Search This Blog / The Web ต้นหาบล็อกนี้ / เว็บ

Friday, November 10, 2023

วิชา กฎหมาย และจรรยาบรรณวิชาชีพการแพทย์แผนไทย

 วิชา กฎหมาย และจรรยาบรรณวิชาชีพ

การแพทย์แผนไทย


จัดทำโดย อ.หมอสุชาติ ภูวรัตน์

นธ.เอกบาลีประโยค 1-2

(อดีตพระธรรมทูตต่างประเทศ)

B.S. Engineering Design Tech.

 B.A. ศาสนศาสตร์บัณฑิต

B.S. Computer Information Systems

B.TM.  พทย์แผนไทยบัณฑิต

สาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ

บ.ภ.พท.ว.พท.ผ.พท.น.

ครูแพทย์แผนไทย 4 ด้าน

ศูนย์การแพทย์แผนไทยภูเก็ต

ทำเพื่อการศึกษาและประโยชน์แก่ผู้ชม 

-----------------------------------

Link วิชา จรรยาบรรณวิชาชีพ​

การแพทย์แผนไทย

จรรยาบรรณและวิชาชีพการแพทย์แผนไทย

พ.ร.บ. สภาวิชาชีพการแพทย์แผนไทย พ.ศ. 2556 และเพิ่มเติม

พ.ร.บ. สถานพยาบาล พ.ศ. 2541 และเพิ่มเติม

พ.ร.บ. ผลิตภัณฑ์สมุนไพร พ.ศ. 2562

พ.ร.บ. คุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญา

การแพทย์แผนไทย พ.ศ. 2542

และเพิ่มเติม

-----------------------------

กรอบเนื้อหาการสอบความรู้ในวิชาชีพ

การแพทย์แผนไทย 

ตามมาตรา 12 (2) ปี 2567 

วิชากฎหมายและจรรยาบรรณวิชาชีพ

1. รัฐธรรมนูญ แห่งราชอาณาจักรไทย 

มาตรา 55

2. ประมวลกฎหมายอาญา 

มาตรา 293, 300, 326-333 และ 390

3. พระราชบัญญัติ ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ 

พ.ศ. 2550 (แก้ไข พ.ศ. 2560)

4. จรรยาบรรณวิชาชีพ (ข้อบังคับสภาการแพทย์แผนไทย 

ว่าด้วยจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพการแพทย์แผนไทย พ.ศ. 2557)

5. พระราชบัญญัติวิชาชีพการแพทย์แผนไทย พ.ศ. 2556

6. พระราชบัญญัติสถานพยาบาล พ.ศ. 2541 

และแก้ไขเพิ่มเติม ฉบับที่ 4 พ.ศ. 2554 

และแก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2563

7. พระราชบัญญัติคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย 

พ.ศ. 2542 และแก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2563 

และแก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2565

8. พระราชบัญญัติผลิตภัณฑ์สมุนไพร 

พ.ศ. 2562

9. ข้อบังคับสภาการแพทย์แผนไทย 

ว่าด้วยการเป็นสมาชิก

สภาการแพทย์แผนไทย พ.ศ. 2566

-----------------------------------

จรรยาบรรณวิชาชีพการแพทย์แผนไทย


กดลิ้งค์ดู

https://suchartpoovarat.blogspot.com/2023/02/blog-post.html


คลังข้อสอบจรรยาบรรณวิชาชีพการแพทย์แผนไทย

กดลิ้งค์ดู

https://pkthaitraditionalmedicineexamdatabank.blogspot.com/2015/05/blog-post.html?m=1

--------------------------------

พ.ร.บ. สภาวิชาชีพการแพทย์แผนไทย พ.ศ. 2556

ข้อบังคับสภาการแพทย์แผนไทย

พ.ศ. 2567-2566 และอื่นๆ

ประกาศสภาการแพทย์แผนไทย พ.ศ. 2566


กดลิ้งค์ดู

https://phuketthaitraditionalmedicinecenter.blogspot.com/2013/07/2556_6837.html?m=1

 คลังข้อสอบ พ.ร.บ. สภาวิชาชีพการแพทย์แผนไทย

กดลิ้งค์ดู


-----------------------------------

พ.ร.บ. สถานพยาบาล พ.ศ. 2541 (ฉบับที่ 1) แก้ไขเพิ่มเติม

2547 (ฉบับที่ 2), 2555 (ฉบับที่ 3), 2559 (ฉบับที่ 4)  

แก้ไขเพิ่มเติม กฎกระทรวง 2558, กฎกระทรวง 2562 

แก้ไขเพิ่มเติมประกาศ พ.ศ. 2563


กดลิ้งค์ดู

https://phuketthaitraditionalmedicinecenter.blogspot.com/2013/06/blog-post_28.html?m=1


 คลังข้อสอบ พ.ร.บ. สถานพยาบาล​

กดลิ้งค์ดู

https://pkthaitraditionalmedicineexamdatabank.blogspot.com/2014/12/2541.html?m=1

-------------------------------

พ.ร.บ. ผลิตภัณฑ์สมุนไพร พ.ศ. 2562

​ พ.ร.บ.​ ผลิตภัณฑ์สมุนไพร​ 40​ ข้อ​ ตอนที่​ 1​

พ.ร.บ.​ ผลิตภัณฑ์สมุนไพร​ 90​ ข้อ​ ตอนที่​ 2​


กดลิ้งค์ดู

https://suchartpoovarat.blogspot.com/2021/06/2562.html


คลังข้อสอบ พ.ร.บ. ผลิตภัณฑ์สมุนไพร พ.ศ. 2562

กดลิ้งค์ดู

https://pkthaitraditionalmedicineexamdatabank.blogspot.com/2022/08/2562.html

-------------------------------

พ.ร.บ. คุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญา

การแพทย์แผนไทย พ.ศ. 2542

แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2563 และ 2565


กดลิ้งค์ดู

https://phuketthaitraditionalmedicinecenter.blogspot.com/2013/07/2542_8532.html


คลังข้อสอบ พ.ร.บ. คุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญา

การแพทย์แผนไทย พ.ศ. 2542

กดลิ้งค์ดู

https://pkthaitraditionalmedicineexamdatabank.blogspot.com/2023/03/2542.html

-------------------------------


รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย 

มาตรา 55


การพัฒนาสิทธิประโยชน์ด้านการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ

นางสาวปิยะวรรณ กลิ่นสุคนธ์

นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการพิเศษ

กลุ่มบริหารยุทธศาสตร์

        1.หลักการและเหตุผล

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตราที่เกี่ยวข้องกับสาธารณสุขและสุขภาพของประชาชน

หมวด 3 สิทธิและเสรีภาพของปวงชนชาวไทย

มาตรา 47 บุคคลย่อมมีสิทธิได้รับบริการสาธารณสุขของรัฐ

บุคคลผู้ยากไร้ย่อมมีสิทธิได้รับบริการสาธารณสุขของรัฐโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายตามที่กฎหมายบัญญัติ บุคคลย่อมมีสิทธิได้รับการป้องกันและขจัดโรคติดต่ออันตรายจากรัฐโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย

มาตรา 48 สิทธิของมารดาในช่วงระหว่างก่อนและหลังการคลอดบุตรย่อมได้รับความคุ้มครองและ ช่วยเหลือตามที่กฎหมายบัญญัติ

บุคคลซึ่งมีอายุเกินหกสิบปีและไม่มีรายได้เพียงพอแก่การยังชีพ และบุคคลผู้ยากไร้ย่อมมีสิทธิได้รับความช่วยเหลือที่เหมาะสมจากรัฐตามที่กฎหมายบัญญัติ

หมวด 5 หน้าที่รัฐ

มาตรา 55 รัฐต้องดำเนินการให้ประชาชนได้รับบริการสาธารณสุขที่มีประสิทธิภาพอย่างทั่วถึง เสริมสร้างให้ประชาชนมีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการส่งเสริมสุขภาพ และการป้องกันโรคและส่งเสริมสนับสนุนให้มีการพัฒนาภูมิปัญญาด้านแพทย์แผนไทย ให้เกิดประโยชน์สูงสุด

บริการสาธารณสุขตามวรรคหนึ่งต้องครอบคลุมการส่งเสริมสุขภาพ การควบคุม และป้องกันโรค การรักษาพยาบาล และการฟื้นฟูสุขภาพด้วย

รัฐต้องพัฒนาการบริการสาธารณสุขให้มีคุณภาพและมาตรฐานสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง

         หมวด 6 แนวนโยบายแห่งรัฐ

มาตรา 71 รัฐพึงเสริมสร้างความเข้มแข็งของครอบครัวอันเป็นองค์ประกอบพื้นฐานที่สำคัญของสังคม จัดให้ประชาชนมีที่อยู่อาศัยอย่างเหมาะสม ส่งเสริมและพัฒนาการสร้างเสริมสุขภาพเพื่อให้ประชาชนมีสุขภาพที่ แข็งแรงและมีจิตใจเข้มแข็ง รวมตลอดทั้งส่งเสริมและพัฒนาการกีฬาให้ไปสู่ความเป็นเลิศและเกิดประโยชน์สูงสุด แก่ประชาชน

