Search This Blog / The Web ต้นหาบล็อกนี้ / เว็บ

Monday, May 4, 2020

เภสัชกรรมไทย และเวชกรรมไทย เล่ม 2 บทที่ 9 เภสัชกรรม จำพวกสัตว์วัตถุ และธาตุวัตถุ

เภสัชกรรมไทย และ
เวชกรรมไทย เล่ม 2 บทที่ 9 เภสัชกรรม

เภสัชวัตถุ จำพวกสัตว์วัตถุ และธาตุวัตถุ




จัดทำโดย อ.หมอสุชาติ ภูวรัตน์
นธ.เอกบาลีประโยค 1-2
(อดีตพระธรรมทูตต่างประเทศ)
B.S. Engineering Design Tech.
 B.A. ศาสนศาสตร์บัณฑิต
B.S. Computer Information Systems
B.TM.  พทย์แผนไทยบัณฑิต
สาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ
บ.ภ.พท.ว.พท.ผ.พท.น.
ครูแพทย์แผนไทย 4 ด้าน
ศูนย์การแพทย์แผนไทยภูเก็ต
ทำเพื่อการศึกษาและประโยชน์แก่ผู้ชม

เวชกรรมไทย เล่ม 2 บทที่ 9 เภสัชกรรม
เภสัชวัตถุ จำพวกสัตว์วัตถุ และธาตุวัตถุ
1. จำพวกสัตว์บก  ได้แก่สัตว์ที่อาศัยอยู่บนบก และหากินบนบก ตัวอย่าง เช่น

1.      แมลงสาบ  
ใช้มูล ประกอบยา สรรพคุณ แก้ลิ้นขาวเป็นฝ้า เป็นละออง แก้หละ แก้เม็ดยอดในปาก 
แก้ฟกบวมที่มีพิษร้อน แก้กามโรค  (ต้องคั่วหรือสุมก่อนปรุง)



2.      กวาง  
     ใช้เขาแก่   สรรพคุณ แก้ไขกาฬ ไข้พิษ 
         ใช้เขาอ่อน  สรรพคุณ บำรุงร่างกาย บำรุงกำลัง บำรุงความกำหนัด  ถอนพิษผิดสำแดง



3.      เต่านา
ใช้หัว สรรพคุณ แก้ม้านหย่อน ม้ามโต ม้ามแลบ ท้องป่อง ตับทรุด




4.      วัวป่า
     ใช้เขาวัว สรรพคุณ แก้ตัวร้อน ดับพิษไข้ แก้พิษกาฬ ถอนพิษผิดสำแดง
          ใช้ตับ     สรรพคุณ  บำรุงร่างกาย บำรุงตับ
          ใช้ดี      สรรพคุณ  แก้ดีซ่าน บำรุงน้ำดี บำรุงโลหิต เป็นกระสายทำให้ยาแล่นเร็ว




    5.  ควายเผือก
          ใช้กระดูก  สรรพคุณ แก้โรคอันบังเกิดจากกระทำพิษน้ำเหลือง แผลกลาย
             กามโรคเข้าข้อออกดอก



6.      งูเห่า  
ใช้ทั้งตัว  สรรพคุณ แก้โรคกระษัย ปวดเมื่อย แน่น เสียด บำรุงกำลัง
 (ก่อนปรุง ต้องย่างไฟเสียก่อน)





7.      หมี   
ใช้เขี้ยว  สรรพคุณ ดับพิษ พิษอักเสบ แก้ตัวร้อน แก้พิษตานซาง
ปวดในข้อ เส้นเอ็น แก้ช้ำใน กระจายเลือด
ใช้กระดูก สรรพคุณ บำรุงโลหิต กระจายโลหิต บำรุงกำลัง




8.      เสือ
ใช้กระดูก สรรพคุณ บำรุงกระดูก เลือด เนื้อ ไขข้อ แก้ปวดเมื่อยหัวเข่า




9.      ช้าง 
              ใช้กระดูก สรรพคุณ แก้โรคอันบังเกิดจากกระดูก โรคเรื้อน


                                              
10. วัวดำ
ใช้มูลทำยา สรรพคุณ ดับพิษร้อนถอนพิษไข้ทั้งปวง
แก้ไฟลามทุ่ง แก้งูสวัด แก้ลมพิษ แก้ฟกบวม
-----------------------------------------

