Search This Blog / The Web ต้นหาบล็อกนี้ / เว็บ

Thursday, May 4, 2023

การเตรียมตัวสอบภาคปฏิบัติเภสัชกรรมไทย และสมุนไพรไว้ดูก่อนสอบ

 การเตรียมตัวสอบภาคปฏิบัติเภสัชกรรมไทย และสมุนไพรไว้ดูก่อนสอบ

กฤษณา (ไม้หอม)


จัดทำโดย อ.หมอสุชาติ ภูวรัตน์

นธ.เอกบาลีประโยค 1-2

(อดีตพระธรรมทูตต่างประเทศ)

B.S. Engineering Design Tech.

B.A. ศาสนศาสตร์บัณฑิต

B.S. Computer Information Systems

B.TM.  พทย์แผนไทยบัณฑิต

สาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ

บ.ภ.พท.ว.พท.ผ.พท.น.

ครูแพทย์แผนไทย 4 ด้าน

ศูนย์การแพทย์แผนไทยภูเก็ต

ทำเพื่อการศึกษาและประโยชน์แก่ผู้ชม

การเตรียมตัวสอบภาคปฏิบัติเภสัชกรรมไทย และสมุนไพรไว้ดูก่อนสอบ

แนวการสอบภาคปฏิบัติเภสัชกรรมไทย 50 ข้อๆละ 1 นาที

วิธีสอบแบบแล็บกริ๊งให้ผู้เข้าสอบเดินเรียงกันตอบทีละข้อ 

ตั้ง (วาง) ตัวยา ให้ดูบนโต๊ะ 

ตัวยาสมุนไพรแห้งประมาณ 35-40 ข้อ 

รูปสมุนไพร-อุปกรณ์ใช้ทำยาและตวงวัด ฯลฯ รวมอยู่ด้วย

สมุนไพรสดประมาณ 10-15 ข้อ 

คำถาม ชื่อ รส สรรพคุณ (ให้ดูในตัวยา 9 รส) อยู่ในพิกัดใด 

อยู่ในยาสามัญประจำบ้านฯ ชื่อใด ใช้กี่ส่วน 

การสะตุ ประสะ ฆ่าฤทธิ์ยา

สรรพคุณวิธีใช้ในสมุนไพรในงานสาธารณสุขมูลฐาน (สสม.) 

และอุปกรณ์ทำยา เครื่องตวงวัด ถ้วยชา ช้อน กี่ซี.ซี กี่กรัม ฯลฯ  

แนะนำการตอบข้อสอบข้อละ 1 นาที ใช้ปากกาลูกลื่นหมึกสีน้ำเงินเขียนคำตอบ ถ้าเขึยนผิดให้ขึดฆ่า 1 เส้น แล้วเขียนใหม่ 

***อย่าใช้ลิควิดหมึกขาวลบ แห้งช้า เสียเวลา***

ถ้าเขียนคำตอบไม่ทัน ให้เขียนชื่อสมุนไพรไว้ก่อน 

แล้วค่อยตอบภายหลังเมื่อมีเวลา ให้เดินตามเขาไปก่อน

ตอบไม่ได้ให้เดาเอา ต้องทำให้ครบทั้ง 50 ข้อ

*จำคำตอบ 2-3 สรรพคุณก็ได้ มากไปเขียนตอบไม่ทัน* 

*ให้ลองฝึกเขียนคำตอบทำข้อสอบข้อละ 1 นาทีดูด้วย*

**เขียนคำตอบให้อ่านง่าย ถ้าอ่านไม่ออกจะไม่ได้คะแนน**

เตรียมอุปกรณ์ที่ใช้ในการสอบแล็บกริ๊ง

ปากกาลูกลื่นหมึกสีน้ำเงินเขียนคำตอบสัก 2-3 อันเผื่อเสีย

การเข้าแถวเริ่มจากข้อใด ให้ตอบคำถามในกระดาษคำตอบ

ตรงกับข้อที่วางตัวยาไว้ เช่นเข้าไปยืนที่ข้อ 3 ก็เริ่มตอบจากข้อ 3

เดินตามกันไปเรื่อยจนถึงตอบข้อ 2 จึงครบ 50 ข้อ เป็นต้น

***ต้องตอบในกระดาษคำตอบให้ตรงกับข้อที่วางตัวยาไว้

เช่น คำถามข้อ 10 บนโต๊ะ คำตอบในกระดาษก็คือข้อ 10 ***

เมื่อประมาณปี 2554 กองประกอบโรคศิลปะ

สอบปฏิบัติเภสัชฯ ที่ ม.ราชภัฏสมเด็จเจ้าพระยาทดสอบแบบให้นั่งดูในจอภาพ แล้วเขียนคำตอบ

ออกสมุนไพร ตัวใหญ่มาก ดมกลิ่น ชิมรสไม่ได้

ผู้เข้าสอบไม่ชอบใจ บ่นกันมากมายหลายคน

แล้วเลิกไป กลับมาสอบแบบแล็บกริ๊งเหมือนเดิม

สอบ ส.ค. ปี 66 ที่ ม.รามคำแหง หัวหมาก กทม.

สภาฯ สอบแบบนั่งดูภาพในจอ แล้วเขียนคำตอบ 

อาจมีผู้เข้าสอบมากเกินไป ทำแล็บกริ๊งไม่สะดวก

**อย่าลืม**เขียนชื่อ-นามสกุล และเลขประจำตัวผู้เข้าสอบ บนกระดาษคำตอบทุกหน้าของผู้เข้าสอบให้ถูกต้อง ในที่ที่กำหนดเท่านั้น**  (เขียนด้วยปากกาลูกลื่นหมึกสีน้ำเงิน)

มีวีดีโอตัวอย่างสอบแล็บกริ๊งให้ดู กดลิ้งค์ได้เลย ข้างล่างนี้

https://youtu.be/OOjLv6MBS-c

ตึก KLB กงไกรลาศ ม.ราม กทม. สีเทา อยู่ซ้ายมือ

ภาพผู้เข้าสอบทีตึก KLB ม.ราม กทม.



ตัวอย่างภาพในตึก KLB ม.ราม กทม.

ตัวอย่างดูสมุนไพรในจอแล้วตอบคำถาม


ถาม 1. ตัวยาชื่ออะไร

ตอบ สมอพิเภก ผลอ่อน

ถาม 2. สรรพคุุณ คืออะไร

ตอบ แก้ไข้เพื่อเสมหะ



ถาม 1. ตัวยาชื่ออะไร

ตอบ ดอกดีปลี

ถาม 2. สรรพคุุณ คืออะไร

ตอบ ขับลมในลำไส้


ถาม 1. ตัวยาชื่ออะไร

ตอบ ดอกกานพลู

ถาม 2. สรรพคุุณ คืออะไร

ตอบ แก้ปวดท้อง


ถาม 1. ตัวยาชื่ออะไร

ตอบ หญ้าหนวดแมว

ถาม 2. สรรพคุุณ คืออะไร

ตอบ ขับปัสสาวะ



ถาม 1. ตัวยาชื่ออะไร

ตอบ รากใหญ่กระชาย

ถาม 2. สรรพคุุณ คืออะไร

ตอบ แก้กามตายด้าน



 
ถาม 1. ตัวยาชื่ออะไร

ตอบ เห็ดโคน

ถาม 2. สรรพคุุณ คืออะไร

ตอบ บำรุงร่างกาย


 ถาม 1. ตัวยาชื่ออะไร

ตอบ ม้าน้ำ

ถาม 2. สรรพคุุณ คืออะไร

ตอบ บำรุงกระดูก


ถาม 1. ตัวยาชื่ออะไร

ตอบ ว่านน้ำ

ถาม 2. สรรพคุุณ คืออะไร

ตอบ แก้ปวดท้อง


ถาม 1. ตัวยาชื่ออะไร

ตอบ ผักขึ้นฉ่าย

ถาม 2. สรรพคุุณ คืออะไร

ตอบ แก้เบาหวาน


ถาม 1. ตัวยาชื่ออะไร

ตอบ กำมะถันเหลือง

ถาม 2. สรรพคุุณ คืออะไร

ตอบ แก้โรคผิวหนังผุพอง


ตัวอย่างให้จับคู่สมุุนไพร

ที่ใช้ในงานสาธารณสุขมูลฐาน (สสม.)

