไปอยู่ห่างไกลให้พ้น ถ้าที่แห่งใดเป็นโรคหัด สุกใส อย่าไปทำคลอดในหมู่บ้านนั้น ถ้าจำเป็นต้องทำความสะอาดเสียก่อน โดยล้างด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อ
(Antiseptic) จนทั่วห้อง รมด้วยไฟกำมะถัน 1-2 วัน ห้ามคนที่เป็นโรคเข้ามาใกล็เคียงในเมื่อทำการคลอด เป็นหน้าที่ของผดุงครรภ์จะต้องพิจารณาก่อนอื่น และสถานที่นั้นจะต้องมีอากาศปลอดโปร่ง ไม่อบอ้่าวอากาศถ่ายเทเข้าออกได้

3.7 โรคสายสะดือรั่ว 
       คือ โลหิตรั่วตามสายสะดือ
       การดูแลรักษา  ต้องใช้ยาฝาด ปิดที่แผลรั่ว หรือใช้สารส้มบดให้ละเอียดโรยก็ได้ แล้วใช้ผ้าสะอาดปิดทับไว้ให้แน่นพอควร ถ้าเลือดยังไม่หยุด ให้ใช้น้ำมันวาสลินทาบ้าง ถ้ายังไม่หยุด ให้ใช้มือบีบไว้นานๆ อาจหยุดได้ ถ้าไม่หยุดต้องเย็บตรงที่โลหิตไหลออก ทารกเป็นโรคชนิดนี้รักษาได้ แต่อยู่ไม่นานนักจะเป็นโรคลำไส้และโลหิตจาง ถ้าไม่เข้าใจในวิธีการรักษา ควรรีบนำส่งโรงพยบาลเป็นการด่วน ผดุงครรภ์แผนโบราณ ถ้าไม่เข้าใจอย่าทำเป็นอันขาด ควรพยาบาลให้ขั้นต้นเท่านั้น ถ้าเห็นว่าทำไม่ได้ ต้องแพทย์ทันที

3.8 โรคไส้เลื่อนทางช่องสะดือ
       โดยมาอเป็นเพราะสายสะดือหลุด เนื่องจากทารกร้องมากเกินไป เบ่งจนทำให้ไส้นั้นเลื่อนออก
มาทางช่องต้นขั้วสะดือ
        การดูแลรักษา  ต้องใช้เครื่องกดทับ แล้วใช้ผ้าขาวยาวปิดกดทับไว้ แล้วอย่าให้ไส้ดันออกได้ ใช้ผ้าทำเป็นหมอนเล็กๆ ขนาดเท่าสะดือ ใช้ผ้าขาวสะอาดกดทับไว้สัก 2-3 สัปดาห์ ก็หายได้ โรคนี้ไม่สู้ยากนัก
ถ้าพบเข้าใจคงทำได้

4. การป้องกันบำบัด รักษาตามบทบาท
หน้าที่ผดุงครรภ์แผนโบราณ
      เมื่อกุมารและกุมารีคลอดออกจากครรภ์มารดาแล้วและกำเริบอันเป็นเหตุให้บังเกิดโรคต่างๆนั้นคือ
การสำรอก 7 ครั้ง  เกิดขึ้นเมื่อ

    1. เมื่อรู้ชันคอครั้ง 1 เพราะเส้นเอ็นนั้นไหว ซางจึงพลอยทำโทษครั้ง 1 นั้นคือ ทารกจะมีอาการตัวร้อน สำรอกน้ำนม โยเย

    2. เมื่ิอรู้คว่ำ กระดูกสันหลังตลอน ซางจึงทำให้เกิดโทษครั้ง 1 (ทารกอาจมีไข้หรือท้องเดิน ให้มารดาดูแลให้ดี)

    3. เมื่อรู้นั่ง กระดูกก้นกบขยายตัว ซางจึงทำให้เกิดโทษครั้ง 1 (ทารกอาจจะถ่ายเป็นมูกเลือดหรือตัวอุ่น ท้องอืด)

    4. เมื่อทารกรู้คลาน ตะโพกและเข่าเคลื่อน ซางจึงกระทำโทษเอาครั้ง 1 (ทุกครั้งทีทารกเปลี่ยนอิรอยาบถจะมีอาการ ให้ผู้เป็นมารดาดูแลทารกให้ดี)

    5. เมื่อดอกไม้ขึ้น (ฟันขึ้น) ซางจะทำโทษครั้ง 1

    6. เมื่อทารกรู้ยืน เพราะว่ากระดูกทั้ง 300 ท่อนนั้นสะเทือน และเส้นเอ็นกระจายสิ้น ท่านว่า สำรอกกลาง (ให้ดูแลรักษาให้ดี)

    7. เมื่อทารกรู้ยืน รู้ย่าง เพราะว่า ไส้ พุง ตับ ปอดนั้นคลอน ท่านว่า สำรอกใหญ่ ให้ระวังให้ดีเถิด
ซางก็พลอยทำโทษครั้ง 1
        ซึ่งว่ามาทั้งนี้ ธรรมดาวิสัยมนุษย์ทุกคนมิได้เว้นเลยดังนี้ ท่านจึงประกาศสรรพคุณยาไว้ให้กุมารกิน
เป็นยาประจำท้องทุกเดือน หวังจะกันเสียซึ่งสำรอก และต้านซาง อันที่ผดุงครรภ์จะได้ป้องกันอาการต่างๆ ที่ซึ่งจะต้องเกิดแก่ทารกทุกคนไม่มีเว้น ดังจะได้อธิบายต่อไป

     การดูแลทารกในวัยต่างๆ 
     1. ถ้ากุมารกุมารีผู้ใด คลอดออกมาจากครรภ์มารดาได้เพียง 1 เดือน ท่านให้เอาใบกระเพรา
ใบเสนียด ใบตานหม่อน บอระเพ็ด บดละลายน้ำให้กินประจำท้องกันสำรอก
     2. กุมารกุมารี  คลอดออกมาจากครรภ์มารดาได้ 2 เดือน ท่านให้เอาใบคนทีสอ ใบสะเดา ใบผักชวง
ใบขอบชะนางแดง บอระเผ็ด บดละลายน้ำร้อนให้กินเป็นยาประจำท้องกันสำรอก
     3. กุมารกุมารี  คลอดออกมาจากครรภ์มารดาได้ 3 เดือน ท่านให้เอาใบสวาด ใบขอบชะนางขาว
ใบกระพังโหม บอระเพ็ด บดละลายน้ำร้อนให้กินเป็นยาประจำท้องกันสำรอก
     4. กุมารกุมารี  คลอดออกมาจากครรภ์มารดาได้ 4 เดือน ท่านให้เอาผักกระเฉด ใบทับทิม ใบตานหม่อน ใบเสนียด บอระเพ็ด บดละลายน้ำร้อนให้กินเป็นยาประจำท้องกันสำรอก
     5. กุมารกุมารี  คลอดออกมาจากครรภ์มารดาได้ 5 เดือน ท่านให้เอาใบผักคราด  ใบหญ้าใต้ใบ
ใบกระทืบยอด ใบกระพังโหม บอระเพ็ด บดละลายน้ำร้อนให้กินเป็นยาประจำท้องกันสำรอก
     6. กุมารกุมารี  คลอดออกมาจากครรภ์มารดาได้ 6 เดือน ท่านให้เอาใบฝ้ายแดง ใบกระทุ่มนา ใบขอบชะนางแดง ใบหนาด บดทำแท่ง ละลายน้ำร้อนให้กินเป็นยาประจำท้องกันสำรอก
     7. กุมารกุมารี  คลอดออกมาจากครรภ์มารดาได้ 7 เดือน ท่านให้เอาใบนมพิจิตร ใบมะกล่ำเครือ
ใบสมอพิเภก ขมิ้นอ้อย บอระเพ็ด บดทำแท่งไว้ ละลายน้ำร้อนให้กินเป็นยาประจำท้องกันสำรอก
     8. กุมารกุมารี  คลอดออกมาจากครรภ์มารดาได้ 8 เดือน ท่านให้เอาใบมะเดื่อ ใบพิมเสน ไพล
ขมิ้นอ้อย บดทำแท่งไว้ ละลายน้ำร้อนให้กินเป็นยาประจำท้องกันสำรอก
     9. กุมารกุมารี  คลอดออกมาจากครรภ์มารดาได้ 9 เดือน ท่านให้เอาใบมะขวิดอ่อน ใบสะแก ไพล
 ขมิ้นอ้อย บอระเพ็ด บดทำแท่งไว้ ละลายน้ำร้อนให้กินเป็นยาประจำท้องกันสำรอก
    10. กุมารกุมารี  คลอดออกมาจากครรภ์มารดาได้ 10 เดือน ท่านให้เอาใบคนทีสอ ใบคนทีีเขมา
ขมิ้นอ้อย บดทำแท่งไว้ ละลายน้ำร้อนให้กินเป็นยาประจำท้องกันสำรอก
    11. กุมารกุมารี  คลอดออกมาจากครรภ์มารดาได้ 11 เดือน ท่านให้เอาใบเสนียด ใบผักคราด
ใบปีบ ใบระงับ ใบขี้กาแดง ใบขี้กาขาว ใบโคกกระออม ใบขี้เหล็ก ใบสะเดา ไพล กะทือ ตรีกฏุก
บดทำแท่งไว้ละลายน้ำร้อนให้กินเป็นยาประจำท้องกันสำรอก
    12. กุมารกุมารี  คลอดออกมาจากครรภ์มารดาได้ 12 เดือน ท่านให้เอาใบเทียนย้อม 1 กำมือ
 ขมิ้นอ้อย บอระเพ็ด ใบมะคำไก่ ใบหนาด ใบตนทีสอ ตรีกฏุก ไพล ขิง การบูร เม็ดผักกาด กระเทียม หอม สารส้ม ดินประสิว  บดทำแท่งไว้ ละลายน้ำร้อนให้กินเป็นยาประจำท้องกันสำรอก 12 เดือนดีนักแล


