เวชกรรมไทย เล่ม 2 บทที่ 9 เภสัชกรรม
การปรุงยา 28 วิธี
มีตารางอายุยาแต่ละประเภท
จัดทำโดย อ.หมอสุชาติ ภูวรัตน์
นธ.เอก, บาลีประโยค 1-2
(อดีตพระธรรมทูตต่างประเทศ)
B.S. Engineering Design Tech.
B.A. ศาสนศาสตร์บัณฑิต
B.S. Computer Information Systems
B.TM. แพทย์แผนไทยบัณฑิต
สาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ
บ.ภ., พท.ว., พท.ผ., พท.น.
ครูแพทย์แผนไทย 4 ด้าน
ศูนย์การแพทย์แผนไทยภูเก็ต
ทำเพื่อการศึกษาและประโยชน์แก่ผู้ชม
เวชกรรมไทย
เล่ม 2 บทที่ 9 เภสัชกรรม การปรุงยา 28 วิธี มีตารางอายุยาแต่ละประเภท
เภสัชกรรม
เภสัชกรรม คือ การปรุงยาที่ผสมใช้
ตามวิธีต่างๆ ตามแบบตำราโบราณที่เคยปรุงสืบต่อกันมา
การปรุงยาตามตำราโบราณในวิธีต่างๆ
ประกอบขึ้นด้วยวัตถุนานาประการ ซึ่งได้เรียนรู้มาแล้ว คือ
เภสัชวัตถุ สรรพคุณเภสัช ส่วนเรื่อเภสัชกรรมนี้กล่าวถึง การปรุงยาอย่างเดียว
จากที่ทราบอยู่แล้วว่า ตัวยาแต่ละตัว แต่ละชนิดมีสรรพคุณแก้อะไร
แต่ละตัวยาที่แสดงสรรพคุณปรากฏใน
ตัวอยู่แล้ว แต่ถ้าจะนำมาใช้เฉพาะอย่างเดียว
อาจมีสรรพคุณอ่อนไป บางทีอาจจะไม่มีสรรพคุณพอที่จะรักษาโรคให้หายได้ อนึ่งถ้าเป็นวัตถุเพียงสิ่งเดียว
ก็ยังมิได้เรียกว่ายา คงเป็นแต่ตัวยาสิ่งหนึ่ง ซึ่งเป็นส่วนประกอบของยาเรียกว่า
เครื่องยาเท่านั้น แพทย์และเภสัชผู้เชี่ยวชาญ จึงได้รวบรวมตัวยาหลายอย่างหลายสิ่ง
ทำการผสมกันเข้าเรียกว่า การปรุงยา ผลผลิตที่ออกจากการปรุงนี้เรียกว่า ยา ซึ่งมีประโยชน์สำหรับใช้บำบัดโรคต่างๆได้
ดังนั้นถ้าหากเอาตัวยาสิ่งเดียว เข่น มะขามเปียก หรือลูกสมอไทย
มาต้มเอาน้ำรับประทาน การเอามารับประทานเช่นนี้ก็ยังมิได้เรียกว่ายา
อาจจะเป็นอาหารไป หรือเอาเหง้าขิงสดมาชงกิน ก็ยังไม่เรียกยาเช่นกัน
เพราะน้ำที่ชงนั้น มิใช่ยา เป็นเพียงตัวยา และน้ำเป็นธาตุวัตถุเหลวสำหรับนำไปผสมวัตถุที่เป็นตัวยาช่วยให้สลาย
ยาไทยปรุงขึ้นจากพืช สัตว์ แร่ธาตุ จากวัตถุที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ
มิได้สกัดกลั่นเอาเฉพาะเนื้อยาที่แท้ จึงมีส่วนที่เป็นกากเจือปนอยู่มาก
ดังนั้นยาจึงกำหนดให้ใช้ตัวยาที่มีปริมาณมาก และตัวยาหลายสิ่งรวมกัน
ยาไทยตำรับหนึ่งๆ จึงมีตัวยามากย่าง แม้จะมากอย่างก็ตาม
โครงสร้างของยาไทยสามารถแบ่งสรรพคุณของตังยาออกเป็นส่วนๆ ได้ดังนี้ คือ
1. ตัวยาตรง คือ
ยาที่มีสรรพคุณบำบัดโรคและไข้ โดยเฉพาะเรื่องอาจจะมีรสขมมาก รสเปรี้ยวมาก
มีรสเค็มมากๆ ไม่อาจจะรับประทานได้มาก เพราะรสไม่อร่อย และโรคแทรกก็มี
แพทย์จึงได้หาตัวยาช่วยอีกแรงหนึ่งจะได้รักษาโรคและไข้หายเร็วขึ้น
2. ตัวยาช่วย เมื่อมีโรคแทรก โรคตาม หรือโรคหลายโรครวมกัน แพทย์ก็ใช้ตัวยาช่วยในการรักษาไอ ก็มีตัวยากัดเสมหะช่วยด้วย
3. ตัวยาประกอบ เพื่อป้องกันโรคตามและช่วยบำรุงแก้ส่วนที่หมอเห็นควร หรืออาจจะใช้เป็นยาคุมฤทธิ์ยาอื่น เช่น ลูกผักชีล้อม ใส่เพื่อแก้อาการไซร้ในท้อง ในยาถ่าย
4. ตัวยาชูกลิ่น ชูรส และแต่งสีของยา ตัวยาชูกลิ่นนี้ หากบางครั้งการปรุงยารักษาโรค อาจจะมีกลิ่นไม่น่ารับประทาน ก็ต้องอาศัยตัวยาชูกลิ่นให้น่ารับประทานหรือบางคราวยามีรสขมมากเกินไป ก็ควรใช้ยาชูรสให้รับประทานได้ง่าย เช่น ควรเติมรสหวานเข้าไปบ้างก็ควรเติม ใช่แต่เท่านั้น สีของยาถ้ามีสีสดก็น่ารับประทาน หรือสีแดงอ่อนๆ ก็น่ารับประทาน
ทั้ง 4 ประการนี้ ซึ่งได้กล่าวมาพอสังเขป เป็นหลักของการปรุงยา ซึ่งตามหลักของการปรุงยาสากลก็ยังนิยมใช้กันอยู่จำนวนหลายสิ่งหลายอย่างเหล่านี้ ต่างรวมและแบ่งสรรพคุณกันไป ทำการบำบัดรักษาโรคและรวมพลังสรรพคุณรุนแรงขึ้น เพื่อต่อสู้กับสมุฏฐานของโรคได้ ซึ่งอาจมีโรคแทรกโรคตามผสมกันอยู่ดังได้บรรยายมาแล้ว
