Search This Blog / The Web ต้นหาบล็อกนี้ / เว็บ

Monday, February 17, 2014

หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท



หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท




จัดทำโดย อ.หมอสุชาติ ภูวรัตน์
นธ.เอกบาลีประโยค 1-2
(อดีตพระธรรมทูตต่างประเทศ)
B.S. Engineering Design Tech.
 B.A. ศาสนศาสตร์บัณฑิต
B.S. Computer Information Systems
B.TM.  พทย์แผนไทยบัณฑิต
สาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ
บ.ภ.พท.ว.พท.ผ.พท.น.
ครูแพทย์แผนไทย 4 ด้าน
ศูนย์การแพทย์แผนไทยภูเก็ต
ทำเพื่อการศึกษาและประโยชน์แก่ผู้ชม

 กระดูกคอ C1 - C7


 หมอนรองกระดูกคอเคลื่อนทับเส้นประสาท
อาการของโรคหมอนรองกหญ่คื
อาการของโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทมี 2 ชนิด คือ
อาการระดับคอ
อาการระดับคอ เกิดจากผลของกระดูกทับเส้นประสาทบริเวณข้อต่อกระดูก C3 – C7 ซึ่งส่งผลต่อระบบประสาทส่วนแขน ซึ่งจะทำให้เกิดอาการชาบริเวณฝ่ามือเริ่มจากปลายนิ้วหรืออาการปวดร้าวที่บริเวณแขน อาจเป็นข้างใดข้างหนึ่ง อาการร่วมของโรคหมอนรองกระดูกคอทับเส้นประสาทคือ การปวดคอ ปวดเมื่อยบริเวณสะบักเรื้อรังและการไม่สามารถเคลื่อนไหวคอได้อย่างอิสระ


อาการระดับหลัง
อาการระดับหลัง เกิดจากกระดูกทับเส้นประสาทบริเวณหลังส่วนล่างบริเวณข้อต่อ L3, L4, L5, S1 อาการทับเส้นประสาท ณ บริเวณนี้จะส่งผลต่อระบบประสาทส่วนขา ซึ่งจะ ทำให้เกิดอาการชาที่จะเริ่มจากบริเวณฝ่าเท้าหรืออาการปวดร้าวบริเวณบั้นเอว สะโพกหรือปวดร้าวลงบริเวณขาข้างใดข้างหนึ่ง ซึ่งส่วนมากจะมีอาการปวดหลังส่วนล่างร่วมด้วย
สาเหตุ โรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท
สาเหตุ ของโรคกระดูกทับเส้นโดยทั่วไปคือ การนั่งทำงานหรือขับรถเป็นเวลานาน การหกล้ม การยกของหนักหรือการเสื่อมสภาพของหมอนรองกระดูกตามวัย (อายุ 50 ปีขึ้นไป) ข้อแตกต่างระหว่างโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทกับโรคปวดหลังจากกล้ามเนื้อคือ ภาวะเรื้อรังซึ่งอาการจากกล้ามเนื้อจะสามารถหายภายใน 2-4 สัปดาห์ และจะไม่กลับมาเป็นบ่อยๆ ส่วนอาการปวดหลังจากโรคกระดูกทับเส้นนั้นจะลุกลามเป็นระยะเวลานาน ผู้ป่วยหลายท่านมักมีระยะอาการมากกว่า 1 ปีจึงเริ่มรักษาอย่างจริงจัง ซึ่งโดยมากในช่วงเวลานี้อาการของโรคจะเริ่มรุนแรงและเรื้อรัง และส่งผลกระทบต่อชีวิตประจำวันค่อนข้างมาก ดังนั้นบุคคที่มีอาการปวดหลังนานเกิน 2 เดือน ก็อาจมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทได้







ร้าวชาลงแขนและมือ


หมอนรองกระดูกสันหลังเคลื่อนทับเส้นประสาท
หมอนรองกระดูกสันหลังทำหน้าที่ในการเชื่อมต่อข้อกระดูกสันหลังแต่ละข้อเข้าด้วยกัน ทำให้กระดูกสันหลังมีความยืดหยุ่นและรองรับน้ำหนักได้ เมื่อมีอายุมากขึ้น หมอนรองกระดูกจะเปลี่ยนสภาพไป ทั้งในด้านน้ำหนัก รูปร่างและองค์ประกอบต่างๆ การเคลื่อนของหมอนรองกระดูกระดับเอว  เชื่อว่าเป็นผลมาจากการเสื่อมสภาพของพังผืดที่ล้อมรอบหมอนรองกระดูก  จนทำให้หมอนรองกระดูกแตกและฉีกขาดได้ง่าย

