จัดทำโดย อ.หมอสุชาติ ภูวรัตน์
นธ.เอก, บาลีประโยค 1-2
(อดีตพระธรรมทูตต่างประเทศ)
B.S. Engineering Design Tech.
B.A. ศาสนศาสตร์บัณฑิต
B.S. Computer Information Systems
B.TM. แพทย์แผนไทยบัณฑิต
สาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ
บ.ภ., พท.ว., พท.ผ., พท.น.
ครูแพทย์แผนไทย 4 ด้าน
ศูนย์การแพทย์แผนไทยภูเก็ต
ทำเพื่อการศึกษาและประโยชน์แก่ผู้ชม
โรคเบาหวาน
โรคเบาหวาน เป็นโรคที่พบได้บ่อยและมักจะพบได้หลายคนในครอบครัวเดียวกัน จนอาจมองได้ว่าโรคนี้อาจติดมาจากพันธุกรรมได้ จากข้อมูลของกระทรวงสาธารณะสุขพบว่า ปัจจุบันคนที่วัย 35 ปีขึ้นไปป่วยเป็นเบาหวานมากถึง 2.4 ล้านคน และที่น่าเป็นห่วงกว่านั้นคือผู้ที่เข้ารับการรักษากว่าครึ่งไม่เคยรู้มาก่อนว่าป่วยเป็นเบาหวาน ทดลองทำแบบทดสอบดูว่าคุณเสี่ยงต่อการเป็นเบาหวานมากน้อยเพียงใด โดยทำเครื่องหมาย ถูก ที่หน้าหัวข้อนั้นๆ หากตรงกับสภาพและอาการของตน
1. คุณมีอายุมากกว่า 35 ปี
2. มีพ่อแม่พี่น้องเป็นโรคเบาหวาน
3. ชอบกินของหวานๆ มันๆ
4. หิวบ่อย กินจุ
5. ออกกำลังกายน้อย
6. กระหายน้ำบ่อย
7. อ่อนเพลีย และเหนื่อยง่าย
8. ตาพร่า มองไม่ชัด
9. ความดันโลหิตสูง
10. น้ำหนักลดลงโดยไม่ทราบสาเหตุ
11. ปวด แน่น จุกเสียดหน้าอก
12. น้ำหนักเกินเกณฑ์มาตรฐาน
13. ชาตามปลายมือปลายเท้า
14. ปัสสาวะบ่อยโดยเฉพาะตอนกลางคืนต้องลุกขึ้นมาปัสสาวะ
หากคุณตอบว่าใช่เป็นส่วนใหญ่แสดงว่าคุณอาจเป็นโรคเบาหวานจำเป็นต้องรีบบำบัดรักษาก่อนที่ทุกอย่างจะสายเกินไป
เบาหวานคืออะไร ?
เบาหวานเกิดจากตับอ่อนไม่สามารถสร้างอินซูลินได้อย่างเพียงพอ หรือร่างกายตอบสนองต่ออินซูลินได้น้อยกว่าปกติ จึงไม่สามารถเผาผลาญคาร์โบไฮเดรตรวมถึงโปรตีนและไขมันบางส่วนได้อย่างเหมาะสม ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติและเสี่ยงต่อโรคแทรกซ้อนหลายอย่าง เช่น หัวใจวาย ตาบอด ไตวาย อัมพฤกษ์ อัมพาตและโรคติดเชื้อ เป็นต้น
เบาหวานจะแบ่งออกเป็น 2 ชนิด ดังนี้
เบาหวานชนิดที่ 1 หรือเบาหวานชนิดพึ่งอินซูลิน ซึ่งเกิดจากตับอ่อนไม่สามารถสร้างอินซูลินได้อย่างเพียงพอ เบาหวานชนิดนี้ส่วนใหญ่จะพบในเด็กและวัยรุ่น ประมาณ 10% ของผู้ป่วยเบาหวานทั้งหมดเป็นเบาหวานชนิดที่ 1
เบาหวานชนิดที่ 2 หรือเบาหวานชนิดไม่พึ่งอินซูลิน ซึ่งตับอ่อนของผู้ป่วยเบาหวานชนิดนี้ส่วนใหญ่สร้างอินซูลินได้อย่างเพียงพอ แต่ร่างกายตอบสนองต่ออินซูลินได้น้อยกว่าปกติ
ประมาณ 90% ของผู้ป่วยเบาหวานทั้งหมดเป็นเบาหวานชนิดที่ 2
โรคแทรกซ้อนของเบาหวานมีอะไรบ้าง ?
