Search This Blog / The Web ต้นหาบล็อกนี้ / เว็บ

Saturday, May 2, 2020

เวชกรรมไทย เล่ม 2 บทที่ 9 เภสัชกรรม พืชวัตถุ

เวชกรรมไทย เล่ม 2 
บทที่ 9 เภสัชกรรม พืชวัตถุ 



จัดทำโดย อ.หมอสุชาติ ภูวรัตน์
นธ.เอกบาลีประโยค 1-2
(อดีตพระธรรมทูตต่างประเทศ)
B.S. Engineering Design Tech.
 B.A. ศาสนศาสตร์บัณฑิต
B.S. Computer Information Systems
B.TM.  พทย์แผนไทยบัณฑิต
สาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ
บ.ภ.พท.ว.พท.ผ.พท.น.
ครูแพทย์แผนไทย 4 ด้าน
ศูนย์การแพทย์แผนไทยภูเก็ต
ทำเพื่อการศึกษาและประโยชน์แก่ผู้ชม

เวชกรรมไทย เล่ม 2 
บทที่ 9 เภสัชกรรม เภสัชวัตถุ

หลักเภสัชกรรม มี 4 ประการ คือ
1.      เภสัชวัตถุ
2.      สรรพคุณเภสัช
3.      คณาเภสัช
4.      เภสัชกรรม

เภสัชวัตถุ 
ตัวยา คือ วัตถุต่างๆที่นำมาใช้ประกอบเป็นตัวยา
เพื่อบำบัดป้องกันรักษาโรคและแก้ไข้ได้ได้ เภสัชวัตถุ มีกล่าวไว้ในคัมภีร์ว่า ธาตุนานาชนิด สรรพวัตถุ หรือสิ่งของต่างๆ ที่มีอยู่ในโลกล้วนเกิดมาจากธาตุทั้ง 4 หมายถึง พืช สัตว์ ธาตุ  ซึ่งไม่ได้ผสม แปรสภาพ หรือปรุงเป็นยา สิ่งเหล่านี้ย่อมปรุงเป็นยาได้ทั้งสิ้น แต่จะมีสรรพคุณมากน้อยกว่ากันอย่างไร
ก็แล้วแต่ชนิดของวัตถุนั้น

1.      เภสัชวัตถุ แบ่งเป็น 3 ประเภท คือ
1.      ประเภทพืชวัตถุ
2.      สัตว์วัตถุ
3.      ธาตุวัตถุ

    ประเภทพืชวัตถุ ได้แก่ พันธ์ไม้ต่างๆ มีทั้งไม้ยืนต้น ไม่ล้มลุก บางชนิดงอกอยู่บนบก บางชนิดงอก  อยู่ในน้ำ บางชนิดเกาะพาดพันต้นไม้อื่น พืชเหล่านี้เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ  พืชที่จะน้ำมาประกอบทำเป็นยารักษาโรค ต้องศึกษาให้รู้ว่าเป็นพืชชนิดใด ใช้ส่วนไหนทำยา เช่น ราก หัว เหง้า แก่น กระพี้ เปลือกต้น เปลือกลูก เปลือกฝัก ดอก เกสร ผล เมล็ด ใบ กิ่งก้าน เนื้อไม้ ยางไม้ หรือใช้ทั้ง 5  ทำยา การรู้จักพืชวัตถุนั้น ต้องอาศัยหลัก 5 ประการ คือ รู้จักรูปลักษณะ รส กลิ่น สี และชื่ออะไร

   พืชวัตถุ มี 5 ประเภท คือ

1. จำพวกต้น 
ได้แก่พืชต้นใหญ่บ้าง เล็กบ้าง สูงบ้าง ต่ำบ้าง มีแก่นบ้าง ไม่มีแก่นบ้าง นิยมเรียกว่า ต้น ตัวอย่าง เช่น


1. ต้นกระดังงาไทย

ชื่อวิทยาศาสตร์: Cananga odorata (Lamk.) 
Hook.f. et Th.
ชื่อวงศ์: Annonaece



สรรพคุณ 
เนื้อไม้ กิ่ง ก้าน ใบ เป็นยาขับปัสสาวะ 
แก้ปัสสาวะพิการ
ดอก บำรุงธาตุ บำรุงหัวใจ บำรุงโลหิต




2. ต้นกระถินพิมาน

ชื่อวิทยาศาสตร์: Acacia harmandiana 
(Pierre) Gagnep.
ชื่อวงศ์: Leguminosae-Mimosoideae.

สรรพคุณ 
ราก ใช้เป็นยาอายุวัฒนะ 
แก้พิษสัตว์กัดต่อย
    เห็ด ที่เกิดจากไม้กระถินพิมาน 
    แก้ปวดฝีในหู ผสมกับยา
    ดับพิษแก้กาฬ ไข้พิษแก้เริมงูสวัด



3. ต้นกระท้อน

ชื่อวิทยาศาสตร์: Sandoricum koetjape 
(Burm.f.) Merr.
ชื่อวงศ์: Meliaceae


สรรพคุณ 
ราก แก้บิด สุมเป็นถ่านรับประทาน 
เป็นยาดับพิษร้อนภายใน 
ถอนพิษไข้รากสาด ใช้ปรุงยามหานิล 
แก้พิษไข้กาฬ