        หมวดที่ 16 การปฏิรูปประเทศ

        ช. ด้านอื่น ๆ

ข้อ (4) ปรับระบบหลักประกันสุขภาพให้ประชาชนได้รับสิทธิและประโยชน์จากการบริหารจัดการและ การเข้าถึงบริการที่มีคุณภาพและสะดวกทัดเทียมกัน

กรมอนามัยเป็นหน่วยงานภาครัฐ มีวิสัยทัศน์คือ เป็นองค์กรหลักของประเทศในการอภิบาลระบบส่งเสริม สุขภาพและระบบอนามัยสิ่งแวดล้อมเพื่อประชาชนสุขภาพดี ทำหน้าที่ในการสังเคราะห์ใช้ความรู้และดูภาพรวม เพื่อกำหนดนโยบายและออกแบบระบบส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม โดยการประสานงาน สร้างความ ร่วมมือและกำกับดูแล เพื่อให้เกิดความรับผิดชอบต่อการดำเนินงาน จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเป็นกลไก หลัก ประสาน และขับเคลื่อนการดำเนินงานให้ประชาชนได้รับสิทธิประโยชน์ที่จำเป็นด้านการสร้างเสริมสุขภาพ และป้องกันโรคตามกลุ่มวัยในระบบหลักประกันสุขภาพ

         2. แนวทางการดำเนินงาน

1. ศึกษา ค้นคว้า ทบทวนข้อมูลสิทธิประโยชน์การสร้างเสริมสุขภาพกลุ่มวัย ตามประกาศคณะกรรมการ หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง ประเภทและขอบเขตของบริการสาธารณสุข (ฉ 10) พ.ศ. 2559

2. ศึกษา วิเคราะห์ ออกแบบ และสร้างกลไกในการขับเคลื่อนการดำเนินงานพัฒนาสิทธิประโยชน์ด้าน การสร้างเสริมสุขภาพ ของกรมอนามัย

3. จัดทำคำสั่งกรมอนามัยแต่งตั้งคณะกรรมการขับเคลื่อนสิทธิประโยชน์ด้านการสร้างเสริมสุขภาพ กรมอนามัย

4. จัดการประชุมคณะกรรมการฯ เพื่อกำหนดแนวทางและรูปแบบในการดำเนินงาน

5. จัดทำและรวบรวมข้อเสนอสิทธิประโยชน์การสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคตามกลุ่มวัย นำเสนอ ผู้บริหารกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข และสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติพิจารณาตามลำดับ

6. การเข้าร่วมการประชุมในระดับต่าง ๆ เช่น คณะทำงาน / คณะกรรมการกลั่นกรองสิทธิประโยชน์ฯ กระทรวงสาธารณสุข และคณะทำงาน / คณะอนุกรรมการพัฒนาบริการด้านการสร้างเสริมสุขภาพฯ สปสช. เพื่อ ติดตามและรายงานผลการพิจารณาให้กรมอนามัยทราบ

7. ประสาน กำกับ ติดตาม การปรับปรุง แก้ไขข้อเสนอสิทธิประโยชน์การสร้างเสริมสุขภาพตามกลุ่มวัย ตามที่ สปสช.พิจารณาให้ข้อเสนอแนะ จนเป็นข้อเสนอที่สมบูรณ์สามารถบรรจุเข้าเป็นสิทธิประโยชน์ในระบบ หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ

8. ศึกษา ทบทวน และวิเคราะห์ผลการดำเนินงาน เพื่อพัฒนาแนวทางการดำเนินงานในระยะต่อไป

3. ปัญหา อุปสรรค

1. กลไกการดำเนินงานในภาพรวมของกระทรวงสาธารณสุขซ้ำซ้อน ขาดความชัดเจนในกระบวนการดำเนินงาน

2. การขับเคลื่อนการดำเนินงานในระดับกรมอนามัยขาดผู้ทรงคุณวุฒิในด้านต่างๆ เช่น ด้านเศรษฐศาสตร์ สาธารณสุข สูติแพทย์ กุมารแพทย์ ที่จะช่วยสนับสนุนการจัดทำข้อเสนอสิทธิประโยชน์ฯ เนื่องจากเป็นข้อมูลวิชาการเชิงลึกต้องอาศัยองค์ความรู้เฉพาะด้าน และต้องใช้ระยะเวลาดำเนินการ

3. ขาดทีมงานในระดับสำนักส่งเสริมสุขภาพ ที่จะช่วยสนับสนุน วิเคราะห์ จัดทำ และขับเคลื่อนงาน ร่วมกับกลุ่มวิชาการ (อนามัยแม่ละเด็ก วันเรียนวัยรุ่น วัยทำงาน)

4. แนวทางในการพัฒนา

ทบทวนบทบาทภารกิจตามกฎหมาย และบทบาทภารกิจอื่นๆ ที่สำนักส่งเสริมสุขภาพได้รับมอบหมาย จากกรมอนามัย หรือกระทรวงสาธารณสุข และจัดทำโครงสร้างสำนักส่งเสริมสุขภาพขึ้นใหม่ให้รองรับบาบาท หน้าที่ดังกล่าว พร้อมทั้งพิจารณาอัตรากำลัง ความรู้ความสามารถของบุคลากร และมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่ที่ เหมาะสมตามกลุ่มงานนั้นๆ ทั้งนี้ ให้จัดทำแผนอัตรากำลังและแผนพัฒนาศักยภาพบุคลากรให้สอดคล้องกัน  




สรุปร่างพระราชบัญญัติระบบการแพทย์ปฐมภูมิและสาธารณสุข พ.ศ.....

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2560 มาตรา 55 และมาตรา 258

1. การแพทย์ปฐมภูมิ หมายถึง “การดูแลสุขภาพแต่แรกแบบองค์รวม ผสมผสานต่อเนื่อง เน้นเชิงรุก

2. มาตรา 55 กำหนดให้รัฐต้องดำเนินการให้ ปชช.ได้รับบริการสาธารณสุขที่มีประสิทธิภาพอย่างทั่วถึง 

3. มาตรา 258ช (5) กำหนดให้ดำเนินการปฏิรูปประเทศโดยให้มีระบบการแพทย์ปฐมภูมิที่มีแพทย์เวช ศาสตร์ครอบครัวดูแล ปชช.ในสัดส่วนที่เหมาะสม

4. ผลิตพัฒนา / ส่งเสริมสนับสนุน ให้มีทีมผู้ให้บริการด้านการแพทย์และสาธารณสุข ที่ประกอบด้วยแพทย์ เวชศาสตร์ครอบครัวและทีมสหวิชาชีพ ดูแล ปชช.ในสัดส่วนที่เหมาะสม

5. ให้มีระบบฐานข้อมูลสุขภาพแบบอิเล็คโทรนิกส์ที่ครบถ้วนเชื่อมโยงและต่อเนื่อง

6. ให้มีระบบลงทะเบียน เพื่อเชื่อมโยงระบบสนับสนุนต่างๆระหว่าง ปชช. กับทีมผู้ให้บริการ

7. ให้มีระบบดูแลส่งเสริมสนับสนุนและพัฒนาหน่วยบริการปฐมภูมิที่มีส่วนรวมของภาคีเครือข่ายต่างๆในชุมชน

8. ให้มีระบบกลไกทางการเงินที่สนับสนุนการดำเนินการระบบการแพทย์ปฐมภูมิและบริการสาธารณสุข

9. ให้มีคณะกรรมการระบบการแพทย์ปฐมภูมิและบริการสาธารณสุข ที่มี รมต.สธ. เป็นประธานและ กรรมการที่เกี่ยวข้อง 

-----------------------------------

ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 293, 300, 326-333 และ390

มาตรา 293 ผู้ใดช่วยหรือยุยงเด็กอายุยังไม่เกินสิบหกปี หรือผู้ซึ่งไม่สามารถเข้าใจว่าการกระทำของตนมีสภาพหรือสารสำคัญอย่างไรหรือไม่สามารถบังคับการกระทำของตนได้ ให้ฆ่าตนเอง ถ้าการฆ่าตนเองนั้นได้เกิดขึ้นหรือได้มีการพยายามฆ่าตนเอง ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

มาตรา 300 ผู้ใดกระทำโดยประมาท และการกระทำนั้นเป็นเหตุให้ผู้อื่นรับอันตรายสาหัส ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

หมวด 3 

ความผิดฐานหมิ่นประมาท

มาตรา 326 ผู้ใดใส่ความผู้อื่นต่อบุคคลที่สาม โดยประการที่น่าจะทำให้ผู้อื่นนั้นเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่นหรือถูกเกลียดชัง ผู้นั้นกระทำความผิดฐานหมิ่นประมาท ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