เภสัชกรผู้ทำการปรุงยา จึงจำเป็นยึดตำรับยาที่จะปรุงหรือตามใบสั่งแพทย์เป็นหลักสำคัญ การปรุงยาต้องอาศัยตำรับยาที่จะทำการปรุงยาทุกครั้ง ตำรับนั้นๆ จะบอกชื่อตัวยา ส่วนขนาด วิธีใช้ และวิธีปรุงไว้ทุกขนาน เมื่อได้ใช้ตำรับยาเป็นหลักแล้ว ก็ควรพึงระลึกอยู่เสมอว่า การปรุงยาที่จะให้มีสรรพคุณดีนั้นควรปฏิบัติอย่างไร จึงจะได้ยามีสรรพคุณดี
2. ตัวยาช่วย เมื่อมีโรคแทรก โรคตาม หรือโรคหลายโรครวมกัน แพทย์ก็ใช้ตัวยาช่วยในการรักษาไอ ก็มีตัวยากัดเสมหะช่วยด้วย
3. ตัวยาประกอบ เพื่อป้องกันโรคตามและช่วยบำรุงแก้ส่วนที่หมอเห็นควร หรืออาจจะใช้เป็นยาคุมฤทธิ์ยาอื่น เช่น ลูกผักชีล้อม ใส่เพื่อแก้อาการไซร้ในท้อง ในยาถ่าย
4. ตัวยาชูกลิ่น ชูรส และแต่งสีของยา ตัวยาชูกลิ่นนี้ หากบางครั้งการปรุงยารักษาโรค อาจจะมีกลิ่นไม่น่ารับประทาน ก็ต้องอาศัยตัวยาชูกลิ่นให้น่ารับประทานหรือบางคราวยามีรสขมมากเกินไป ก็ควรใช้ยาชูรสให้รับประทานได้ง่าย เช่น ควรเติมรสหวานเข้าไปบ้างก็ควรเติม ใช่แต่เท่านั้น สีของยาถ้ามีสีสดก็น่ารับประทาน หรือสีแดงอ่อนๆ ก็น่ารับประทาน
ทั้ง 4 ประการนี้ ซึ่งได้กล่าวมาพอสังเขป เป็นหลักของการปรุงยา ซึ่งตามหลักของการปรุงยาสากลก็ยังนิยมใช้กันอยู่จำนวนหลายสิ่งหลายอย่างเหล่านี้ ต่างรวมและแบ่งสรรพคุณกันไป ทำการบำบัดรักษาโรคและรวมพลังสรรพคุณรุนแรงขึ้น เพื่อต่อสู้กับสมุฏฐานของโรคได้ ซึ่งอาจมีโรคแทรกโรคตามผสมกันอยู่ดังได้บรรยายมาแล้ว
เภสัชกรผู้ทำการปรุงยา จึงจำเป็นยึดตำรับยาที่จะปรุงหรือตามใบสั่งแพทย์เป็นหลักสำคัญ การปรุงยาต้องอาศัยตำรับยาที่จะทำการปรุงยาทุกครั้ง ตำรับนั้นๆ จะบอกชื่อตัวยา ส่วนขนาด วิธีใช้ และวิธีปรุงไว้ทุกขนาน เมื่อได้ใช้ตำรับยาเป็นหลักแล้ว ก็ควรพึงระลึกอยู่เสมอว่า การปรุงยาที่จะให้มีสรรพคุณดีนั้นควรปฏิบัติอย่างไร จึงจะได้ยามีสรรพคุณดี
หลักการปรุงยาให้มีสรรพคุณดี อาศัยหลักดังต่อไปนี้ คือ
1.
พิจารณาตัวยา เลือกเอาแต่ตัวยาที่ดี ตัวยาใหม่ๆ
2.
พิจารณาสรรพคุณยา เลือกสรรพคุณดีและตรงตามโรค
3.
พิจารณาน้ำหนักและปริมาณของตังยาแต่ละอย่างให้พอเหมาะสมกัน
4.
ความสะอาดและความละเอียดรอบคอบของเภสัชกร
5.
ปรุงยาให้ถูกวิธี
ถูกหลักวิชาตามหลักของเภสัชกรรม
นอกจากหลักการปรุงยาเหล่านี้แล้ว
ยังมีหลักอื่นปลีกย่อยออไปอีกนำมาประกอบ เช่น
อุปกรณ์ในการปรุงยาก็ต้องพิจารณาดูให้รอบคอบ
ดังจะได้บรรยายให้ทราบแต่ละอย่างพอสังเขป ให้เภสัชกรพึงระลึกอยู่เสมอ ดังต่อไปนี้
1. พิจารณาตัวยา ก็คือ หลักเภสัชวัตถุนั่นเอง การปรุงยานั้นตำราบอกไว้ให้ใช้ส่วนของ พืช สัตว์ และธาตุ ก็ควรใช้อย่างนั้น เป็นต้นว่า พืชวัตถุให้ใช้เปลือก ราก หรือ ดอก ฯลฯ สัตว์วัตถุ ให้ใช่ส่วนใด เช่น กระดูก หนัง เขา ดี เลือด นอ งา ฯลฯ ธาตุวัตถุให้ใช้ดิบๆ หรือทำการสะตุ เสียก่อน เช่น สารหนู สารส้ม จุนสี กำมะถัน ฯลฯ ดังนี้ ธาตุบางชนิด ควรทำการสะตุหรือผสมได้เลย นอกจากทั้งพืช สัตว์ และธาตุควรใช้ขิงสด ขิงแห้ง ลูกสมอไทยอ่อน ลูกสมอไทยแก่ ดังนี้เป็นต้น ตัวยาบางอย่างแปรสภาพ สรรพคุณก็เป็นอีกอย่างหนึ่ง ตัวยาบางอย่างมีฤทธิ์แรงจะเป็นอันตราย ต้องฆ่าเสียก่อน เช่น เมล็ดสลอด ยางสลัดได ฯลฯ ซึ่งวิธีฆ่า และแปรสภาพที่มีฤทธิ์จะได้กล่าวในตอนต่อไป ฯลฯ ดังนี้เป็นต้น
2. พิจารณาสรรพคุณตัวยาแต่ละอย่าง ก็คือ หลักสรรพคุณเภสัช คือ ให้รู้จักรสของตัวยาเสียก่อน เมื่อทราบรสของตัวยาแล้ว รสจะแสดงให้รู้สรรพคุณได้ ถึงแม้ว่าตัวยาในโลกนี้จะมีมากก็จริง แต่รสของยานั้นกำหนดไว้เพียงจำนวนน้อย ดังได้บรรยายมาแล้วในตอนสรรพคุณเภสัช จึงจะไม่กล่าวให้ยืดยาวต่อไป รสหรือสรรพคุณของตัวยานั้น ถ้าจะทำการปรุงก็อย่าให้รสยาขัดกัน หรือตัวยารักษาโรคดีอยู่แล้วแต่เพิ่มตัวยาที่ฆ่าสรรพคุณยาขนานนี้เข้าไปทำให้ยาเสื่อมคุณภาพได้ เช่น หญ้านางแดง รางจืด ตัวยาพวกนี้ถ้าเพิ่มเข้าไปทำให้รสและสรรพคุณเสียไป ตัวยารสเค็ม ควรใช้ยารสอะไรผสมจึงจะมีสรรพคุณดี หรือตัวยาบางอย่างมีอันตรายควรใส่แต่น้อย หรือสะตุเสียก่อนเหล่านี้ แล้วแต่ความฉลาดของเภสัชกรผู้ทำการปรุงยานั้น