ส่วนที่นิ่มคั่นระหว่างข้อกระดูก เรียกว่า"หมอนรองกระดูก" ยื่นไปกดทับเส้นประสาท เรียกว่า หมอนรองกระดูกเคลื่อน คำว่า “เคลื่อนในที่นี้หมายถึง นูนออกมา ยื่นโผล่ออกมา บางครั้งเราเรียกอาการนี้ว่า หมอนรองกระดูกแตก

หมอนรองกระดูกเคลื่อนทับเส้นประสาทมักเกิดบริเวณกระดูกสันหลังส่วนเอว  คือ กระดูกสันหลังที่อยู่ระหว่างซี่โครงล่างสุดและสะโพก หมอนรองกระดูกเป็นหมอนนิ่มๆ คั่นข้อกระดูกสันหลังแต่ละข้อ          ดูภาพแสดงให้เห็นรูปร่างของกระดูกสันหลังซึ่งทำหน้าที่พยุงร่างกาย ป้องกันไขสันหลังและเส้นประสาท  หมอนรองกระดูกสันหลังทำให้เราสามารถเคลื่อนไหวร่างกายได้
เมื่อเราอายุมากขึ้น หมอนรองกระดูกจะเริ่มแบนลงและสามารถลดแรงกระแทกได้น้อยลง หากหมอนรองกระดูกไม่แข็งแรง ส่วนด้านนอกสุดอาจฉีกขาดได้ ทำให้ส่วนที่อยู่ด้านในยื่นออกไปกดทับเส้นประสาทที่อยู่ใกล้เคียง ภาพด้านล่างนี้แสดงให้เห็นเมื่อส่วนที่อยู่ด้านในยื่นออกไปทับเส้นประสาท



หมอนรองกระดูกปลิ้นทับเส้นประสาท

หมอนรองกระดูกปลิ้นทับเส้นประสาท


ไส้หมอนรองกระดูกปลิ้น

หมอนรองกระดูกปลิ้นสีแดง




หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท

 ไส้หมอนรองกระดูกปลิ้นทับเส้นประสาท




 ไส้หมอนรองกระดูกปลิ้นทับเส้นประสาท



รูปตัดหมอนรองกระดูก


หมอนรองกระดูกสันหลังเสื่อมยุบ


อาการปวดหลังส่วนล่างเกิดจากการฉีกขาดของพังผืดที่ล้อมรอบหมอนรองกระดูก  เมื่อหมอนรอง กระดูกปรินูนออกมาผ่านรอยฉีกขาดของพังผืด ก็จะไปกดทับรากประสาทที่อยู่ติดกันการฉีกขาดของพังผืดนี้ทำให้เนื้อเยื่อเสียหายจนเป็นเหตุให้เกิดการอักเสบ  การฉีกขาดของพังผืดจะลดลงเมื่อแรงกดทับลดลง ทำให้อาการปวดหลังลดลงด้วย การฉีกขาดของพังผืดที่ล้อมรอบหมอนรองกระดูกนอกจากจะทำให้ปวดหลังแล้ว ยังส่งผลให้เกิดอาการปวดข้อและเอ็นกระดูกสันหลังด้วยเช่นกัน หากอาการอักเสบไม่ดีขึ้นก็จะยังปวดหลังต่อไป กล้ามเนื้อหลังมีส่วนสัมพันธ์กับอาการนี้ด้วยเช่นกัน ยิ่งมีอาการปวดหลังมาก กล้ามเนื้อหลังจะยิ่งปวดมากตามไปด้วยจนอาจเกิดอาการปวดกล้ามเนื้อได้เองหรือเกิดอาการกล้ามเนื้อกระตุก   การเคลื่อนไหวร่างกายจะยิ่งกระตุ้นอาการปวดมากขึ้น