4. ต้นกระชับ

ชื่อวิทยาศาสตร์: 
Xanthium strumarium
ชื่อวงศ์: Asteraceae

รสเย็นติดขม 
สรรพคุณ แก้ปัสสาวะร้อน 
แก้ไข้ร้อน ขับเหงื่อ




5. ต้นกระโดงแดง 

ชื่อวิทยาศาสตร์: 
    Bhesa robusta (Roxb.) Ding Hou
ชื่อวงศ์: Celastraceae

รสเมาฝาดเล็กน้อย 
สรรพคุณ ระงับประสาท
ทำให้นอนไม่หลับ แก้ปวดเมื่อย


6. ต้นกระดูกดำ (กระดูกไก่ดำ )

ชื่อวิทยาศาสตร์: 
    Justicia gendarussa Burm.f.
ชื่อวงศ์: Acanthaceae

รสเย็นชื่น 
สรรพคุณ แก้อาเจียนเป็นโลหิต 
แก้ช้ำในขับเลือดคั่งค้างในร่างกาย



7. ต้นขี้เหล็กบ้าน

ชื่อวิทยาศาสตร์: Senna siamea (Lam.) 
H.S.Irwin & Barneby
ชื่อวงศ์: Caesalpiniaceae


รสขม สรรพคุณ 
ใช้ทั้งห้า คือ 
ราก ต้น ใบ ดอก ลูกหรือฝัก
ใช้ทั้งห้า ต้มน้ำดื่ม แก้ถ่ายกระษัย
ใบ แก้ระดูขาว แก้นิ่ว ขับปัสสาวะ
ดอก แก้โรคเส้นประสาทนอนไม่หลับ 
แก้หืด ล้างศีรษะแก้รังแค 
แก้ไฟธาตุพิการทำให้ตัวเย็นชืด 
แก้แสบตา แก้กามโรค แก้หนองใน 
แก้เหน็บชา แก้กระษัย
ราก แก้ไข้กลับซ้ำ



8. ต้นขี้หนอน

ชื่อวิทยาศาสตร์: 
Zollingeria dongnaiensis. Pierre
ชื่อวงศ์: Sapindaceae

รสเย็น 
สรรพคุณ ใช้ฟองฟอกสุมศีรษะเด็ก 
แก้เด็กเป็นหวัดคัดจมูก แก้ไข้



9. ต้นคำฝอย

ชื่อวิทยาศาสตร์: 
Carthamus tinctorius L.
ชื่อวงศ์: Asteraceae

สรรพคุณ 
เกสร บำรุงโลหิต 
แก้น้ำเหลืองเสียให้ปกติ 
แก้แสบร้อนตามผิวหนัง





10. ต้นจันทน์แดง 

ชื่อวิทยาศาสตร์
Dracaena loureiroi Gagnep. 
ชื่อวงศ์ Dracaenaceae

แก่นและเนื้อไม้ รสขมเย็น 
สรรพคุณ แก้ไอ แก้ซาง อันบังเกิด 
แก่ดี แก้เลือดออกตามไรฟัน 
แก้บาดแผล แก้ไข้ทุกชนิด 
ทำให้ชื่นใจ แก้ร้อน ใช้ฝนทาแก้บวม



11. ต้นชิงชี่

ชื่อวิทยาศาสตร์: 
Capparis micracantha DC.
ชื่อวงศ์: Capparaceae

ราก รสขมเย็น 
สรรพคุณ แก้ไข้พิษ ไข้กาฬ 
ไข้เพื่อดี ไข้เพื่อโลหิต





12. ต้นขันทองพยาบาท

ชื่อวิทยาศาสตร์: 
Suregada multiflora (A.Juss.) Baill.
ชื่อวงศ์: Euphorbiaceae

เนื้อไม้ สรรพคุณ แก้ลมพิษ 
    แก้ปวดพิษในกระดูก แก้ประดง 
    แก้โรคผิวหนัง แก้โรคเรื้อน มะเร็ง 
    แก้คุดทะราด กลากเกลื้อน 
    แก้ลมพิษ แก้กามโรค
เปลือก สเฝื่อนเอียนเมา 
    สรรพคุณ แก้ตับพิการ



13. ต้นชุมเห็ดเทศ

ชื่อวิทยาศาสตร์: 
Senna alata (L.) Roxb.
ชื่อวงศ์: Fabaceae

ต้น ใบ ดอก รสเบื่อเอียน 
สรรพคุณ 
ต้น ขับพยาธิไส้เดือน
ดอก ระบายอ่อนๆ
ต้น ราก ใบ แก้กระษัยเส้น 
แก้ท้องผูก ขับปัสสาวะ



14. ต้นทองพันชั่ง

ชื่อวิทยาศาสตร์: 
Rhinacanthus nasutus (L.) Kurz
ชื่อวงศ์: Acanthaceae


ราก รสเมาเบื่อ 
สรรพคุณ แก้กลากเกลื้อน ผื่นคัน 
แก้โรคผิวหนังที่เป็นน้ำเหลือง 
บางชนิด แก้มะเร็ง 
ใบ รสเบื่อเย็น 
สรรพคุณ ดับพิษไข้ แก้ตัวร้อน 
แก้พยาธิผิวหนัง




15. ต้นมะขามเทศ

ชื่อวิทยาศาสตร์: 
Pithecellobium dulce 
(Roxb.) Benth.
ชื่อวงศ์: Fabaceae


เปลือกต้น  รสฝาด 
สรรพคุณ ห้ามโลหิต 
ชะล้างบาดแผล แก้ท้องร่วง

-----------------------------------------

2. พืชจำพวกเถา-เครือ

พืชจำพวกเถา พืชชนิดนี้ เลื้อยพาดไปตามต้นไม้อื่น ตามรั้วบ้าง ตามพื้นดินบ้าง มีมือเกาะมีดอกเพียงดอกเดียว และมีผลเพียงผลเดียว จึงเรียกพืชจำพวกนี้ว่า
     พืชจำพวกเถา ตัวอย่าง เช่น