ให้ชื่อตัวยาและใช้แก้อาการ อย่างละชุด

ถาม 1. น้อยหน่า ใบและเมล็ด คู่กับอะไร 

ตอบ ใช้ฆ่าเหา


ถาม 2. ฟ้าทะลายโจร คู่กับอะไร 

ตอบ ท้องเสีย และเจ็บคอ


ถาม 3. กระเจี๊ยบแดง คู่กับอะไร 

ตอบ ขัดเบา


ถาม 4. พญายอ คู่กับอะไร 

ตอบ แก้พิษแมลงสัตว์กัดต่อย เริม งูสวัด


ถาม 5. มะขามแขก คู่กับอะไร 

ตอบ ท้องผูก


ถาม 6. ผักบุ้งทะเล คู่กับอะไร 

ตอบ แก้พิษแมงกระพรุน


ถาม 7. ไพล คู่กับอะไร 

ตอบ ฟกบวม


ถาม 8. มะคำดีควาย คู่กับอะไร 

ตอบ แก้พิษไข้

ถาม 9. ขมิ้นผสมน้ำผึ้งปั้นเม็ด คู่กับอะไร 

ตอบ โรคกระเพาะ


ถาม 10. ใบสดทองพันชั่ง 5-8 ใบ

แช่เหล้า 7 วัน ใช้ทา คู่กับอะไร 

ตอบ กลากเกลื้อน


ถาม 11. ใบฝรั่งแก่ 10-15 ใบปิ้งไฟ

แล้วชงน้ำดื่ม คู่กับอะไร 

ตอบ แก้ท้องเสีย ท้องเดิน


ตัวยาประกอบ และสรรพคุณ ยาประสะไพล 

ให้ตัวยามา 18 ตัวให้เลือก


1. ให้ตอบ มีตัวยาใดบ้าง อยู่ในยาประสะไพล

ตอบ ผิวมะกรูด ว่านน้ำ กระเทียม 

พริกไทย ดีปลี ขิง ขมิ้นอ้อย เทียนดำ 

หัวหอม เกลือสินเธาว์ การบูร ไพล


2. ให้ตอบ สรรพคุณมา 2 สรรพคุณ

ตอบ แก้ระดูไม่ปกติ ขับน้ำคาวปลา


- การทำยาเม็ดแบบปั๊มมือ ให้วิธีทำเป็นข้อๆ 

สลับกับมา ให้เรียงขั้นตอนวิธีทำให้ถูกต้อง

คำตอบ

 1. กวนแป้งมันกับน้ำให้ใส (เป็นแป้งเปียกใส) 

ในปริมาณที่เหมาะสมกับยาผง

2. นำยาผงมาผสมกับแป้งเปียก 

คลุกเคล้าจนเข้ากับดี



3. นำยาที่ผสมแล้วมาพอประมาณ 

แผ่เป็นแผ่นบนกระจก 

แล้วนำพิมพ์มือทองเหลืองกดลงบนยา


4. กดยาที่พิมพ์แล้วออกจากพิมพ์ทองเหลือง 

ใส่ลงในถาดที่เตรียมไว้



5. นำยาทิ่พิมพ์เสร็จ เข้าตู้อบอุณหภูมิ 

50-55 องศาเซลเซียส ประมาณ 4-6 ชั่วโมง


6. เก็บยาใส่ขวดโหลแก้วสะอาด 

ปิดฝาให้มิดชิด


- การสะตุ การฆ่าฤทธิ์ 

1. ให้เขียนการสะตุ ยาดำ

ตอบ 1. นำยาดำใส่ลงในหม้อดิน 

เติมน้ำเล็กน้อย ยกขึ้นตั้งไฟ 

จนยาดำกรอบดีแล้ว

จึงนำไปใช้ปรุงยาได้

 

2. ให้ตำรับยามา 



ถาม ตัวยาใดที่ต้องสะตุ

ก่อนนำไปปรุงยาได้ 

มี มหาหิงคุ์ อยู่ในตำรับยาด้วย

ตอบ  มหาหิงคุ์

 

3. ให้ตำรับยามา 

ถาม ตัวยาใดที่ต้องฆ่าฤทธิ์

ก่อนนำไปปรุงยาได้ 

มี ชะมดเช็ด อยู่ในตำรับยาด้วย

ตอบ ชะมดเช็ด

ถาม การฆ่าฤทธิ์ ชะมดเช็ด 

ใช้สมุนไพรใด ในการฆ่าฤทธิ์

ตอบ หัวหอม หรือผิวมะกรูด ใบพลูสด


- การชั่งตัวยา ให้เครื่องหมายตีนกา 

มา 6 น้ำหนักมาตราชั่งแบบโบราณ       

  ให้เทียบน้ำหนักไทย-สากล




ตัวอย่างการอ่านน้ำหนักของตีนกา


  ตอบ 1 ไพ  

เท่ากับ 0.46875 กรัม


 ตอบ 3 บาท  

(3  X 15 กรัม

เท่ากับ 45 กรัม

                 

 ตอบ 3 ตำลึง 

( 3 X 60 กรัม

เท่ากับ 180 กรัม

 

 

   ตอบ 1 ชั่ง  

เท่ากับ 1200 กรัม

      

 ตอบ 2 เฟื้อง 

( 2 1.875 กรัม ) 

เท่ากับ 3.750  กรัม

         

อบ 3 สลึง 

( 3 X 3.75 กรัม ) 

เท่ากับ 11.25  กรัม


มาตราสำหรับตวงของเหลว

1. ถาม ตวงสุรา 2 ถ้วยชา ได้กี่ ซี.ซี.

ตอบ (2 X 30 ซี.ซี.) ได้ 60  ซี.ซี


2. ถาม ตักกาแฟ 2 ช้อนกาแฟ ได้กี่ ซี.ซี.

ตอบ (2 X 4 ซี.ซี.) ได้ 8 ซี.ซี.



ตัวอย่างสอบแล็บกริ๊ง

เคยออกสอบแล้ว 2 ชุด

ชุดที่ 1 (50 ข้อ)

ข้อ 1.   ตั้ง (วาง) รากท้าวยายม่อม 
ถาม 1. ตัวยานี้ชื่ออะไร ?
ตอบ ท้าวยายม่อม, ปทุมราชา

ถาม 2. ใช้ส่วนใด เพื่อแก้พิษงู ?
ตอบ ราก


ข้อ 2.   ตั้ง (วาง) ฝักส้มป่อย แห้ง
ถาม 1. ส้มป่อย เป็นพืชจำพวกใด ?
ตอบ เป็นพืชจำพวกเถา-เครือ

 ถาม 2. ใบ ใช้เพื่ออะไร ?
ตอบ ประคบให้เส้นเอ็นหย่อน แก้บิด 


ข้อ 3.   ตั้ง (วาง) โกฐกระกลิ้ง
ถาม 1. ตัวยานี้อยู่ในพิกัดใด ?
ตอบ โกฐพิเศษ

ถาม 2. มีสรรพคุณ บำรุงหัวใจ เจริญอาหาร ใช่หรือไม่ ?
ตอบ ใช่


ข้อ 4.   ตั้ง (วาง) รากเจตมูลเพลิงแดง (ไฟใต้ดิน)
ถาม 1. ตัวยานี้อยู่ในพิกัดตรีอะไร ?
ตอบ ตรีสาร, ตรีปิตตะผล