3. พิจารณาดูขนาดและปริมาณของตัวยา ขนาดของตัวยานั้นๆ ให้เอาปริมาณมากน้อยเท่าใด สิ่งละหนักเท่าไร โดยตำรับได้กำหนดลงไว้หนักสิ่งละ 1 สลึง หรือ 1 บาท ก็ควรพิจารณาว่าเหมาะสมหรือเปล่า ควรที่ผู้เป็นเภสัชกรพิจารณาดูให้รอบคอบก่อน จึงทำการปรุงยา เป็นต้นว่ายาขนานนี้มีตัวยาที่รสเผ็ดร้อนมากอยู่แล้ว ก็ยังเพิ่มเมล็ดพริกไทยเท่ายาทั้งหลาย จะสมควรหรือไม่ประการใด แล้วแต่เภสัชกรพิจารณาดูให้ดี ทั้งน้ำหนัก ตัวยา ก็ชั่ง ตวง ให้ถูกต้อง
4. ความสะอาดและความละเอียดรอบคอบของเภสัชกร การปรุงยาที่จะให้มีสรรพคุณดีนั้นจะปราศจากความสะอาดหาได้ไม่
ความสะอาดเป็นสิ่งสำคัญมาก การปรุงยา ตัวยาบางชนิดมีดินติดอยู่ หรือพืชบางชนิดมีตัวหนอนติดอยู่
หรือมดติดอยู่ในโพรงของรากยาก็เอามาบดโดยล้างไม่สะอาด ใช่แต่เท่านั้นภาชนะในการปรุงยา
หั่นยา ครกตำยา ฯลฯ ก็ควรสะอาดด้วย
แม้แต่ตัวเภสัชกรเองก็ล้างมือให้สะอาดเมื่อจะทำการปรุงยา นอกจากนี้เภสัชกรควรเป็นคนที่มีนิสัยละเอียด
รอบคอบ ไม่เผอเรอมักง่าย เช่น ตำราบอกให้ปรุงมีตัวยา 20 สิ่งแต่ใส่เพียง 15 หรือ 16
สิ่ง โดยลืมตัวยาที่เหลือเหล่านั้นเสีย
ซึ่งจัดว่าเป็นการเผอเรอ และตำราบอกให้บดละเอียดเป็นอณูสำหรับเป็นยานัตถุ์
แก้ริดสีดวง เภสัชกรมักง่าย ขี้เกียจก็บดหยาบๆเวลาใช้ยารักษาโรคก็ไม่เกิดผลและ
มิหนำซ้ำเกิดโทษ แก่คนไข้ ดังนี้เป็นต้น
5. ปรุงยาให้ถูกวิธี ถูกหลักวิชาตามหลักของเภสัชกรรม วิธีปรุงยาตามตำรับแผนโบราณนั้น ถ้าปรุงตามเวชกรรมมี 28 วิธี การปรุงยานี้ควรที่นักศึกษาจะค้นคว้าและพยายามศึกษาการปรุงยาให้ได้มาตรฐาน ทันความเจริญของโลกเสมอ เป็นต้นว่าน่ารับประทาน สะดวกในการใช้รักษาโรค ฯลฯ เหล่านี้เป็นต้น หรือได้ปรุงเสร็จเรียบร้อย ก็ควรเขียนชื่อยาไว้ บอกขนาดและวิธีใช้ ตลอดทั้งสรรพคุณว่ารักษาโรคอะไร ปรุงเมื่อไร สำหรับวิธีในการปรุงยา 28 วิธีนั้น ในที่นี้จะกล่าวในตอนต่อไป พร้อมกับจะได้ยกตัวอย่างให้เข้าใจ
5. ปรุงยาให้ถูกวิธี ถูกหลักวิชาตามหลักของเภสัชกรรม วิธีปรุงยาตามตำรับแผนโบราณนั้น ถ้าปรุงตามเวชกรรมมี 28 วิธี การปรุงยานี้ควรที่นักศึกษาจะค้นคว้าและพยายามศึกษาการปรุงยาให้ได้มาตรฐาน ทันความเจริญของโลกเสมอ เป็นต้นว่าน่ารับประทาน สะดวกในการใช้รักษาโรค ฯลฯ เหล่านี้เป็นต้น หรือได้ปรุงเสร็จเรียบร้อย ก็ควรเขียนชื่อยาไว้ บอกขนาดและวิธีใช้ ตลอดทั้งสรรพคุณว่ารักษาโรคอะไร ปรุงเมื่อไร สำหรับวิธีในการปรุงยา 28 วิธีนั้น ในที่นี้จะกล่าวในตอนต่อไป พร้อมกับจะได้ยกตัวอย่างให้เข้าใจ
วิธีการปรุงยา
ตามตำราเวชศึกษาระบุวิธีการปรุงยาไว้
28 วิธี ดังนี้
1.
ยาผง
ยาตำเป็นผงแล้วบดให้ละเอียดละลายน้ำกระสายยาต่างๆ ดื่ม เช่น ยาหอม
2.
ยาเม็ด ยาตำเป็นผงแล้วปั้นเป็นลูกกลอนรับประทาน
3.
ยาต้ม นำตัวยาใส่หม้อ
เติมน้ำให้ท่วม ตั้งบนไฟเคี่ยวให้เดือด รินน้ำดื่ม
4.
ยาน้ำด่าง เอาตัวยาเผาไฟให้ไหม้เป็นด่าง แล้วเอาด่างนั้นแช่น้ำทิ้งไว้ รินน้ำดื่ม
5.
ยาดอง นำตัวยาดองแช่ในน้ำสะอาดหรือน้ำสุรา รินน้ำดื่ม
6.
ยาคั่ว
(ยาเผา) นำยาหรือคั่วไฟให้ไหม้ บดเป็ดผงละเอียด ละลายน้ำดื่ม
7.
ยากลั่น เอาตัวยาใส่เครื่องต้มกลั่น เอาแต่ไอหรือน้ำเหงื่อดื่ม
8.
ยาดม ยาประสมแล้วห่อผ้า
หรือบรรจุลงในกลัก เอาไว้ใช้ดม
9.
ยานัตถุ์ ยาประสมแล้วตำหรือบดให้ละเอียด
ใส่กล่องเป่าทางจมูกหรือลำคอ
10.