1. เถากระดอม

ชื่อวิทยาศาสตร์: 
Gymnopetalum chinensis 
(Lour.) Merr.
ชื่อวงศ์: Cucurbitaceae

ผล รสขม 
สรรพคุณ แก้ดีแห้ง ดีฝ่อ 
ดีเดือด บำรุงน้ำดี 
แก้คลั่งเพ้อทำให้โลหิตเย็น 
บำรุงมดลูก เจริญอาหาร



2. เถารางจืด

ชื่อวิทยาศาสตร์: 
Thunbergia laurifolia Lindl.
ชื่อวงศ์: Acanthaceae

    สรรพคุณ ถอนพิษ
    ของเบื่อเมาต่างๆ 
    ลดความร้อนในร่างกาย 
    แก้ไข้แก้พิษ และผิดสำแดง 




3. เถากระไดลิง

ชื่อวิทยาศาสตร์: 
Bauhinia scandens L.
ชื่อวงศ์: Fabaceae

     สรรพคุณ ขับเหงื่อ แก้ไข้ 
     แก้เชื่อมซึม แก้พิษฝี



4. เถารางแดง

ชื่อวิทยาศาสตร์: 
Ventilago denticulata Willd.
ชื่อวงศ์: Rhamnaceae

สรรพคุณ ขับปัสสาวะ 
แก้กระษัย แก้กร่อนลงฝัก 
แก้ร้อนในกระหายน้ำ 
แก้กร่อนทุกชนิด





5. เถาสะค้าน

ชื่อวิทยาศาสตร์: 
Piper ribesioides Wall. 
Piper interruptum Opiz.
ชื่อวงศ์: Piperaceae


สรรพคุณ 
แก้ลมอันบังเกิดใน
กองวาโยธาตุสมุฏฐาน 
ขับลมในลำไส้ บำรุงธาตุ






6. เถาเอ็นอ่อน


ชื่อวิทยาศาสตร์: 
Cryptolepis dubia (Burm.f.) 
M.R. Almeida
ชื่อวงศ์: Apocynaceae

สรรพคุณ
เถา แก้เมื่อย 
ทำให้เส้นเอ็นหย่อน 
จิตใจชุ่มชื่น ทำให้แข็งแรง
เมล็ด ใช้ปรุงเป็นยา 
แก้จุกเสียด ขับลมในลำไส้
ให้ผายและเรอ 
แก้แน่นอืดเฟ้อ




7. เถาลิ้นเสือ
(ย่านปด)

ชื่อวิทยาศาสตร์: 
Tetracera loureiri 
(Fin.&Gagnep.) 
Pierre ex Craib.
ชื่อวงศ์: Dilleniaceae

สรรพคุณ แก้ตับเคลื่อน 
ตับทรุด ชักตับ บำรุงตับ 
แก้ตับพิการ ยาไทยโบราณ 
ต้องมีส่วนประกอบ
ของเถาลิ้นเสือนี้



8. เถาโคคลาน 

ชื่อวิทยาศาสตร์: 
Mallotus repandus 
(Willd.) Müll.Arg.
ชื่อวงศ์: Euphorbiaceae

สรรพคุณ แก้ปวดเมื่อย
ตามร่างกาย แก้เส้นตึง 
แก้กระษัย 
แก้ปวดหลังเมื่อยเอว
ขับปัสสาวะ




9. เถาบอระเพ็ด


ชื่อวิทยาศาสตร์: 
Tinospora crispa (L.) 
Miers ex Hook.f&Thomson.
ชื่อวงศ์: Menispermaceae


สรรพคุณ แก้ไข้ ขับเหงื่อ 
ทำให้เลือดเย็น 
ลดความร้อนในร่างกาย 
แก้กระหายน้ำ



10. เถาพระขรรค์ไชยศรี


ชื่อวิทยาศาสตร์: 
Myxopyrum smilacifolium 
Blume subsp. Myxopyrum 
confertum (Kerr) Kiew.
ชื่อวงศ์: Oleaceae
.

สรรพคุณ ขับเหงื่ออย่างแรง 

-----------------------------------------

พืชจำพวกเครือ

    ลักษณะของพืชชนิดนี้คล้ายพืชจำพวกเถา แต่สามารถพยุงลำตัวขึ้นมาเองได้ โดยไม่ต้องอาศัยสิ่งอื่นเลื้อยพันไปตามต้นไม้ไปมา มีดอกเป็นกระจุก มีลูกเป็นพวง มีมือเกาะหรือไม่มีก็ได้ ลักษณะของพืชชนิดนี้ เรียกว่า เครือ ตัวอย่างเช่น




1. ขมิ้นเครือ

ชื่อวิทยาศาสตร์: 
Arcangelisia flava (L.) Merr.
ชื่อวงศ์: Menispermaceae

สรรพคุณ บำรุงโลหิตระดูให้งาม 
ขับหิตระดูที่เสียออกไป
ขับผายลมให้เรอ แก้น้ำดีพิการ  
ขับปัสสาวะ




2. มะแว้งเครือ

ชื่อวิทยาศาสตร์: 
Solanum trilobatum L.
ชื่อวงศ์: Solanaceae


สรรพคุณ 
ผล แก้ไอ ขับเสมหะ 
แก้เบาหวาน 
บำรุงน้ำในตับอ่อน
ราก แก้เสมหะ แก้ไอ 
แก้ไข้สันนิบาต 
แก้น้ำลายเหนียว