ถาม 2. นำมาบดเป็นผง แก้อาการ อะไร ?
ตอบ ปิดพวกฝี ทำให้เกิดความร้อน เกลื่อนฝีได้


ข้อ 5.   ตั้ง (วาง) กำมะถันแดง (มาด)
ถาม 1. ตัวยานี้ชื่ออะไร ?
ตอบ กำมะถันแดง

ถาม 2. ทาดับพิษไข้กาฬบางชนิด เช่น ไข้งูสวัด ต้องใช้ร่วมกับอะไร ?
ตอบ บดผง ผสมเหล้า


ข้อ 6.   ตั้ง (วาง) มหาหิงคุ์
ถาม 1. ตัวยานี้ชื่ออะไร ?
ตอบ มหาหิงคุ์

ถาม 2. ก่อนใช้ต้องสะตุ อย่างไร ?
ตอบ นำมหาหิงคุ์มาใส่ภาชนะไว้ ใช้ใบกระเพราแดงใส่น้ำต้มจนเดือด เทน้ำกระเพราแดงต้มลงละลายมหาหิงคุ์ แล้วนำมากรองให้สะอาด จึงนำไปใช้ปรุงยาได้


ข้อ 7.   ตั้ง (วาง) ดินประสิวขาว
ถาม 1. ตัวยานี้ชื่ออะไร ?
ตอบ ดินประสิวขาว

ถาม 2. ใช้แก้อาการคันตามผิวหนังได้หรือไม่ ?
ตอบ ได้

ข้อ 8.   ตั้ง (วาง) สมอดีงู
ถาม 1. ตัวยานี้ชื่ออะไร ?
ตอบ สมอดีงู

ถาม 2. อยู่ในยาสามัญประจำบ้าน ชื่ออะไร ?
ตอบ ยาถ่าย


ข้อ 9.   ตั้ง (วาง) พิมเสนเกล็ด
ถาม 1. ตัวยานี้ชื่ออะไร ?
ตอบ 
พิมเสนเกล็ด

ถาม 2. อยู่ในยาธรณีสัณฑะฆาต หรือไม่ ?
ตอบ ไม่


ข้อ 10.   ตั้ง (วาง) เปลือกต้นกำลังเสือโคร่ง
ถาม 1. ตัวยานี้ชื่ออะไร ?
ตอบ เปลือกต้น
กำลังเสือโคร่ง

ถาม 2. สรรพคุณ คืออะไร ?
ตอบ บำรุงธาตุ บำรุงเส้นเอ็น เจริญอาหาร


ข้อ 11.   ตั้ง (วาง) เทียนตาตั๊กแตน
ถาม 1. ตัวยานี้ชื่ออะไร ?
ตอบ 
เทียนตาตั๊กแตน

ถาม 2. สรรพคุณ คืออะไร ?
ตอบ บำรุงธาตุ แก้เสมหะพิการ แก้กำเดา


ข้อ 12.   ตั้ง (วาง) ดอกสารภี
ถาม 1. ตัวยานี้ชื่ออะไร ?
ตอบ ดอกสารภี

ถาม 2. สรรพคุณ คืออะไร ?
ตอบ ชูกำลัง บำรุงหัวใจให้ชุ่มชื่น


ข้อ 13.   ตั้ง (วาง) ดอกกระดังงา
ถาม 1. ตัวยานี้ชื่ออะไร ?
ตอบ ดอกกระดังงา

ถาม 2. ส่วนที่ใช้ทำเครื่องสำอางค์ คือส่วนใด ?
ตอบ น้ำมันที่กลั่นจากดอก


ข้อ 14.   ตั้ง (วาง) รากหญ้าคา
ถาม 1. ตัวยานี้ชื่ออะไร ?
ตอบ 
รากหญ้าคา

ถาม 2. สรรพคุณสมุนไพรในงานสาธารณสุขมูลฐาน (สสม.) คือ? 
ตอบ แก้ร้อนใน กระหายน้ำ เป็นยาขับปัสสาวะ


ข้อ 15.   ตั้ง (วาง) สลอด
ถาม 1. ก่อนใช้ต้องสะตุ หรือฆ่าฤทธิ์ ?
ตอบ 
ฆ่าฤทธิ์

ถาม 2. โดยใช้ใบส้มป่อย ผสมกับอะไร ?
ตอบ ใบมะขาม


ข้อ 16.   ตั้ง (วาง) กานพลู
ถาม 1. สรรพคุณใด นอกจากแก้ปวดท้อง แน่น จุกเสียด ?
ตอบ แก้รำมะนาด ปวดฟัน บำรุงธาตุ

ถาม 2. น้ำมันใช้แก้ไอ ในเด็ก ได้หรือไม่ ?
ตอบ ได้


ข้อ 17.   ตั้ง (วาง) สมอพิเภก
ถาม 1. ผลอ่อน มีรส คือ ?
ตอบ รสเปรี้ยว

ถาม 2. ผลแก่ สรรพคุณ คือ ?
ตอบ แก้เสมหะจุกคอ ทำให้ชุมคอ โรคตา


ข้อ 18.   ตั้ง (วาง) หัวเต่านา
ถาม 1. ตัวยานี้ชื่ออะไร ?
ตอบ 
หัวเต่านา

ถาม 2. แก้ม้ามโตได้หรือไม่ ?
ตอบ ได้


ข้อ 19.   ตั้ง (วาง) โกฐจุฬาลัมพา
ถาม 1. สรรพคุณเสมอกับอะไร ?
ตอบ หญ้าตีนนก

ถาม 2. อยู่ในยาสามัญประจำบ้านฯ ชื่อใด ?
ตอบ จันทน์ลีลา, ยาหอมเนาวโฏฐ


ข้อ 20.   ตั้ง (วาง) เทียนเยาวพานี
ถาม 1. ตัวยานี้ชื่ออะไร ?
ตอบ 
เทียนเยาวพานี

ถาม 2. เรียกอีกชิ่อหนี่งว่าอะไร ?
ตอบ ผักชีกะเหรี่ยง


ข้อ 21.   ตั้ง (วาง) เมล็ดมะกอก
ถาม 1. น้ำกระสายยาแก้อาการอะไร มีวิธีเครียมอย่างไร ?
ตอบ แก้กระหายน้ำ, 
วิธีเตรียมนำเมล็ดมะกอกเผาไฟ แช่น้ำเป็นกระสายยา

ถาม 2. ในพิกัดตรีอมฤต ใช้ส่วนใด ?
ตอบ ราก


ข้อ 22.   ตั้ง (วาง) ดีเกลือ
ถาม 1. สรรพคุณ คือ ?
ตอบ ถ่ายท้องผูก ทำให้เส้นเอ็นหย่อน ถ่ายอุจจาระได้ดี

ถาม 2. อยู่ในยาถ่ายหรือไม่ ?
ตอบ อยู่


ข้อ 23.   ตั้ง (วาง) มะเดื่อชุมพร
ถาม 1. อยู่ในพิกัดใด ?
ตอบ เบญจโลกวิเชียร, ยาห้าราก, แก้วห้าดวง

 ถาม 2. เป็นน้ำกระสายยาแก้อะไร ?
ตอบ อาการท้องเดิน


ข้อ 24.   ตั้ง (วาง) เถาวัลย์เปรียง (สด)
ถาม 1. ตัวยานี้ชื่ออะไร ?
ตอบ 
 เถาวัลย์เปรียง