ยาหุงน้ำมัน เอายาหุงด้วยน้ำมัน
ใช้น้ำมันที่หุงทาหรือพ่น แก้ขัดยอก ฟกช้ำ
11.
ยาผสมน้ำมัน
เอาเครื่องยาผมน้ำมัน เช่น น้ำมันมะพร้าว น้ำมันถั่ง น้ำมันงา ใช้ใส่แผล
12.
ยาสูบ เอาเครื่องยาผสมกัน แล้วมวนเป็นบุหรี่สูบ
หรือยัดกล้องสูบ
13.
ยาอม ยาต้มเอาน้ำอมหรือบ้วนปาก
14.
ยาอาบ เอาเครื่องยาผสมกันแล้วต้มกับน้ำให้สะอาด
ใช้น้ำยานี้อาบ
15.
ยาชะ เอาเครื่องยาผสมกันแล้วต้มกับน้ำสะอาด
ใช้น้ำยาชะล้างบาดแผล
16.
ยาแช่ เอาเครื่องยาผสมกันแล้วต้มกับน้ำสะอาด ใช้แช่
17.
ยารมไอน้ำ เอาเครื่องยาผสมกันแล้วต้มกับน้ำสะอาดจนเดือด
ใช้ไอน้ำเดือดรม
(ใช้รมในกระโจมผ้าก็ได้)
18.
ยาทา เอาตัวยาตำหรือบดเป็นผงผสมกับน้ำ
ใช้เป็นยาทา หรือเอาตัวยาฝนกับน้ำ
ใช้เป็นยาทาก็ได้
19.
ยาสุม เอาตัวยาผสมกันแล้วพอก
หรือโปะลงบนกระหม่อม เรียกว่า ยาสุมกระหม่อม
20.
ยาประคบ เอาเครื่องยาห่อผ้า ทำเป็นลูกประคบ นาบ หรือนวดด้วยลูกประคบเรียกว่า ยาประคบ
21.
ยาเหน็บทวาร เอาตัวยาผสมกันแล้วทำเป็นแท่ง
แล้วเหน็บที่ทวารหนัก ให้อุจจาระออก
22.
ยาสวนทวารหนัก เอาตัวยาผสมกันแล้ว ต้มเอาน้ำยาสวนทวารหนัก
ให้อุจจาระออก
23.
ยาหลาม เอาตัวยาผสมกัน
บรรจุลงในกระบอกไม้ไผ่ ใส่น้ำสะอาด หรือสุราจนเต็มกระบอก อุดปากกระบอกให้แน่น
หลามไฟให้ลุก รินน้ำกินรักษาโรค
24.
ยาพอก เอาตัวยาผสมกันตำให้แหลก
ใช้พอกหัวฝี แก้ปวด บวม
25.
ยากวาด เอายาที่ใช้กวาด
เตรียมให้พร้อม เอานิ้วป้ายยากวาดลงในคอ
26.
ยาแคปซูล เอาตัวยาที่บดเป็นผงแล้วบรรจุในแคปซูล
เพื่อง่ายต่อการรับประทาน
27.
ยาตอกเม็ด เอาตัวยาที่บดแล้วอัดเข้าเครื่องตอกเป็นเม็ด
จะได้ตัวยาขนาดเท่าๆ กัน
28.
ยาเคลือบเม็ด เอายาที่ตอกเป็นเม็ดแล้ว
นำมาเคลือบน้ำตาล ใส่สี
ชวนให้น่ารับประทาน
วิธีปรุงยาที่ใช้บ่อย
1. ยาต้ม เป็นวิธีที่ไม่ยุ่งยาก ใช้ได้ทั้งสมุนไพรสดและแห้ง (ชนิดแห้งควรแช่น้ำก่อน)
1. ยาต้ม เป็นวิธีที่ไม่ยุ่งยาก ใช้ได้ทั้งสมุนไพรสดและแห้ง (ชนิดแห้งควรแช่น้ำก่อน)
ควรต้มในหม้อดินเผา หรือหม้อเคลือบ โดยเติมน้ำสะอาดให้ท่วมยา
ใช้เวลาต้มประมาณ 15-20 นาที ส่วนใหญ่จะต้ม เอา 1 คือใส่น้ำ 3 ส่วน
ต้มให้เหลือน้ำเพียง 1 ส่วน
ข้อควรระวัง ควรต้มกินเฉพาะวัน ไม่ควรเก็บค้างคืน
ถ้าเก็บต้องอุ่นทุกวัน
ภาชนะที่ใช้ต้มควรใช้หม้อดิน หม้อเคลือบ หรือหม้อสแตนเลส ห้ามใช้ภาชนะ
โลหะอลูมิเนียมหรือเหล็ก เพราะกรดหรือสารฝาดในสมุนไพร จะทำปฏิกิริยากับ
2.
ยาชง มีวิธีเตรียมง่ายๆและสะดวก
แต่สกัดสารออกฤทธิ์ได้น้อย เหมาะสำหรับสมุนไพรที่มีการออกฤทธิ์ละลายน้ำได้ดี
ใช้ได้ทั้งสมุนไพรสดและแห้ง โดยนำสมุนไพรใส่ลงในแก้ว เติมน้ำเดือดปิดฝาทิ้งไว้ประมาณ
3-5 นาที
ไม่สามารถเตรียมโดยการต้มหรือชงได้ มักใช้สมุนไพรแห้ง
โดยนำยามาล้างให้สะอาด แล้วหั่นเป็นชิ้นเล็กๆ ตากหรืออบจนแห้ง ห่อด้วยผ้าขาวบาง
ใส่ลงในขวดโหลเติมเหล้าพอท่วม (ใช้เหล้า 28-40 ดีกรี) ปิดฝาขวดให้สนิท
เปิดคนทุกวัน ทิ้งไว้ 1 เดือน จึงจะใช้ได้
ข้อควรระวัง สตรีมีครรภ์
หรือระหว่างให้นมบุตร ผู้ป่วยความดันโลหิตสูง
ผู้ป่วยโรคหัวใจ ผู้ป่วยแพ้เหล้า ควรหลีกเลี่ยงการใช้ยาดองเหล้า เพราะอาจเกิดอันตรายได้
4. ยาลูกกลอน มีวิธีการยุ่งยาก เหมาะสำหรับสมุนไพรที่มีกลิ่น รสไม่น่ารับประทาน เช่น รสขมมาก โดยการนำยาผงผสมน้ำผึ้ง น้ำผึ้งที่ใส่ต้องเคี่ยวให้เหนียวได้ที่เสียก่อน จึงค่อยเทผสมกับยา คลุกจนได้ที่ ปั้นเป็นเม็ด อบหรือตากแดดให้แห้ง
4. ยาลูกกลอน มีวิธีการยุ่งยาก เหมาะสำหรับสมุนไพรที่มีกลิ่น รสไม่น่ารับประทาน เช่น รสขมมาก โดยการนำยาผงผสมน้ำผึ้ง น้ำผึ้งที่ใส่ต้องเคี่ยวให้เหนียวได้ที่เสียก่อน จึงค่อยเทผสมกับยา คลุกจนได้ที่ ปั้นเป็นเม็ด อบหรือตากแดดให้แห้ง
เก็บใส่ภาชนะที่สะอาด ปิดฝาสนิท
ขั้นตอนในการปรุงยา
1.