3. มะขามเครือ


ชื่อวิทยาศาสตร์ศาสตร์: 
Entada glandulosa 
Pierre ex Gagnep.
ชื่อวงศ์ Leguminosae -
Mimosoideae

สรรพคุณ เป็นยาแก้ไข้ 
แก้เสมหะ ฟอกโลหิต



4. มะกาเครือ


ชื่อวิทยาศาสตร์: 
Bridelia ovata Decne.
ชื่อวงศ์: Euphorbiaceae

สรรพคุณ แก้เสมหะเป็นพิษ 
ขับฟอกโลหิตระดู



5. ทองกวาวเครือ


ชื่อวิทยาศาสตร์: 
Pueraria mirifica Airy Shaw et 
Suvatabandhu.
ชื่อวงศ์: Leguminosae
 (Fabaceae)-Papilionoideae

สรรพคุณ บำรุงเนื้อให้งอกงาม
เต่งตึง เป็นยาบำรุงกำลัง



6. ถอบแถบเครือ


ชื่อวิทยาศาสตร์: 
Connarus semidecandrus Jack
ชื่อวงศ์: Connaraceae


สรรพคุณ แกพิษตานซาง 
ขับพยาธิ ระบายพิษไข้ 


7. ชิงชี่เครือ

ชื่อวิทยาศาสตร์‎: ‎
Capparis micracantha DC.
ชื่อวงศ์‎: ‎Capparaceae

รสขมเย็น 
สรรพคุณ แก้ไข้ที่มีพิษร้อน 
แก้ไข้สันนิบาต



8. ตูมกาเครือ

ชื่อวิทยาศาสตร์: 
Strychnos nux – blanda 
A.W. Hill.
ชื่อวงศ์: Strychinaceae

สรรพคุณ  แก้ไข้เพื่อเสมหะ 
และดี ขับผายลม บำรุงไฟธาตุ  
ทำให้รู้รสอาหาร


9. กำจัดเครือ
(กำจัดหน่วย)

ชื่อวิทยาศาสตร์: 
    Zanthoxylum nitidum 
    (Roxb.) DC.
ชื่อวงศ์: Rutaceae


สรรพคุณ 
ราก ใช้ฝนกับน้ำรับประทาน 
กาก ใช้พอกหรือทาบาดแผล 
ถูกสัตว์ที่มีพิษขบกัด 
    เป็นยาถอนพิษงู



10. ก้างปลาเครือ


ชื่อวิทยาศาสตร์
Phyllanthus reticulatus Poir.
ชื่อวงศ์: Phyllanthaceae


สรรพคุณ แก้โรคตานขโมย  
ถ่ายพยาธิ

-----------------------------------------

3. พืชจำพวกหัวหรือเหง้า 

พืชชนิดนี้มีหัวหรือเหง้าฝังอยู่ในดิน ส่วนมากเป็นพืชล้มลุก เมื่อถึงฤดูฝนจะแตกหน่อ ออกดอกเจริญงอกงามอย่างเต็มที่ เมื่อหมดฤดูฝนก็โทรม แต่หัวหรือเหง้าที่ฝังอยู่ในดินยังไม่ตาย จะงอกขึ้นมาใหม่ในฤดูฝนมี่เวียนมาถึง หัวและเหง้าเป็นที่สำหรับสืบพันธุ์ หัวของพืชต้องมีลักษณะกลม แม้จะมีลักษณะยาว ก็มีส่วนกลม เช่น หัวกระดาดแดง หัวกระดาดขาว หัวบุก หัวกลอย หัวอุตพิด หัวเต่าเกียด ฯลฯ ซึ่งนิยมเรียกว่า หัว ส่วนเหง้า หรือแง่งนั้นมีลักษณะคล้ายพืชจำพวกหัว ลักษณะกลมแบน มีปุ่มยื่นยาวแยกออกไปเป็นแง่ง ๆ เช่น เหง้าข่า เหง้าขิง เหง้ากะทือ เหง้าไพล เหง้าขมิ้น เหง้ากระวาน เหง้ากระชาย เรานิยมเรียกว่า เหง้าหรือแง่ง ตัวอย่าง เช่น



1. กระเช้าผีมด
(หัวร้อยรู) 

ชื่อวิทยาศาสตร์: 
Hydnophytum formicarum Jack
ชื่อวงศ์: Rubiaceae


หัว รสเย็นเบื่อ 
สรรพคุณ บำรุงหัวใจ ขับเส้นชีพจร
ขับพยาธิในท้อง แก้พิษในกระดูก 
เช่น พิษประดง 
ปรุงเป็นยาแก้ข้อเข่า ข้อเท้าบวม


2. หัวหอม 


ชื่อวิทยาศาสตร์: 
Allium ascalonicum
ชื่อวงศ์: Amaryllidaceae


รสหวานเค็มเล็กน้อย 
กลิ่นฉุน ทำให้สุกหวาน 
สรรพคุณ มีรสร้อน 
เป็นยาขับลมในลำไส้ 
ขับปัสสาวะ ขับเนื้อร้าย 
บำรุงธาตุ ขับโลหิตระดู 
แก้โรคเส้นประสาท
น้ำจากหัว หยอดหูแก้หูอื้อ