มาตรา 327 ผู้ใดใส่ความผู้ตายต่อบุคคลที่สาม และการใส่ความนั้น น่าจะเป็นเหตุให้ บิดา มารดา คู่สมรส หรือบุตรของผู้ตายเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่นหรือถูกเกลียดชัง ผู้นั้นกระทำความผิดฐานหมิ่นประมาท ต้องระวางโทษดังบัญญัติไว้ในมาตรา 326 นั้น

มาตรา 328 ถ้าความผิดฐานหมิ่นประมาทได้กระทำโดยการโฆษณา ด้วยเอกสาร ภาพวาด ภาพระบายสี ภาพยนตร์ ภาพหรือตัวอักษรที่ทำให้ปรากฏด้วยวิธีใดๆ แผ่นเสียง หรือสิ่งบันทึกเสียง บันทึกภาพ หรือบันทึกอักษร การกระทำโดยการกระจายเสียง หรือกระจายภาพ หรือโดยกระทำการป่าวประกาศด้วยวิธีอื่น ผู้กระทำต้องระวางโทษ จำคุกไม่เกินสองปีและปรับไม่เกินสองแสนบาท

มาตรา 329 ผู้ใดแสดงความคิดเห็นหรือข้อความใดโดยสุจริต

(1) เพื่อความชอบธรรม ป้องกันตนหรือป้องกันส่วนได้เสียเกี่ยวกับตนตามคลองธรรม

(2) ในฐานะเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติการตามหน้าที่

(3) ติชมด้วยความเป็นธรรม ซึ่งบุคคลหรือสิ่งใดอันเป็นวิสัยของประชาชนย่อมกระทำ หรือ

(4) ในการแจ้งข่าวด้วยความเป็นธรรม หรือการดำเนินการอันเปิดเผยในศาลหรือในการประชุม

ผู้นั้นไม่มีความผิดฐานหมิ่นประมาท

 

(คำพิพากษาศาลฏีกาที่ 1006/2542)

มาตรา 330 ในกรณีหมิ่นประมาท ถ้าผู้ถูกหาว่ากระทำความผิด พิสูจน์ได้ว่าข้อที่หาว่าเป็นหมิ่นประมาทนั้น เป็นความจริง ผู้นั้นไม่ต้องรับโทษ

แต่ห้ามไม่ให้พิสูจน์ ถ้าข้อที่หาว่าเป็นหมิ่นประมาทนั้นเป็นการใส่ความในเรื่องส่วนตัว และการพิสูจน์จะไม่เป็นประโยชน์แก่ประชาชน

มาตรา 331 คู่ความหรือทนายความของคู่ความ ซึ่งแสดงความคิดเห็น หรือข้อความในกระบวนพิจารณาคดีในศาล เพื่อประโยชน์แก่คดีของตน ไม่มีความผิดฐานหมิ่นประมาท

มาตรา 332 ในคดีหมิ่นประมาทซึ่งมีคำพิพากษาว่าจำเลยมีความผิด ศาลอาจสั่ง

(1) ให้ยึด และทำลายวัตถุหรือส่วนของวัตถุที่มีข้อความหมิ่นประมาท

(2) ให้โฆษณาคำพิพากษาทั้งหมด หรือแต่บางส่วนในหนังสือพิมพ์หนึ่งฉบับหรือหลายฉบับครั้งเดียวหรือหลายครั้งโดยให้จำเลย เป็นผู้ชำระค่าโฆษณา

มาตรา 333 ความผิดในหมวดนี้เป็นความผิดอันยอมความได้

ถ้าผู้เสียหายในความผิดฐานหมิ่นประมาทตายเสียก่อนร้องทุกข์ ให้บิดามารดา คู่สมรส หรือบุตรของผู้เสียหายร้องทุกข์ได้ และให้ถือว่าเป็นผู้เสียหาย

 

มาตรา 390 ผู้ใดกระทำโดยประมาท และการกระทำนั้นเป็นเหตุ ให้ผู้อื่นรับอันตรายแก่กายและจิตใจ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

-----------------------------------

พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ 2550, 2560 

สรุป และกฎหมายอื่นๆ


กดลิ้งค์ดู

https://poovaratsuchart.blogspot.com/2023/11/2550-2560.html

-----------------------------------

พ.ร.บ. ว่าด้วยการกระทำความผิด

เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550

หน้า 4

เล่ม 124 ตอนที่ 27 ก ราชกิจจานุเบกษา 18 มิถุนายน 2550 

พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทําความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550

ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร.  ให้ไว้ ณ วันที่ 10 มิถนายน  พ.ศ. 2550 เป็นปีที่ 62 ในรัชกาลปัจจุบัน

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้า ฯ  ให้ประกาศว่า

โดยที่เป็นการสมควรมีกฎหมายว่าด้วยการกระทําความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์  จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคําแนะนําและยินยอมของ สภานิติบัญญัติแห่งชาติ ดังต่อไปนี้

มาตรา 1 พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า “พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทําความผิดเกี่ยวกับ คอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550”  

มาตรา 2 พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกําหนดสามสิบวันนับแต่วันประกาศ ในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

มาตรา 3 ในพระราชบัญญัตินี้

ระบบคอมพิวเตอร์” หมายความว่า อุปกรณ์หรือชุดอุปกรณ์ของคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมการทํางาน เข้าด้วยกัน โดยได้มีการกําหนดคําสั่ง ชุดคําสั่ง หรือสิ่งอื่นใด และแนวทางปฏิบัติงานให้อุปกรณ์ หรือชุดอุปกรณ์ทําหน้าที่ประมวลผลข้อมูลโดยอัตโนมัติ


หน้า 5

เล่ม 124 ตอนที่ 27 ก ราชกิจจานุเบกษา 18 มิถุนายน 2550

ข้อมูลคอมพิวเตอร์” หมายความว่า ข้อมูล ข้อความ คําสั่ง ชุดคําสั่ง หรือสิ่งอื่นใดบรรดา ที่อยู่ในระบบคอมพิวเตอร์ในสภาพที่ระบบคอมพิวเตอร์อาจประมวลผลได้ และให้หมายความรวมถึง ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ตามกฎหมายว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ด้วย

ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์” หมายความว่า ข้อมูลเกี่ยวกับการติดต่อสื่อสารของระบบ คอมพิวเตอร์ ซึ่งแสดงถึงแหล่งกําเนิด ต้นทาง ปลายทาง เส้นทาง เวลา วันที่ ปริมาณ ระยะเวลา  ชนิดของบริการ หรืออื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการติดต่อสื่อสารของระบบคอมพิวเตอร์นั้น “ผู้ให้บริการ” หมายความว่า

(1) ผู้ให้บริการแก่บุคคลอื่นในการเข้าสู่อินเทอร์เน็ต หรือให้สามารถติดต่อถึงกันโดย ประการอื่น โดยผ่านทางระบบคอมพิวเตอร์ ทั้งนี้ ไม่ว่าจะเป็นการให้บริการในนามของตนเอง หรือ ในนามหรือเพื่อประโยชน์ของบุคคลอื่น

(2) ผู้ให้บริการเก็บรักษาข้อมูลคอมพิวเตอร์เพื่อประโยชน์ของบุคคลอื่น

ผู้ใช้บริการ” หมายความว่า ผู้ใช้บริการของผู้ให้บริการไม่ว่าต้องเสียค่าใช้บริการหรือไม่ก็ตาม “พนักงานเจ้าหน้าที่” หมายความว่า ผู้ซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้ “รัฐมนตรี” หมายความว่า รัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้

มาตรา 4 ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารรักษาการตาม พระราชบัญญัตินี้ และให้มีอํานาจออกกฎกระทรวงเพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้ กฎกระทรวงนั้น เมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ใช้บังคับได้

หมวด 1

ความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์

มาตรา 5 ผู้ใดเข้าถึงโดยมิชอบซึ่งระบบคอมพิวเตอร์ที่มีมาตรการป้องกันการเข้าถึง โดยเฉพาะและมาตรการนั้นมิได้มีไว้สําหรับตน ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกิน หนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ

มาตรา 6 ผู้ใดล่วงรู้มาตรการป้องกันการเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์ที่ผู้อื่นจัดทําขึ้นเป็นการเฉพาะ  ถ้านํามาตรการดังกล่าวไปเปิดเผยโดยมิชอบในประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่น ต้องระวางโทษจําคุก ไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ

หน้า 6

เล่ม 124 ตอนที่ 27 ก ราชกิจจานุเบกษา 18 มิถุนายน 2550

มาตรา 7 ผู้ใดเข้าถึงโดยมิชอบซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่มีมาตรการป้องกันการเข้าถึงโดยเฉพาะ และมาตรการนั้นมิได้มีไว้สําหรับตน ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินสองปีหรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท  หรือทั้งจําทั้งปรับ