หมอนรองกระดูกเอว L4, L5 กระเบนเหน็บ S1 เสื่อมยุบ

 เมื่อ หมอนรองกระดูกยื่นออกไปในช่องกระดูกสันหลัง ปลายประสาทจะถูกกดทับและทำให้เกิดอาการปวดและชา และทำให้กล้ามเนื้ออ่อนแรงในที่สุด ความเข้าใจในลักษณะอาการนี้จะช่วยในการหาแนวทางการรักษาที่ถูกทาง    พื้น ฐานการตรวจวินิจฉัยอาการปวดหลังส่วนล่างหรืออาการปวดขาขึ้นอยู่กับ ประวัติการรักษาผู้ป่วย การตรวจร่างกาย และการตรวจวินิจฉัยทางรังสีวิทยา ซึ่งการผสมผสานปัจจัยพื้นฐานสามข้อนี้จะช่วยให้เกิดแนวทางการรักษาที่หลาก หลายมากขึ้น ลักษณะอาการที่กล่าวมาข้างต้นค่อนข้างพบได้ทั่วไป อย่างไรก็ตาม ไม่มีข้อกำหนดตายตัวว่าอาการแบบใดเกิดก่อน การฉีกขาดของพังผืดรอบหมอนรองกระดูกเพียงอย่างเดียวก็เพียงพอแล้วที่จะทำให้ กระดูกสันหลังทำงานไม่มีประสิทธิภาพ         
 ข้อต่อกระดูกเอว L3, L4, L5,และกระเบนเหน็บ  S1

ภาวะรากประสาท(ไขสันหลัง)ทำงานบกพร่อง มีลักษณะอาการหลายอย่างที่พบได้ทั่วไป แต่อาการที่ต่างออกไปควรที่จะตรวจวินิจฉัยด้วยเช่นกัน เช่น การปวดขาหนีบ นอกไปจากนี้ ข้อกระดูกสันหลังที่อยู่ระดับบน รวมถึงข้อกระดูกสันหลัง L5-S1 (Sacrum) สามารถทำให้เกิดอาการนี้ได้เช่นกัน บริเวณที่มักพบอาการปวดได้แก่:
ข้อกระดูกสันหลัง L1-L2 บริเวณขาหนีบ
ข้อกระดูกสันหลัง L2-L3 บริเวณสะโพก, ส่วนหน้าของต้นขาด้านข้าง
ข้อกระดูกสันหลัง L3-L4 บริเวณต้นขาด้านข้าง, เข่า, หน้าแข้ง
ข้อกระดูกสันหลัง L4-L5 บริเวณต้นขาด้านหลัง, น่องด้านข้าง, ส่วนหลังเท้า
ข้อกระดูกสันหลัง L5-S1 บริเวณต้นขาด้านหลัง, น่องด้านหลัง, ส้นเท้า
 หมอนรองกระดูกเอว L4, L5,และกระเบนเหน็บ S1 เคลื่อน



หมอนรองกระดูก L5,และกระเบนเหน็บ S1 แตกเคลื่อน

 รูปตัดหมอนรองกระดูก










หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท L4, L5 
ทำให้ปวดร้าวบริเวณต้นขาด้านหลัง, น่องด้านข้าง, ส่วนหลังเท้า
หมอนรองกระดูกเคลื่อนชาลงขา

หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทไซอาติกทำให้ปวดร้าว

 หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทไซอาติกทำให้ปวดร้าว

                                           
นั่งทำงานไม่ถูวิธีทำให้ปวดเอว

หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท

 กระดูกเอว L1-L5

ข้อต่อกระดูกเอว L3, L4, L5,และกระเบนเหน็บ S1


รูปตัด

 ปี 2547 หมอนรองกระดูกเอว L4, L5,และกระเบนเหน็บ S1 เคลื่อน


 ปี 2547 หมอนรองกระดูกเอว L4, L5,และกระเบนเหน็บ S1 เคลื่อน

 หมอนรองกระดูกเอว L4, L5,และกระเบนเหน็บ S1
เคลื่อนเมื่อปี 2547และหายไปเองเมื่อปี 2549