ถาม 2. ส่วนที่ใช้ทำยา คือ ?
ตอบ เถา


ข้อ 25.   ตั้ง (วาง) เทียนเกล็ดหอย
ถาม 1. ตัวยานี้ชื่ออะไร ?
ตอบ 
เทียนเกล็ดหอย

ถาม 2. สรรพคุณ คือ ?
ตอบ แก้ลมวิงเวียน หน้ามืด ตามัว แก้โลหิตจาง


ข้อ 26.   ตั้ง (วาง) น้ำผึ้ง
ถาม 1. ก่อนนำไปปรุงยา ต้องนำมาทำอะไร ?
ตอบ เคี่ยว

ถาม 2. นอกจากเป็นการไล่ความชื่นออกแล้ว ยังเป็นการ ?
ตอบ ฆ่าเชื้อโรค


ข้อ 27.   ตั้ง (วาง) ดอกบุนนาค
ถาม 1. สรรพคุณของดอก ในพิกัดทเวติคันทา คือ ?
ตอบ บำรุงโลหิต แก้กลิ่นเหม็นสาบสางในร่างกาย

ถาม 2. สรรพคุณของราก ในพิกัดทเวติคันทา คือ ?
ตอบ ขับลมในลำไส้


ข้อ 28.   ตั้ง (วาง) เปลือกขี้อ้าย
ถาม 1. ตัวยานี้ชื่ออะไร ?
ตอบ 
เปลือกขี้อ้าย

ถาม 2. สรรพคุณ คือ ?
ตอบ แก้บิด แก้อุจจาระเป็นฟอง สมานแผล


ข้อ 29.   ตั้ง (วาง) ผักชีล้อม
ถาม 1. ตัวยานี้ชื่ออะไร ?
ตอบ 
ผักชีล้อม

ถาม 2. สรรพคุณ คือ ?
ตอบ ขับลมในลำไส้ แก้ธาตุพิการ แก้ไอ แก้หอบ


ข้อ 30.   ตั้ง (วาง) ผักปลัง (สด)
ถาม 1. ตัวยานี้ชื่ออะไร ?
ตอบ 
ผักปลัง

ถาม 2. ใบ สรรพคุณ คือ ?
ตอบ แก้กลาก



ข้อ 31.   ตั้ง (วาง) ผักหวาน (สด)
ถาม 1. อยู่ในจุลพิกัดชื่ออะไร ?
ตอบ จุลพิกัดต่างกันที่ถิ่นเกิด
ผักหวานป่า ผักหวานบ้าน

ถาม 2. ใช้ส่วนใดทำยา ?
ตอบ ราก


ข้อ 32.   ตั้ง (วาง) รูปนกยูง
ถาม 1. ใช้ส่วนใดทำยา ?
ตอบ ขนนกยูง

ถาม 2. ใช้เพื่อแก้อาการหอบได้หรือไม่ ?
ตอบ ได้


ข้อ 33.   ตั้ง (วาง) ลำพันแดง
ถาม 1. ตัวยานี้ชื่ออะไร ?
ตอบ 
ลำพันแดง

ถาม 2. อยู่ในพิกัดใด ?
ตอบ ทศกุลาผล



ข้อ 34.   ตั้ง (วาง) ชะเอมไทย
ถาม 2. อยู่ในพิกัดใด ?
ตอบ จุลพิกัดต่างกันที่ถิ่นเกิด

ถาม 2. สรรพคุณ คือ ?
ตอบ แก้เสมหะในลำคอ แก้คอแห้ง บำรุงกำลัง



ข้อ 35.   ตั้ง (วาง) หัวหญ้าชันกาด
ถาม 1. ตัวยานี้ชื่ออะไร ?
ตอบ หัว
ญ้าชันกาด (หญ้าหวาย)

ถาม 2. อยู่ในพิกัดใด ?
ตอบ พิกัดเบญจผลธาตุ


ข้อ 36.   ตั้ง (วาง) โกฐพุงปลา
ถาม 1. ตัวยานี้ชื่ออะไร ?
ตอบ 
โกฐพุงปลา

ถาม 2. อยู่ในยาสามัญประจำบ้านฯใด ที่ไม่กลุ่มยาหอม
ตอบ ยาอำมฤควาที




ข้อ 37.   ตั้ง (วาง) โคคลาน
ถาม 1. ตัวยานี้ชื่ออะไร ?
ตอบ 
โคคลาน

ถาม 2. ใช้ส่วนใดทำยา ?
ตอบ เถา


ข้อ 38.   ตั้ง (วาง) สะบ้ามอญ
ถาม 1. ก่อนใช้ต้องทำอย่างไร ?
ตอบ สุมให้เป็นถ่าน

ถาม 2. อยู่ในยาสามัญประจำบ้านฯ คือ ?
ตอบ ยามหานิลแท่งทอง


ข้อ 39.   ตั้ง (วาง) ผักบุ้งแดง
ถาม 1. ตัวยานี้ชื่ออะไร ?
ตอบ 
ผักบุ้งแดง

ถาม 2. ใช้ส่วนใดถอนพิษเบื่อเมา
ตอบ ใบ เถา



ข้อ 40.   ตั้ง (วาง) เบี้ยจั่น
ถาม 1. ก่อนใช้ต้องทำอย่างไร ?
ตอบ คั่วให้เหลือง

ถาม 2. อยู่ในยาสามัญประจำบ้านฯ ใด ?
ตอบ ยามหานิลแท่งทอง


ข้อ 41.   ตั้ง (วาง) น้ำตาลกรวด
ถาม 1. สรรพคุณ เสมอกับอะไร ?
ตอบ น้ำตาลทราย

ถาม 2. สรรพคุณ คือ ?
ตอบ แก้คอแห้ง ชูกำลัง ทำให้เนื้อหนังชุ่มชื่น


ข้อ 42.   ตั้ง (วาง) เจตพังคี
ถาม 1. ตัวยานี้ชื่ออะไร ?
ตอบ เจตพังคี

ถาม 2. ถ้าจะใช้ทาท้องเด็กแก้ท้องขึ้น ต้องฝนกับอะไร ?
ตอบ น้ำปูนใส ผสมกับมหาหิงคุ์และการบูร


ข้อ 43.   ตั้ง (วาง) คนทา
ถาม 1. ตัวยานี้ชื่ออะไร ?
ตอบ ค
นทา

ถาม 2. ใช้ส่วนใดทำยา ?
ตอบ ราก


ข้อ 44.  ตั้ง (วาง) กระชาย (สด)
ถาม 1. นิยมใช้ชนิดใด ?
ตอบ กระชายเหลือง

ถาม 2. ในยา 9 รส ใบ มีรสใด ?
ตอบ รสเค็ม


ข้อ 45.   ตั้ง (วาง) รูปนกกาน้ำ
ถาม 1. ตัวยานี้ชื่ออะไร ?
ตอบ นกกาน้ำ

ถาม 2. ดี นกกาน้ำ มีสรรพคุณใด ?
ตอบ แก้ผมร่วง บำรุงเส้นผม ให้ดกดำ



ข้อ 46.   ตั้ง (วาง) เห็ดหูหนู
ถาม 1. ตัวยานี้ชื่ออะไร ?
ตอบ 
เห็ดหูหนู

ถาม 2. แก้ช้ำในได้หรือไม่ ?
ตอบ ได้




ข้อ 47.   ตั้ง (วาง) ขี้เหล็ก (สด)
ถาม 1. ตัวยานี้ชื่ออะไร ?
ตอบ ขี้เหล็ก

ถาม 2. ใช้ส่วนไหนถ่ายพรรดึก ?
ตอบ ใบ


ข้อ 48.   ตั้ง (วาง) สารส้ม
ถาม 1. สรรพคุณเสมอกับอะไร ?
ตอบ เหง้าสับปะรด

ถาม 2. สรรพคุณ คืออะไร ?
ตอบ ชะล้างระดูขาว แก้บาดแผล ทำให้หนองแห้ง แก้นิ่ว




ข้อ 49.   ตั้ง (วาง) หางไหลแดง
ถาม 1. ตัวยานี้ชื่ออะไร ?
ตอบ หางไหลแดง

ถาม 2. สรรพคุณ คืออะไร ?
ตอบ บำรุงโลหิต ถ่ายเส้นเอ็น ถ่ายลม


ข้อ 50.   ตั้ง (วาง) เมล็ดชุมเห็ดไทย
ถาม 1. ตัวยานี้ชื่ออะไร ?
ตอบ 
เมล็ดชุมเห็ดไทย