2. จำพวกสัตว์น้ำ
จำพวกสัตว์น้ำ ได้แก่ สัตว์ที่เกิด และหากินอยู่ในน้ำ ตัวอบ่าง เช่น


1.      ปลาช่อน
     ใช้ดีทำยา  สรรพคุณ แก้ตาต้อ ตาแดง
ใช้หางตากแห้ง สรรพคุณ แก้โรคในปาก ลิ้นเป็นฝ้าเป็นเม็ด ตัวร้อน นอนสะดุ้ง
 หลังร้อนมือ เท้าเย็น แก้หอบ ซางทับสำรอก ชักเพราะความร้อนสูง 
           ใช้เกล็ด สรรพคุณ ทำให้เกิดลมเบ่ง



     2. ปลาหมอ
         ใช้ทั้งตัวทำยา  สรรพคุณ แก้กระษัยปลาหมอ
         ใช้ดี   สรรพคุณ แก้พยาธิกินผมร่วงเป็นหย่อมๆ ช่วยให้ผมดำ



3.      ปลากระเบน
ใช้หนังทำยา สรรพคุณ ขับเลือดเน่าร้าย หลังจากการคลอดบุตร ขับน้ำคาวปลา




4.      ปลาพะยูน
ใช้เขี้ยวทำยา สรรพคุณ แก้พิษใช้กาฬ พิษไข้ซาง พิษไข้ตัวร้อน ร้อนในกระหายน้ำ





5.      ปลาวาฬ  
ใช้น้ำกาม ซึ่งเรียกว่า อำพันทอง สรรพคุณ บำรุงกำลัง บำรุงหัวใจ แก้อ่อนเพลีย 
แก้ลมวิงเวียน



6.      ตะพาบน้ำ
ใช้ดีทำยา สรรพคุณ ขับลมและเลือด แก้ลมกองละเอียด คือ
ลมวิงเวียนหน้ามืด พิษปวดกระดูก ถอนพิษฟกบวมอักเสบ ถอนพิษสัตว์กัดต่อย




7.      ปลาหมึก หรือลิ้นทะเล
ใช้กระดอง  สรรพคุณ แก้เม็ดยอดในปาก ฆ่าเชื้อโรค กัดสิวฝ้า แก้ปวดท้อง 
แก้มูกเลือด



8.      แมงดาทะเล
 
ใช้กระดองทำยา รสเค็ม สรรพคุณ  แก้โลหิตเป็นพิษ แก้ซางเด็ก



9.      กบ  
ใช้น้ำมัน สรรพคุณ ทาแก้ปวดเมื่อย ขัดยอก เคล็ดกระดูก แก้พิษไข้ ไข้กาฬ (สุมไฟ)




10. จระเข้  
ใช้ดี สรรพคุณ ขับเลือดร้าย ขับน้ำคาวปลา แก้โรคตา แก้สันนิบาตหน้าเพลิง




11. เต่านา 
    ใช้กระดองอก สรรพคุณ ถอนพิษฟกบวมอักเสบ ถอนพิษสัตว์กัดต่อย 
                ทำกระสายยาแก้หืด บำรุงน้ำนม
             ใช้หัวเต่านา  สรรพคุณ แก้ตับทรุด แก้ม้ามโต

-----------------------------------------

3. จำพวกสัตว์อากาศ
จำพวกสัตว์อากาศ ได้แก่ สัตว์ที่มีปีก บินไปมาในอากาศได้ ตัวอย่าง เช่น




      1.  ผึ้ง  
         ใช้น้ำหวานในรังทำยา สรรพคุณ บำรุงร่างกาย บำรุงกำลัง 
            แก้อ่อนเพลีย เหนื่อยหอบ แก้สะอึก แก้ไข้ตรีโทษ


     
    2.  นกกา  หรือ อีกา
        ใช้กระดูก และขนทำยา  สรรพคุณ แก้พิษกาฬ ไข้กาฬ แก้พิษตานซาง 




   3. นกนางแอ่น
      ใช้รังทำยา สรรพคุณ บำรุงกำลัง บำรุงความกำหนัด แก้อ่อนเพลีย


         
        4.  นกพิราบ
        ใช้มูลทำยา สรรพคุณ แก้ไข้เกิดจากพิษตานซาง แก้ซางร้าย (ความร้อนสูงชัก)
     แก้ริดสีดวง แก้ลมป่วง แก้ปวดท้อง (ต้องคั่วก่อนปรุงยา)