การตรวจร่างกาย
ผู้ป่วยมักมีอาการชาและเจ็บแปลบเหมือนโดนเข็มแทง บริเวณที่มีอาการปวดและอาการนี้มักเกิดซ้ำๆ ทั้งนี้ บริเวณที่รู้สึกสัมผัสได้มีโอกาสเกิดภาวะรากประสาททำงานบกพร่อง ในรากประสาทส่วนล่าง นิ้วนาง, นิ้วก้อยเท้า และกระดูกสะบ้า ส้นเท้ามีการทำงานสัมพันธ์กับข้อกระดูกสันหลัง S1  
ในขณะที่ข้อกระดูกสันหลัง L5 สัมพันธ์กับอาการเหน็บชาบริเวณพังผืดระหว่างนิ้วเท้า
ระดับความตึงตัวของกล้ามเนื้อ เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่เป็นภัยต่ออาการหมอนรองกระดูกเคลื่อนทับเส้นประสาท ยิ่งมีแรงกดทับเส้นประสาทมาก หมอนรองกระดูกจะยิ่งอ่อนแอและมีโอกาสหายได้ยากมากขึ้น ซึ่งอาจจำเป็นต้องรักษาด้วยการลดแรงกดทับนี้ 
            
การตรวจปฏิกิริยารีเฟล็กซ์ของเส้นเอ็นลึกเป็นจุดประสงค์หลักของการตรวจวินิจฉัยปัญหาคือปลายประสาทของข้อกระดูกสันหลัง L-5 ไม่มีปฏิกิริยารีเฟล็กซ์ให้ทดสอบ ขณะที่ข้อกระดูกสันหลัง L-4 สามารถทดสอบปฏิกิริยารีเฟล็กซ์สะบ้าหัวเข่า  และข้อกระดูกสันหลัง S-1 สามารถทดสอบปฏิกิริยา
รีเฟล็กซ์ข้อเท้า หรือรีเฟล็กซ์เอ็นร้อยหวาย หากมีอาการกลั้นปัสสาวะ / อุจจาระไม่อยู่ หรือรู้สึกอ่อนแรงอย่างมากต้องรีบไปพบแพทย์

การรักษาหมอนรองกระดูกเคลื่อนทับเส้นประสาททำอย่างไรบ้าง
แพทย์อาจสั่งยาแก้ปวด และคุณอาจจะมีอาการดีขึ้นหลังจากรับประทานยาไป 2 วัน หากมีอาการปวดมาก แพทย์อาจแนะนำให้นอนพักอย่างน้อย 1-2 วัน หากยาแก้ปวดไม่ทำให้อาการดีขึ้น แพทย์อาจฉีดยาเข้ากระดูกสันหลังซึ่งจะช่วยระงับปวดได้ ทั้งนี้คุณอาจต้องฉีดยามากกว่าหนึ่งครั้ง บางครั้งการยืดกระดูกสันหลังโดยแพทย์ไคโรแพรคติค 

การแพทย์แผนไทย และการแพทยทางเลือก  การบริหารร่างกายที่เหมาะสม จะช่วยบรรเทาอาการ ปวดได้

ผ่าตัดรักษา
ในคนไข้ส่วนใหญ่มากกว่า  80 %  สามารถรักษาหายได้โดยไม่ต้องผ่าตัดรักษา
หลีกเลี่ยงแรงกดบนหมอนรองกระดูกสันหลัง  คือการนอนพักใน  2 – 3  วันแรก  เพราะในท่านอนเป็นท่าที่มีแรงกดบนหมอนรองกระดูกสันหลังที่น้อยที่สุด  หลังจากอาการปวดน้อยลง  เริ่มบริหารกล้ามเนื้อหลัง  ยืน  เดินโดยให้หลังอยู่ในท่าที่ปกติมากที่สุด  อาจจะต้องใส่เครื่องช่วยพยุงหลัง  เพื่อป้องกันการก้มหรือเอียงบริเวณกระดูกสันหลัง
 