       การให้ยาทารกในวัยต่างๆ

      ยากวาดทารกแรกเกิด

      ทารกตกฟากแล้วเมื่อผดุงครรภ์ควักเอาเมือกมันและโลหิตสิ่งสกปรกออกจากปากทารกหมดแล้ว เอาขี้แมลงสาปคั่วไฟพอควร ใบสะระแหน่สด 3 ใบ บดกับน้ำผึ้งป้ายปากทารกที่เกิดใหม่
      
       ยาประจำท้องทารก
       ตั้งแต่แรกคลอดไปจนถึง 10 เดือน หรือ 1 ขวบ ท่านให้เอาผิวมะกรูด 1 บาท ไพล 1 บาท
 เจตพังคี 1 บาท  ว่านน้ำ 1 บาท  บอระเพ็ด  1 บาท มหาหิงคุ์ 1 สลึง ยาทั้งนี้หั่นให้ละเอียด คั่วไฟให้เกรียม (คั่วด้วยกระทะ) บดเป็นผงละลายน้ำผึ้งป้ายลิ้นเด็ก แก้ท้องขึ้น ท้องอืด ระบายลม รักษาธาตุดี
**  1 บาท (15 กรัม)  1 สลึง (3.75 กรัม) **

      ยากวาดทารกแก้สะพั้น
      ท่านให้เอาใบลานเผาไฟพอเป็นถ่าน ละลายน้ำผึ้งป้ายปากทารก แก้สะพั้น เด็กอ่อนภายใน 7 วัน
             
      ยากวาดล้างขี้เทา  
      ท่านให้เอาพิมเสน 1 เฟื้อง น้ำประสานทองสะตุ 2 สลึง ขี้แมลงสาบคั่ว 2 สลึง หางปลาช่อนเผา 3หางเมล็ดมะกอกสุก 3 เมล็ด หมึกหอมแท่งเล็ก 1 แท่ง ทองคำเปลวแผ่นใหญ่ 8 แผ่น ชะมดปรุงพอสมควร สรรพยาทั้ง 8 สิ่งนี้ บดด้วยน้ำสุกกวาดทารกเพิ่งคลอด ถ่ายล้างขี้เทา ใช้ 1-2 ครั้งก็ได้ เพื่อล้างโทษลามก
มิให้กระทำพิษ
** 1 เฟื้อง (1.875 กรัม) 2 สลึง (7.5 กรัม)   1 สลึง = 2 เฟื้อง**
     
     ยาแก้ทรวงให้หอบ-ให้ชัก
     ท่านให้เอา ไพล ใบผักคราดหัวแหวน ใบพิมเสน สิ่งละ 1 กำมือ น้ำประสานทองสะตุ 1 เฟื้อง
บดทำผงเป็นเม็ด กวาดกับน้ำนมหรือน้ำสุก แทรกขันฑสกรนิดหน่อย   ถ้าชักใช้น้ำกระสายสุรา

     ยาแก้ทารกร้องไห้ 3 เดือน 
     ท่านให้เอาหัวหอม 1 หัว เปราะหอม 1 หัว  บดให้ละเอียดเท่าๆกัน แทรกพิมเสน ทาตัวเวลากลางคืน
ดีนักแล

     ศิลปะการกวาดยา
     ได้มีกันมานานแล้ว โดยการเรียนสืบต่อกันมานานหลายยุคหลายสมัย ตามในคัมภีร์ปฐมจินดาจนถึงปัจจุบันนี้ ในอดีตกาลผู้ป่วยที่จะกวาดยา จะกระทำตอนพระอาทิตย์ตกในตอนเย็น แต่ในปัจจุบันจะกวาดได้ตลอดทั้งวัน
      ก่อนอื่นต้องมีการเตรียมยาและน้ำกระสายยาในการกวาด เตรียมอุปกรณ์ในการกวาดยา ได้แก่ ครกบดยาขนาดเล็ก น้ำกระสายยา มีเหล้าขาว น้ำสุก เกลือ มะนาว และผ้าขาวที่สะอาดใช้เช็ดมือด้วย 1 ผืน
      ผู้ที่จะกวาดยาต้องเตรียมคือ ต้องตัดเล็บเสมอให้สั้นและไม่คม ก่อนกวาดยาต้องล้างมือสะอาดและเช็ดมือให้แห้ง เมื่อกวาดยาคนหนึ่งแล้วก็ต้องล้างมือ ไว้เตรียมกวาดยาคนใหม่เสมอทุกครั้ง เมื่อจะกวาดยาต้องถามแม่เด็กว่ารับประทานข้าวมานานหรือยัง เพราะว่าถ้ารับประทานข้าวแล้วมากวาดยา จะทำให้เด็กอาเจียนออกมาได้ เนื่องจากนิ้วมือที่กวาดไปถึงโคนลิ้น
      ผู้ที่กวาดยาจะใช้นิ้วชี้ในการกวาดยา ให้กวาดไปที่โคนลิ้น กวาดไปทางเดียวไม่กวาดกลับกลับมา ถ้ากวาดเด็กทารกจะใช้นิ้วก้อยก็ได้ เด็กทารกอายุไม่ถึงเดือน
จะไม่ใช้น้ำกระสายพวกสุรา
      เด็กทารกเมื่อไม่สบายก็จะเรียกว่าเป็นซางต่างๆ เด็กทารกที่ไม่สบายกันมาก เช่น ลิ้นเป็นฝ้า
เป็นละออง เป็นซางขุม เป็นหละ ท้องขึ้น ท้องเสีย ต่อมโต (ต่อมทอนซิลอักเสบ) เป็นแผลร้อนใน ไอ ท้องผูก เป็นต้น
      ก็สามารถจะใช้ยาสามัญประจำบ้านได้ ถ้ามีความชำนาญขึ้น ให้เรียนต่อสาขาเภสัชกรรมแผนโบราณทั่วไป (เภสัชกรรมไทย) และเวชกรรมแผนโบราณทั่วไป (เวชกรรมไทย)
      เมื่อรักษาไม่ได้ หรือไม่หายภายใน 4-7 วัน ต้องรีบส่งต่อหรือแนะนำไปโรงพยาบาลโดยด่วน ไม่ควรเก็บไว้รักษาเอง