       
           5. นกกรด   
              ใช้น้ำมัน สรรพคุณ แก้โรคผิดหนังผื่นคัน แก้มะเร็ง



         6. นกกระจอก  
            ถอนขนออกใช้ทั้งตัว สรรพคุณ บำรุงร่างกาย บำรุงกำลัง บำรุงความกำหนัด



         7. นกออก
             ใช้น้ำมันทำยา สรรพคุณ แก้โรคผิวหนังผื่นคัน




         8. นกยูง
            ใช้แววตาทำยา สรรพคุณ แก้ซางลิ้นขาวเป็นฝ้าละออง แก้หละ 
               แก้ซาง  ละอองในปาก แก้หอบหืด แก้ซางชักตาเหลือกตาซอน




                     9. ค้างคาวแม่ไก่
                     ใช้เลือดทำยา สรรพคุณ บำรุงโลหิต แก้ผอมแห้ง บำรุงกำลัง แก้เหน็บชา



               10. นกกาน้ำ   
                    ใช้ดีทำยา สรรพคุณ แก้โรคหนังศีรษะพิการ แก้ผมร่วง บำรุงเส้นผมให้ดกดำ
-----------------------------------------
ประเภทธาตุวัตถุ ได้แก่ แร่ธาตุต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ หรือสิ่งที่ประกอบขึ้นจากแร่ธาตุต่างๆ แล้วนำมาใช้ประกอบเป็นยา ควรจะต้องศึกษาให้รู้ว่า แร่ธาตุต่างๆ แต่ละชนิดนั้น เขานิยมใช้ส่วนไหนมาทำยา การรู้จักวัตถุนั้น ต้องอาศัยหลัก 5 ประการ คือ รูปลักษณะ รส กลิ่น สี ชื่อ เป็นอย่างไร
ธาตุวัตถุ แบ่งออกได้เป็น 2 จำพวก คือ
1.      ธาตุจำพวกสลายตัวง่าย หรือสลายตัวได้เอง
2.      ธาตุจำพวกสลายตัวยาก

1.      จำพวกธาตุที่สลายตัวง่าย ได้แก่แร่ธาตุต่างๆ ที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ หรือแร่ธาตุที่ประกอบขึ้นตามกรรมวิธี มีคุณสมบัติสลายตัวง่าย เช่น ถูกความร้อนเพียงเล็กน้อย แช่น้ำหรือใช้มือขยี้ธาตุวัตถุเหล่านี้ บางอย่างเมื่อสลายตัวออกไปแล้ว ก็ไม่สามารถกลับคืนสู่สภาพเดิมได้ ตัวอย่าง เช่น




1.      กำมะถันเหลือง เกิดขึ้นโดยธรรมชาติ สีเหลืองอ่อนนวล ถูกความร้อนเพียงเล็กน้อยก็สลายตัว  สรรพคุณ แก้จุดเสียดในอก โรคป่วง แก้โรคผิวหนังผุพอง น้ำเหลืองเสีย
ฆ่าเชื้อโรค ฆ่าแม่พยาธิทั้งภายใน และภายนอก ใช้หุงน้ำมัน ทาแก้หิด ขับลมในกระดูก



2.      กำมะถันแดง  สีแดง 
ใช้หุงกับน้ำมัน ใส่แผลเรื้อรัง สรรพคุณ แก้แผลเปื่อยลาม
บดผงผสมเหล้า ทาดับพิษไข้กาฬบางชนิด เช่น ไข้งูสวัด เป็นต้น



3.      สารส้ม ก้อนสีขาว สรรพคุณ สมานได้ทั้งภายนอก และภายใน ชะล้างระดูขาว
แก้บาดแผล ทำให้หนองแห้ง แก้แผลในปากในคอ ขับปัสสาวะ แก้นิ่ว




4.       เกลือสินเธาว์  สรรพคุณ แก้พรรดึก ล้างเมือกในลำไส้ ขับพยาธิในท้อง
ละลายนิ้ว แก้ตรีโทษ



5.      ดีเกลือ สรรพคุณ ถ่ายท้องผูก ถ่ายโรคกระษัย ทำให้เส้นเอ็นหย่อน
เป็นยาถ่ายอุจจาระได้ดี