คุณควรจัดอิริยาบถของตัวเองอย่างไ

ควรวางท่าทางที่เหมาะสมไม่ว่าจะเป็นการยืนตัวตรง การนั่งหลังตรง การยกสิ่งของในลักษณะหลังตรง สามารถช่วยหลังของคุณได้ เมื่อก้มหยิบสิ่งของ ให้งอเข่าและสะโพกและยกของในลักษณะหลังตรง ท่าถือของที่ถูกต้องควรให้ชิดลำตัวที่สุด  ถ้าต้องยืนเป็นเวลานานควรมีที่พักเท้าและวางเท้าข้างหนึ่งบนกล่องเล็กๆ สักครู่  ถ้าต้องนั่งเป็นเวลานาน ให้วางเท้าบนเก้าอี้เล็กๆให้ระดับหัวเข่าอยู่สูงกว่าสะโพก ไม่ควรใส่รองเท้าส้นสูง ไม่นอนคว่ำหน้า ซึ่งจะทำให้เกิดแรงกดทับบนหมอนรองกระดูกมากขึ้น รูปในหน้านี้แสดงท่าทางที่เหมาะสมเวลายืนและยกของ

 
การยกของให้ถูกวิธีป้องกันกระดูกเคลื่อนยุบ
หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท ปวดเอว ปวดหลัง
วิธีป้องกันไม่ให้เกิดหมอนรองกระดูกสันหลังกดทับเส้นประสาท
  1. รู้จักการเคลื่อนไหวของกระดูกสันหลัง  ปรับท่านั่ง  นอน  ทำงานให้เหมาะสม  ป้องกันไม่ให้มีแรงกด

      บนหมอนรองกระดูกสันหลังมากเกิน
 2. ท่านอน  นอนบนที่นอนแน่นไม่ยุบ  สามารถพยุงโครงสร้างกระดูกสันหลังได้
     ในท่านอนหงายใช้หมอนใส่ใต้เข่า   ท่านอนตะแคงใช้หมอนใส่ระหว่างเข่าหรือ
     นอนกอดหมอนข้าง

3. ท่านั่งที่ดีควรนั่งให้เต็มเก้าอี้  ที่มีพยุงหลังบริเวณเหนือเข็มขัดเล็กน้อย  ไม่นั่งให้หลังงอ
4. ท่านั่งที่ผิด  ตัวเอียง  ก้มบริเวณกระดูกสันหลังส่วนเอว
5. ท่านั่งทำงานที่ถูกต้องมีที่พยุงหลัง
6. ท่ายืน  เดินควรให้หลังตั้งตรงยืดขึ้น    
7. ท่ายืนที่ผิด  เวลายืนก้มหลังนาน ๆ จะปวดหลังได้ง่าย
8. การยืนทำงานนาน ๆ ควรจะมีที่รองเท้า  ให้งอเข่าข้างหนึ่งไว้  เพื่อช่วยลด
    แรงกดบนกระดูกสันหลัง   

9. การยกของควรงอเข่า  งอสะโพก  ยกของใกล้ ๆ ตัว  ใช้แรงจากขารักษาแนวกระดูกสันหลัง  ให้ปกติ  
10. ท่ายกของที่ผิด  ยกในท่าเหยียดเข่า  ยกของสูงเหนือศีรษะ  ยกของและบิด
      ในเวลาเดียวกัน  ยกของหนักมากเกินกำลังไม่มีผู้ช่วย
11. การบริหารยืดเหยียดกล้ามเนื้อหลัง  สะโพก  หน้าท้องให้แข็งแรง   เป็นท่าที่เหมาะสมกับคนทั่วไป   
     ผู้ที่เคยปวดหลังแล้วหรือไม่มีอาการปวดหลังมาก่อนก็สามารถนำไปใช้ได้ดี 
 ต้องทำความเข้าใจก่อนการบริหาร
 1.  เริ่มบริหารช้า ๆ จำนวนครั้งทีละน้อย ๆ ค่อย ๆ เพิ่มขึ้น  และควรทำสม่ำเสมอ
 2.  ถ้ามีอาการปวด  หรือปวดร้าวลงสะโพก  ขา  ต้องหยุดบริหาร
 3.  การบริหารยืดเหยียดให้มีความรู้สึกว่าค่อนข้างตึงและทำค้างไว้  5 – 10  วินาที 
 การบริหารกระดูกสันหลังในท่างอหลัง 
 1. งอเข่าชิดหน้าอก  นอนหงายบนเบาะดึงเข่าให้ข้อสะโพกงอจนเข่าชิดหน้าอก 
     ขาอีกข้างวางเหยียดราบกับพื้น  ทำสลับข้าง   