*************************************

ภาคผนวก
ยาสำหรับสตรีและทารก


สรรพคุณ แก้หญิงมีครรภ์เบาน้อยหรือเกินประมาณ
ส่วนประกอบ ท่านให้เอา เจตมูลเพลิง๑ โกฐสอ๑ 
ผลผักชี๑ ดอกดีปลี๑ มะตูมอ่อน๑ สะค้าน๑ 
แห้วหมู๑ กกลังกา๑ รากขัดมอน๑ เปลือกโมกมัน๑ 
จันทน์แดง๑ จันทน์ขาว๑ เปลือกสมุลแว้ง๑ 
เกสรบัวหลวง๑ หนักสิ่งละ ๑ บาท (๑๕ กรัม)
วิธีทำวิธีใช้ ใส่หม้อต้มรับประทานดีนัก เมื่อเอายา
ลงหม้อเสกด้วย คาถาสักกัตวา ดังนี้
     สักกัตวา พุทธะระตะนัง  โอสะถังอุตตะมัง วะรัง 
หิตัง เทวะมะนุสสานัง  พุทธะเตเชนะ โสตถินา 
นัสสันตุปัททะวา สัพเพ ทุกขา วูปะสะเมนตุ เต.
     สักกัตวา ธัมมะระตะนัง   โอสะถัง อุตตะมัง วะรัง 
ปะริฬาหูปะสะมะนัง  ธัมมะเตเชนะ โสตถินา 
นัสสันตุปัททะวา สัพเพ ภะยา วูปะสะเมนตุ เต.
     สักกัตวา สังฆะระตะนัง   โอสะถัง อุตตะมัง วะรัง 
อาหุเนยยัง ปาหุเนยยัง  สังฆะเตเชนะ โสตถินา 
นัสสันตุปัททะวา สัพเพ โรคา วูปะสะเมนตุ เต.

ส่วนประกอบ ท่านให้เอา จันทร์ทั้ง ๒  เกสรทั้ง ๕  
รากลำเจียก รากไทรย้อย หน่ออ้อเขียวหรือ
หน่ออ้อลาย บัวน้ำทั้ง ๕  เทียนสัตตบุษย์ เทียนดำ 
รากยอบ้าน ยาทั้งนี้เอาสิ่งละ ๒ บาท  (๓๐ กรัม)  
วิธีใช้ ต้มน้ำรับประทาน
สรรพคุณ แก้หญิงมีครรภ์ มีอาการคลื่นเหียน 
อาเจียน หรือเป็นไข้มีอาการร้อนๆ หนาวๆ 
หรือเป็นเม็ดผื่นไปทั้งตัว
คำแนะนำ จงต้มยานี้ให้กินให้จงได้ 
จะหายดังปลิดทิ้ง

ส่วนประกอบ ให้เอาโกฐทั้ง ๕ เทียนทั้ง ๕ 
บัวน้ำทั้ง ๕ จันทน์ทั้ง ๒ กฤษณา  กระลำพัก 
ขอนดอก ชะลูด แก่นสน รากสามสิบ เทพทาโร 
อบเชยเทศ เปลือกสมุลแว้ง รวมตัวยา ๒๖ สิ่ง
วิธีทำวิธีใช้  ทำเป็นยาหม้อ 
ต้มน้ำรับประทาน เช้า-เย็น
สรรพคุณ ทำให้แข็งแรงเป็นปกติ

ส่วนประกอบ ท่านให้เอา รากชุมเห็ดเทศ๑ 
รากชะเอมเทศ๑  เอามะพร้าวนาฬิเกอ่อน 
เอาทั้งเนื้อทั้งน้ำ 
วิธีทำวิธีใช้ ต้มน้ำให้หญิงมีครรภ์รับประทาน
สรรพคุณ แก้หญิงแพ้ท้อง มีอาการต่างๆ ดีนัก

สรรพคุณ ยาคุมนี้ให้เลือดปกติ
ส่วนประกอบ ท่านให้เอา เทียนดำ เทียนขาว 
เทียนเยาวพาณี เอาหนักสิ่งละ ๑ บาท (๑๕ กรัม)  
ลูกผักชี ๑ บาท (๑๕ กรัม)เกสรบัวหลวง ๑ บาท 
(๑๕ กรัม) มะพร้าวอ่อน ๓ ลูก เอาทั้งเนื้อทั้งน้ำ
วิธีทำวิธีใช้ ต้มน้ำรับประทาน
คำแนะนำ ใช้เมื่อสตรีเริ่มตั้งครรภ์ 
จนถึงจวนเวลาคลอดจึงหยุด ท่านกล่าวไว้ว่า 
สตรีมีครรภ์ผู้นั้นจะไม่มีอาการอย่างใดเกิดขึ้นเลย 
ในเมื่อรับประทานยาขนานนี้แล้ว

ส่วนประกอบ ท่านให้เอาเปลือกสันพร้านางแอ๑ 
รากหญ้านาง๑ เกสรสารภี๑ ทั้งนี้เอาสิ่งละเสมอภาค
วิธีทำวิธีใช้  ต้มกับน้ำมะพร้าวอ่อน ให้หญิงมีครรภ์
รับประทาน
สรรพคุณ ทำให้ทั้งแม่และกุมารในครรภ์ 
มีกำลังแข็งแรงและปราศจากโรคทั้งปวง

ส่วนประกอบ ท่านให้เอายา กฤษณา (เสี้ยนตาล) 
กานพลู โกฐเชียง โกฐพุงปลา โกฐหัวบัว 
ดอกบุนนาคสวน น้ำประสานทองสะตุ 
หอยสังข์สุมแล้ว พิมเสนชนิดดี สมุลแว้ง 
อบเชยญวน ตัวยา ทั้ง ๑๑ สิ่ง 
หนักสิ่งละ ๑ บาท (๑๕ กรัม)  
ชะเอมเทศหนัก ๖ บาท (๙๐ กรัม)
วิธีทำวิธีใช้  ปรุงชะมดเช็ดพอควร 
บดทำเป็นผงละเอียด ใช้น้ำสุกหรือ
น้ำดอกไม้สดแช่น้ำก็ได้เป็นน้ำกระสายยา
สรรพคุณ แก้ลมหน้ามืด ตามัว ใจสั่น คลื่นเหียน 
อาเจียน และเป็นยาครรภ์รักษาด้วย
คำแนะนำ ถ้าไม่ชอบรสหวานมาก 
ให้ลดชะเอมลงบ้าง

ความหมาย ที่เรียกว่า ลมหัวลูก คือ 
แม่หญิงที่ตั้งครรภ์ มีอาการคลื่นเหียน วิงเวียน 
หน้ามืดตั้งแต่เริ่มตั้งครรภ์จนใกล้คลอด
ส่วนประกอบ ท่านให้เอาใบมะกา ๑ กำมือ  
ข่า ๕ แว่น  เกลือ ๑ กำมือ
วิธีทำวิธีใช้  ต้มน้ำรับประทาน
สรรพคุณ คือ แก้แม่ที่ตั้งครรภ์ มีอาการคลื่นเหียน 
วิงเวียน หน้ามืด
คำแนะนำ ตำรับกล่าวไว้ว่า ต้มรับประทานเถิด
สักหม้อหรือ ๒ หม้อ ก็จะหาย