6.      เกลือ  สรรพคุณ รักษาเนื้อหนังไมให้เน่าเปื่อย บำรุงธาตุทั้ง 
แก้น้ำดีพิการ แก้น้ำเหลืองเสีย



7.      จุนสี  สรรพคุณ กัดล้างหัวฝี กัดหัวหูด คุดทะราด 

รักษาโรคฟัน (ระวังถ้าแพ้ ฟันจะโยกหลุดได้) 


8.      ดินประสิว สรรพคุณ ขับลมที่คั่งค้างตามเส้น ทำให้เส้นเอ็นหย่อน ถอนพิษ
แก้คันตามผิวหนัง


        
9.      พิมเสนเกล็ด สรรพคุณ แก้ลมวิงเวียนหน้ามืด บำรุงหัวใจ ทำให้จิตใจชุ่มชื่น
ทำให้เรอ และผายลม แก้จุกเสียดแน่นเฟ้อ แก้ปวดท้อง แก้แผลสด แผลเรื้อรัง


10. น้ำตาลกรวด สรรพคุณ แก้คอแห้ง ชูกำลัง ทำให้เนื้อหนังชุ่มชื่น

-----------------------------------------

2.      จำพวกธาตุที่สลายตัวยาก ได้แก่



1. เหล็ก     ใช้สนิมทำยา สรรพคุณ บำรุงโลหิต แก้ตับทรุด ม้ามโตย้อยออกมาที่ชายโครง 
แก้คุดทะราด และผสมยาแก้ไข้จับสั่น



2. หินฟันม้า มีตามภูเขา ลักษณะเป็นชี้ ๆ คล้ายฟันม้า สีเหมือนปูนแห้ง
สรรพคุณ ดับพิษทั้งปวง  แก้พิษในปาก แก้คออักเสบบวม


3. หินเขี้ยวมังกร มีลักษณะเหมือนเขี้ยวสัตว์ใหญ่แข็งมาก เกิดตามหน้าผา หรือตามภูเขาในประเทศจีน สรรพคุณ บำรุงหัวใจ บำรุงประสาท แก้โรคประสาท แก้สะดุ้ง ตกใจผวา


4. แก้วแกลบ  มีลักษณะเป็นเกล็ดขาวบาง เกิดขึ้นตามภูเขาที่มีหินผุๆ รสเย็น กร่อย
สรรพคุณ ขับปัสสาวะ  แก้พิษโลหิตน้ำเหลือง และโรคตา 


5. บัลลังก์ศิลา (หินอ่อนจีน) เกิดในประเทศจีน สีขาวขุ่นมัว สีเทาบ้าง สีแดงสลับบ้าง
รสเย็น  สรรพคุณ แก้พิษอักเสบ แก้ปวดร้อน ดับพิษทุกอย่าง ห้ามเหงื่อ
ใช้โรยแผลเรื้อรัง และกามโรค



6. นมผา เป็นหินงอกย้อยออกมาแล้วแห้งแข็ง หินจำพวกนี้ เนื้อผุ ๆ มีเกิดตามภูเขาทางภาคเหนือของประเทศไทย สรรพคุณ ผสมยาหยอดตา แก้ตาอักเสบขุ่นมัวฝ้าฟางให้แจ่มใส
ใช้ฝนกับสุรา ทาตามผิวหนัง แก้ปวดแสบร้อน แก้โรคประดงบางจำพวก



7. หินปะการัง สรรพคุณ แก้พิษไข้ ไข้กาฬ และฝีที่มีพิษอักเสบ



8. ทองคำ เกิดจากแร่ใต้ดิน เป็นธาตุแท้สีเหลือง
สรรพคุณ บำรุงเนื้อหนังให้เจริญ ดับพิษร้อนถอนพิษไข้ แก้พิษอักเสบ แก้สะดุ้งผวา
    
9. หรดาลกลีบทอง เป็นสารชนิดหนึ่งอยู่ใต้ดิน เป็นก้อนคล้ายสารหนู มีสีเหลือง เป็นเงา และไม่เป็นเงา สรรพคุณ ใช้ผสมยากวาด แก้เม็ดยอดในปากเด็ก แก้ซางในปากเด็ก       