2. งอเข่าชิดหน้าอกทั้ง  2  ข้างยกพร้อมกัน  
3. ท่าแอ่นหลัง
นอนคว่ำข้อศอกยันพื้น 
1. นอนคว่ำข้อศอกยันพื้น  ดันไหล่ยกขึ้นให้หลังแอ่นขึ้นช้า ๆ ดันค้างไว้  30 – 45  วินาที
    ค่อย ๆ กลับสู่ท่านอนคว่ำช้า ๆ
2. นอนคว่ำ  ฝ่ามือแนบพื้นค่อย ๆ ดันไหล่สูงขึ้น  เหยียดข้อศอกให้หลังแอ่นสะโพกยังแนบ
    กับพื้นดันค้างไว้  5 – 10 วินาที 
3. ท่าหลังแอ่นสำหรับคนที่อายุน้อย ๆ   เป็นท่าที่ช่วยทำให้หมอนรองกระดูกสันหลังยุบเข้าที่ได้   
    ในคนสูงอายุที่มีข้อกระดูกเสื่อม  มีหินปูนเกาะรอบ ๆ กระดูกสันหลังอาจทำให้ปวดหลังมากขึ้นได้   
    ถ้ามีอาการปวดมากขึ้นต้องหยุดบริหารทันที
ท่าบิดกระดูกสันหลัง 
นอนหงาย  ชันเข่า  2  ข้าง  บนพื้นวางแขนตึงตั้งฉากกับลำตัวออกไปทั้ง 2 ข้าง  หมุนเข่า
และสะโพกไปข้างซ้ายให้มากที่สุด  โดยที่ไหล่และแขนยังอยู่ชิดพื้น  เกร็งค้างไว้  5 – 10 วินาที   

หมุนกลับมาข้างขวาเช่นเดิม ท่าหลังปกติ
ท่าคุกเข่า
 คุกเข่า  ฝ่ามือทั้ง  2  ข้างยันพื้นเหยียดแขนตึง
 เกร็งกล้ามเนื้อหน้าท้อง  ยกหลังให้โก่งสูงมากที่สุดเกร็งค้างไว้  5 – 10 วินาที 
 คลายกล้ามเนื้อ  เกร็งกล้ามเนื้อหลังให้หลังแอ่นมากที่สุดเกร็งค้างไว้  5 – 10 วินาที
บริหารกล้ามเนื้อท้องให้แข็งแรง
นอนหงายบนพื้น
1. นอนหงายบนพื้นอาจจะงอเข่าหรือเหยียดเข่าก็ได้  ท่างอเข่าจะทำได้ง่ายขึ้น  เกร็งกล้ามเนื้อ   หน้าท้อง  กดหลังให้แบนติดพื้นจะทำให้กระดูกเชิงกรานหมุนตามรูป  เกร็งกล้ามเนื้อค้างไว้     15 - 20  วินาที
2. นอนหงาย  งอเข่า  เกร็งกล้ามเนื้อท้อง  จนมือสัมผัสเข่าทั้ง  2  ข้าง  เกร็งค้างไว้  15 – 20 วินาที
บริหารกล้ามเนื้อหลัง  ไหล่  สะโพก
คุกเข่า  ฝ่ามือราบยันกับพื้น 
รักษาหลังให้ขนานกับพื้นไม่ให้โก่งหรืองอ 
เหยียดแขนซ้ายให้อยู่ในแนวเดียวกับไหล่  แล้วเหยียดขาขวาให้อยู่ในแนวเดียว 
    เกร็งค้างไว้  15 – 30 วินาที
กลับเข้าสู่ท่าเริ่มต้น   แล้วทำสลับข้างโดยเหยียดแขนขวาและขาซ้ายเช่นเดียวกับ

อ้างอิง: คลิ๊บ กระดูกทับเส้น

การบริหารกระดูกทับเส้น
นวดรักษากระดูกทับเส้น
ผ่าตัดกระดูกหมอนรองหมด 10 ล้าน
รักษากระดูกทับเส้นไม่ต้องผ่าตัด