ส่วนประกอบ ท่านให้เอาใบมะนาว ๑๐๘ ใบ 
ลงด้วยพระเจ้า ๕ พระองค์ (นะโมพุทธายะ)  
วิธีทำวิธีใช้  ต้มน้ำรับประทาน เช้า-เย็น 
มื้อละ  ๑ ถ้วยชา ก่อนอาหาร เมื่อขาดระดู 
รู้สึกว่ามีท้อง
สรรพคุณ จะทำให้คลอดง่าย สะดวกดีนัก 
มีผู้เคยใช้มาแต่โบราณนานนักแล้ว จนกระทั่งปัจจุบัน

ส่วนประกอบ ท่านให้เอาใบมะกา ๑ กำมือ 
ขมิ้นอ้อย ๓ แว่น เถาวัลย์พอควร (เข้าใจว่า 
ถาวัลย์เปรียง) ๑ กำมือโตๆ  สมอทั้งสามสิ่งละ ๓ ลูก
วิธีทำวิธีใช้  ใส่หม้อต้มน้ำรับประทานบ่อยๆ
สรรพคุณ ช่วยให้คลอดบุตรง่ายดีนัก

๑๑. ยาคลอดบุตรง่าย
คำแนะนำและส่วนประกอบ ให้ไปพลีเอา 
รากลำเจียก ที่ห้อยจากต้นไม้ถึงดินมา ๓ ราก 
(เรียกว่า รากอากาศ) 
เมื่อไปพลีอย่าให้เงาทับต้น เอามาหั่นบางๆ  
พริกไทย ๗ เม็ด กระเทียม ๗ กลีบ
วิธีทำวิธีใช้  ใส่ครกโขลกด้วยกันคั้นเอาน้ำ
รับประทาน เมื่อเวลาใกล้ๆ คลอดง่ายดีนักแล
สรรพคุณ ช่วยให้คลอดบุตรง่ายดีนัก

ส่วนประกอบ ท่านให้เอามะพร้าวอ่อน ๑ ลูกฟันก้น 
แล้วเอาผลผักชี๑ รากสามสิบ๑ เทียนดำ๑  พิกุล๑
บุนนาค๑ สารภี๑ มะลิ ๑ เกสรบัวหลวง๑
 วิธีทำวิธีใช้  เอาตัวยาใส่ในผลมะพร้าวอ่อน 
หมกไฟแกลบหรือไฟอะไรก็ได้ ให้น้ำมะพร้าวเดือด
นานพอสมควรแล้วเอาออกรินน้ำในผลมะพร้าวอ่อน
ให้แม่หญิงทรงครรภ์รับประทาน
สรรพคุณ เป็นยาชื่นใจ ชูกำลังกุมารในครรภ์ดีนัก

คำแนะนำ มีคุณทั้งมารดาและทารก
ส่วนประกอบ ท่านให้เอา โกฐทั้ง ๕ เทียนทั้ง ๕ 
บัวน้ำทั้ง ๕ จันทร์ทั้ง ๒  อบเชย  ชะลูด  ชะเอมเทศ  
กฤษณา กระลำพัก  ขอนดอก แก่นสน สัก สักขี 
เปลือกสมุลแว้ง เทพทาโร แก่นประดู่ รากสามสิบ 
เปลือกไข่เน่า เปลือกสันพร้านางแอ  เปลือกมะซาง 
ดอกพิกุล ดอกมะลิ ดอกสารภี ชะมด พิมเสนเกล็ด
วิธีทำ ยาทั้งนี้เอาสิ่งละ ๑ ส่วนเท่าๆกัน 
บดเป็นผง ปั้นแท่งไว้
วิธีใช้  บำรุงครรภ์ ใช้น้ำสุกหรือน้ำดอกไม้ 
เป็นกระสายยา ให้รับประทาน
          แก้อาเจียน ใช้น้ำลูกยอเผาไฟ 
หรือน้ำเทียนดำ ลูกผักชีต้มเป็นกระสายยา 
ให้รับประทาน
          แก้บิด ใช้น้ำกะทือหมกไฟ เป็นกระสายยา 
ให้รับประทาน
          แก้ไข้ ใช้ลูกกระดอม ก้านสะเดาต้ม 
เป็นกระสายยา ให้รับประทาน
          แก้จุกเสียด ใช้ขิงสด ๓ แว่นต้ม 
เป็นกระสายยา ให้รับประทาน
          แก้กระหายน้ำ ใช้เม็ดมะกอกเผา 
ข้าวตากคั่วให้เหลือง ชะเอมเทศ รากบัวหลวง 
แช่น้ำละลายยาให้รับประทาน
สรรพคุณ เป็นยาบำรุงครรภ์ ทั้งแก้อาเจียน แก้บิด 
แก้ไข้ แก้จุกเสียด แก้กระหายน้ำ

ส่วนประกอบ ท่านให้เอาสารส้มสะตุ  พริกไทย  
ฝาง  เอาสิ่งละน้ำหนักเท่าๆ กัน
วิธีทำวิธีใช้  ต้มเคี่ยวน้ำ ๓ ส่วนให้งวดเหลือ ๑ ส่วน 
ให้รับประทาน  
สรรพคุณ  แก้บิดหัวลูก ลงเป็นมูกและโลหิต
มีคุณมากนัก

๑๕. ยาแก้บิดหัวลูก
ส่วนประกอบ ท่านให้เอา ครั่ง  ผลเบญกานี  
สีเสียดเทศ  ชันไม้ตะเคียน  ขมิ้นอ้อย  ผลจันทน์ 
เอาสิ่งละน้ำหนักเท่าๆ กัน
วิธีทำ ดำเป็นผง บรรจุในผลทับทิม สุมไฟแกลบ 
ให้สุกแล้วบดให้ละเอียด ทำแท่งไว้
วิธีใช้  ใช้กระสายยา น้ำผึ้ง น้ำปูนใส ให้รับประทาน
สรรพคุณ แก้บิดหัวลูกในหญิงมีครรภ์

ส่วนประกอบ ท่านให้เอา แห้วสด กระจับสด 
เกสรบัวหลวง ดอกจงกลนี รากรักซ้อน 
รากสามสิบ  เทียนข้าวเปลือก  ขัณฑสกร 
เอาสิ่งละน้ำหนักเท่าๆ กัน
วิธีทำวิธีใช้  ทำเป็นผงบดละเอียด 
ละลายกับน้ำนมโค รับประทาน
สรรพคุณ ชูกำลังกุมารในครรภ์ เวลาที่รู้สึกว่า 
ครรภ์ไม่ไหวติงไม่ดิ้น ไม่รนเลย

ส่วนประกอบ ท่านให้เอา ดอกจงกลนี ดอกบัวหลวง 
รากสามสิบ ชะเอมเทศ ขัณฑสกร เอาส่วนเท่าๆกัน
วิธีทำวิธีใช้  ทำผงละลายด้วยน้ำนมโคเป็นกระสาย 
รับประทานแล้วมีคุณ
สรรพคุณ ทำให้กุมารในครรภ์ปกติ

ส่วนประกอบ ท่านให้เอา ขิงสด ชะเอมทั้ง ๒ 
เอาสิ่งละเท่ากัน
วิธีทำวิธีใช้  บดทำผงละเอียด ใช้น้ำสุราเป็นกระสาย
สรรพคุณ ใช้สำหรับแก้ตกโลหิตทางทวารหนัก 
ทวารเบา เวลาตั้งครรภ์

ส่วนประกอบ ท่านให้เอา เสนียดทั้ง ๕  จุกหอม 
จุกกระเทียม ใบพวงม่วง (ฟองสมุทร) 
ฝางเสน หนักสิ่งละ ๑ บาท (๑๕ กรัม) 
และดินประสิว ๑ สลึง (๓.๗๕ กรัม)
วิธีทำวิธีใช้  ต้มน้ำรับประทาน
สรรพคุณ แก้ตกโลหิตเวลามีครรภ์