3. หัวบุกรอ


ชื่อวิทยาศาสตร์ 
Amorphophallus konjac 
K.Koch
ชื่อวงศ์: Araceae


สรรพคุณ แก้เถาดานที่จุก
เป็นก้อนกลิ้งอยู่ในท้อง 
ใช้หุงกับน้ำมันใส่ 
แผลกัดฝ้า กัดหนองได้ดี





4. หัวอุตพิด


ชื่อวิทยาศาสตร์: 
Typhonium trilobatum 
(L.) Schott
ชื่อวงศ์: Araceae


รสเบื่อเมา 
สรรพคุณ เหมือนหัวบุกรอ
สรรพคุณ แก้เถาดานที่จุก
เป็นก้อนกลิ้งอยู่ในท้อง 
ใช้หุงกับน้ำมันใส่แผลกัดฝ้า
กัดหนองได้ดี



5. หัวแห้วหมู

ชื่อวิทยาศาสตร์: 
Cyperus rotundus L.
ชื่อวงศ์: Cyperaceae

สรรพคุณ บำรุงธาตุ 
บำรุงกำลัง บำรุงครรภ์ 
รักษาขับลม
ในกระเพาะสำไส้ 
แก้ปวดท้อง 
แก้ท้องขึ้นอืดเฟ้อ 
ช่วยในการย่อยอาหาร 
เป็นยาอายุวัฒนะ



6. หัวดองดึง

ชื่อวิทยาศาสตร์: 
Gloriosa superba L
ชื่อวงศ์: 
Colchicaceae (Liliaceae)

รสร้อนขมเฝื่อน 
สรรพคุณ แก้ลมพรรดึก 
แก้ริดสีดวง แก้พยาธิ 
แก้เสมหะ




7. หัวว่านชักมดลูก
(ตัวเมีย)

ชื่อวิทยาศาสตร์ : 
Curcuma xanthorrhiza Roxb
ชื่อวงศ์: Zingiberaceae

สรรพคุณ แก้มดลุกพิการ 
แก้ปวดมดลุก ชักมดลูก 
รัดมดลูกหลังคลอดบุตร


 
หัวข้าวเย็นเหนือ


หัวข้าวเย็นใต้

หัวข้าวเย็นใต้

8. หัวข้าวเย็นทั้งสอง


หัวข้าวเย็นเหนือ

ชื่อวิทยาศาสตร์: 
Smilax corbularia 
Kunth subsp. corbularia
ชื่อวงศ์: Smilacaceae


หัวข้าวเย็นใต้

ชื่อวิทยาศาสตร์: 
Smilax glabra Roxb.
ชื่อวงศ์: Smilacaceae

สรรพคุณ แก้กระหายน้ำ 
แก้ร้อนใน แก้มะเร็ง 
คุดทะราด น้ำเหลืองเสีย 
แก้กามโรคเข้าข้อออกดอก 
แก้ประดงเม็ดผื่นคันทุกชนิด
ช่วยรักษาแผลฝี
ให้น้ำหนองแห้งเร็ว





9. หัวกระชาย


ชื่อวิทยาศาสตร์: 
Boesenbergia rotunda (L.) 
Mansf.
ชื่อวงศ์: Zingiberaceae


รสเผ็ดร้อนขม กลิ่นหอม  
สรรพคุณ แก้โรคในปาก 
เช่น ปากเปื่อย ปากแห้ง 
ปากแตกระแหง 
ปากเป็นแผล ขับระดูขาว 
แก้ใจสั่นหวิว 
แก้ปวดมวนในท้อง 
แก้ปัสสาวะพิการ
กระโปกกระชาย  
ต้มรวมกับหญ้าขัดมอน 
รับประทานต่างน้ำชา 
เป็นยาบำรุงกำหนัด 
ทำให้จิตใจกระชุ่มกระชวย 
มีคุณสมบัติคล้ายโสมจีน
**แพทย์บางคนเรียกว่า 
โสมไทย**



10. หัวเปราะหอม


ชื่อวิทยาศาสตร์: 
Kaempferia galanga L.
ชื่อวงศ์: Zingiberaceae

สรรพคุณ ขับลมในลำไส้
ให้ผายเรอ แก้ท้องขึ้น
อืดเฟ้อ
ทำยาสุมกระหม่อม 
แก้หวัด กำเดา ลมซาง 
แก้ซางชักสำหรับเด็กได้ดี




11.  เหง้าขิง

ชื่อวิทยาศาสตร์
Zingiber officinale Roscoe
ชื่อวงศ์: Zingiberaceae


สรรพคุณ 
เป็นตัวยาประจำอากาศธาตุ 
แก้ลมพรรดึก แก้ลมพานไส้
แก้คลื่นเหียน อาเจียน 
แก้แน่นเสียดในท้อง 
แก้นอนไม่หลับ



12. เหง้าข่าตาแดง

ชื่อวิทยาศาสตร์: 
Alpinia officinarum Hance.
ชื่อวงศ์: Zingiberaceae

สรรพคุณ ขับลมในลำไส้ 
แก้บิด แก้ปวดท้อง แก้ป่วง
ทั้งลมทั้งอาเจียน 
ผสมน้ำปูนใสรับประทาน




13. เหง้าข่าลิง


ชื่อวิทยาศาสตร์ 
Alpinia conchigera Griff.
ชื่อวงศ์: Zingiberaceae

สรรพคุณ  
ฝนละลายปนสุรารับประทาน 
แก้จุกเสียดแน่นเฟ้อ 
ขับลมในลำไส แก้ปวดฟัน


14. เหง้าข่าใหญ่


ชื่อวิทยาศาสตร์: 
Alpinia galanga (L.) Willd.
ชื่อวงศ์: Zingiberaceae


สรรพคุณ  
ขับเลือดเน่าร้าย เลือดเสีย 
ขับลมในลำไส้ แก้ปวดท้อง 
ท้องขึ้น ท้องเฟ้อ





15. เหง้าไพลเหลือง


ชื่อวิทยาศาสตร์: 
Zingiber montanum 
(J.Koenig) Link ex A.Dietr.
ชื่อวงศ์: Zingiberaceae