1. ตา อาจเป็นต้อกระจกก่อนวัย ประสาทตาหรือจอตาเสื่อม และอาจทำให้ตาบอดในที่สุด
2. ระบบประสาท ผู้ป่วยอาจะเป็นปลายประสาทอักเสบ มีอาการชาหรือปวดแสบปวดร้อนตามปลายมือปลายเท้า
3. เท้า ซึ่งมักจะทำให้มีแผลเกิดขึ้นที่เท้าได้ง่ายและอาจลุกลามจนเท้าเน่า กระเพาะปัสสาวะไม่ทำงาน ทำให้กลั้นปัสสาวะไม่อยู่หรือไม่มีแรงเบ่งปัสสาวะ กระเพาะอาหารไม่ทำงาน มีอาการจุกเสียด อาหารไม่ย่อย ท้องผูก ท้องเดิน โดยเฉพาะเช้ามือถึงก่อนเที่ยง ผู้ป่วยชายมักมีภาวะหย่อนสมรรถภาพทางเพศ
4. ไต มักเกิดภาวะไตวาย มีอาการบวม ซีด ความดันโลหิตสูง ซึ่งเป็นสาเหตุการเสียชีวิตของผู้ป่วยเบาหวานที่พบได้ค่อนข้างบ่อย
5. ภาวะหลอดเลือดแดงแข็ง ทำให้เป็นอัมพฤกษ์ อัมพาต และโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ ถ้าหลอดเลือดแดงที่เท้าแข็งและตีบ เลือดไปเลี้ยงเท้าไม่พออาจทำให้เท้าเย็น เป็นตะคริว ปวดขณะเดินมากๆ หรืออาจทำให้เป็นแผลหายยากหรือนิ้วเท้าเป็นเนื้อตายเน่า
6. ภูมิคุ้มกันต่ำ เป็นโรคติดเชื้อได้ง่าย เช่น วัณโรคปอด กระเพาะปัสสาวะอักเสบ กรวยไตอักเสบ กลาก โรคเชื้อชา เป็นฝีหรือพุพองบ่อย นิ้วเท้าหรือช่องคลอดอักเสบ เป็นต้น
7. แผลที่เท้า เป็นภาวะแทรกซ้อนที่พบได้บ่อย เนื่องจากผู้ป่วยเบาหวานมักมีภาวะปลายประสาทอักเสบ และภาวะขาดเลือดทำให้เท้าชาเกิดแผลได้ง่ายและหายยากหรือเป็นเนื้อตายเน่า บางครั้งจำเป็นต้องตัดนิ้วหรือตัดขา ทำให้เกิดภาวะพิการได้
ทำไมผู้ป่วยเบาหวานมักเสียชีวิตจากโรคหัวใจ ?
ผู้ป่วยเบาหวานมีโอกาสเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจตีบในอายุที่น้อยกว่าและรุนแรงกว่า
เนื่องจากระดับน้ำตาลที่เพิ่มสูงขึ้นนั้นทำให้ผนังหลอดเลือดแดง
ทั้งรายการเกิดความผิดปกติและเสื่อมลงอย่างรวดเร็ว นอกจากนี้
ผู้ป่วยเบาหวานมักจะมีโรคอื่นๆ ร่วมอยู่ด้วย เช่น โรคไขมันในเลือดสูง
ความดันโลหิตสูง โรคอ้วน การแข็งตัวของเลือดผิดปกติ เป็นต้น
โรคเหล่านี้จะเร่งให้โครงสร้างและสภาพของหลอดเลือดเกิดความผิดปกติมากขึ้นและเร็วขึ้น
หลอดเลือดหัวใจจึงเกิดการอักเสบ ทำให้คราบไขมันที่เกาะตามผนังหลอดเลือดมีการแตกออก
ซึ่งจะทำให้เกิดลิ่มเลือดมาอุดตันหลอดเลือดหัวใจอย่างเฉียบพลัน
ส่งผลให้กล้ามเนื้อหัวใจตาย โรคหลอดเลือดหัวใจตีบจึงเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับ
1 ของผู้ป่วยเบาหวาน
อาการโรคหัวใจในผู้ป่วยเบาหวานจะแตกต่างจากผู้ป่วยโรคหัวใจทั่วไปอย่างไร
?