ถาม 2. ก่อนใช้ต้องทำอย่างไร ?
ตอบ คั่ว


ตัวอย่างแนวข้อสอบ

ที่เคยออกสอบแล้ว

ชุดที่ 2 (50 ข้อ)




ข้อ 1.   ตั้ง (วาง) เทียนขาว
ถาม 1. ตัวยานี้ชื่ออะไร ?
ตอบ เทียนขาว

ถาม 2. อยู่ในพิกัดตรีอะไร ?
ตอบพิกัดตรีสินธุรส



ข้อ 2.   ตั้ง (วาง) เมล็ดแมงลัก
ถาม 1. ตัวยานี้ชื่ออะไร ?
ตอบ เมล็ดแมงลัก

ถาม 2. แช่น้ำให้บวมก่อนกินเพราะอะไร ?
ตอบ ช่วยเร่งการขับถ่าย ระบายอุจจาระ แก้บิด
(สารานุกรมสมุนไพร)



ข้อ 3.   ตั้ง (วาง) กำแพงเจ็ดชั้น
ถาม 1. ตัวยานี้ชื่ออะไร ?
ตอบ กำแพงเจ็ดชั้น

ถาม 2. พืชวัตถุจำพวกใด ?
ตอบ เถา-เครือ


ข้อ 4.   ตั้ง (วาง) น้ำดอกไม้เทศ
ถาม 1. ตัวยานี้ชื่ออะไร ?
ตอบ น้ำดอกไม้เทศ

ถาม 2. สรรพคุณอะไร ?
ตอบ แก้ไข้เชื่อมมัว



ข้อ 5.   ตั้ง (วาง) ลูกเบญกานี
ถาม 1. น้ำกระสายยาในยาสามัญประจำบ้านฯ ชื่ออะไร ?
ตอบ ยาแสงหมึก

ถาม 2. สรรพคุณในยาขนานนี้คืออะไร ?
ตอบ แก้ปากเป็นแผล แก้ละออง



ข้อ 6.   ตั้ง (วาง) โกฐจุฬาลัมพา
ถาม 1. สรรพคุณเสมอกับอะไร ?
ตอบ หญ้าตีนนก

ถาม 2. อยู่ในยามันทธาตุ หรือไม่ ?
ตอบ อยู่



ข้อ 7.   ตั้ง (วาง) สมอทะเล
ถาม 1. อยู่ในยาสามัญประจำบ้านฯ ชื่ออะไร ?
ตอบ ยาประสะเจตพังคี

ถาม 2. สรรพคุณคืออะไร ?
ตอบ ถ่ายอุจจาระ ถ่ายลม ถ่ายโลหิตเป็นพิษ


ข้อ 8.   ตั้ง (วาง) สีเสียดไทย
ถาม 1. ตัวยานี้ชื่ออะไร ?
ตอบ สีเสียดไทย

ถาม 2. อยู่ในยาสามัญประจำบ้านฯ ชื่ออะไร ?
ตอบ ยาเหลืองปิดสมุทร



ข้อ 9.   ตั้ง (วาง) รากระย่อม
ถาม 1. ตัวยานี้ชื่ออะไร ?
ตอบ รากระย่อม

ถาม 2. ก่อนใช้ต้องทำอย่างไร ?
ตอบ คั่วให้เหลือง



ข้อ 10.   ตั้ง (วาง) โกฐเชียง
ถาม 1. ตัวยานี้ชื่ออะไร ?
ตอบ 
โกฐเชียง

ถาม 2. สรรพคุณเสมอกับอะไร ?
ตอบ ไพล



ข้อ 11.   ตั้ง (วาง) เหง้าขิง
ถาม 1. มหาพิกัดตรีกฏุก ในกองปิตตะ มีกี่ส่วน ?
ตอบ 12 ส่วน

ถาม 2. มหาพิกัดทั่วไป ระคนอยู่ในกองธาตุอะไร ?
ตอบ วาโยธาตุ



ข้อ 12.   ตั้ง (วาง) ดอกสารภี
ถาม 1. ตัวยานี้ชื่ออะไร ?
ตอบ ดอกสารภี

ถาม 2. สรรพคุณ บำรุงโลหิต ได้หรือไม่ ?
ตอบ ไม่ได้


ข้อ 13.   ตั้ง (วาง) เปลือกสมุลแว้ง
ถาม 1. ตัวยานี้อยู่ในพิกัดอะไร ?
ตอบ พิกัดตรีสุรผล

ถาม 2. อยู่ในยาสามัญประจำบ้านฯ ชื่ออะไร
ตอบ ยาหอมทิพโอสถ, ยาหอมอินทจักร์, ยาหอมเนาวโกฐ
ยาวิสัมพยาใหญ่, ยาธาตุบรรจบ, ยามันทธาตุ




ข้อ 14.   ตั้ง (วาง) เถาวัลย์เปรียง
ถาม 1. สรรพคุณคืออะไร ?
ตอบ ถ่ายเส้น ถ่ายกระษัย แก้เส้นเอ็นขอด แก้เส้นตึง
แก้ปวดเมื่อย ทำให้เส้นเอ็นหย่อน ขับปัสสาวะ

ถาม 2. อยู่ในยาสามัญประจำบ้านฯ ชื่ออะไร ?
ตอบ ยาถ่าย



ข้อ 15.   ตั้ง (วาง) ดินประสิวขาว
ถาม 1. ตัวยานี้ชื่ออะไร ?
ตอบ ดินประสิวขาว

ถาม 2. สรรพคุณคืออะไร ?
ตอบ ขับลมที่คั่งค้างตามเส้น ทำให้เส้นเอ็นหย่อน
ถอนพิษ แก้คันตามผิวหนัง



ข้อ 16.   ตั้ง (วาง) แซ่ม้าทะลาย
ถาม 1. เป็นยารสใดในยา 9 รส ?
ตอบ  รสจืด

ถาม 2. สรรพคุณคืออะไร ?
ตอบ ขับโลหิตระดูสตรี บำรุงโลหิต ขับผายลม
แก้ไข้ แก้ปวดตามข้อ แก้เม็ดประดงผื่นคัน



ข้อ 17.   ตั้ง (วาง) จันทน์ขาว
ถาม 1. ตัวยานี้ชื่ออะไร ?
ตอบ 
จันทน์ขาว

ถาม 2. อยู่ในจุลพิกัดต่างกันที่สี คืออะไร ?
ตอบ จันทน์แดง
 



ข้อ 18.   ตั้ง (วาง) ใบมะกา
ถาม 1. ตัวยานี้ชื่ออะไร ?
ตอบ ใบมะกา

ถาม 2. อยู่ในยาสามัญประจำบ้านฯ ชื่ออะไร ?
ตอบ ยาถ่าย




ข้อ 19.   ตั้ง (วาง) หัวร้อยรู
ถาม 1. พืชวัตถุจำพวกอะไร ?
ตอบ หัว-เหง้า

ถาม 2. สรรพคุณคืออะไร ?
ตอบ บำรุงหัวใจ



ข้อ 20.   ตั้ง (วาง) ลูกราชดัด
ถาม 1. สรรพคุณคืออะไร ?
ตอบ บำรุงน้ำดี เจริญอาหาร

ถาม 2. อยู่ในพิกัดอะไร ?
ตอบ พิกัดตรีทุรวสา



ข้อ 21.   ตั้ง (วาง) แก่นไม้สัก
ถาม 1. ตัวยานี้ชื่ออะไร ?
ตอบ แก่นไม้สัก

ถาม 2. เนื้อไม้ สรรพคุณคืออะไร ?
ตอบ บำรุงโลหิต แก้อ่อนเพลีย แก้ไอ แก้บวม
ขับลมในกระดูก ขับปัสสาวะ คุมธาตุ