การพิจารณาเลือกตัวยา
ต้องอ่านตำรับยาโดยละเอียด
เลือกตัวยาให้ถูกต้องตามที่กำหนดไว้ในตำรับยา ดังนี้
1.
ชนิด
2.
ส่วนที่ใช้
3.
ใช้สมุนไพรอ่อนหรือแก่
4.
ใช้สมุนไพรสดหรือแห้ง
5.
ใช้สมุนไพรดิบ
หรือแปรสภาพตัวยาก่อน
6.
ความใหม่
สะอาด และปราศจากสิ่งเจือปนต่างๆ
สมุนไพรเก่าอาจเสื่อมคุณภาพ หมดคุณภาพ หรืออาจเป็นพิษ ไม่ควรนำมาใช้ทำยาสมุนไพร
ที่ใช้ต้องอยู่ในสภาพดี ไม่มีเชื้อรา ไม่ผุ ปราศจากสิ่งเจือปน เช่น
ดิน ทราย เศษของอื่นๆและตัวแมลง
2.
ดูขนาดและปริมาณของตัวยา
จัดตัวยาแต่ละอย่างตามปริมาณที่กำหนดในตำรับ
(ชั่งหรือตวง)
(ชั่งหรือตวง)
3.
แปรสภาพของตัวยาแต่ละอย่างให้เหมาะสมกับวิธีการที่จะปรุง
เช่น ยาต้ม ควรหั่นตัวยาให้เล็กลง
แล้วห่อผ้าที่สะอาดรวมกัน ยาผง ควรบดละเอียด ถ้าผ่านการแร่งได้ก็ยิ่งดี
การฆ่าตัวยา
คือการทำให้ตัวยามีฤทธิ์อ่อนลง ตัวยาที่ต้องฆ่าฤทธิ์ ได้แก่ ยาดำ ชาด สารหนู ปรอท รงทอง
คือการทำให้ตัวยามีฤทธิ์อ่อนลง ตัวยาที่ต้องฆ่าฤทธิ์ ได้แก่ ยาดำ ชาด สารหนู ปรอท รงทอง
1.
การฆ่าฤทธิ์ยาดำ โดยทั่วไปจะไม่ฆ่า
นอกจากระบุไว้ในตำรับว่าให้ฆ่า สะตุหรือประสะ จึงจะนำมาฆ่าฤทธิ์
วิธีทำ เอายาดำใส่กระทะที่สะอาด
คั่วไฟจนกรอบ แล้วนำมาปรุงยาได้ หรือใส่กระทะ บีบน้ำมะกรูดลงไปพอควร
ตั้งบนเตาไฟกวนให้แห้ง หรือเอาใบข่าหรือใบบัวห่อยาดำ ปิ้งไฟ
จนใบที่ห่อเหลืองจนจะไหม้ จึงเอานาดำไปผสมยา
2. การฆ่าฤทธิ์สารหนู
วิธีที่ 1 นำสารหนูบดให้ละเอียด ตั้งชามกระเบื้องหรือฝาละมี บนเตาไฟให้ร้อนจัด
แล้วเอาสารหนูที่บดแล้วเทลงไป บีบน้ำมะนาวหรือน้ำมะกรูดลงไปพอควร เป็นครั้งที่ 1
รอจนน้ำมะนาวแห้ง แล้วจึงบีบมะนาวลงไปอีก ทำจนครบ 3 ครั้ง
สารหนูจะกรอบและเปลี่ยนสีไปจากเดิม ยกลงจากเตาทิ้งไว้ให้เย็น
วิธีที่ 2 ใส่สารหนูลงในหม้อดิน
ปิดฝา ยกตั้งเตาไฟ เผาให้ร้อนจัด สารหนูถูกความร้อนจัดจะเกาะตัวจับอยู่ที่ข้างหม้อหรือฝาหม้อ
ยกลงจากเตา ทิ้งไว้ให้เย็น ขูดออกมาใช้ได้
3. การฆ่าฤทธิ์ชาดก้อน
วิธีทำ เช่นเดียวกับการฆ่าฤทธิ์สารหนู แต่ใช้น้ำมะกรูด
ถ้าหาน้ำมะกรูดไม่ได้จึงใช้น้ำมะนาวแทน
4. การฆ่าฤทธิ์รงทอง
4. การฆ่าฤทธิ์รงทอง
วิธีทำ บดรงทองให้ละเอียด บดกับน้ำมะนาวปั้นให้เป็นเม็ด
แล้วห่อใบพลู 7 ชั้น ปิ้งไฟให้กรอบ ถ้าไม่มีใบพลู อาจใช้ใบบัว ใบตอง หรือใบบัวหลวง
ห่อหรือปิ้งไฟก็ได้
การฆ่าฤทธิ์รงทอง
บางครั้งใช้วิธีทุบให้ละเอียด
ใส่ลงในกระทะ คั่วไฟจนกรอบ ระวังอย่าให้ไหม้
5.
การฆ่าฤทธิ์ลูกสลอด มีหลายวิธี
วิธีทำ แบบที่ 1. ห่อเมล็ดสลอดด้วยผ้าขาวบาง ใส่ใบมะขาม
ใบส้มป่อย เกลือพอสมควรลงไปในหม้อ ต้มให้สุก รินน้ำทิ้ง ทำ 3 ครั้ง
แล้วบีบเอาน้ำมันในเมล็ดสลอดออก นำไปตากให้แห้ง
ใช้ปรุงยาได้
แบบที่ 2. ทุบเมล็ดสลอดให้แตก
เอาแต่เนื้อในมาตำให้ละเอียด แล้วห่อกระดาษฟาง
ใช้ของหนักๆทับ
เปลี่ยนกระดาษฟางบ่อยๆ จนแน่ใจว่าไม่มีน้ำมันแล้วจึงใช้ได้
แบบที่ 3. ปอกเปลือกเมล็ดสลอด
เอาไส้ในออกล้างน้ำให้สะอาด ห่อผ้าขาว ใส่หม้อกวน รวมกับข้าวสารให้แห้ง 3 ครั้ง
แล้วคั่วกับน้ำปลาให้พอเกรียม นำไปทับให้น้ำมันออกให้หมด
แบบที่ 4.
