พระพุทธศาสนาในประเทศศรีลังกา
พระธาตุเขี้ยวแก้ว
จัดทำโดย อ.หมอสุชาติ ภูวรัตน์
นธ.เอก, บาลีประโยค 1-2
(อดีตพระธรรมทูตต่างประเทศ)
B.S. Engineering Design Tech.
B.A. ศาสนศาสตร์บัณฑิต
B.S. Computer Information Systems
B.TM. แพทย์แผนไทยบัณฑิต
สาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ
บ.ภ., พท.ว., พท.ผ., พท.น.
ครูแพทย์แผนไทย 4 ด้าน
ศูนย์การแพทย์แผนไทยภูเก็ต
ทำเพื่อการศึกษาและประโยชน์แก่ผู้ชม
พระพุทธศาสนาเข้ามาประเทศศรีลังกา ในสมัยพระเจ้าเทวนัมปิยติสสะ โดยพระเจ้าอโศกมหาราชแห่งประเทศอินเดีย ทรงส่งพระมหินทเถระกับภิกษุ
4 รูปไปเผยแผ่ กล่าวว่าพระเจ้าอโศกมหาราชกับพระเจ้าเทวานัมปิยติสสะ เป็นพระสหายที่ไม่เคยเห็นหน้ากัน แต่ทั้งสองพระองค์มีสัมพันธไมตรีที่ดีต่อกัน
เมื่อพระเจ้าอโศกมหาราชได้ทรงส่งสมณทูตไปเผยแผ่พระพุทธศาสนา
พระเจ้าเทวานัมปิยติสสะ ก็ทรงต้อนรับและสนับสนุนให้ความอุปถัมภ์เป็นอย่างดียิ่ง ทำให้พระพุทธศาสนาดำรงมั่นคงในศรีลังกาตั้งแต่นั้นมา
ประเทศศรีลังกามีภูมิประเทศเป็นเกาะอยู่ทางทิศใต้ของประเทศอินเดีย
มีประชาชน 2 เผ่าใหญ่ คือ เผ่าสิงหลกับเผ่าทมิฬ เผ่าสิงหลนับถือพระพุทธศาสนา ส่วนเผ่าทมิฬไม่ได้นับถือพระพุทธศาสนา
คราวใดที่ชนเผ่าทมิฬมีอำนาจปกครองบ้านเมืองก็ได้ทำลายพระพุทธศาสนา แต่คราวใดที่ชนเผ่าสิงหลมีอำนาจปกครองบ้านเมือง
พระพุทธศาสนาก็ได้รับการทะนุบำรุงให้เจริญรุ่งเรือง
ประวัติศาสตร์ประเทศศรีลังกาบันทึกว่า
พระพุทธศาสนาได้สูญสิ้นจากประเทศศรีลังกา 2 ครั้ง คือครั้งแรก พุทธศตวรรษที่ 16-17 และครั้งที่ 2 พุทธศตวรรษที่ 23-25
ครั้งที่ 1 พ.ศ. 2614 ได้มีผู้นำชาวสิงหลได้รวบรวมกำลังพลทำการกอบกู้อิสรภาพจากเผ่าชาวทมิฬไว้ได้
ต่อมาได้เป็นพระมหากษัตริย์ทรงพระนามว่า พระเจ้าวิชัยสิริสังฆโพธิ พระองค์ได้ทรงดำริที่จะทะนุบำรุงพระพุทธศาสนาให้รุ่งเรือง
แต่เมื่อทรงพิจารณาเห็นว่า พระพุทธศาสนาถูกทำลายอย่างมากจะหาพระภิกษุที่บริสุทธิ์แม้เพียงรูปเดียวก็ไม่มี
พระองค์จึงได้ส่งราชทูตไปทูลขอพระสงฆ์จากประเทศเมียนม่า ในสมัยพระเจ้าอโนรธามังช่อ
พระเจ้าอโนรธามังช่อทรงส่งพระสงฆ์ จำนวน ๒๐ รูป เดินทางไปประเทศศรีลังกาเพื่อให้การบรรพชาอุปสมบทกุลบุตรชาวศรีลังกา
ทำให้พระพุทธศาสนาและสมณวงศ์ในประเทศศรีลังกากลับฟื้นขึ้นมาอีกครั้ง
ครั้งที่ 2 ประมาณ พ.ศ. 2296 พระเจ้ากิตติสิริราชสีห์ ทรงกอบกู้อิสรภาพไว้ได้
แต่พระพุทธศาสนาได้เสื่อมลงอย่างมาก
พระองค์จึงทรงราชทูตไปทูลขอพระสงฆ์จากประเทศไทย ตรงกับรัชสมัยของพระเจ้าบรมโกษฐ์
แห่งกรุงศรีอยุธยา พระเจ้าบรมโกษฐ์ทรงส่งพระอุบาลีกับพระอริยมุนีและพระสงฆ์จำนวน 12 รูป เดินทางไปศรีลังกาเพื่อให้การบรรพชาอุปสมบทแก่กุลบุตรชาวลังกา ผู้ที่บวชในสำนักของนี้
เรียกว่า "สยามวงศ์" หรือ "อุบาลีวงศ์"
ซึ่งเป็นคณะสงฆ์ส่วนใหญ่ในประเทศศรีลังกา มาจนถึงปัจจุบันนี้
ต่อมาประเทศศรีลังกาได้ตกเป็นเมืองขึ้นของโปรตุเกส
ทำให้พระพุทธศาสนาถูกทำลายอีกครั้ง
แต่โดยอาศัยที่พระพุทธศาสนาได้ปักหลักและอยู่ในจิตใจของชาวศรีลังกามาช้านาน
ทำให้พระพุทธศาสนายังดำรงมั่นคงอยู่ได้
เมื่อประเทศศรีลังกาได้รับอิสรภาพ
พระพุทธศาสนาก็ได้รับการทะนุบำรุงให้เจริญขึ้น พระสงฆ์ชาวศรีลังกามีความขยันขันแข็งมาก
ได้ให้การอบรมสั่งสอน พระพุทธศาสนาแก่ประชาชนและเยาวชน
รวมทั้งมีการส่งพระสงฆ์ไปเผยแผ่พระพุทธศาสนายังต่างประเทศอีกด้วย
การบวชภิกษุณีในศรีลังกา
สวดอิติปิโส ศรีลังกา
พระพุทธศาสนาในประเทศศรีลังกา
วันพระในประเทศศรีลังกา มีอะไรๆ หลายๆอย่างไม่เหมือนบ้านเรา เขามีความศรัทธาในพระพุทธศาสนา พัฒนาจิตใจมากกว่าวัตถุ วัดของเขาจึงไม่หรูหราเหมือนบ้านเรา
ReplyDelete