ข้อ 22.   ตั้ง (วาง) โด่ไม่รู้ล้ม
ถาม 1. ตัวยานี้ชื่ออะไร ?
ตอบ โด่ไม่รู้ล้ม (หญ้าปราบ)

ถาม 2. สรรพคุณคืออะไร ?
ตอบ แก้ไข้ แก้กระษัย บำรุงกำหนัด
แก้ปัสสาวะพิการ



ข้อ 23.   ตั้ง (วาง) ช้อนคาว
ถาม 1. ตัวยานี้ชื่ออะไร ?
ตอบ ช้อนคาว

ถาม 2. ตวง 3 ครั้ง ได้ปริมาณเท่าไหร่ ?
ตอบ 45 ซี.ซี



ข้อ 24.   ตั้ง (วาง) หอยตาวัว
ถาม 1. ตัวยานี้ชื่ออะไร ?
ตอบ หอยตาวัว
ถาม 2. สรรพคุณคืออะไร ?
ตอบ แก้โรคลำไส้



ข้อ 25.   ตั้ง (วาง) ว่านมหาเมฆ
ถาม 1. ตัวยานี้ชื่ออะไร ?
ตอบ 
ว่านมหาเมฆ

ถาม 2. สรรพคุณคืออะไร ?
ตอบ แก้ปวดมดลูก แก้มดลูกอักเสบ บวม
ชักมดลูกให้เข้าอู่หลังคลอด




ข้อ 26.   ตั้ง (วาง) ชิงชี่
ถาม 1. ตัวยานี้ชื่ออะไร ?
ตอบ ชิงชี่

ถาม 2. เรียกอีกชื่อหนึ่งว่าอะไร ?
ตอบ ปู่เจ้าสมิงกุย



ข้อ 27.   ตั้ง (วาง) สลัดได (สด)
ถาม 1. ยางมีฤทธิ์แรงในทางใด ?
ตอบ ถ่าย

ถาม 2. ใช้การฆ่าฤทธิ์ด้วยวิธีการใด ?
ตอบ การประสะ



ข้อ 28.   ตั้ง (วาง) ชิงช้าชาลี (สด)
ถาม 1. ตัวยานี้ชื่ออะไร ?
ตอบ ชิงช้าชาลี

ถาม 2. สรรพคุณเสมอกับอะไร ?
ตอบ โกฐก้านพร้าว




ข้อ 29.   ตั้ง (วาง) เจตมูลเพลิง (สด)
ถาม 1. ราก อยู่ในยาสามัญฯ อะไรบ้าง ?
ตอบ ยาธรณีสัณฑะฆาต, ยาประสะกานพลู
ยามันทธาตุ, ยาหอมอินทจักร์, ยาหอมเนาวโกฐ

ถาม 2. อยู่ในพิกัด 4 สิ่ง คืออะไร ?
ตอบ พิกัดจตุกาลธาตุ




ข้อ 30.   ตั้ง (วาง) ใบสำมะหงา (สด)
ถาม 1. ตัวยานี้ชื่ออะไร ?
ตอบ สำมะหงา

ถาม 2. สรรพคุณคืออะไร ?
ตอบ แก้โรคผิวหนัง ประดง ผื่นคัน




ข้อ 31. ตั้ง (วาง) ใบอินทนิลน้ำ (สด)
ถาม 1. ตัวยานี้ชื่ออะไร ?
ตอบ อินทนิลน้ำ

ถาม 2. สรรพคุณคืออะไร ?
ตอบ แก้ทางเดินปัสสาวะพิการ แก้เบาหวาน


ข้อ 32. ตั้ง (วาง) ตะไคร้บ้าน (สด)
ถาม 1. ใช้ส่วนใดทำยา ?
ตอบ ลำต้นและเหง้าแก่ สดหรือแห้ง

ถาม 2. สรรพคุณคืออะไร ?
ตอบ บำรุงไฟธาตุ แก้โรคทางเดินปัสสาวะ 
ขับลมในลำไส้ ทำให้เจริญอาหาร แก้คาว



ข้อ 33. ตั้ง (วาง) พิลังกาสา (สด)
ถาม 1.  ตัวยานี้ชื่ออะไร ?
ตอบ พิลังกาสา

ถาม 2. ใบมีสรรพคุณแก้อะไร ?
ตอบ แก้ตับพิการ




ข้อ 34. ตั้ง (วาง) เร่ว (สด)

ถาม 1. 
 ตัวยานี้ชื่ออะไร ?
ตอบ เร่ว 

ถาม 2. เมล็ดใน มีสรรพคุณแก้อะไร ?
ตอบ แก้คลื่นเหีบยอาเจียน และขับผายลม


ข้อ 35.  ตั้ง (วาง) ใบลำดวน (สด)
ถาม 1. ตัวยานี้ชื่ออะไร ?
ตอบ ลำดวน

ถาม 2. ดอก มีสรรพคุณแก้อะไร ?
ตอบ แก้ไข้ แก้ลม บำรุงหัวใจ


ข้อ 36.   ตั้ง (วาง) ผักกาดน้ำ (สด)
ถาม 1.  ตัวยานี้ชื่ออะไร ?
ตอบ ผักกาดน้ำ (หญ้าเอ็นยืด)

ถาม 2. ส่วนที่ใช้เป็นยา คืออะไร ?
ตอบ ใช้ทั้งต้น



ข้อ 37.   ตั้ง (วาง) มะระขี้นก (สด)
ถาม 1. ข้อควรระวังคืออะไร ?
ตอบ ห้ามกินผลสุก

ถาม 2. จุลพิกัด คืออะไร ?
ตอบ ต่างกันที่ถิ่นเกิด



ข้อ 38.   ตั้ง (วาง) ว่านนางคำ (สด)
ถาม 1. 
 ตัวยานี้ชื่ออะไร ?
ตอบ ว่านนางคำ

ถาม 2. ชักมดลูกเข้าอู่ ได้หรือไม่ ?
ตอบ ไม่ได้


ข้อ 39.   ตั้ง (วาง) ส้มจึน (สด)
ถาม 1. ตัวยานี้ชื่ออะไร ?
ตอบ ส้มจีน

ถาม 2. เปลือกลูก มีสรรพคุณแก้อะไร ?
ตอบ แก้ลมวิงเวียน หน้ามืด ตาลาย ใจสั่น



ข้อ 40.   ตั้ง (วาง) ข่า (สด)
ถาม 1. ใช้เป็นน้ำกระสายยา แก้อะไร ?
ตอบ แก้ลมจุกเสียด

ถาม 2. อยู่ในยาสามัญประจำบ้านฯ ชื่ออะไร ?
ตอบ ประสะเจตพังคี




ข้อ 41.   ตั้ง (วาง) ผักคราดหัวแหวน (สด)
ถาม 1. 
ตัวยานี้ชื่ออะไร ?
ตอบ ผักคราดหัวแหวน

ถาม 2. สมุนไพรในงานสาธารณสุขมูลฐาน (สสม.)
วิธีใช้ แก้อาการปวดฟัน และแก้ฝีในลำคอ ทำอย่างไร ?
ตอบ แก้ปวดฟัน ใช้ดอกสด ตำกับเกลือ 
อมหรือกัดไว้ที่ปวด
แก้ฝีในลำคอ ใช้ต้นสดตำผสมเหล้า
หรือน้ำส้มสายชู อมแก้ฝีในลำคอ