ส่วนประกอบ ท่านให้เอา หนังปลากระเบนเผา 
กระเทียม พริกไทย ขิง สารส้มสะตุ แก่นประดู่ 
เอาส่วนเท่าๆกัน
วิธีทำวิธีใช้  บดทำผงละเอียด 
ใช้กระสายน้ำสุรา รับประทาน
สรรพคุณ แก้โลหิตดีขึ้น เมื่อกำลังอยู่ไฟ
จนถึงสลบยังแก้หาย

ขนานที่ 1 
ส่วนประกอบ ท่านให้เอาใบมะกา ๕ ตำลึง 
(๓๐๐ กรัม) ยาดำ ๒ บาท (๓๐ กรัม) ฝักคูน ๓ ฝัก 
ผลมะคำดีควาย ๗ ลูก มะกรูด ๓๓ ลูก 
(ผ่า ๔ เอาแต่ ๓ ส่วน ทิ้ง ๑ ส่วน
ใบส้มป่อย ๑ กำมือ
วิธีทำวิธีใช้  ต้มน้ำ รับประทาน
สรรพคุณ แก้สันนิบาตหน้าเพลิง

ขนานที่ 2 
ส่วนประกอบ ท่านให้เอา  แกแล  แก่นขนุน  แก่นสน  
ขิง  สักขี  แก่นขี้เหล็ก  จันทน์แดง  จันทน์ขาว  
ตับเต่าน้อย  ตับเต่าใหญ่  แก่นกันเกรา  แก่นปรู  
เมล็ดฝ้าย  ดอกสารภี  ดอกพิกุล  ดอกบุนนาค 
ดอกมะลิ  เอาสิ่งละเท่าๆกัน
วิธีทำวิธีใช้  ต้มน้ำ รับประทาน
สรรพคุณ แก้สันนิบาตเลือด และแก้ไข้เพื่อ (เพราะ) 
โลหิตพิการได้ด้วย  

ส่วนประกอบ ท่านให้เอา พริกไทย ขิงแห้ง ดีปลี 
สารส้มสะตุ ดินประสิว การบูร สรรพยาทั้งนี้
เอาสิ่งละ ๒ สลึง (๗.๕ กรัม)  เปราะหอม ว่านน้ำ 
ผิวมะกรูด แก่นแสมทั้ง ๒  เทียนดำ ไพล 
เอาสิ่งละหนัก ๑ บาท (๑๕ กรัม) 
ว่านนางคำ ๑๐ บาท (๑๕๐ กรัม) 
วิธีทำวิธีใช้  บดทำเป็นผงละเอียด 
ใช้น้ำร้อนหรือน้ำสุรา เป็นกระสาย รับประทาน
สรรพคุณ แก้โลหิตทำพิษในเวลาที่อยู่ไฟ (เป็นยา
ขับโลหิต และน้ำคาวปลา แก้มุตกิดและขับเบาได้ด้วย)

ส่วนประกอบ ท่านให้เอา เปล้าทั้ง ๒ สารส้มสะตุ 
แสมทะเล เทพทาโร ข่าต้น หัสคุณไทย ผักเสี้ยนผี 
ใบรักขาว ลูกจันทน์ ดอกจันทน์ กระวาน กานพลู 
แห้วหมู ย่างทราย หญ้าไซ เปลือกกุ่มบก 
เปลือกกุ่มน้ำ หนักสิ่งละ ๑ บาท (๑๕ กรัม)   
ชะพลู หัสคุณเทศ มะตูมอ่อน ใบคนที่สอ 
ผลสมอไทย ผลสมอเทศ 
หนักสิ่งละ ๖ สลึง (๒๒.๕ กรัม)  
มหาหิงคุ์หนัก ๕ บาท (๗๕ กรัม) 
ดีปลีหนัก ๖ บาท (๙๐ กรัม) เจตมูลเพลิง 
หนัก ๑๒ บาท (๑๘๐ กรัม)
วิธีทำวิธีใช้  บดทำเป็นผงละเอียด ละลายน้ำผึ้ง 
น้ำขิง หรือน้ำข่าต้น รับประทาน
สรรพคุณ ขับโลหิตในเรือนไฟ 
(แก้ลม ๗ จำพวกได้ดี)

ส่วนประกอบ ท่านให้เอา เทียนทั้ง ๕ โกฐสอ 
โกฐเขมา เนื้อสมอไทย เนื้อสมอพิเภก 
ลูกผักชีล้อม ลูกผักชีลา เกลือสินเธาว์ 
น้ำประสานทองสะตุ ดอกสัตตบุษย์ 
หอยสังข์เผา เบี้ยผู้เผา มหาหิงคุ์ พริกไทย ขิงแห้ง 
การบูร  เอาสิ่งละเท่ากัน
วิธีทำวิธีใช้  บดทำเป็นผงละเอียด 
ใช้กระสายน้ำร้อน หรือน้ำผึ้ง
สรรพคุณ แก้เลือดร้ายในเรือนไฟ 
                      
ส่วนประกอบ ท่านให้เอา เทียนดำ เทียนขาว เกลือ 
ไพล กระชาย หัวหอม กระเทียม
หนักสิ่งละ ๒ สลึง (๗.๕ กรัม)  
ผลจันทน์เทศ ๑ สลึง (๓.๗๕ กรัม) 
ขมิ้นอ้อย  ๑ บาท (๑๕ กรัม)
ดินประสิว ๑ บาท (๑๕ กรัม)  
หอยสังข์เผา ๑ บาท (๑๕ กรัม)
วิธีทำวิธีใช้  บดทำเป็นผงละเอียด 
ใช้น้ำกระสาย น้ำส้มซ่า น้ำร้อน น้ำสุรา
สรรพคุณ แก้เลือดเน่าร้ายมิให้ตีขึ้นในเรือนไฟ 
พระอาจารย์กล่าวว่าเมื่อได้รับยาขนานนี้แล้ว 
เหมือนได้อยู่ไฟแล

ส่วนประกอบ ท่านให้เอา ผลจันทน์ พริกไทย 
พริกหอม ขิง พริกหาง ดีปลี สะค้าน สมุลแว้ง 
พริกเทศ แห้วหมู ตองแตก รากจิงจ้อ แสมทั้ง ๒  
สรรพยาทั้งนี้เอาสิ่งละเสมอภาค 
หัสคุณเทศเท่ายาทั้งหลาย
วิธีทำวิธีใช้  บดทำเป็นผงละเอียด ใช้กระสายน้ำผึ้ง 
น้ำส้มซ่า หรือน้ำร้อน รับประทาน
สรรพคุณ แก้โลหิตทำโทษให้เพ้อคลั่งในเรือนไฟ

ส่วนประกอบ ท่านให้เอา การบูร  ๓ บาท (๔๕ กรัม)  
ขิงแห้ง ๔ บาท (๖๐ กรัม)  
ขมิ้นอ้อย ๔ บาท (๖๐ กรัม)  เทียนดำ หัวหอม 
พริกไทย กระเทียม ดีปลี เกลือสินเธาว์ 
หนักสิ่งละ ๕ บาท (๗๕ กรัม)  
ไพลแห้งเท่ายาทั้งหลาย
วิธีทำวิธีใช้  บดทำเป็นผงละเอียด 
ใช้กระสายน้ำร้อน รับประทาน
สรรพคุณ แก้มุตกิด ขับเลือดเน่าในเรือนไฟ