มาตรา 8 ผู้ใดกระทําด้วยประการใดโดยมิชอบด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์เพื่อดักรับไว้ ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นที่อยู่ระหว่างการส่งในระบบคอมพิวเตอร์ และข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้น มิได้มีไว้เพื่อประโยชน์สาธารณะหรือเพื่อให้บุคคลทั่วไปใช้ประโยชน์ได้ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกิน สามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ

มาตรา 9 ผู้ใดทําให้เสียหาย ทําลาย แก้ไข เปลี่ยนแปลง หรือเพิ่มเติมไม่ว่าทั้งหมดหรือ บางส่วน ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นโดยมิชอบ ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกิน หนึ่งแสนบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ

มาตรา 10 ผู้ใดกระทําด้วยประการใดโดยมิชอบ เพื่อให้การทํางานของระบบคอมพิวเตอร์ ของผู้อื่นถูกระงับ ชะลอ ขัดขวาง หรือรบกวนจนไม่สามารถทํางานตามปกติได้ต้องระวางโทษจําคุก ไม่เกินห้าปีหรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ

มาตรา 11 ผู้ใดส่งข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือจดหมายอิเล็กทรอนิกส์แก่บุคคลอื่นโดยปกปิด หรือปลอมแปลงแหลงที่มาของการส่งข้อมูลดังกล่าว อันเป็นการรบกวนการใช้ระบบคอมพิวเตอร์ของ บุคคลอื่นโดยปกติสุข ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท

มาตรา 12 ถ้าการกระทําความผิดตามมาตรา 9 หรือมาตรา 10

(1) ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ประชาชน ไม่ว่าความเสียหายนั้นจะเกิดขึ้นในทันทีหรือ ในภายหลังและไม่ว่าจะเกิดขึ้นพร้อมกันหรือไม่ ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินสิบปี และปรับไม่เกิน สองแสนบาท

(2) เป็นการกระทําโดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายต่อข้อมูลคอมพิวเตอร์ หรือระบบ คอมพิวเตอร์ที่เกี่ยวกับการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของประเทศ ความปลอดภัยสาธารณะ ความมั่นคง ในทางเศรษฐกิจของประเทศ หรือการบริการสาธารณะ หรือเป็นการกระทําต่อข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือ ระบบคอมพิวเตอร์ที่มีไว้เพื่อประโยชน์สาธารณะ ต้องระวางโทษจําคุกตั้งแต่สามปีถึงสิบห้าปี และ ปรับตั้งแต่หกหมื่นบาทถึงสามแสนบาท  ถ้าการกระทําความผิดตาม (2) เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย ต้องระวางโทษจําคุกตั้งแต่ สิบปีถึงยี่สิบปี

หน้า 7

เล่ม 124 ตอนที่ 27 ก ราชกิจจานุเบกษา 18 มิถุนายน 2550

มาตรา 13 ผู้ใดจําหน่ายหรือเผยแพร่ชุดคําสั่งที่จัดทําขึ้นโดยเฉพาะเพื่อนําไปใช้เป็นเครื่องมือ ในการกระทําความผิดตามมาตรา 5 มาตรา 6 มาตรา 7 มาตรา 8 มาตรา 9 มาตรา 10 หรือ มาตรา 11 ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ

มาตรา 14 ผู้ใดกระทําความผิดที่ระบุไว้ดังต่อไปนี้ ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินห้าปี หรือ ปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ

(1) นําเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ปลอมไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน หรือ ข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน

(2) นําเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิด ความเสียหายต่อความมั่นคงของประเทศหรือก่อให้เกิดความตื่นตระหนกแก่ประชาชน

(3) นําเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ใด ๆ อันเป็นความผิดเกี่ยวกับความมั่นคง แห่งราชอาณาจักรหรือความผิดเกี่ยวกับการก่อการร้ายตามประมวลกฎหมายอาญา

(4) นําเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ใด ๆ ที่มีลักษณะอันลามกและ ข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นประชาชนทั่วไปอาจเข้าถึงได้

(5) เผยแพร่หรือส่งต่อซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยรู้อยู่แล้วว่าเป็นข้อมูลคอมพิวเตอร์ตาม (1)  (2) (3) หรือ (4)

มาตรา 15 ผู้ให้บริการผู้ใดจงใจสนับสนุนหรือยินยอมให้มีการกระทําความผิดตามมาตรา 14 ในระบบคอมพิวเตอร์ที่อยู่ในความควบคุมของตน ต้องระวางโทษเช่นเดียวกับผู้กระทําความผิด

ตาม มาตรา 14

มาตรา 16 ผู้ใดนําเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ที่ประชาชนทั่วไปอาจเข้าถึงได้ซึ่งข้อมูล คอมพิวเตอร์ที่ปรากฏเป็นภาพของผู้อื่น และภาพนั้นเป็นภาพที่เกิดจากการสร้างขึ้น ตัดต่อ เติม หรือดัดแปลงด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์หรือวิธีการอื่นใด ทั้งนี้ โดยประการที่น่าจะทําให้ผู้อื่นนั้น เสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น ถูกเกลียดชัง หรือได้รับความอับอาย ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินสามปี หรือ ปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ

ถ้าการกระทําตามวรรคหนึ่ง เป็นการนําเข้าข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยสุจริต ผู้กระทําไม่มีความผิด ความผิดตามวรรคหนึ่งเป็นความผิดอันยอมความได้

ถ้าผู้เสียหายในความผิดตามวรรคหนึ่งตายเสียก่อนร้องทุกข์ ให้บิดา มารดา คู่สมรส หรือ บุตรของผู้เสียหายร้องทุกข์ได้ และให้ถือว่าเป็นผู้เสียหาย

มาตรา 17 ผู้ใดกระทําความผิดตามพระราชบัญญัตินี้นอกราชอาณาจักรและ

หน้า 8

เล่ม 124 ตอนที่ 27 ก ราชกิจจานุเบกษา 18 มิถุนายน 2550

(1) ผู้กระทําความผิดนั้นเป็นคนไทย และรัฐบาลแห่งประเทศที่ความผิดได้เกิดขึ้นหรือ ผู้เสียหายได้ร้องขอให้ลงโทษ หรือ

(2) ผู้กระทําความผิดนั้นเป็นคนต่างด้าว และรัฐบาลไทยหรือคนไทยเป็นผู้เสียหายและ ผู้เสียหายได้ร้องขอให้ลงโทษ  จะต้องรับโทษภายในราชอาณาจักร

หมวด 2

พนักงานเจ้าหน้าที่

มาตรา 18 ภายใต้บังคับมาตรา 19 เพื่อประโยชน์ในการสืบสวนและสอบสวนในกรณีที่มี เหตุอันควรเชื่อได้ว่ามีการกระทําความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอํานาจอย่างหนึ่ง อย่างใด ดังต่อไปนี้ เฉพาะที่จําเป็นเพื่อประโยชน์ในการใช้เป็นหลักฐานเกี่ยวกับการกระทําความผิด และหาตัวผู้กระทําความผิด

(1) มีหนังสือสอบถามหรือเรียกบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการกระทําความผิดตามพระราชบัญญัติ นี้มาเพื่อให้ถ้อยคํา ส่งคําชี้แจงเป็นหนังสือ หรือส่งเอกสาร ข้อมูล หรือหลักฐานอื่นใดที่อยู่ในรูปแบบ ที่สามารถเข้าใจได้

(2) เรียกข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์จากผู้ให้บริการเกี่ยวกับการติดต่อสื่อสารผ่านระบบ คอมพิวเตอร์หรือจากบุคคลอื่นที่เกี่ยวข้อง

(3) สั่งให้ผู้ให้บริการส่งมอบข้อมูลเกี่ยวกับผู้ใช้บริการที่ต้องเก็บตามมาตรา 26 หรือที่อยู่ ในความครอบครองหรือควบคุมของผู้ให้บริการให้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่

(4) ทําสําเนาข้อมูลคอมพิวเตอร์ ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ จากระบบคอมพิวเตอร์ ที่มีเหตุอันควรเชื่อได้ว่ามีการกระทําความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ ในกรณีที่ระบบคอมพิวเตอร์นั้นยัง มิได้อยู่ในความครอบครองของพนักงานเจ้าหน้าที่

(5) สั่งให้บุคคลซึ่งครอบครองหรือควบคุมข้อมูลคอมพิวเตอร์ หรืออุปกรณ์ที่ใช้เก็บ ข้อมูลคอมพิวเตอร์ ส่งมอบข้อมูลคอมพิวเตอร์ หรืออุปกรณ์ดังกล่าวให้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่

(6) ตรวจสอบหรือเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์ ข้อมูลคอมพิวเตอร์ ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์  หรืออุปกรณ์ที่ใช้เก็บข้อมูลคอมพิวเตอร์ของบุคคลใด อันเป็นหลักฐานหรืออาจใช้เป็นหลักฐานเกี่ยวกับ การกระทําความผิด หรือเพื่อสืบสวนหาตัวผู้กระทําความผิดและสั่งให้บุคคลนั้นส่งข้อมูลคอมพิวเตอร์  ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ ที่เกี่ยวข้องเท่าที่จําเป็นให้ด้วยก็ได้

หน้า 9

เล่ม 124 ตอนที่ 27 ก ราชกิจจานุเบกษา 18 มิถุนายน 2550

(7) ถอดรหัสลับของข้อมูลคอมพิวเตอร์ของบุคคลใด หรือสั่งให้บุคคลที่เกี่ยวข้องกับการ เข้ารหัสลับของข้อมูลคอมพิวเตอร์ ทําการถอดรหัสลับ หรือให้ความร่วมมือกับพนักงานเจ้าหน้าที่ใน การถอดรหัสลับดังกล่าว

(8) ยึดหรืออายัดระบบคอมพิวเตอร์เท่าที่จําเป็นเฉพาะเพื่อประโยชน์ในการทราบรายละเอียด แห่งความผิดและผู้กระทําความผิดตามพระราชบัญญัตินี้

มาตรา 19 การใช้อํานาจของพนักงานเจ้าหน้าที่ตามมาตรา 18 (4) (5) (6) (7) และ  (8) ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ยื่นคําร้องต่อศาลที่มีเขตอํานาจเพื่อมีคําสั่งอนุญาตให้พนักงานเจ้าหน้าที่ ดําเนินการตามคําร้อง ทั้งนี้ คําร้องต้องระบุเหตุอันควรเชื่อได้ว่าบุคคลใดกระทําหรือกําลังจะกระทําการ อย่างหนึ่งอย่างใดอันเป็นความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ เหตุที่ต้องใช้อํานาจ ลักษณะของการกระทํา ความผิด รายละเอียดเกี่ยวกับอุปกรณ์ที่ใช้ในการกระทําความผิดและผู้กระทําความผิด เท่าที่สามารถ จะระบุได้ ประกอบคําร้องด้วยในการพิจารณาคําร้องให้ศาลพิจารณาคําร้องดังกล่าวโดยเร็ว

เมื่อศาลมีคําสั่งอนุญาตแล้ว ก่อนดําเนินการตามคําสั่งของศาล ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ส่งสําเนา บันทึกเหตุอันควรเชื่อที่ทําให้ต้องใช้อํานาจตามมาตรา 18 (4) (5) (6) (7) และ (8) มอบให้ เจ้าของหรือผู้ครอบครองระบบคอมพิวเตอร์นั้นไว้เป็นหลักฐาน แต่ถ้าไม่มีเจ้าของหรือผู้ครอบครอง เครื่องคอมพิวเตอร์อยู่ ณ ที่นั้น ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ส่งมอบสําเนาบันทึกนั้นให้แก่เจ้าของหรือ ผู้ครอบครองดังกล่าวในทันทีที่กระทําได้

ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ผู้เป็นหัวหน้าในการดําเนินการตามมาตรา 18 (4) (5) (6) (7) และ  (8) ส่งสําเนาบันทึกรายละเอียดการดําเนินการและเหตุผลแห่งการดําเนินการให้ศาลที่มีเขตอํานาจ ภายในสี่สิบแปดชั่วโมงนับแต่เวลาลงมือดําเนินการ เพื่อเป็นหลักฐาน

การทําสําเนาข้อมูลคอมพิวเตอร์ตามมาตรา 18 (4) ให้กระทําได้เฉพาะเมื่อมีเหตุอันควรเชื่อได้ว่ามีการกระทําความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ และต้องไม่เป็นอุปสรรคในการดําเนินกิจการของเจ้าของหรือผู้ครอบครองข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นเกินความจําเป็น

การยึดหรืออายัดตามมาตรา 18 (8) นอกจากจะต้องส่งมอบสําเนาหนังสือแสดงการยึดหรือ อายัดมอบให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองระบบคอมพิวเตอร์นั้นไว้เป็นหลักฐานแล้วพนักงานเจ้าหน้าที่จะ สั่งยึดหรืออายัดไว้เกินสามสิบวันมิได้ ในกรณีจําเป็นที่ต้องยึดหรืออายัดไว้นานกว่านั้น ให้ยื่นคําร้อง ต่อศาลที่มีเขตอํานาจเพื่อขอขยายเวลายึดหรืออายัดได้ แต่ศาลจะอนุญาตให้ขยายเวลาครั้งเดียวหรือ หลายครั้งรวมกันได้อีกไม่เกินหกสิบวัน เมื่อหมดความจําเป็นที่จะยึดหรืออายัดหรือครบกําหนดเวลา ดังกล่าวแล้ว พนักงานเจ้าหน้าที่ต้องส่งคืนระบบคอมพิวเตอร์ที่ยึดหรือถอนการอายัดโดยพลัน

หน้า 10

เล่ม 124 ตอนที่ 27 ก ราชกิจจานุเบกษา 18 มิถุนายน 2550

หนังสือแสดงการยึดหรืออายัดตามวรรคห้าให้เป็นไปตามที่กําหนดในกฎกระทรวง

มาตรา 20 ในกรณีที่การกระทําความผิดตามพระราชบัญญัตินี้เป็นการทําให้แพร่หลาย ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่อาจกระทบกระเทือนต่อความมั่นคงแห่งราชอาณาจักรตามที่กําหนดไว้ในภาคสอง  ลักษณะ 1 หรือลักษณะ 1 /1 แห่งประมวลกฎหมายอาญา หรือที่มีลักษณะขัดต่อความสงบเรียบร้อย หรือศีลธรรมอันดีของประชาชน พนักงานเจ้าหน้าที่โดยได้รับความเห็นชอบจากรัฐมนตรีอาจยื่นคําร้อง พร้อมแสดงพยานหลักฐานต่อศาลที่มีเขตอํานาจขอให้มีคําสั่งระงับการทําให้แพร่หลายซึ่งข้อมูล คอมพิวเตอร์นั้นได้

ในกรณีที่ศาลมีคําสั่งให้ระงับการทําให้แพร่หลายซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ตามวรรคหนึ่ง ให้ พนักงานเจ้าหน้าที่ทําการระงับการทําให้แพร่หลายนั้นเอง หรือสั่งให้ผู้ให้บริการระงับการทําให้ แพร่หลายซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นก็ได้

มาตรา 21 ในกรณีที่พนักงานเจ้าหน้าที่พบว่า ข้อมูลคอมพิวเตอร์ใดมีชุดคําสั่งไม่พึง ประสงค์รวมอยู่ด้วย พนักงานเจ้าหน้าที่อาจยื่นคําร้องต่อศาลที่มีเขตอํานาจเพื่อขอให้มีคําสั่งห้าม จําหน่ายหรือเผยแพร่ หรือสั่งให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นระงับการใช้ ทําลาย  หรือแก้ไขข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นได้ หรือจะกําหนดเงื่อนไขในการใช้ มีไว้ในครอบครอง หรือ เผยแพร่ชุดคําสั่งไม่พึงประสงค์ดังกล่าวก็ได้

ชุดคําสั่งไม่พึงประสงค์ตามวรรคหนึ่งหมายถึงชุดคําสั่งที่มีผลทําให้ข้อมูลคอมพิวเตอร์ หรือ ระบบคอมพิวเตอร์หรือชุดคําสั่งอื่นเกิดความเสียหาย ถูกทําลาย ถูกแก้ไขเปลี่ยนแปลงหรือเพิ่มเติม  ขัดข้อง หรือปฏิบัตืงานไม่ตรงตามคําสั่งที่กําหนดไว้ หรือโดยประการอื่นตามที่กําหนดในกฎกระทรวง  ทั้งนี้ เว้นแต่เป็นชุดคําสั่งที่มุ่งหมายในการป้องกันหรือแก้ไขชุดคําสั่งดังกล่าวข้างต้น ตามที่รัฐมนตรี ประกาศในราชกิจจานุเบกษา

มาตรา 22 ห้ามมิให้พนักงานเจ้าหน้าที่เปิดเผยหรือส่งมอบข้อมูลคอมพิวเตอร์ ข้อมูล จราจรทางคอมพิวเตอร์ หรือข้อมูลของผู้ใช้บริการ ที่ได้มาตามมาตรา 18 ให้แก่บุคคลใด ความในวรรคหนึ่งมิให้ใช้บังคับกับการกระทําเพื่อประโยชน์ในการดําเนินคดีกับผู้กระทําความผิด ตามพระราชบัญญัตินี้ หรือเพื่อประโยชน์ในการดําเนินคดีกับพนักงานเจ้าหน้าที่เกี่ยวกับการใช้อํานาจหน้าที่ โดยมิชอบ หรือเป็นการกระทําตามคําสั่งหรือที่ได้รับอนุญาตจากศาล