สำหรับอาการของโรคหลอดเลือดหัวใจตีบในผู้ป่วยเบาหวานอาการเจ็บหน้าอกมักจะไม่ชัดเจนหรือไม่มีเลย
เนื่องจากประสาทรับความรู้สึกในผู้ป่วยเบาหวานเสื่อมสภาพลง
จึงมักจะมีแค่อาการเหนื่อยง่ายกว่าปกติ แน่น จุกเสียดหน้าอกเหมือนอาหารไม่ยอม
วิงเวียน ตัวเย็น เหงื่อออก ใจสั่นรู้สึกคล้ายจะเป็นลม
อาการเหล่านี้อาจมีอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างพร้อมกันและอาจเกิดขึ้นในเวลาใดก็ได้
วิธีการบำบัดแบบองค์รวมของการแพทย์จีน
เป็นที่ทราบกันว่าโรคเบาหวานมีโรคแทรกซ้อนหลายอย่างที่ทำให้เกิดภาวะพิการและมีอันตรายถึงชีวิต
การบำบัดโรคเบาหวานของการแพทย์จีนจึงไม่ได้หยุดอยู่แค่การควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดเท่านั้น
แต่ยังเน้นความสำคัญกับการรักษาต้นเหตุและโรคแทรกซ้อนของเบาหวานไปพร้อมๆ กัน
ดังนี้
1. ทำความสะอาดและทะลวงหลอดเลือด
สลายลิ่มเลือดและไขมัน ทำให้หลอดเลือดโล่งสะอาด
ดังทฤษฎีการวินิจฉัยและรักษาอันสำคัญของการแพทย์จีน ปวดแสดงว่าไม่โล่ง โล่งแล้วก็จะไม่ปวด
จึงป้องกันและรักษาโรคแทรกซ้อนของเบาหวาน เช่น โรคหลอดเลือด หัวใจตีบ
ไขมันในเลือดสูง ความดันโลหิตสูง อัมพฤกษ์ อัมพาต ได้อย่างมีประสิทธิภาพ2. ปรับความสมดุลของร่างกายโดยเฉพาะความสมดุลของตับและตับอ่อน ทำให้มีการสังเคราะห์โคเลสเตอรอลและอินซูลินในปริมาณที่เหมาะสม และเมื่อร่างกายอยู่ในภาวะสมดุลแล้วก็จะตอบสนองต่ออินซูลินได้อย่างปกติ จึงสามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้อย่างมีประสิทธิภาพ
3. บำรุงรักษาไตที่เสื่อมลงให้แข็งแรงขึ้น เนื่องจากไตเสื่อมทำให้เกิดโรคเบาหวาน แต่เมื่อเป็นโรคเบาหวานแล้วก็จะทำให้ไตเสื่อมเร็วขึ้นจนเกิดภาวะไตวายซึ่งเป็นวัฏจักรที่เลวร้าย การบำรุงรักษาไตจึงมีบทบาทสำคัญในการบำบัดฟื้นฟูโรคเบาหวานด้วย
ขณะเดียวกัน ผู้ป่วยเบาหวานจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในชีวิตประจำวันให้ถูกสุขลักษณะ พยายามหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงต่างๆ และออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เมื่อใช้วิธีบำบัดรักษาแบบองค์รวมควบคู่กับการปฏิบัติตัวอย่างถูกต้อง อาการต่างๆ ของเบาหวานจึงค่อยๆ ทุเลาลงหรืออาจหายไปในที่สุด