ข้อ 42.   
ตั้ง (วาง) รูปหางปลาช่อน
ถาม 1. 
 ตัวยานี้ชื่ออะไร ?
ตอบ หางปลาช่อน

ถาม 2. สรรพคุณคืออะไร ?
ตอบ หางตากแดดแห้งแก้โรคในปาก
ลิ้นเป็นฝ้า เป็นเม็ด ตัวร้อน นอนสะดุ้ง แก้หอบ




ข้อ 43.   ตั้ง (วาง) หนังปลากระเบน
ถาม 1. 
ตัวยานี้ชื่ออะไร ?
ตอบ หนังปลากระเบน

ถาม 2. สรรพคุณคืออะไร ?
ตอบ ขับเลือดเน่าร้าย หลังจากการคลอดบุตร 
ขับน้ำคาวปลา


ข้อ 44.   ตั้ง (วาง) ว่านชักมดลูก (สด)
ถาม 1. 
ตัวยานี้ชื่ออะไร ?
ตอบ ว่านชักมดลูก

ถาม 2. แก้กามโรค ได้หรือไม่ ? 
ตอบ ไม่ได้


ข้อ 45.   ตั้ง (วาง) ส้มเช้า (สด)
ถาม 1. ตัวยานี้ชื่ออะไร ?
ตอบ ส้มเช้า

ถาม 2. ใช้ส่วนใดเป็นยา ?
ตอบ ใบ และยาง



ข้อ 46.   ตั้ง (วาง) ผักเสี้ยนผี (สด)
ถาม 1. ตัวยานี้อีกชื่อหนึ่งเรียกว่าอะไร ?
ตอบ ไปนิพพานไม่รู้กลับ

ถาม 2. รากมีสรรพคุณคืออะไร ?
ตอบ แก้สตรีผอมแห้งเนื่องจจากอยู่ไฟไม่ได้
แก้ฝีในท้อง


ข้อ 47.   ตั้ง (วาง) ขึ้นฉ่าย (สด)
ถาม 1. ตัวยานี้ชื่ออะไร ?
ตอบ ขึ้นฉ่าย

ถาม 2. ใช้แก้เบาหวาน ได้หรือไม่ ?
ตอบ ได้




ข้อ 48.   ตั้ง (วาง) น้ำส้มสายชู
ถาม 1. ตัวยานี้ชื่ออะไร ?
ตอบ น้ำส้มสายชู

ถาม 2. สรรพคุณคืออะไร ?
ตอบ ขับลมให้แล่นทั่วกาย




ข้อ 49.   ตั้ง (วาง) พลู (สด)
ถาม 1. ตัวยานี้ชื่ออะไร ?
ตอบ พลู

ถาม 2. สมุนไพรในงานสาธารณสุขมูลฐาน (สสม.)
ห้ามใช้ อย่างไร ?
ตอบ ห้ามใช้กับแผลเปิด จะทำให้แสบมาก




ข้อ 50.   ตั้ง (วาง) แท่งเหล็ก
ถาม 1. ตัวยานี้ใช้ส่วนใดทำยา ?
ตอบ ใช้สนิมเหล็ก

ถาม 2. อยู่ในพิกัดใด ?
ตอบ พิกัดเหล็กทั้ง 5

สรรพคุณเภสัช ยา 9 รส และแสลงกับโรค


สรรพคุณเภสัช ยา 9 รส และแสลงกับโรค

สรรพคุณเภสัช ยา 9 รส และแสลงกับโรค

สรรพคุณเภสัช ยา 9 รส และแสลงกับโรค

สรรพคุณเภสัช ยา 9 รส และแสลงกับโรค


 รากหญ้านาง (ย่านาง หญ้าเถาภคินี)
สรรพคุณ แก้ไข้ทุกชนิด
วิธีใช้ รากแห้ง 1 กำมือ ต้มดิ่ม 3 ครั้ง ก่อนอาหาร

ต้นท้าวยายม่อม

สรรพคุณ ราก แก้พิษงู  

ต้น ข้บพิษไข้หัว (หัดสุกใสดำแดง) แก้ไข้ ฯลฯ

อยู่ในพิกัดเบญจโลกวิเชียร (ยา 5 ราก แก้ว 5 ดวง)


รากชิงชี่

สรรพคุณ แก้ไข้เพื่อลม แก้ไข้ร้อนในทุกชนิด ฯลฯ

อยู่ในพิกัดเบญจโลกวิเชียร (ยา 5 ราก แก้ว 5 ดวง)



รากเจตมูลเพลิงแดง (ไฟใต้ดิน)
สรรพคุณ บำรุงธาตุ บำรุงโลหิต แก้ริดสีดางทวาร ทำให้เกิดความร้อน ฯลฯ
หมายเหตุ ถ้ารับประทานมาก ทำให้แท้งลูก


กำแพงเจ็ดชั้น (ลุ่มนก)

กำแพงเจ็ดชั้น (ลุ่มนก)
เนื้อไม้มีวงปีสีน้ำตาลแดงเข้มจำนวนหลายชั้น (7-9 ชั้น) หรือน้อยกว่า
สรรพคุณ เถา ขับโลหิตระดูสตรี บำรุงโลหิต ขับผายลม แก้ไข้ ฯลฯ


กำลังช้างสาร


เถาวัลย์เปรียง


กำลังวัวเถลิง

กำลังเสือโตร่ง

กำลังหนุมาน


กันเกรา (ตำเสา)

แก่นจันทน์แดง

เมล็ดชุมเห็ดไทย

แก่นจันทน์ขาว

ดีเกลือฝรั่ง


ดีเกลือไทย

พริกไทยดำ
พริกไทยล่อน

ชะลูด


ชะลูด


เปราะหอม

กระจับ

หัวข้าวเย็นเหนือ หัวข้าวเย็นใต้ 


หัวข้าวเย็นใต้

เทียนขาว

เทียนตาตั๊กแตน

เถาเอ็นอ่อน

ดอกคำฝอย


ชะเอมไทย (อ้อยสามสวน)


โกฐกะกลิ้ง


โกฐกระดูก

โกฐกระดูก


ดอกมะลิ

ดอกพิกุล

ดอกบุนนาค

ดอกสารภี


เกสรบัวหลวงแดง


เกสรบัวหลวง


ดอกจำปา


ดอกกระดังงา

ดอกกระดังงา


ดอกลำเจียก

แก่นฝางเสน

ชะเอมไทย



เทียนดำ


เทียนแดง


สมอเทศ


สมอไทย


สมอพิเภก


มะขามป้อม


กำยาน


กระลำพัก (จากต้นสลัดได)


ขมิ้นชัน

ขมิ้นอ้อย


ชะมดเช็ด

ชะมดเชียง


ชะมดเชียง


หญ้าฝรั่น

โด่ไม่รู้ล้ม

โด่ไม่รู้ล้ม (แห้ง)


รากช้าพลู


โคโรค 

ยาดำ


ว่านนางคำ


อบเชยญวน อบเชยจึน อบเชบเทศ


โกฐสอ


ข่าลิง (ข่าเล็ก)


โกฐเขมา


โกฐหัวบัว

โกฐเชียง

โกฐกระดูก


เหง้าไพล (แห้ง)


เหง้าไพล (สด)

ห้วกะทือ (แห้ง)

โกฐก้านพร้าว


โกฐก้านพร้าว

โกฐน้ำเต้า


กานพลู


ดีปลี

เหง้าสับปะรด

ดองดึง


ลูกบิด (ปอกะบิด)

สลอด


เทียนขาว (ยี่หร่า)


เทียนข้าวเปลือก 


เทียนตาตั๊กแตน (ผักชีลาว) 