ปอกเปลือกเมล็ดสลอด เอาไส้ในออกแล้วล้างน้ำให้สะอาด แล้วเอาแช่น้ำเกลือไว้ 2 คืน
นำไปยัดไว้ในลูกมะกรูด นำลูกมะกรูดหมกไฟให้ไหม้เกรียม เสร็จแล้วนำไปผสมยาได้
แบบที่ 5. แกะเอาเปลือกและไส้ในออก
แล้วนำไปแชปลาร้าปากไหไว้ 1 คืนแล้ว
นำไปยัดไว้ในลูกมะกรูด สุมไฟแกลบให้สุก
แบบที่ 6. ปอกเปลือกเมล็ดสลอด เอาไส้ในออก
นำไปแช่น้ำมูตร 1 วัน ต้มด้วยน้ำมะพร้าว 1 วัน ต้มด้วยข้างสาร 1 วัน
ต้มด้วยน้ำอ้อยแดง 1 วัน ต่อจากนั้นนำไปทับให้แห้ง
และตากแดดให้แห้งสนิท จึงนำไปใช้ได้
แบบที่ 7. ปอกเปลือกเมล็ดสลอด
เอาแต่เนื้อตำให้ละเอียด นำไปคั่วให้เกรียมจนหมดน้ำมันสลอด
แบบที่ 8. ปอกเปลือกเมล็ดสลอด
แล้วนำไปแช่น้ำปลาร้าไว้ 3 วัน จึงเอาขึ้นตากให้แห้ง
แบบที่ 9. ปอกเปลือกเมล็ดสลอด
แล้วนำไปต้มกับน้ำเกลือ ตากให้แห้ง ตำละเอียด
ทับให้น้ำมันออกให้หมด
แบบที่ 10. ปอกเปลือกเมล็ดสลอด
คั่วกับทราย จนกว่าน้ำมันสลอดจะหมด
แบบที่ 11.
นำสลอดไปต้มกับข้าวเปลือกจนเดือด เมล็ดข้าวเปลือกจะสุกบาน
ตักลูกสลอดไปใช้ได้
6. การฆ่าฤทธิ์ขี้แมลงสาบ
7. การฆ่าเชื้อประสะชะมดเช็ด
วิธีทำ แบบที 1. นำชะมดเช็ดใส่ลงในใบพลู
ลนไฟจนเกรียม แล้วเอียงลงให้ไหลลงไป
ในถ้วย
แบบที่ 2. ห่อชะมดเช็ดด้วยผ้า เพื่อป้องกันไม่ให้ขนปนลงไปด้วย
แบบที่ 3.
ห่อชะมดเดด้วยผ้าขาวบาง ใส่ถ้วยไว้ ตั้งไฟตุ๋นหรือนึ่ง (ปิดฝาให้มิดชิด)
อย่าให้น้ำมันลงไปได้
ตุ๋นหรือนึ่งจนกว่าชะมดเช็ดจะละลายออกมาหมด บีบห่อผ้าให้แห้ง
วิธีทำ ใช้ทองแดง ทองเหลือง หรือเงิน ผสมให้ปรอทกินเสียก่อน
จึงเอามาทำยาต้มต่อไป
แต่ทำผงได้ยาก เพราะปรอทมีน้ำหนักมาก
ยุ่งยากในการบด
การประสะตัวยา คำว่า ประสะ มีความหมาย 2 อย่าง คือ
1.
ฟอกหรือชำระสิ่งต่างๆ เช่น เครื่องยาเพื่อให้สะอาด หรือทำให้รสและพิษอ่อนลง
2.
ใช้เรียกยาที่เข้าเครื่องยาสิ่งหนึ่งเท่ากับยาอื่นๆ เช่น ประสะขิง
ก็คือ น้ำหนักของขิงเท่ากับน้ำหนักตัวยาอื่นในตำรับรวมกัน ในที่นี้จะยกตัวอย่างวิธีประสะตามความหมายข้อ
1.ดังนี้
1.
การประสะยางสลัดได
วิธีทำ เอายางสลัดไดใส่ถ้วย ใส่น้ำลงไป แล้วใส่ในกระทะ
ยกกระทะตั้งบนเตาไฟ กวนน้ำยาจนเห็นว่าสุกดี จึงรินน้ำใส่ถ้วนทิ้ง
นำยางสลัดไดออกตากแดดให้แห้ง ใช้ผสมยาได้
2.
การประสะเหล็ก
วิธีทำ เหล็กที่ใช้ผสมยานั้น แข็งและเหนียวมาก ต้องใช้ตะไบถูให้เป็นผงละเอียดก่อน
แล้วจึงนำเอาผงเหล็กใส่ในกระทะ บีบน้ำมะนาวใส่ให้เปียกชุ่ม
ตั้งบนเตาไฟ คั่วให้ผงเหล็ก
แห้ง ทำ 7 ครั้ง
จึงเอาผงเหล็กที่ประสะแล้วไปผสมยาได้
การสะตุยา คือการแปรรูปลักษณะของสิ่งของบางอย่าง เช่น เกลือ สารส้ม ให้เป็นผงบริสุทธิ์
1.
การสะตุเกลือ
วิธีทำ ใส่เกลือในภาชนะที่ไม่ใช่โลหะซึงทนความร้อนได้
ใส่น้ำลงไปเล็กน้อย ตั้งบนเตาไฟ
วิธีทำ นำสารส้มใส่ฝาละมี เอาไปตั้งบนเตาไฟ ใช้ภาชนะครอบอีกทีหนึ่ง เพื่อไม่ให้ล้นออกมา
เมื่อแห้งแล้วจึงนำไปผสมยาได้
3.