ใช้ผสมยากัด ขน หนวด เครา ให้ร่วงหลุดไป


10. ศิลายอนตัวผู้ เกิดในประเทศจีน เป็นหินอ่อนชนิดหนึ่งสีขาวใสคล้ายสารหนู
สรรพคุณ แก้เสมหะ แก้ท้องเสีย และแก้ไข้อันบังเกิดเพื่อดี
      -----------------------------------------

เมื่อได้เรียนรู้ เภสัชวัตถุ ซึ่งประกอบด้วย พืชวัตถุ 
สัตว์วัตถุ ธาตุวัตถุแล้ว ควรได้รู้จักตัวยา โดยอาศัยหลัก 5 ประการ ดังต่อไปนี้
1.      ต้องรู้จักรูปลักษณะ ให้รู้จักรูปส่วนของพืช เรียกว่า หัว เหง้า รากไม้ แก่นไม่ เนื้อไม้ กระพี้ เปลือก เมล็ด ผล เกสร ดอก ใบ พืชบางชนิดอาจมีรูปคล้ายคลึงกัน และต่างกัน
รูปลักษณะของสัตว์ รูปลักษณะต่างกัน บ้างโต บ้างเล็ก รู้จักอวัยวะของสัตว์ มีหนัง ขน
เขา งา นอ กระดูก ฟัน เขี้ยว กราม กรวด เป็นต้น
เกิดในธาตุของธรรมชาติ หรือธาตุที่เราสังเคราะห์ขึ้น ธาตุแต่ละชนิด มีรูปเป็นอย่างไร เช่น ศิลายอน สารส้ม กำมะถัน จุนสี สารหนู หินฟันม้า เป็นต้น อย่างนี้เรียกว่า
รู้จักรูปลักษณะ
2.      ต้องรู้จักกลิ่น คือรู้จักกลิ่นของพืชวัตถุ สัตว์วัตถุ ธาตุวัตถุ ว่าแต่ละอย่างมีกลิ่นอย่างไร
เช่น จันทน์เทศ ดอกมะลิ มีกลิ่นหอม มหาหิงคุ์ กลิ่นเหม็นฉุน เขากวางอ่อน กลิ่นเหม็นคาว กำมะถัน กลิ่นเหม็น พิมเสน กลิ่นหอม อย่างนี้เรียกว่า รู้จักกลิ่นตัวยา
3.      ต้องรู้จักรส พืชวัตถุ สัตว์วัตถุ ธาตุวัตถุ แต่ละอย่างมีรสเป็นอย่างไร เช่น
เบญกานี รสฝาด บอระเพ็ด รสขม พริกไทย รสเผ็ดร้อน อ้อยและชะเอมเทศ รสหวาน หอยสังข์ รสเค็มกร่อย ดีงู รสขมคาว เกลือสมุทร เกลือสินเธาว์ รสเค็ม
สารส้ม รสเปรี้ยวฝาด กำมะถัน รสเมา  อย่างนี้เรียกว่า รู้จักรสของตัวยา ซึ่งจะทำให้เราสามารถบอกได้ว่า วัตถุนั้นมีสรรพคุณเป็นอย่างไร
4.      ต้องรู้จักสี เป็นสิ่งหนึ่งที่ต้องบอกได้ว่า เป็นพืชอะไร สัตว์อะไร หรือธาตุอะไร เช่น จันทน์แดง สีแดง ฝางเสนสีแสด แก่นขี้เหล็ก สีดำ งาช้างสีขาวนวล
เลือดต่างๆ สีแดงเข้ม ยาดำ สีดำ และดินประสิว สีขาว จุนสี สีเขียวคราม
เหล่านี้เรียกว่า รู้จักสีของตัวยา
5.      ต้องรู้จากชื่อ ให้รู้จักชื่อของพืชวัตถุ สัตว์วัตถุ ธาตุวัตถุ ว่า แต่ละชนิดเขาเรียกชื่อว่าอะไร สำหรับชื่อนี้ ต้องรู้ถึงชื่อวิทยาศาสตร์ ชื่อวงศ์ของพืชวัตถุด้วย เช่น ต้นมะกา ต้นสัก ข่า กะทือ หางปลาช่อน ดีจระเข้ กระดูกควายเผือก กำมะถันเหลือ
เหล่านี้เรียกว่า รู้จักชื่อตัวยา
             -----------------------------------------



  