การรักษาแผลเน่า เบาหวาน
ยาใส่แผลสำหรับแผลเน่า
จากการพิจารณาคร่าวๆ
ดูว่าสาระดี ขออนุญาตแผยแพร่เป็นธรรมทาน ยาใส่แผลเน่าที่รักษาไม่หาย เช่น
แผลเรื้อรัง แผลเบาหวาน แผลกดทับ
โดยมีส่วนผสมของยาง่ายๆขอเองได้ตามตลาดดังนี้
1. น้ำมันมะพร้าว 1000 ซีซี หรือ 1 ลิตร2. ไข่แดง 4-6 ฟอง (ถ้าได้ไข่เป็ดยิ่งดี เอาเฉพาะไข่แดงนะคะ ขนาดเบอร์ 0 ดูไข่ที่มีลักษณะ
กลมๆ ป้อมๆ
จะมีน้ำมันเยอะ)
3. ลูกหมากสดแก่ๆ 2 ลูก(ใช้เฉพาะเนื้อแดงๆ ข้างใน)4. สารส้มสตุ 1 หัวแม่โป้ง(วิธีสตุ คือ นำสารส้มมาทุบๆให้เป็นเม็ดเล็กๆ แล้วใส่ตะหลิว ตั้งบนไฟ ให้สารส้มระเหยเป็นผงๆขุ่นๆ)
วิธีทำ
- ใช้ผ้าขาวบาง ปูบนชามแกง - เอาไข่แดงที่แยกเรียบร้อยแล้ว ใส่ลงบนผ้าขาวบาง แล้วตีให้เป็นเนื้อเดียวกันเบาๆ
- ทุบเนื้อหมาก ให้แตกๆ ใส่ลงไปในผ้าขาวบางที่มีไข่ตีแล้ว
- ใส่สารส้มสตุ ลงไป แล้วผูกผ้าขาวบางให้เรียบร้อย
- เอาน้ำมันมะพร้าวตั้งไฟอ่อนๆ
- เอาผ้าขาวบาง หย่อนลงไป
- รอจนน้ำมันมะพร้าวเดือดปุดๆ แล้วมีน้ำมันไข่แดงออกมา
- สังเกตว่าจะเริ่มมีฟอง ก็ใช้ได้
- น้ำมันยาที่ได้จะมีสีเหลืองๆ อมส้ม
- เอาน้ำมันที่ได้ กรอกใส่ขวดไว้เป็นยาใส่แผล
ข้อดี
-ของการใส่แผลด้วยยาจากน้ำมันมะพร้าวผสมไข่แดง คือ ไม่ต้องล้างและคว้านแผล
-แผลจะค่อยๆดูดน้ำมันยา เข้าไปหล่อเลี้ยงและฟื้นฟูแผล
-ตัวที่ประสานแผลคือหมาก และสารส้ม จะมีฤทธิ์ช่วยดูดหนอง
-ไข่แดงคือเลซิตินที่ทำให้เซลส์ประสาทงอกขึ้นมาและดึงออกซิเจนเข้าแผลได้มากยิ่งขึ้นแผลจะ
ตื้นขึ้นมาเรื่อยๆ
แล้วไม่เป็นแผลเป็น
-สำหรับพ่อแม่พี่น้อง
ที่ต้องดูแลผู้ป่วยมีแผลเบาหวาน แต่ไม่มีกำลังทรัพย์ ไปปลูกถ่ายสเต็ม เซลส์
ก็ลองวิธีนี้ดู ผู้ที่เคยบำบัด บอกว่า ดีกว่าแผนปัจจุบัน ที่ต้องขูดแผล
ล้างแผลทุกวัน-อันนี้ล้างครั้งแรก แล้วหยอดยาได้ตลอด แผลจะค่อยๆตื้นขึ้นมา ขอบอกว่า เรายังไม่ได้ทดลองด้วยตัวเองกับใคร แต่ได้ลองมาแล้วได้ผล
อ้างอิง: ทางแพทย์สายพุทธ
No comments:
Post a Comment