พนักงานเจ้าหน้าที่ผู้ใดฝ่าฝืนวรรคหนึ่งต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกิน หกหมื่นบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ

หน้า 11

เล่ม 124 ตอนที่ 27 ก ราชกิจจานุเบกษา 18 มิถุนายน 2550

มาตรา 23 พนักงานเจ้าหน้าที่ผู้ใดกระทําโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นล่วงรู้ข้อมูลคอมพิวเตอร์  ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ หรือข้อมูลของผู้ใช้บริการ ที่ได้มาตามมาตรา 18 ต้องระวางโทษจําคุก ไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ

มาตรา 24 ผู้ใดล่วงรู้ข้อมูลคอมพิวเตอร์ ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์หรือข้อมูลของ ผู้ใช้บริการ ที่พนักงานเจ้าหน้าที่ได้มาตามมาตรา 18 และเปิดเผยข้อมูลนั้นต่อผู้หนึ่งผู้ใด ต้องระวางโทษ จําคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ

มาตรา 25 ข้อมูล ข้อมูลคอมพิวเตอร์ หรือข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ที่พนักงานเจ้าหน้าที่ ได้มาตามพระราชบัญญัตนี้ ให้อ้างและรับฟังเป็นพยานหลักฐานตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมาย วิธีพิจารณาความอาญาหรือกฎหมายอื่นอันว่าด้วยการสืบพยานได้ แต่ต้องเป็นชนิดที่มิได้เกิดขึ้นจากการจูงใจ  มีคํามั่นสัญญา ขู่เข็ญ หลอกลวง หรือโดยมิชอบประการอื่น

มาตรา 26 ผู้ให้บริการต้องเก็บรักษาข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ไว้ไม่น้อยกว่าเก้าสิบวัน นับแต่วันที่ข้อมูลนั้นเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ แต่ในกรณีจําเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่จะสั่งให้ผู้ให้บริการ ผู้ใดเก็บรักษาข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ไว้เกินเก้าสิบวันแต่ไม่เกินหนึ่งปีเป็นกรณีพิเศษเฉพาะราย และเฉพาะคราวก็ได้

ผู้ให้บริการจะต้องเก็บรักษาข้อมูลของผู้ใช้บริการเท่าที่จําเป็นเพื่อให้สามารถระบุตัวผู้ใช้บริการ นับตั้งแต่เริ่มใช้บริการและต้องเก็บรักษาไว้เป็นเวลาไม่น้อยกว่าเก้าสิบวันนับตั้งแต่การใช้บริการสิ้นสุดลง ความในวรรคหนึ่งจะใช้กับผู้ให้บริการประเภทใดอย่างไร และเมื่อใด ให้เป็นไปตามที่รัฐมนตรี ประกาศในราชกิจจานุเบกษา

ผู้ให้บริการผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรานี้ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าแสนบาท

มาตรา 27 ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามคําสั่งของศาลหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ที่สั่งตามมาตรา 18  หรือมาตรา 20 หรือไม่ปฏิบัติตามคําสั่งของศาลตามมาตรา 21 ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองแสนบาท  และปรับเป็นรายวันอีกไม่เกินวันละห้าพันบาทจนกว่าจะปฏิบัติให้ถูกต้อง

มาตรา 28 การแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้ ให้รัฐมนตรีแต่งตั้งจากผู้มีความรู้ และความชํานาญเกี่ยวกับระบบคอมพิวเตอร์และมีคุณสมบัติตามท่รีัฐมนตรีกําหนด

มาตรา 29 ในการปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่เป็นพนักงาน ฝ่ายปกครองหรือตํารวจชั้นผู้ใหญ่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามีอํานาจรับคําร้องทุกข์ หรือรับคํากล่าวโทษ และมีอํานาจในการสืบสวนสอบสวนเฉพาะความผิดตามพระราชบัญญัตินี้

หน้า 12

เล่ม 124 ตอนที่ 27 ก ราชกิจจานุเบกษา 18 มิถุนายน 2550

ในการจับ ควบคุม ค้น การทําสํานวนสอบสวนและดําเนินคดีผู้กระทําความผิดตาม พระราชบัญญัตินี้ บรรดาที่เป็นอํานาจของพนักงานฝ่ายปกครองหรือตํารวจชั้นผู้ใหญ่ หรือพนักงาน สอบสวนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ประสานงานกับพนักงาน สอบสวนผู้รับผิดชอบเพื่อดําเนินการตามอํานาจหน้าที่ต่อไป

ให้นายกรัฐมนตรีในฐานะผู้กำกับดูแลสํานักงานตํารวจแห่งชาติและรัฐมนตรีมีอํานาจร่วมกัน กําหนดระเบียบเกี่ยวกับแนวทางและวิธีปฏิบัติในการดําเนินการตามวรรคสอง

มาตรา 30 ในการปฏิบัติหน้าที่ พนักงานเจ้าหน้าที่ต้องแสดงบัตรประจําตัวต่อบุคคล ซึ่งเกี่ยวข้อง

บัตรประจําตัวของพนักงานเจ้าหน้าที่ให้เป็นไปตามแบบที่รัฐมนตรีประกาศในราชกิจจานุเบกษา

ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ

พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์

นายกรัฐมนตรี

หน้า 13

เล่ม 124 ตอนที่ 27 ก ราชกิจจานุเบกษา 18 มิถุนายน 2550

หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ เนื่องจากในปัจจุบันระบบคอมพิวเตอร์ได้เป็น ส่วนสําคัญของการประกอบกิจการและการดํารงชีวิตของมนุษย์ หากมีผู้กระทําด้วยประการใด ๆ ให้ระบบ คอมพิวเตอร์ไม่สามารถทํางานตามคําสั่งที่กําหนดไว้หรือทําให้การทํางานผิดพลาดไปจากคําสั่งที่กําหนดไว้ หรือ ใช้วิธีการใด ๆ เข้าล่วงรู้ข้อมูล แก้ไข หรือทําลายข้อมูลของบุคคลอื่นในระบบคอมพิวเตอร์โดยมิชอบ หรือ ใช้ระบบคอมพิวเตอร์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จหรือมีลักษณะอันลามกอนาจาร ย่อมก่อให้เกิด ความเสียหาย กระทบกระเทือนต่อเศรษฐกิจ สังคม และความมั่นคงของรัฐ รวมทั้งความสงบสุขและศีลธรรม อันดีของประชาชน สมควรกําหนดมาตรการเพื่อป้องกันและปราบปรามการกระทําดังกล่าว จึงจําเป็น ต้องตราพระราชบัญญัตินี้


-----------------------------------

พ.ร.บ. ว่าด้วยการกระทำความผิด

เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2560

หน้า 24

เล่ม 134 ตอนที่ 10 ก ราชกิจจานุเบกษา 24 มกราคม 2560 

พระราชบัญญัติ ว่าด้วยการกระทําความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ (ฉบับที่ 2)  พ.ศ. 2560

สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร

ให้ไว้ ณ วันที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2560  เป็นปีที่ 2 ในรัชกาลปัจจุบัน

สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร มีพระราชโองการโปรดเกล้าฯ  ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยการกระทําความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคําแนะนําและยินยอมของ สภานิติบัญญัติแห่งชาติ ดังต่อไปนี้

มาตรา 1 พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า “พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทําความผิดเกี่ยวกับ คอมพิวเตอร์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2560”  

มาตรา 2 พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกําหนดหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันประกาศ ในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

มาตรา 3 ให้ยกเลิกความในมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทําความผิด เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน

มาตรา 4 ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมรักษาการ ตามพระราชบัญญัตินี้ และให้มีอํานาจแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่กับออกกฎกระทรวงและประกาศเพื่อปฏิบัติการ ตามพระราชบัญญัตินี้

กฎกระทรวงและประกาศนั้น เมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ใช้บังคับได้”  มาตรา 4 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นวรรคสองและวรรคสามของมาตรา 11 แห่งพระราชบัญญัติ ว่าด้วยการกระทําความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550


หน้า 25

เล่ม 134 ตอนที่ 10 ก ราชกิจจานุเบกษา 24 มกราคม 2560

ผู้ใดส่งข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือจดหมายอิเล็กทรอนิกส์แก่บุคคลอื่นอันมีลักษณะเป็นการก่อให้เกิด ความเดือดร้อนรําคาญแก่ผู้รับข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ โดยไม่เปิดโอกาสให้ผู้รับ สามารถบอกเลิกหรือแจ้งความประสงค์เพื่อปฏิเสธการตอบรับได้โดยง่าย ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน สองแสนบาท

ให้รัฐมนตรีออกประกาศกําหนดลักษณะและวิธีการส่ง รวมทั้งลักษณะและปริมาณของ ข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งไม่เป็นการก่อให้เกิดความเดือดร้อนรําคาญแก่ผู้รับ  และลักษณะอันเป็นการบอกเลิกหรือแจ้งความประสงค์เพื่อปฏิเสธการตอบรับได้โดยง่าย”  