สรรพคุณ 
ทาแก้เคล็ดยอกบวม 
รับประทานเป็นยา
ขับประจำเดือนให้สะดวก

-----------------------------------------

4. พืชจำพวกผัก

ผัก ได้แก่ พืช
ที่เป็นต้นเล็กๆ ต่ำ 
บางชนิดเป็นต้น 
บางชนิดเป็นกอหรือ
เป็นพันธุ์ไม้
เลื้อยทอดยอด
ไปตามพื้นดิน 
หรือตามผิวน้ำ 
ผักมีที่เกิดทั้งในน้ำ
และบนบก 
ตัวอย่าง เช่น



1. ผักเป็ดแดง


ชื่อวิทยาศาสตร์: 
Alternanthera bettzickiana 
(Regel) G.Nicholson.
ชื่อวงศ์: Amaranthaceae


รสขื่นเอียน 
สรรพคุณ ดับพิษโลหิต 
บำรุงโลหิต


2. ผักกาดน้ำ


ชื่อวิทยาศาสตร์: 
Plantago major L.
ชื่อวงศ์: Plantaginaceae


สรรพคุณ แก้นิ่ว 
แก้หนองใน ขับปัสสาวะ 
แก้ร้อนใน


3. ผักหนอก (บัวบก)

ชื่อวิทยาศาสตร์: 
Hydrocotyle siamica 
ชื่อวงศ์: Araliacea

รสขมเย็น 
สรรพคุณ แก้ช้ำอก 
และชอกช้ำภายในร่างกาย



4. ผักชีล้อม


ชื่อวิทยาศาสตร์
Oenanthe javanica (Blume) 
DC. Foeniculum vulgare Mill.
ชื่อวงศ์: Umbelliferae (Apiaceae)


สรรพคุณ 
เมล็ด ขับลมในลำไส้ 
แก้ธาตุพิการ บำรุงปอด 
แก้หอบไอ

  

5. ผักพังพวย
(ผักแพงพ
วย)

ชื่อวิทยาศาสตร์: 
Jussiaea repens Linn.
ชื่อวงศ์: Onagraceae


รสเย็น 
สรรพคุณ ดับพิษร้อน 
แก้หวัด



6. ผักกระเฉด


ชื่อวิทยาศาสตร์: 
Neptumia oleracea Lour. FL.
ชื่อวงศ์: Mimosaceae

รสมัน 
สรรพคุณ ถอนพิษร้อน 
แก้พิษผิดสำแดง

-----------------------------------------

5. พืชจำพวกหญ้า เห็ด และว่าน

พืชจำพวกหญ้า ได้แก่ พันธุ์ไม้ ที่งอกเป็นต้น หรืองอกเป็นกอ และเป็นเถา มีทั้งที่เกิดบนบกและในน้ำ เกิดบนเนินผา หรือกำแพง และตามเจดีย์เก่าๆ ซึ่งนิยมเรียกว่า หญ้า ตัวอย่าง เช่น



1. หญ้าตีนกา


ชื่อวิทยาศาสตร์‎: 
‎Eleusine indica (L.) Gaertn
ชื่อวงศ์‎: Gramineae (Poaceae)

สรรพคุณ แก้ไข้ แก้พิษกาฬ 
ใบสดคั้น ปนสุรา ทาภายนอก 
แก้ช้ำบวมตามร่างกาย




2. หญ้าคา

ชื่อวิทยาศาสตร์: 
Imperata cylindrica (L.) 
Raeusch.
ชื่อวงศ์: Poaceae

ราก รสหวาน 
สรรพคุณ ขับปัสสาวะ 
ฟอกล้างปัสสาวะพิการ
แก้ร้อนภายใน กระหายน้ำ 
แก้พิษอักเสบ
ในกระเพาะปัสสาวะ 
บำรุงน้ำดี แก้ดีซ่าน



3. หญ้างวงช้าง


ชื่อวิทยาศาสตร์: 
Heliotropium indicum L.
ชื่อวงศ์: Boraginaceae

สรรพคุณ 
แก้พิษตานซาง 
แก้กระหายน้ำ 
ละลายก้อนนิ่ว
น้ำที่คั้นจากต้น ใช้หยอดตา 
แก้ตาฟางตามัว



4. หญ้าไซ


ชื่อวิทยาศาสตร์: 
Leersia hexandra Sw.
ชื่อวงศ์: Poaceae

สรรพคุณ 
ขับปัสสาวะ ขับฟอก
โลหิตประจำเดือนของสตรี 
แก้โลหิตประจำเดือนเป็นลิ่ม 
เป็นก้อนแข็งดำเน่าเหม็น 
เจ็บปวดตามท้องน้อย 
บั้นเอว ภายหลังใช้เป็นยา
บำรุงเลือดด้วย 




5. หญ้าใต้ใบ


ชื่อวิทยาศาสตร์: 
Phyllanthus urinaria L.
ชื่อวงศ์: Euphorbiaceae

รสขม 
สรรพคุณ แก้ไข้พิษทุกชนิด 
แก้พิษตานซาง แก้น้ำดีพิการ 
แก้ขัดเบา แก้กามโรค 
แก้ริดสีดวง แก้โรคท้องมาน 
แก้ปวดท้อง แก้ไอ ขับระดูขาว