เทียนตากบ


เทียนเกล็ดหอย 


เทียนสัตตบุษย์


เทียนลวด


โกฐสอ


โกฐหัวบัว


โกฐเขมา


โกฐเชียง


โกฐจุฬาลัมพา

โกฐจุฬาลัมพา


โกฐกระดูก


โกฐก้านพร้าว


โกฐพุงปลา


โกฐชฎามังสี

ดอกมะลิ


ดอกพิกุล


ดอกบุนนาค


ดอกสารภี


เกสรบัวหลวง


ดอกจำปา

ดอกกระดังงาไทย


ดอกลำดวน


ดอกลำเจียก


ดอกคำไทย


น้ำตาลกรวด

น้ำตาลทราย


เกลือสินเธาว์


เกลือสมุทร

เกลือสมุทร


เกลือประสะ


เกลือกระตังมูตร


เกลือตัวผู้


เกลือตัวเมีย


สารส้ม


แก้วแกลบ

กำมะถันเหลือง


กำมะถันแดง


ดีนเหนียว


นอแรด


เขาเลียงผา


เขี้ยวหมูปา

ลิ้นทะเล (กระดองปลาหมึก)


เปลือกหอยพิมพการัง


เบี้ยแก้


เบี้ยแก้ใหญ่


เบี้ยจั่น


เบี้ยผู้


หนังปลากระเบน


ว่านน้ำ


ว่านร่อนทอง


สมอดีงู


สมอทะเล


สมอพิเภก


สมอเทศ


สมอไทย


ลูกสะบ้า


สารส้ม


สีเสียดเทศ


สีเสียดไทย


หัวหญ้าชันกาด


หัวกกลังกา


เหง้าไพล


อ้อยแดง


เหง้าขิง (แห้ง)

เหง้าตะไคร้


เหง้าสับปะรด


เห็ดหูหนู (สด)

เห็ดหูหนู (แห้ง)


แห้วหมู


โลดทะนงแดง


ไส้เดือน (รากดิน)


ลำพันแดง


ลูกกระดอม


ลูกจันทน์


มะคำดีควาย

ลูกยอบ้าน (แห้ง)

ลูกราชดัด


ลูกสะค้าน


ลูกสำรอง


ลูกเอ็น (กระวาเทศ)


เร่ว


เร่ว


มหาสดำ


มหาหิงคุ์


ลูกมะขามป้อม (แห้ง)

ลูกมะตูม (แห้ง)

แก่นมะเกลือเลือด


ม้ากระทึบโรง


ยาดำ


ยาดำสะตุ


รงทอง


ดินรังหมาร่า

ดินรังหมาร่า


ดินรังหมาร่า


รากคนทา


รากชิงชี่


ต้นตองแตก (ทนดี)


รากปลาไหลเผือก


รากมะเดื่อชุมพร


รากหญ้านาง


รากระย่อม


รากลำเจียก


รากหญ้าคา (แห้ง)


เมนทอล


เมล็ดกระเบียน


แมงดาทะเล

แมงดาทะเล

แมลงสาบ


มูลแมลงสาบ


ใบอินทนิลน้ำ


พิมเสนเกล็ด


พิษนาศน์


ผิวมะกรูด (แห้ง)


ฝักส้มป่อย (แห้ง)


ฝางเสน


หญ้าหนวดแมว พยับเมฆ (แห้ง)


กระดองปลาหมึก (ลิ้นทะเล)



ลูกบิด (ปอกะบิด)





ผักชีลา


ผักชีล้อม





เปราะหอม


เปลือกต้นทิ้งถ่อน


เปลือกลูกมังคุด


เปลือกโรกขาว


บอระเพ็ด


เนระพูสี


ลูกเบญกานี


ต้นใบข้าวเย็นใต้


ใบชุมเห็ดเทศ


ใบมะกา


ใบมะกา


ใบส้มเสี้ยว



ฝักเมล็ดถั่วพู


รังนกนางแอ่น


เต่าร้าง (เต่ารั้ง)



หัวเต่าเกียด


ขมิ้นเครือ



เถามวกแดง


เถาสะค้าน


เถาเอ็นอ่อน (ตีนเป็ดตาเครือ)


เทพทาโร


ขันทองพยาบาท


ขี้เหล็กบ้าน


หัวข้าวเย็นเหนือ


หัวข้าวเย็นใต้


ครั่ง


แก่นจันทน์แดง


จุนสี


จุนสี


ชะมดเชียง


ชะมดเชียง


ชะมดเช็ด


ชะเอมเทศ (ชะเอมจึน)



ฝักเมล็ดชุมเห็ดเทศ


ดอกคำฝอย


ดอกคำไทย


ดอกจันทน์


ดอกลำเจียก


ดินประสิวขาว


ดินประสิวแดง


ดินสอพอง


ดีเกลือไทย


ตะโกนา


รากเจตพังคี


แซ่ม้าทะลาย


โคโรค


ลูกกระวาน


ดอกกระเจี๊ยบแดง


ดอกกระเจี๊ยบแดง (แห้ง)

กรุงเขมา


เนื้อไม้กฤษณา (ไม้หอม)


เขากวางอ่อน


กระชาย


กะลำพัก


กะแตไต่ไม้ (แห้ง)


การบูร


กำลังเสือโคร่ง (กำลังพญาเสือโคร่ง)


ขมิ้นชัน (แห้ง)


ขอนดอก


เกสรบัวหลวง


แก่นแกแล


แก่นแกแล


แก่นขี้เหล็ก


แก่นจันทน์ชะมด


แก่นจันทน์เทศ


แก่นมะหาด


แก่นแสมทะเล


แก่นแสมสาร


แก้วแกลบ




โกฐชฎามังสี


โกฐสอ


โกฐสอ (ฝานเป็นแผ่นบางๆ)


โกฐหัวบัว


โกฐเขมา



รากไทรย้อย


ราชพฤกษ์ (คูน)


ลูกสะบ้า


มะขาม


ฟ้าทะลายโจร


ฝักเมล็ดมะขาม

เครื่องตวง 1 ลิตร (1 ทะนาน)

เครื่องตวงทะนาน


ถ้วยชา จุประมาณ 30 ซี.ซี.
ช้อนชา จุประมาณ 5 ซี.ซี.


ช้อนคาว
จุประมาณ 15 ซี.ซี.

ช้อนหวาน
จุประมาณ 8 ซี.ซี.


ช้อนโต๊ะ จุประมาณ 15 ซี.ซี.


ช้อนกาแฟ
จุประมาณ 4 ซี.ซี.


ดอกงิ้ว (แห้ง)


น้ำประสานทอง


น้ำประสานทองสะตุ


น้ำประสานทองสะตุ


น้ำผึ้ง


ฟ้าทะลายโจร (แห้ง)

มดยอบ

มดยอบ


รากท้าวยายม่อม

รากท้าวยายม่อม


ลำพันหางหมู


เกล็ดปลาช่อน


เกล็ดปลาช่อน


เปลือกฝิ่นต้น

เปลือกสมุลแว้ง


เมล็ดแตงโม

เมล็ดแตงโม



เมล็ดโหระพา


เหงือกปลาหมอ (แห้ง)

เปลือกต้นสมุลแว้ง



ตาไผ่


รากมะเดื่อชุมพร


ลูกเบญกานี


ลูกเบญกานี


ลูกเบญกานี


เทพทาโร


ต้นใบมะเดื่อชุมพร

ต้นลูกมะเดื่อชุมพร


เปลือกต้นมะเดื่อชุมพร


เปลือกต้นสมุลแว้ง


รากโลดทะนงแดง

โกฐพุงปลา

โกฐพุงปลาสด


โกฐพุงปลาสด


ดอกจันทน์ (รกจันทน์)


เพกา (ลิ้นฟ้า)

เมล็ดในฝักเพกา


นกกาน้ำ

หัวกะโหลกเต่านา