------------------------------------------------------------


เภสัชกรรมไทย 
เภสัชวัตถุ ประเภทพืชวัตถุ 
จำพวกต้น 

(กรรณิกา-คางแดง) 1

https://thaitraditionalmedicinebook.blogspot.com/2014/01/blog-post_53.html


เภสัชกรรมไทย 
เภสัชวัตถุ ประเภทพืชวัตถุ 
จำพวกต้น 

(กรรณิกา-คางแดง) 2

https://thaitraditionalmedicinebook.blogspot.com/2014/01/blog-post.html


ภสัชกรรมไทย 
เภสัชวัตถุ ประเภทพืชวัตถุ 
จำพวกต้น (ควินิน-ทำมัง)

https://thaitraditionalmedicinebook.blogspot.com/2014/01/2.html


เภสัชกรรมไทย 
เภสัชวัตถุ ประเภทพืชวัตถุ 
จำพวกต้น (ยาดำ-เอื้องบก)

https://thaitraditionalmedicinebook.blogspot.com/2014/01/4.html


เภสัชกรรมไทย 
เภสัชวัตถุ พืชวัตถุ 
จำพวกเถา-เครือ (กรด-เถาวัลย์ปูน)

https://thaitraditionalmedicinebook.blogspot.com/2014/01/blog-post_47.html


เภสัชกรรมไทย 
เภสัชวัตถุ พืชวัตถุ 
จำพวกเถา-เครือ 

(เถาวัลย์เปรียง-อุโลกเครือ)

https://thaitraditionalmedicinebook.blogspot.com/2014/01/2_23.html


เภสัชกรรมไทย 
เภสัชวัตถุ ประเภทพืชวัตถุ 
จำพวกหัว-เหง้า

https://thaitraditionalmedicinebook.blogspot.com/2014/01/blog-post_3076.html


เภสัชกรรมไทย 
เภสัชวัตถุ พืชวัตถุ 
จำพวกผัก-หญ้า-ว่าน-เห็ด

https://thaitraditionalmedicinebook.blogspot.com/2014/01/blog-post_7037.html

เภสัชกรรมไทย

เภสัชวัตถุ

ประเภทสัตว์วัตถุ และธาตุวัตถุ

https://thaitraditionalmedicinebook.blogspot.com/2014/01/blog-post_6556.html


 

 

เภสัชกรรมไทย 

ตัวยาเรียกได้หลายชื่อ

ตัวยาสรรพคุณใกล้เคียงกัน

การเก็บตัวยา

ตัวยาประจำธาตุ-รสยาแก้ตามธาตุ

https://thaitraditionalmedicinebook.blogspot.com/2014/01/blog-post_22.html

 

เภสัชกรรมไทย 

สมุนไพรที่ใช้ในงานสาธารณสุขมูลฐาน 

(กระเทียม-ชุมเห็ดเทศ)

https://thaitraditionalmedicinebook.blogspot.com/2014/01/blog-post_6472.html


เภสัชกรรมไทย 

สมุนไพรที่เป็นพืชเศรษฐกิจ 

และสีผสมอาหารจากธรรมชาติ

https://thaitraditionalmedicinebook.blogspot.com/2014/01/blog-post_25.html


เภสัชกรรมไทย 
สรรพคุณเภสัช
รสยาแก้ตามธาตุรสแก้ตามวัย-

รสแก้ตามฤดู-รสแก้ตามกาล

https://thaitraditionalmedicinebook.blogspot.com/2014/01/blog-post_34.html



เภสัชกรรมไทย 

คณาเภสัช (จุลพิกัด - พิกัด 4 สิ่ง)

https://thaitraditionalmedicinebook.blogspot.com/2014/01/1.html

สมุนไพรแห้ง ศูนย์การแพทย์แผนไทยภูเก็ต

https://phuketthaitraditionalmedicinecenter.blogspot.com/2013/09/blog-post_25.html


สมุนไพรสด ศูนย์การแพทย์แผนไทยภูเก็ต

https://phuketthaitraditionalmedicinecenter.blogspot.com/2013/04/thai-traditional-medicine.html


ศูนย์การแพทย์แผนไทยภูเก็ต

https://phuketthaitraditionalmedicinecenter.blogspot.com/2013/03/blog-post.html





Cr. ภาพได้จาก กูเกิ้ล อินเทอร์เนต ถ่ายเองบ้าง ทำเพื่อการศึกษา ขอให้เจ้าของภาพได้บุญกุศลทุกท่าน

No comments:

Post a Comment