ส่วนประกอบ ท่านให้เอาเกลือสินเธาว์ กระเทียม 
พริกไทย สารส้ม กระวาน กานพลู สิ่งละ ๑ ส่วน 
ดีปลี ขิง ไพล สิ่งละ ๒ ส่วน เทียนดำ ๔ ส่วน
วิธีทำวิธีใช้  ใช้ทำเป็นยาสด ใช้กระสายสุรา 
รับประทาน
สรรพคุณ แก้ปวดมดลูก ขับโลหิตเน่าร้าย
ให้ออกหมด

ส่วนประกอบ ท่านให้เอา ไพล ๒ บาท (๓๐ กรัม)  
ดีปลี กระเทียม พริกไทย สารส้มสะตุ 
ดินประสิว ยาทั้งนี้เอาสิ่งละ ๑ บาท (๑๕ กรัม)  
ใบมะกาเท่ายาทั้งหลาย
วิธีทำวิธีใช้  ใส่ครกตำเป็นผง เคล้าสุราหรือ
น้ำส้มสายชูก็ได้ แผ่ลงบนหน้าท้องตรงมดลูก 
แล้วเอาผ้าทำเป็นวงพวงมาลัยวงรอบก้นหม้อไว้ 
เอาหม้อตั้งไฟ พออุ่นๆ วางทับบนผ้า 
ทำวันละ ๒ ครั้ง
สรรพคุณ แก้ท้องที่ไม่ยุบ ให้แห้งสนิท

ส่วนประกอบ ท่านให้เอา แก่นแสมทะเล เบญจกูล 
รากปลาไหลเผือก เถาวัลย์เปรียง แก่นขี้เหล็ก ไพล 
รากตองแตก หัสคุณเทศ หางไหลแดง สมอทั้ง ๓ 
เปล้าน้อย  กระลำพัก (ต้นตาตุ่ม) แก่นลั่นทม ข่า 
กระเทียม พริกไทย รากส้มกุ้ง ขมิ้นอ้อย ใบมะขาม 
ใบส้มป่อย ใบส้มเสี้ยว ใบมะกา ฝักส้มป่อย 
มะขามเปียก ยาดำ สารส้ม หนักสิ่งละ ๑ บาท 
(๑๕ กรัม)  เกลือสินเธาว์ ๒ สลึง (๗.๕ กรัม) 
เนื้อฝักราชพฤกษ์ ๓ ฝัก
วิธีทำวิธีใช้  ต้มน้ำ รับประทาน
สรรพคุณ ขับน้ำคาวปลาวิเศษนัก (ชำระโลหิตร้าย 
แก้พรรดึก แก้เสมหะ แก้ท้องผูก)

ส่วนประกอบ ท่านให้เอา ผลเร่ว ใบกระวาน กานพลู 
พริกไทย ขิงแห้ง ดีปลี อบเชยเทศ ดอกบุนนาค 
เอาส่วนเท่าๆกัน  รากระย่อม เท่ายาทั้งหลาย
วิธีทำวิธีใช้  บดทำผงละเอียดหรือปั้นเม็ดก็ได้ 
ละลายกับสุรา รับประทาน หนัก ๑ เฟื้อง 
(๑.๘๗๕ กรัม) วันละ ๑ ครั้ง
สรรพคุณ ทำให้น้ำนมข้น และบำรุงน้ำนม
ให้ออกมาก

๓๒. ยาชำระน้ำนมร้ายให้กลายเป็นดี
ส่วนประกอบ ท่านให้เอา จันทน์เทศ ชะเอมเทศ 
น้ำตาล หนักสิ่งละ ๑ บาท  (๑๕ กรัม)  กานพลู 
ผลมะแว้ง  โกฐสอ โกฐเขมา โกฐก้านพร้าว 
โกฐพุงปลา  โกฐจุฬาลัมพา หนักสิ่งละ ๒ บาท  
(๓๐ กรัม)  
วิธีทำวิธีใช้  ต้มน้ำ รับประทาน
สรรพคุณ ชำระน้ำนมร้ายให้กลายเป็นดี 
  
๓๓. ยาแก้น้ำนมน้อย
            น้ำนมเป็นอาหารของทารกที่ได้
ใช้ตั้งแต่คลอด น้ำนมที่ออกมาครั้งแรกเป็นน้ำ
สีเหลืองใสๆ เป็นยาระบายถ่ายท้อง 
เมื่อทารกดูดกินเข้าไป จะทำให้ถ่ายขี้เทา 
น้ำนมมารดาต้องมีพอที่ทารกจะรับประทาน 
ถ้ามารดาเป็นคนผอมแห้งหรือมีกำลังน้อย 
หรือขี้โรคระหว่างเรือนไฟ กระทำให้น้ำนม
ออกไม่พอจะให้ลูกกิน ก็ให้ปรุงยาตามตำรับนี้
บำรุงน้ำนม ตำรับยามีดังนี้

ขนานที่ ๑
ส่วนประกอบ ดีปลี รากช้าพลู ผักแพวแดง สะค้าน 
ขิงแห้ง ผลผักชีล้อม ว่านน้ำ แห้วหมู ผลพิลังกาสา 
ผิวมะกรูด ยาทั้งนี้ให้เอาเสมอภาค 
พริกไทยล่อนเท่ายาทั้งหลาย  
วิธีทำวิธีใช้  บดทำผงละเอียด ละลายน้ำส้มซ่า 
หรือน้ำร้อนเป็นกระสาย ทำให้แม่ลูกอ่อนรับประทาน
สรรพคุณ จะทำให้มีน้ำนมมากมีประโยชน์ 
บำรุงธาตุไฟให้โลหิตงาม ถ้าไม่มีระดูให้มีระดูมา
ทั้งหาโทษไม่ได้เลย

ขนานที่ ๒
ส่วนประกอบ ให้ปรุง โกฐทั้ง ๕ เทียนทั้ง ๕ 
กรุงเขมา ขิงแห้ง กระพังโหม ชะมดต้น 
ยาทั้งนี้เอาเสมอภาค (ส่วนละเท่าๆ กัน)
วิธีทำวิธีใช้  ต้มน้ำ ๓ เอา ๑ รับประทาน
สรรพคุณ เป็นยาประสะน้ำนมให้บริบูรณ์

ขนานที่ ๓
ส่วนประกอบ ให้ปรุง ว่านน้ำ แห้วหมู สมอไทย 
รากนมวัว ขิง อุตพิด ยาทั้งนี้เอาเสมอภาค  
(ส่วนละเท่าๆ กัน)
วิธีทำวิธีใช้  ต้มน้ำ ๓ เอา ๑ รับประทาน
สรรพคุณ กระทำให้น้ำนมบริสุทธิ์ดีนัก

ขนานที่ ๔
ส่วนประกอบ ให้ปรุง โกฐทั้ง ๕ เทียนทั้ง ๕ 
รากไทรย้อย เปลือกพิกุล แห้วหมู งาช้าง 
เขากวางอ่อน รากเสนียด โคกกระออม 
ยาทั้งนี้เอาเสมอภาค  (ส่วนละเท่าๆ กัน)
วิธีทำวิธีใช้  ต้มน้ำ ๓ เอา ๑ รับประทาน
สรรพคุณ เป็นยาประสะน้ำนม

ขนานที่ ๕
ส่วนประกอบ  ให้ปรุง ผลมะตูมอ่อน แห้วหมู ขิงแห้ง 
รากขัดมอน ยาทั้งนี้เอาเสมอภาค  (ส่วนละเท่าๆ กัน)
วิธีทำวิธีใช้  ต้มน้ำ ๓ เอา ๑ รับประทาน
สรรพคุณ แก้น้ำนมมีกลิ่นคาวจัด แก้คาวหาย

ขนานที่ ๖
ส่วนประกอบ ให้ปรุง สมอไทย ขิงแห้ง แห้วหมู 
เอาส่วนละเท่ากัน
วิธีทำวิธีใช้  ต้มน้ำ ๓ เอา ๑ รับประทาน
สรรพคุณ แปรน้ำนม ร้ายให้กลายเป็นดี