การสะตุน้ำประสานทอง
วิธีทำ เอาน้ำประสานทองใส่ฝาละมี นำไปตั้งบนเตาไฟ ใช้ภาชนะครอบเพื่อไม่ให้ฟูออก
เมื่อแห้งแล้วจึงนำไปผสมยาได้
อายุของยา ยาทุกชนิด มีกำหนดอายุของยา
ยาที่ครบกำหนดอายุแล้วไม่เหมาะที่จะนำไปใช้ เพราะสรรพคุณทางยาจะลดลงไปเรื่อยๆ
จนกระทั่งหมดไป ใช้รักษาไม่ได้ผล ทำให้เสื่อมสรรพคุณในการรักษาโรคแล้ว และยาบางชนิดอาจแปรสภาพกลายเป็นสารมีพิษ
และเป็นอันตรายกับผู้ใช้
ก่อนจะนำยาที่ปรุงเก็บไว้ไปใช้ ควรจะตรวจดูอายุของยาเสียก่อนทุกครั้ง ถ้าพบว่ายาหมดอายุแล้ว
ต้องจัดการทิ้งทันที
อายุของยาแต่ละชนิด
มีความแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับประเภทของยา ดังรายการใน
ตารางกำหนดอายุยา (โดยประมาณ) ของยาประเภทต่างๆ
ที่มีการเก็บรักษาอย่างดีและถูกต้อง
(ตารางกำหนดอายุยา
ดูได้หลังน้ำกระสายยา)
วิธีชั่งยาโบราณ
เครื่องหมายตีนกาเทียบน้ำหนักที่ใช้ในตำรายาไทย
ตัวอย่าง การอ่านค่าเครื่องหมายตีนกา คือ 1 ชั่ง 2 ตำลึง 3 บาท 5 สลึง 4 เฟื้อง 6 ไพ
มาตราชั่งน้ำหนักโบราณ
2 เมล็ดงา =
1 เมล็ดข้าวเปลือก
4 เมล็ดข้าวเปลือก = 1 กล่อม (เทียบเม็ดมะกล่ำตาหนู)
2 กล่อม = 1 กล่ำ (เทียบเม็ดมะกล่ำตาช้าง)
4 เมล็ดข้าวเปลือก = 1 กล่อม (เทียบเม็ดมะกล่ำตาหนู)
2 กล่อม = 1 กล่ำ (เทียบเม็ดมะกล่ำตาช้าง)
2 กล่ำ
= 1 ไพ
4 ไพ = 1 เฟื้อง
2 เฟื้อง = 1 สลึง
4 สลึง = 1 บาท
4 บาท = 1 ตำลึง
4 ไพ = 1 เฟื้อง
2 เฟื้อง = 1 สลึง
4 สลึง = 1 บาท
4 บาท = 1 ตำลึง
20 ตำลึง
= 1 ชั่ง
50 ชั่ง = 1 หาบ
50 ชั่ง = 1 หาบ
การชั่งยาซื้อยากันในท้องตลาด เดิมใช้น้ำหนักตามตาชั่งจีน ซึ่งมีหลักเทียบน้ำหนักดังนี้
1
ชั่งจีน =
16 ตำลึงจีน (40
บาท)
1
ตำลึงจีน = 10 สลึง
เมื่อทราบน้ำหนักของไทยและจีนแล้วสามารถเทียบกันได้
แต่โดยทั่วไปนิยมให้เขียนน้ำหนักเป็นบาท ซึ่งเทียบกับมาตราเมตริกแล้ว 1 บาท
เท่ากับ 15 กรัม
เครื่องมือในการชั่งตวงนี้
ปัจจุบันได้มีพระราชบัญญัติให้ใช้มาตราเมตริกเป็นมาตราสากล
มีรายละเอียดดังนี้
มาตราชั่งน้ำหนักเทียบกับมาตราเมตริก
1 หาบ = 50
ชั่ง = 60,000 กรัม
1 ชั่ง = 20 ตำลึง = 80 บาท = 1,200 กรัม
1 ตำลึง = 4 บาท = 60 กรัม
1 บาท = 4
สลึง = 15 กรัม
1 สลึง = 2
เฟื้อง = 1/4 บาท = 3.75 กรัม
1 เฟื้อง = 4 ไพ = 1/8 บาท = 1.875 กรัม
1 ไพ = 2 อัฐ = 1/32 บาท = 0.468 กรัม
การเทียบ คำว่า หยิบมือ กำมือ และกอบมือ โดยประมาณ
150 เมล็ดข้าวเปลือก = 1 หยิบมือ
4 หยิบมือ = 1 กำมือ
4 กำมือ = 1 ฟายมือ
2 ฟายมือ = 1 กอบมือ
4 กอบมือ = 1 ทะนาน
20 ทะนาน = 1 สัด
40 สัด = 1 บั้น
2 บั้น = 1 เกวียน
หมายเหตุ
1 กอบมือ หมายถึง
ปริมาณสมุนไพรที่ได้จากการใช้มือทั้ง 2 ข้างกอบเข้าหากัน
ให้ปลายนิ้วกลาง นิ้วนาง
และนิ้วก้อยแตะกัน
1 กำมือ หมายถึง
ปริมาณสมุนไพรที่ได้จากการใช้มือข้างเดียว ทำให้ปลายนิ้วมือ
จรดอุ้งมือโหย่งๆ
สิ่งที่ต้องรู้ในการปรุงยา
1.
รู้จักชื่อตัวยา และชนิดของตัวยา
2.
รู้จักรสและสรรพคุณของยา
3.
รู้จักพิกัดและอ่านตำราเข้าใจความหมาย
4.
รู้จักตัวยาที่มีสรรพคุณคล้ายกัน ใช้แทนกันได้
5.
รู้จักใช้ตัวยา คือ รู้ว่าใช้ส่วนไหนทำยา เช่น ใช้แก่น ราก ใบ ดอก
กระดูก ฯลฯ
6.
รู้จักยาที่เป็นพิษ ถ้าใช้เกินขนาดอาจเป็นอันตรายถึงตาย
7.
รู้จักขนาดยา ใช้ให้เหมาสมกับอายุของผู้ป่วย
8.
รู้จักน้ำกระสายยาต่างๆ เพื่อช่วยฤทธิ์ของยานั้นๆ
9.
รู้จักตัวยาที่ห้ามผสม คือยาที่มีฤทธิ์ขัดกัน
10.
รู้จักตัวยาสดและเก็บยาสดส่วนไหนของต้นไม้ เก็บเวลาใดจึงจะมีสรรพคุณดี
11.
รู้จักมาตราชั่งตวงยาโบราณและยาปัจจุบัน เทียบน้ำหนักได้
รู้จักใช้เครื่องชั่งตวง
12.