6. หญ้าน้ำดับไฟ


ชื่อวิทยาศาสตร์: 
Lindenbergia philippensis 
(Cham.&Schltdl.) Benth.
ชื่อวงศ์: Plantaginaceae

สรรพคุณ 
ใช้ทั้งต้น ตำโขลก 
เป็นยาถอนพิษไฟไหม้ 
น้ำร้อนลวกแก้พิษฝี 
แก้ช้ำบวม ดับพิษร้อน 
แก้ปวด ทำให้เย็นสบาย



7. หญ้าแพรก


ชื่อวิทยาศาสตร์: 
Cynodon dactylon (L.) Pers.
ชื่อวงศ์: Poaceae

สรรพคุณ 
ดับพิษไข้ ดับพิษกาฬ
ใช้ใบสด ตำเป็นยาภายนอก 
แก้พิษอักเสบ ช้ำบวม



8. หญ้าน้ำนมราชสีห์


ชื่อวิทยาศาสตร์: 
Euphorbia hirta L.
ชื่อวงศ์ Euphorbiaceae

สรรพคุณ 
ขับปัสสาวะ แก้ปัสสาวะแดง 
เหลือง ขุ่นข้น ต้มให้สตรี
คลอดบุตรใหม่รับประทาน 
ทำให้เกิดน้ำนมมาก 
และฟอกน้ำนมมารดา
ให้บริบูรณ์ดีด้วย



9. หญ้าเกล็ดหอยทั้ง 2


ชื่อวิทยาศาสตร์: 
 Desmodium triflorum (L.) DC.
ชื่อวงศ์:Fabaceae 
 ( Leguminosae-Papilonaceae)

รสเย็น 
สรรพคุณ แก้ไข้ ดับพิษร้อน 
แก้ร้อนในกระหายน้ำ



10. หญ้าปิ่นตอ

ชื่อวิทยาศาสตร์: 
Arachis pintoi.
ชื่อวงศ์: Leguminosae-
Papilionoideae.

หัว รสหวาน 
สรรพคุณ บำรุงตับ ปอด 
หัวใจ แก้ร้อนใน บำรุงกำลัง

-----------------------------------------

พืชจำพวกเห็ด 
เห็ด มี 2 จำพวก 
คือ จำพวกที่รับประทาน
เป็นอาหารได้
และจำพวกที่เบื่อเมา 
รับประทานเป็นอาหารไม่ได้

1. จำพวกเห็ดที่ทำเป็นอาหาร
และประกอบเป็นยาได้ 

มีดังนี้



1. เห็ดฟาง


ชื่อวิทยาศาสตร์
Volvariella volvacea
ชื่อวงศ์: Pluteaceae  


สรรพคุณ แก้ช้ำใน 
บำรุงร่างกาย ชูกำลัง


2. เห็ดจอมปลวก


ชื่อวิทยาศาสตร์: 
Termitomyces sp.
ชื่อวงศ์ : Termitophilae, 
Lyophyllaceae

สรรพคุณ 
บำรุงกำลัง บำรุงร่างกาย 
บำรุงเนื้อหนังให้สดชื่น




2. เห็ดโคน


ชื่อวิทยาศาสตร์: 
Termitomyces fuliginosus 
Heim
ชื่อวงศ์ : Termitophilae, 
Lyophyllaceae

สรรพคุณ บำรุงกำลัง 
บำรุงร่างกาย แก้ช้ำใน


4. เห็ดหูหนู


ชื่อวิทยาศาสตร์: 
Auricularia auricula-judae
ชื่อวงศ์: Auriculariaceae

สรรพคุณ บำรุงร่างกาย 
แก้ช้ำใน ทำให้เนื้อเย็น

เห็ดตับเต่าดำ

เห็ดตับเต่าขาว
5. เห็ดตับเต่า

เห็ดตับเต่าดำ

ชื่อวิทยาศาสตร์:
Thaeogyroporus porentosus 
(Berk.ET.Broome)
ชื่อวงศ์: Boletaceae

เห็ดตับเต่าขาว

ชื่อวิทยาศาสตร์: 
Tricoloma crissum (Berk.)
ชื่อวงศ์: Boletaceae

สรรพคุณ บำรุงร่างกาย 
บำรุงตับ แก้ช้ำใน
-----------------------------------------

2. จำพวกเห็ดเบื่อเมา 
ใช้เฉพาะปรุงยาเท่านั้น 
ตัวอย่าง เช่น



1. เห็ดขี้วัว


ชื่อวิทยาศาสตร์: 
Psilocybe cubensis
ชื่อวงศ์: Strophariaceae

สรรพคุณ แก้ลมกองละเอียด 
แก้พิษไข้ แก้นอนไม่หลับ 
แก้ร้อนในกระสับกระส่าย


2. เห็ดร่างแห หรือเห็ดระย้า


ชื่อวิทยาศาสตร์: 
Phallus indusiatus
ชื่อวงศ์: Phallaceae

สรรพคุณ ผสมเป็นยาเมา 
สำหรับทาฆ่าเขื้อโรคให้ตาย 
แก้ไข้พิษ ถอนพิษกาฬ


3. เห็ดไผ่ 

ชื่อวิทยาศาสตร์; ?
ชื่อวงศ์: ?