ขนานที่ ๗
ส่วนประกอบ ให้ปรุง เปลือกสะเดา เปลือกมะหวด 
เปลือกไม้สัก รากตะขบ รากมะกอก 
น้ำรากมะกอกบก  ยาทั้งนี้เอาส่วนเสมอภาค 
(ส่วนละเท่าๆ กัน)
วิธีทำวิธีใช้ บดทำผงละเอียด ใช้น้ำมะพร้าวนาฬิเก 
เป็นกระสาย รับประทาน
สรรพคุณ แก้น้ำนมไม่ออก แล้วให้น้ำนมพล่านดี เป็นต้น                   
 ๓๔. ยาดองเหล้าคลอดบุตร (เจ๊สุก)
ส่วนประกอบ  ท่านให้เอา ฝาง๑ คำฝอย๑ ดีปลี๑ 
ขิงแห้ง๑ พริกไทยล่อน๑ สารส้มสะตุ๑ กระเทียม๑  
สรรพยานี้หนักสิ่งละ ๒ บาท (๓๐ กรัม) 
วิธีทำวิธีใช้  ตำพอแหลก ห่อผ้าขาวดองสุรา 
รับประทาน เช้า-เย็น
สรรพคุณ ใช้ในการคลอดบุตร
คำแนะนำ เจ้าของยานี้ได้ใช้ยาดองขนานนี้
คลอดบุตรมาทุกคน

๓๕. ยาดองเหล้าทำให้มดลูกแห้ง
ส่วนประกอบ ท่านให้เอา ขิง๑ ดีปลี๑ เจตมูลเพลิง๑ 
ลูกจันทน์๑ ดอกจันทน์๑ ลูกกระวาน๑ กานพลู๑ 
กระเทียม๑ กำจัด๑ กำจาย๑ แก่นขี้เหล็ก๑ 
หางไหลแดง๑ หัสคุณเทศ๑ เทียนดำ๑ 
พริกไทยดำ๑ พริกไทยล่อน๑  
สรรพยา ๑๖ สิ่งนี้ เสมอภาค
วิธีทำวิธีใช้ ตำพอช้ำ ดองกับสุรา รับประทาน
คำแนะนำ ใช้เมื่อคลอดบุตร ๑๐ วันต่อไป 
สรรพคุณ เป็นยาขับเลือด ขับลม และขับน้ำคาวปลา 
ทำให้มดลูกแห้งสนิท  ใช้แก้ลม ซึ่งมีอาการ
ให้ตาเหล่ ปากเบี้ยวบิด แก้โรคลมทุกอย่าง
คนที่อยู่ไฟไม่ได้ มีอาการซูบผอมรับประทาน
ยานี้แล้วทำให้ปกติ ผิวพรรณสวยงาม

๓๖. ยาท่านขุนศรี ขนานที่ ๒๑
ส่วนประกอบ ท่านให้เอา ใบผักเป็ดแดง๑ ดีปลี๑ 
ขิงแห้ง๑ กระเทียมแห้ง๑ ไพลแห้ง๑
ยาทั้งนี้เอาสิ่งละ ๑ บาท (๑๕ กรัม) 
พริกไทยล่อน ๔ บาท (๖๐ กรัม) 
ใบบัวบกหนัก ๘ บาท (๑๒๐ กรัม)  
วิธีทำวิธีใช้ บดทำผงละเอียด ละลายสุราโรง 
ครั้งละ ๑ ช้อนกาแฟ รับประทานก่อนอาหาร วั
นละ ๒ ครั้ง
สรรพคุณ แก้เหงื่อไม่ตก น้ำคาวปลาไม่เดิน 
ขับฟอกโลหิต  
คำแนะนำ รับประทานประจำคลอดบุตรดีนัก 
แก้ช้ำ รับประทานกับสุรา

๓๗. ขนานที่ ๔ ยาขับเลือดคลอดบุตร
ส่วนประกอบ ท่านให้เอา พริกไทย ๔ ส่วน 
กระเทียม ๔ ส่วน เทียนดำ ๔ ส่วน  การบูร ๔ ส่วน 
ไพล ๔ ส่วน  ผิวมะกรูด ๔ ส่วน ดีปลี ๔ ส่วน 
เกลือ ๔ ส่วน หญ้ายองไฟ ๔ ส่วน ใบบัวบก ๔ ส่วน
วิธีทำวิธีใช้  บดทำเป็นผงละเอียด 
ละลายน้ำร้อนหรือสุรา 
รับประทาน
สรรพคุณ ขับเลือดเน่า น้ำคาวปลาให้เดินสะดวกได้ 
                 
๓๘. แก้มดลูกฟกบวม
     สาเหตุและคำแนะนำ อาการนี้เกิดขึ้นเพราะเหตุ
แท้งลูก คลอดลูก หรือเป็นด้วยมักมากด้วยมาตุคาม 
ให้ปรุงยาเหล่านี้แก้ 

ขนานที่ ๑
ส่วนประกอบ ให้ปรุงด้วย มหาหิงคุ์ ผลจันทน์เทศ 
ดอกจันทน์เทศ น้ำประสารทองสะตุ ผลสลอด 
หนักสิ่งละ ๑ สลึง (๓.๗๕ กรัม) ยาดำ เกลือสินเธาว์ 
หนักสิ่งละ ๒ สลึง (๗.๕ กรัม) 
กานพลูเท่ายาทั้งหลาย
วิธีทำวิธีใช้  บดด้วยน้ำอ้อยที่ต้มเดือด ๓ พลุ่ง (ครั้ง) 
เป็นกระสาย บดปั้นแท่งเท่าเม็ดนุ่น
รับประทาน ครั้งละ ๑ เฟื้อง (๑.๘๗๕ กรัม) 
ตามธาตุหนักเบา
สรรพคุณ ทวารและมดลูกฟกบวม และริดสีดวง 
ผอมเหลือง แก้ท้องลุ้งพุงมาน รุในโรคคุดทะราด 
ฝีดาษ หายสิ้นแล

ขนานที่ ๒
ส่วนประกอบ ให้ปรุงด้วยขมิ้นอ้อย ๓ ท่อน 
บอระเพ็ด ๓ ท่อน
วิธีทำวิธีใช้  ต้มด้วยน้ำสุรา รับประทาน
สรรพคุณ แก้ฟกบวมคามทวารและมดลูก 
และฝีที่ตั้งขึ้นที่มดลูกด้วย

ขนานที่ ๓
ส่วนประกอบ ให้ปรุงด้วย ดีปลี รากช้าพลู 
รากเจตมูลเพลิงแดง สะค้าน ผิวมะกรูด 
พริกไทย ไพล ใบคนทีสอ
วิธีทำวิธีใช้  บดทำเป็นผงละเอียด ละลายสุรา 
รับประทาน
สรรพคุณ แก้ฟกบวมและฝีมดลูก 
แก้พิษโลหิตคั่งค้าง ไมให้กลายเป็นท้องมาน
หรือฝีขั้วไข่ได้แล้วชะล้างด้วยน้ำสารส้มด้วย

๓๙. ยาถ่ายเลือดร้ายในมดลูก
ส่วนประกอบ ท่านให้เปลือกทองหลางใบมน 
เถาคันแดง เถาวัลย์เปรียง แก่นลั่นทม
เอายาทั้งนี้สิ่งละ ๑ กำมือ 
ดีเกลือไทย ๕ บาท ( ๗๕ กรัม)
วิธีทำวิธีใช้  ต้มน้ำ รับประทาน
สรรพคุณ ถ่ายเลือดเน่าให้สิ้นสุด ล้างฝีมุตกิตด้วย