รู้กฎหมายควบคุมการประกอบโรคศิลปะ และการขายยา
น้ำกระสายยา
น้ำกระสายยา มีความสำคัญต่อยาแต่ละขนาน เพื่อเป็นการเสริมฤทธิ์ยา ในการรักษาโรคให้ได้ผล หรือหายเร็วขึ้น และช่วยให้กลืนยาง่ายไม่ติดคอ น้ำกระสายยาได้แก่
1. น้ำสะอาด ที่ปราศจากเชื้อโรค สี กลิ่น รสและวัตถุอื่นๆ
2. น้ำสุก น้ำสะอาดที่ต้มจนเดือดสักครู่แล้วทิ้งไว้ให้เย็น
3. น้ำที่ได้จากวัตถุต่างๆ ที่ใช้เป็นตัวกระสายยา เข่น พืชวัตถุ สัตว์วัตถุ ธาตุวัตถุ โดยนำมาบีบ คั้น นวด หรือต้ม
น้ำกระสายยา มีความสำคัญต่อยาแต่ละขนาน เพื่อเป็นการเสริมฤทธิ์ยา ในการรักษาโรคให้ได้ผล หรือหายเร็วขึ้น และช่วยให้กลืนยาง่ายไม่ติดคอ น้ำกระสายยาได้แก่
1. น้ำสะอาด ที่ปราศจากเชื้อโรค สี กลิ่น รสและวัตถุอื่นๆ
2. น้ำสุก น้ำสะอาดที่ต้มจนเดือดสักครู่แล้วทิ้งไว้ให้เย็น
3. น้ำที่ได้จากวัตถุต่างๆ ที่ใช้เป็นตัวกระสายยา เข่น พืชวัตถุ สัตว์วัตถุ ธาตุวัตถุ โดยนำมาบีบ คั้น นวด หรือต้ม
การจะใช้น้ำกระสายยาอย่างนั้นต้องพิจารณาถึงสมุฏฐานของโรคว่า
มีอาการเป็นอย่างไร โดยถือหลักตามรสยาทั้ง 9 แล้วพิจารณาใช้น้ำกระสายยาให้ถูกต้อง
เช่น โรคนั้นต้องมีการสมานก็ต้องใช้น้ำกระสายยาที่มีรสฝาด
ถ้าโรคนั้นร้อนกระสับกระส่าย อ่อนเพลียไม่มีกำลัง
ก็ใช้น้ำกระสายยาที่มีรสเย็น หอม
เป็นต้น
น้ำกระสายยาแก้โรคต่างๆ
1) แก้อาเจียน ใช้ลูกยอหมกไฟ ต้มเอาน้ำเป็นกระสายยา หรือเอาลูกผักชีและเทียนดำ ต้มเอาเป็นกระสายยา
1) แก้อาเจียน ใช้ลูกยอหมกไฟ ต้มเอาน้ำเป็นกระสายยา หรือเอาลูกผักชีและเทียนดำ ต้มเอาเป็นกระสายยา
2) แก้อาเจียนเป็นเลือด เอาว่านหอยแครง
หรือเปลือกลูกมะรุม รากส้มซ่า ต้มเอาน้ำเป็นกระสายยา
3) แก้ท้องเดิน เอาเปลือกต้นมะเดื่อชุมพร
ต้มเอาน้ำเป็นกระสายยา
4) แก้บิด เอากะทือ หรือไพล หมกไฟ ฝนกับน้ำเป็นกระสายยา
5) แก้กินผิดสำแดง (อาหารเป็นพิษ) เอาเปลือกแคแดง ต้มน้ำเป็น
กระสายยา หรือเอาทับทิมทั้ง 5 ต้มกับน้ำปูนใส เอาน้ำเป็นกระสายยา
4) แก้บิด เอากะทือ หรือไพล หมกไฟ ฝนกับน้ำเป็นกระสายยา
5) แก้กินผิดสำแดง (อาหารเป็นพิษ) เอาเปลือกแคแดง ต้มน้ำเป็น
กระสายยา หรือเอาทับทิมทั้ง 5 ต้มกับน้ำปูนใส เอาน้ำเป็นกระสายยา
6) แก้หอบ เอาใบทองหลางใบมน ต้มเอาน้ำเป็นกระสายยา
7) แก้สะอึก เอารากมะกล่ำเครือ ต้มเอาน้ำเป็นกระสายยา
8) แก้ไข้เชื่อมมึน เอาน้ำดอกไม้ เป็นกระสายยา
9) แก้ไข้มัว เอาน้ำจันทน์เทศ เป็นกระสายยา
10) แก้ไข้เพ้อคลั่ง เอาใบมะนาว 108 ใบ ต้มเอาน้ำเป็นกระสายยา
11) แก้ไข้ระส่ำระส่าย เอารากบัว ต้มเอาน้ำเป็นกระสายยา
12) แก้สวิงสวาย เอาน้ำซาวข้าว เป็นกระสายยา
13) แก้สะบัดร้อนสะบัดหนาว เอาน้ำมูตร เป็นน้ำกระสายยา
14) แก้เบื่ออาหาร เอาลูกผักชีลา ต้มเอาน้ำเป็นกระสายยา
15) แก้น้ำลายเหนียว เอาเทียนดำห่อผ้า ต้มเอาน้ำเป็นกระสายยา
16) แก้ขัดเบา เอากาฝากมะม่วง ต้มเอาน้ำเป็นกระสายยา
17) แก้นอนไม่หลับ เอารากชุมเห็ดไทย ต้มเอาน้ำเป็นกระสายยา
18) แก้กินอาหารไม่รู้รส เอาโกฐหัวบัว ชะเอมเทศ ต้มเอาน้ำเป็น
กระสายยา
19) แก้ทรางขึ้นทรวงอก เอาผักเสี้ยนผี ต้มเอาน้ำเป็นกระสายยา
20) แก้เด็กเป็นลมชัก เอาตะไคร้ ใบสะระแหน่ บดละลายน้ำดอกมะลิ เป็นกระสายยา
21) แก้กระหายน้ำ เอาเมล็ดมะกอกเผาไฟ แช่น้ำเป็นกระสายยา
22) แก้อกแห้งชูกำลัง เอาน้ำผึ้ง เป็นกระสายยา
23) แก้อ่อนเพลีย บำรุงกำลัง เอาน้ำข้าวเช็ด รังนกนางแอ่น ต้มเอาน้ำเป็นกระสายยา
24) ทำให้มีกำลัง เอาน้ำนมสัตว์ เป็นกระสายยา
25) ขับลมให้แล่นทั่วกาย เอาน้ำส้มสายชู เป็นกระสายยา
26) ชูกำลังชื่นใจ เอาน้ำตาล ต้มเอาน้ำเป็นกระสายยา
27) แก้ไข้หวัด ไอ เอาลูกมะแว้ง คั้นเอาน้ำผสมเกลือ เป็นกระสายยา
28) แก้เสมหะแห้ง เอาน้ำมะนาว ผสมเกลือ
เป็นกระสายยา
29) แก้ลมจุกเสียด เอาข่า ต้มเอาน้ำเป็นกระสายยา
30) แก้ท้องขึ้น เอากะเพรา ต้มเอาน้ำเป็นกระสายยา
31) กระทุ้งพิษไข้ เอารากผักชี ต้มเอาน้ำเป็นกระสายยา
32) แก้ชีพจร เอารากกะเพรา ฝนกับน้ำดอกมะลิ เป็นกระสายยา
***ถ้าหากยาขนานใดไม่ได้แจ้งกระสายยาไว้ ให้ใช้น้ำสุกสะอาดเป็นกระสายยา
29) แก้ลมจุกเสียด เอาข่า ต้มเอาน้ำเป็นกระสายยา
30) แก้ท้องขึ้น เอากะเพรา ต้มเอาน้ำเป็นกระสายยา
31) กระทุ้งพิษไข้ เอารากผักชี ต้มเอาน้ำเป็นกระสายยา
32) แก้ชีพจร เอารากกะเพรา ฝนกับน้ำดอกมะลิ เป็นกระสายยา
***ถ้าหากยาขนานใดไม่ได้แจ้งกระสายยาไว้ ให้ใช้น้ำสุกสะอาดเป็นกระสายยา
----------------------------------------------
------------------------------------------------------
No comments:
Post a Comment