เกิดจากไม้ไผ่ผุ 
สรรพคุณ 
แก้ลมวิงเวียน 
ระงับประสาท



4. เห็ดกระถินพิมาน


ชื่อวิทยาศาสตร์ : 
Fomes rimosus (Berk.) Cooke
ชื่อวงศ์: ?

เกิดจากไม้กระถินพิมานผุ 
มีมากทางจังหวัดสระบุรี
สรรพคุณ 
แก้ไฟลามทุ่ง แก้พิษฝี 
อักเสบ แก้กาฬ แก้พิษงู

(ไม่มีภาพ)
5. เห็ดไม้รัง 

ชื่อวิทยาศาสตร์; ?
ชื่อวงศ์: ?

เกิดจากไม้รังที่ผุ 
สรรพคุณ 
แก้ไข้พิษ ไข้กาฬ



6. เห็ดงูเห่า

ชื่อวิทยาศาสตร์; ?
ชื่อวงศ์: ?

เกิดจากรากไม้ที่เป็นรา 
ลักษณะคล้ายงูเห่า
แผ่แม่เบี้ย
สรรพคุณ 
แก้ไข้พิษ ดับความร้อน 
แก้กระสับกระส่าย

-----------------------------------------

พืชจำพวกว่าน 
 ได้แก่




1. ว่านนางคำ


ชื่อวิทยาศาสตร์ : 
Curcuma aromatica Salisb.
ชื่อวงศ์ : Zingiberaceae

รสฝาดร้อนหอม 
สรรพคุณ ขับลม แก้ปวดท้อง 
แก้เม็ดผื่นคัน แก้ฟกบวม   
เคล็ดยอก





2. ว่านกีบแรด

ชื่อวิทยาศาสตร์: 
Angiopteris evecta (G. Forst.) 
Hoffm
ชื่อวงศ์ : Marattiaceae

รสจืด  
สรรพคุณ แก้ไข้ ขับปัสสาวะ 
บำรุงกำลัง




3. ว่านร่อนทอง


ชื่อวิทยาศาสตร์: 
Ludisia discolor (Ker Gawl.) 
A. Rich.
ชื่อวงศ์‎: ‎Orchidaceae

รสฝาดปร่า  
สรรพคุณ แก้พิษไข้ พิษซาง 
พิษสัตว์กัดต่อย



1. ว่านชักมดลูก
(ตัวเมีย)

ชื่อวิทยาศาสตร์ : 
Curcuma xanthorrhiza Roxb
ชื่อวงศ์: Zingiberaceae

รสเผ็ดร้อน  
สรรพคุณ แก่มดลูกพิการ 
แก้ริดสีดวงทวาร





5. ว่านน้ำ

ชื่อวิทยาศาสตร์: 
Acorus calamus L.
ชื่อวงศ์: Acoraceae

รสหอมชื่น 
สรรพคุณ ขับลมในลำไส้ 
กินมากให้อาเจียน



1. ว่านหางจระเข้


ชื่อวิทยาศาสตร์‎: ‎
Aloe vera (L.) Burm.f
ชื่อวงศ์‎: ‎Aloaceae

รสขมขื่น 
สรรพคุณ 
ขับถ่ายโรคหนองใน  
แก้ช้ำรั่ว แก้มุตกิด




7. ว่านหอยแครง


ชื่อวิทยาศาสตร์ : 
Tradescantia spathacea 
Swartz.
ชื่อวงศ์ : Commelinaceae

รสฝาดเฝื่อนน้อย 
สรรพคุณ แก้ร้อนในกระหายน้ำ




8. ว่านมหากาฬ

ชื่อวิทยาศาสตร์ : 
Gynura pseudochina (L.) DC. 
ชื่อวงศ์ : Asteraceae 
(Compositae)
      
รสเย็น 
สรรพคุณ ถอนพิษร้อน 
พิษผิดสำแดง




9. ว่านหางช้าง


ชื่อวิทยาศาสตร์: 
Belamcanda chinensis 
(L.) D.C..
ชื่อวงศ์: Iridaceae

รสร้อน 
สรรพคุณ 
ขับระดูสตรีที่พิการ 
ระบายพรรดึก


 

10. ว่านคันทมาลา


ชื่อวิทยาศาสตร์: 
Curcuma Sp.
ชิ่อวงศ์: Zingiberaceae

รสฝาดหอม 
สรรพคุณ แก้เคล็ดยอก 
แก้ฟกบวม แก้ท้องร่วง 
แก้ฝีในลำคอ 
แก้ฝีคันทมาลา

-----------------------------------------


ความรู้พื้นฐาน ประวัติการแพทย์แผนไทย
จรรยาแพทย์ และจรรยาเภสัช
หลักเภสัช 4 ประวัติเบญจกูล
(เวชกรรมไทยใช้ร่วมกันได้)

https://thaitraditionalmedicinebook.blogspot.com/2014/01/blog-post_8382.html

คัมภีร์เวชศึกษา (กิจ 4 ประการ)

https://phuketthaitraditionalmedicinecenter.blogspot.com/2013/10/blog-post_19.html

ศูนย์การแพทย์แผนไทยภูเก็ต

https://phuketthaitraditionalmedicinecenter.blogspot.com/2013/03/blog-post.html
-----------------------------------------

อ้างอิง: ตำราแพทย์แผนโบราณทั่วไป
สาขาเวชกรรม กองการประกอบโรคศิลปะ

CR. ภาพจากกูเกิ้ล อินเตอร์เน็ต ถ่ายเองบ้าง ทำเพื่อการศึกษา 
ขอให้เจ้าของภาพได้บุญกุศลทุกๆท่าน







No comments:

Post a Comment