๔๐. ยาชื่อทำลายพระสุเมรุ (ของหมอสี)
ส่วนประกอบ ท่านให้เอา ใบสมอทะเล ๕ ส่วน 
ลูกสมอดีงู ๕ ส่วน เนื้อมะขามป้อม ๔ ส่วน 
สมอไทย ๔ ส่วน พริกไทยล่อน ๒ ส่วน
วิธีทำวิธีใช้  บดทำเป็นผงละเอียด 
ใช้น้ำกระสายสุราหรือน้ำร้อน รับประทาน
สรรพคุณ แก้คาวเลือด แก้เลือดเน่า ขับน้ำคาวปลา
ที่ไม่เดินให้เดิน  ขับโลหิตเมื่อคลอดบุตรดีนัก  
คำแนะนำ แก้หญิงผอมแห้ง ใช้กระสายน้ำส้มซ่า
หรือน้ำร้อนก็ได้  แก้เถาดานเป็นลิ่ม เป็นก้อน 
ระบายในตัว ตัวยารสร้อนสุขุม ค่อนข้างร้อน 
ใบสมอทะเลถ้าจะใส่ยาให้นึ่งให้สุกแล้ว
ตากแดดให้แห้ง จึงผสมยา

 ๔๑. ยาแก้มดลูกเคลื่อน
ส่วนประกอบ ท่านให้เอา 
พริกไทยล่อน ๔ บาท (๖๐ กรัม) 
ขิง ๑ บาท (๑๕ กรัม)ดีปลี ๑ บาท (๑๕ กรัม) 
พริกเทศ ๑ บาท (๑๕ กรัม)  
ใบสมอทะเล ๗ บาท (๑๐๕ กรัม)
วิธีทำวิธีใช้  บดทำเป็นผงละเอียด ละลายน้ำผึ้ง 
รับประทาน ตามธาตุหนัก-เบา
คำแนะนำ ใบสมอสดนึ่งให้สุก ตากแดดให้แห้ง 
แล้วจึงผสมยา
สรรพคุณ แก้ลมสันดาน แก้ฝีในมดลูกด้วย

๔๒. ยานั่งถ่านเมื่อคลอดลูกแล้ว
ส่วนประกอบ ท่านให้เอา แก่นแสมสาร๑ แสมทะเล๑ 
(สองสิ่งนี้เอาบุ้งกรางให้เป็นผง) เทียนดำ๑ อบเชย๑ 
ยาทั้งนี้เอาสิ่งละ ๑ บาท (๑๕ กรัม) สารส้ม กำยาน 
หนักสิ่งละ ๑ บาท (๑๕ กรัม) ขมิ้นผง ๓ หยิบมือ
วิธีทำวิธีใช้  รวมแล้วปนกันตำให้ละเอียด
และเวลาจะนั่งถ่านใส่หม้อตาลแล้วเอายาผงนี้
โรยลงบนถ่านพอสมควร เอากะลาตัวเมียครอบ 
ควันจะพลุ่งขึ้น หาม้านั่งรมสูงพอประมาณ 
อย่าให้ต่ำนัก จะร้อนทนไม่ไหว 
รมยานี้สัก ๓-๔ ครั้ง
สรรพคุณ จะทำให้ช่องคลอดสะอาด แห้งสนิท 
ระงับมุตกิด ระดูขาว ดีนักแล

๔๓. ยาประสะว่านน้ำ ใช้ขับเลือด
ส่วนประกอบ ท่านให้เอา ฝักส้มป่อยคั่วไฟ พริกไทย 
ดีปลี ขิงแห้ง สรรพยาทั้งนี้ เอาสิ่งละเสมอภาค  
เอาว่านน้ำเท่ายาทั้งหลาย
วิธีทำวิธีใช้  บดทำเป็นผงละเอียด ปั้นเม็ดไว้
ละลายน้ำสุราโรง รับประทาน
สรรพคุณ  ขับโลหิตดีนักแล

๔๔. ยาเขียวส้ม
คำแนะนำ ขับเลือด ขับน้ำคาวปลา รับประทานอยู่ไฟ 
ให้มดลูกเข้าอู่เร็ว และมีน้ำนมดี
ส่วนประกอบ ท่านให้เอา ขิง ข่า กระชาย หัวหอม 
กระเทียม ไพล พริกไทย ตะไคร้ ดีปลี สารส้มสะตุ
เจตมูลเพลิง หัวดองดึง ใบทองหลางใบมน 
ใบจิ้งจ้อใหญ่ ใบปีบ เกลือ ยาทั้งนี้เอาเสมอภาค
วิธีทำวิธีใช้  ตำพอแหลกใส่กะละมัง ใส่น้ำมะนาว
เคล้าให้ท่วมยา ตากแดด ให้เอาเมล็ดมะนาวใส่ด้วย 
ตากแห้งแล้วทำผงบดละเอียดด้วยน้ำมะนาว ปั้นเม็ด 
**ยาขนานนี้ยิ่งเปรี้ยวท่าใด ก็ยิ่งมีสรรพคุณดี** 
ละลายสุราโรง รับประทาน
สรรพคุณ แก้เลือดตีขึ้น และขับเลือดด้วย 
ถ้าออกไฟแล้วรับประทานเรื่อยไป จะทำให้น้ำนมดี
และบริสุทธิ์ เด็กนั้นก็เลี้ยงง่าย แก้ลมจุกเสียด 
แก้เสมหะพิการ กันตานซางขโมย แก้พุงลุ้ง พุงโร 
รับประทานยานี้ดีนัก

๔๕. ยาหม้อถ่ายน้ำคาวปลา 
ขนานศักดิ์สิทธิ์
ส่วนประกอบ ท่านให้เอา เบญจกูล สิ่งละ๑ 
รากปลาไหลเผือก๑ เถาวัลย์เปรียง๑ 
แก่นขี้เหล็ก๑ แก่นแสมทะเล๑ ไพล๑ รากตองแตก๑ 
หัสคุณเทศ๑ หางไหลแดง๑ ผลสมอทั้ง๓ สิ่งละ๑ 
เปล้าน้อย๑ กระลำพัก (ต้นตาตุ่ม)๑ แก่นลั่นทม๑ 
ข่า๑ กระเทียม๑ พริกไทย๑ รากส้มกุ้ง๑ 
ขมิ้นอ้อย๑ ใบมะขาม๑ ใบส้มป่อย๑ 
มะขามเปียก๑ ยาดำ๑ เกลือสินเธาว์๑ 
เนื้อฝักราชพฤกษ์ ๓ ฝัก สารส้มสะตุ๑ 
สรรพยา ๓๔ สิ่งนี้เอาสิ่งละเท่ากัน
วิธีทำวิธีใช้  ทำเป็นยาต้ม รับประทานเวลาเช้า
สรรพคุณ ชำระโลหิตเน่าร้าย 
และน้ำคาวปลาให้ตกสิ้นแล

******************************************************

ศูนย์การแพทย์แผนไทยภูเก็ต

https://phuketthaitraditionalmedicinecenter.blogspot.com/2013/03/blog-post.html
******************************************************

อ้างอิง: ตำราแพทย์แผนโบราณทั่วไป สาขาการผดุงครรภ์ไทย

กองการประกอบโรคศิลปะ

Credit:  ภาพนำมาจาก internet ซึ่ง share กันใน Google,  Face Book และได้ถ่ายทำเองบ้าง เพื่อการศึกษาแพทย์แผนไทยให้ง่ายขึ้น เป็นการสืบทอดต่อไปยังอนุชน และผู้สนใจ ให้มีความรู้ในการรักษาบำบัดโรคพึ่งพาตนเองได้ ขอขอบคุณเจ้าของภาพ ขอให้อนุโมทนาส่วนบุญกุศล เจริญด้วยอายุ วรรณะ สุขัง พลัง และสมปรารถนาในสิ่งที่ดีงามโดยทั่วกันทุกท่าน เทอญ

ตรวจแล้ว






1 comment:

  1. This comment has been removed by a blog administrator.

    ReplyDelete