มาตรา 5 ให้ยกเลิกความในมาตรา 12 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทําความผิด เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน

มาตรา 12 ถ้าการกระทําความผิดตามมาตรา 5 มาตรา 6 มาตรา 7 มาตรา 8  หรือมาตรา 11 เป็นการกระทําต่อข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือระบบคอมพิวเตอร์ที่เกี่ยวกับการรักษา ความมั่นคงปลอดภัยของประเทศ ความปลอดภัยสาธารณะ ความมั่นคงในทางเศรษฐกิจของประเทศ  หรือโครงสร้างพื้นฐานอันเป็นประโยชน์สาธารณะ ต้องระวางโทษจําคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงเจ็ดปี และปรับตั้งแต่ สองหมื่นบาทถึงหนึ่งแสนสี่หมื่นบาท

ถ้าการกระทําความผิดตามวรรคหนึ่งเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายต่อข้อมูลคอมพิวเตอร์ หรือระบบคอมพิวเตอร์ดังกล่าว ต้องระวางโทษจําคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงสิบปี และปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทถึง สองแสนบาท

ถ้าการกระทําความผิดตามมาตรา 9 หรือมาตรา 10 เป็นการกระทําต่อข้อมูลคอมพิวเตอร์ หรือระบบคอมพิวเตอร์ตามวรรคหนึ่ง ต้องระวางโทษจําคุกตั้งแต่สามปีถึงสิบห้าปี และปรับตั้งแต่หกหมื่นบาท ถึงสามแสนบาท

ถ้าการกระทําความผิดตามวรรคหนึ่งหรือวรรคสามโดยมิได้มีเจตนาฆ่า แต่เป็นเหตุให้บุคคลอื่น ถึงแก่ความตาย ต้องระวางโทษจําคุกตั้งแต่ห้าปีถึงยี่สิบปี และปรับตั้งแต่หนึ่งแสนบาทถึงสี่แสนบาท”  

มาตรา 6 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นมาตรา 12 /1 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทํา ความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550

มาตรา 12 /1 ถ้าการกระทําความผิดตามมาตรา 9 หรือมาตรา 10 เป็นเหตุให้เกิดอันตราย แก่บุคคลอื่นหรือทรัพย์สินของผู้อื่น ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินสิบปี และปรับไม่เกินสองแสนบาท ถ้าการกระทําความผิดตามมาตรา 9 หรือมาตรา 10 โดยมิได้มีเจตนาฆ่า แต่เป็นเหตุให้บุคคลอื่น ถึงแก่ความตาย ต้องระวางโทษจําคุกตั้งแต่ห้าปีถึงยี่สิบปี และปรับตั้งแต่หนึ่งแสนบาทถึงสี่แสนบาท”  

มาตรา 7 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นวรรคสอง วรรคสาม วรรคสี่ และวรรคห้าของมาตรา 13  แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทําความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550


หน้า 26

เล่ม 134 ตอนที่ 10 ก ราชกิจจานุเบกษา 24 มกราคม 2560

ผู้ใดจําหน่ายหรือเผยแพร่ชุดคําสั่งที่จัดทําขึ้นโดยเฉพาะเพื่อนําไปใช้เป็นเครื่องมือในการกระทํา ความผิดตามมาตรา 12 วรรคหนึ่งหรือวรรคสาม ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท  หรือทั้งจําทั้งปรับ

ผู้ใดจําหน่ายหรือเผยแพร่ชุดคําสั่งที่จัดทําขึ้นโดยเฉพาะเพื่อนําไปใช้เป็นเครื่องมือในการกระทํา ความผิดตามมาตรา 5 มาตรา 6 มาตรา 7 มาตรา 8 มาตรา 9 มาตรา 10 หรือมาตรา 11  หากผู้นําไปใช้ได้กระทําความผิดตามมาตรา 12 วรรคหนึ่งหรือวรรคสาม หรือต้องรับผิดตามมาตรา 12  วรรคสองหรือวรรคสี่ หรือมาตรา 12/1 ผู้จําหน่ายหรือเผยแพร่ชุดคําสั่งดังกล่าวจะต้องรับผิดทางอาญา ตามความผิดที่มีกําหนดโทษสูงขึ้นด้วย ก็เฉพาะเมื่อตนได้รู้หรืออาจเล็งเห็นได้ว่าจะเกิดผลเช่นที่เกิดขึ้นนั้น

ผู้ใดจําหน่ายหรือเผยแพร่ชุดคําสั่งที่จัดทําขึ้นโดยเฉพาะเพื่อนําไปใช้เป็นเครื่องมือในการกระทํา ความผิดตามมาตรา 12 วรรคหนึ่งหรือวรรคสาม หากผู้นําไปใช้ได้กระทําความผิดตามมาตรา 12 วรรคหนึ่ง หรือวรรคสาม หรือต้องรับผิดตามมาตรา 12 วรรคสองหรือวรรคสี่ หรือมาตรา 12/1 ผู้จําหน่าย หรือเผยแพร่ชุดคําสั่งดังกล่าวต้องรับผิดทางอาญาตามความผิดที่มีกําหนดโทษสูงขึ้นนั้นด้วย

ในกรณีที่ผู้จําหน่ายหรือเผยแพร่ชุดคําสั่งผู้ใดต้องรับผิดตามวรรคหนึ่งหรือวรรคสอง และตามวรรคสาม หรือวรรคสี่ด้วย ให้ผู้นั้นต้องรับโทษที่มีอัตราโทษสูงที่สุดแต่กระทงเดียว”  

มาตรา 8 ให้ยกเลิกความในมาตรา 14 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทําความผิด เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน

มาตรา 14 ผู้ใดกระทําความผิดที่ระบุไว้ดังต่อไปนี้ ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินห้าปี  หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ

(1) โดยทุจริต หรือโดยหลอกลวง นําเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่บิดเบือน หรือปลอมไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน หรือข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหาย แก่ประชาชน อันมิใช่การกระทําความผิดฐานหมิ่นประมาทตามประมวลกฎหมายอาญา

(2) นําเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิด ความเสียหายต่อการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของประเทศ ความปลอดภัยสาธารณะ ความมั่นคง ในทางเศรษฐกิจของประเทศ หรือโครงสร้างพื้นฐานอันเป็นประโยชน์สาธารณะของประเทศ หรือก่อให้เกิด ความตื่นตระหนกแก่ประชาชน

(3) นําเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ใดๆ อันเป็นความผิดเกี่ยวกับความมั่นคง แห่งราชอาณาจักรหรือความผิดเกี่ยวกับการก่อการร้ายตามประมวลกฎหมายอาญา (4) นําเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ใดๆ ที่มีลักษณะอันลามกและข้อมูล คอมพิวเตอร์นั้นประชาชนทั่วไปอาจเข้าถึงได้


หน้า 27

เล่ม 134 ตอนที่ 10 ก ราชกิจจานุเบกษา 24 มกราคม 2560

(5) เผยแพร่หรือส่งต่อซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยรู้อยู่แล้วว่าเป็นข้อมูลคอมพิวเตอร์ตาม (1)  (2) (3) หรือ (4)  

ถ้าการกระทําความผิดตามวรรคหนึ่ง (1) มิได้กระทําต่อประชาชน แต่เป็นการกระทําต่อบุคคลใด บุคคลหนึ่ง ผู้กระทํา ผู้เผยแพร่หรือส่งต่อซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ดังกล่าวต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินสามปี  หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ และให้เป็นความผิดอันยอมความได้”  

มาตรา 9 ให้ยกเลิกความในมาตรา 15 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทําความผิด เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน

มาตรา 15 ผู้ให้บริการผู้ใดให้ความร่วมมือ ยินยอม หรือรู้เห็นเป็นใจให้มีการกระทําความผิด ตามมาตรา 14 ในระบบคอมพิวเตอร์ที่อยู่ในความควบคุมของตน ต้องระวางโทษเช่นเดียวกับผู้กระทําความผิด ตามมาตรา 14

ให้รัฐมนตรีออกประกาศกําหนดขั้นตอนการแจ้งเตือน การระงับการทําให้แพร่หลายของ ข้อมูลคอมพิวเตอร์ และการนําข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นออกจากระบบคอมพิวเตอร์ ถ้าผู้ให้บริการพิสูจน์ได้ว่าตนได้ปฏิบัติตามประกาศของรัฐมนตรีที่ออกตามวรรคสอง ผู้นั้นไม่ต้อง รับโทษ”  

มาตรา 10 ให้ยกเลิกความในมาตรา 16 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทําความผิด เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน

มาตรา 16 ผู้ใดนําเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ที่ประชาชนทั่วไปอาจเข้าถึงได้ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ ที่ปรากฏเป็นภาพของผู้อื่น และภาพนั้นเป็นภาพที่เกิดจากการสร้างขึ้น ตัดต่อ เติม หรือดัดแปลง ด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์หรือวิธีการอื่นใด โดยประการที่น่าจะทําให้ผู้อื่นนั้นเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น  ถูกเกลียดชัง หรือได้รับความอับอาย ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินสามปี และปรับไม่เกินสองแสนบาท

ถ้าการกระทําตามวรรคหนึ่งเป็นการกระทําต่อภาพของผู้ตาย และการกระทํานั้นน่าจะทําให้บิดา  มารดา คู่สมรส หรือบุตรของผู้ตายเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น หรือถูกเกลียดชัง หรือได้รับความอับอาย  ผู้กระทําต้องระวางโทษดังที่บัญญัติไว้ในวรรคหนึ่ง

ถ้าการกระทําตามวรรคหนึ่งหรือวรรคสอง เป็นการนําเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์โดยสุจริตอันเป็น การติชมด้วยความเป็นธรรม ซึ่งบุคคลหรือสิ่งใดอันเป็นวิสัยของประชาชนย่อมกระทํา ผู้กระทำไม่มีความผิด ความผิดตามวรรคหนึ่งและวรรคสองเป็นความผิดอันยอมความได้

ถ้าผู้เสียหายในความผิดตามวรรคหนึ่งหรือวรรคสองตายเสียก่อนร้องทุกข์ ให้บิดา มารดา คู่สมรส  หรือบุตรของผู้เสียหายร้องทุกข์ได้ และให้ถือว่าเป็นผู้เสียหาย”  

มาตรา 11 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นมาตรา 16/1 และมาตรา 16/2 แห่งพระราชบัญญัติ ว่าด้วยการกระทําความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550


หน้า 28

เล่ม 134 ตอนที่ 10 ก ราชกิจจานุเบกษา 24 มกราคม 2560

มาตรา 16/1 ในคดีความผิดตามมาตรา 14 หรือมาตรา 16 ซึ่งมีคําพิพากษาว่าจําเลย มีความผิด ศาลอาจสั่ง

(1) ให้ทําลายข้อมูลตามมาตราดังกล่าว

(2) ให้โฆษณาหรือเผยแพร่คําพิพากษาทั้งหมดหรือแต่บางส่วนในสื่ออิเล็กทรอนิกส์ วิทยุกระจายเสียง  วิทยุโทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ หรือสื่ออื่นใด ตามที่ศาลเห็นสมควร โดยให้จําเลยเป็นผู้ชําระค่าโฆษณา หรือเผยแพร่

(3) ให้ดําเนินการอื่นตามที่ศาลเห็นสมควรเพื่อบรรเทาความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการกระทํา ความผิดนั้น

มาตรา 16/2 ผู้ใดรู้ว่าข้อมูลคอมพิวเตอร์ในความครอบครองของตนเป็นข้อมูลที่ศาลสั่งให้ทําลาย ตามมาตรา 16/1 ผู้นั้นต้องทําลายข้อมูลดังกล่าว หากฝ่าฝืนต้องระวางโทษกึ่งหนึ่งของโทษที่บัญญัติไว้ ในมาตรา 14 หรือมาตรา 16 แล้วแต่กรณี”  

มาตรา 12 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นมาตรา 17/1 ในหมวด 1 ความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์  แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทําความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 “มาตรา 17/1 ความผิดตามมาตรา 5 มาตรา 6 มาตรา 7 มาตรา 11 มาตรา 13 วรรคหนึ่ง  มาตรา 16/2 มาตรา 23 มาตรา 24 และมาตรา 27 ให้คณะกรรมการเปรียบเทียบที่รัฐมนตรีแต่งตั้ง มีอํานาจเปรียบเทียบได้

คณะกรรมการเปรียบเทียบที่รัฐมนตรีแต่งตั้งตามวรรคหนึ่งให้มีจํานวนสามคนซึ่งคนหนึ่งต้องเป็น พนักงานสอบสวนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

เมื่อคณะกรรมการเปรียบเทียบได้ทําการเปรียบเทียบกรณีใดและผู้ต้องหาได้ชําระเงินค่าปรับ ตามคําเปรียบเทียบภายในระยะเวลาที่คณะกรรมการเปรียบเทียบกําหนดแล้ว ให้ถือว่าคดีนั้นเป็นอันเลิกกัน ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

ในกรณีที่ผู้ต้องหาไม่ชําระเงินค่าปรับภายในระยะเวลาที่กําหนด ให้เริ่มนับอายุความในการฟ้องคดีใหม่ นับตั้งแต่วันที่ครบกําหนดระยะเวลาดังกล่าว”  

มาตรา 13 ให้ยกเลิกความในมาตรา 18 และมาตรา 19 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วย การกระทําความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “มาตรา 18 ภายใต้บังคับมาตรา 19 เพื่อประโยชน์ในการสืบสวนและสอบสวนในกรณีที่มี เหตุอันควรเชื่อได้ว่ามีการกระทําความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ หรือในกรณีที่มีการร้องขอตามวรรคสอง  ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอํานาจอย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้ เฉพาะที่จําเป็นเพื่อประโยชน์ในการใช้เป็น หลักฐานเกี่ยวกับการกระทําความผิดและหาตัวผู้กระทําความผิด


หน้า 29

เล่ม 134 ตอนที่ 10 ก ราชกิจจานุเบกษา 24 มกราคม 2560

(1) มีหนังสือสอบถามหรือเรียกบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการกระทําความผิดมาเพื่อให้ถ้อยคํา  ส่งคําชี้แจงเป็นหนังสือ หรือส่งเอกสาร ข้อมูล หรือหลักฐานอื่นใดที่อยู่ในรูปแบบที่สามารถเข้าใจได้

(2) เรียกข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์จากผู้ให้บริการเกี่ยวกับการติดต่อสื่อสารผ่านระบบคอมพิวเตอร์ หรือจากบุคคลอื่นที่เกี่ยวข้อง

(3) สั่งให้ผู้ให้บริการส่งมอบข้อมูลเกี่ยวกับผู้ใช้บริการที่ต้องเก็บตามมาตรา 26 หรือที่อยู่ ในความครอบครองหรือควบคุมของผู้ให้บริการให้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่หรือให้เก็บข้อมูลดังกล่าวไว้ก่อน

(4) ทําสําเนาข้อมูลคอมพิวเตอร์ ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์จากระบบคอมพิวเตอร์ที่มี เหตุอันควรเชื่อได้ว่ามีการกระทําความผิด ในกรณีที่ระบบคอมพิวเตอร์นั้นยังมิได้อยู่ในความครอบครอง ของพนักงานเจ้าหน้าที่

(5) สั่งให้บุคคลซึ่งครอบครองหรือควบคุมข้อมูลคอมพิวเตอร์ หรืออุปกรณ์ที่ใช้เก็บข้อมูลคอมพิวเตอร์  ส่งมอบข้อมูลคอมพิวเตอร์ หรืออุปกรณ์ดังกล่าวให้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่

(6) ตรวจสอบหรือเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์ ข้อมูลคอมพิวเตอร์ ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ หรืออุปกรณ์ที่ใช้เก็บข้อมูลคอมพิวเตอร์ของบุคคลใด อันเป็นหลักฐานหรืออาจใช้เป็นหลักฐานเกี่ยวกับ การกระทําความผิด หรือเพื่อสืบสวนหาตัวผู้กระทําความผิดและสั่งให้บุคคลนั้นส่งข้อมูลคอมพิวเตอร์  ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ ที่เกี่ยวข้องเท่าที่จําเป็นให้ด้วยก็ได้

(7) ถอดรหัสลับของข้อมูลคอมพิวเตอร์ของบุคคลใด หรือสั่งให้บุคคลที่เกี่ยวข้องกับการเข้ารหัสลับ ของข้อมูลคอมพิวเตอร์ ทําการถอดรหัสลับ หรือให้ความร่วมมือกับพนักงานเจ้าหน้าที่ในการถอดรหัสลับ ดังกล่าว

(8) ยึดหรืออายัดระบบคอมพิวเตอร์เท่าที่จําเป็นเฉพาะเพื่อประโยชน์ในการทราบรายละเอียด แห่งความผิดและผู้กระทําความผิด

เพื่อประโยชน์ในการสืบสวนและสอบสวนของพนักงานสอบสวนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณา ความอาญา ในบรรดาความผิดอาญาต่อกฎหมายอื่นซึ่งได้ใช้ระบบคอมพิวเตอร์ ข้อมูลคอมพิวเตอร์  หรืออุปกรณ์ที่ใช้เก็บข้อมูลคอมพิวเตอร์เป็นองค์ประกอบหรือเป็นส่วนหนึ่งในการกระทําความผิด  หรือมีข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่เกี่ยวข้องกับการกระทําความผิดอาญาตามกฎหมายอื่น พนักงานสอบสวน

อาจร้องขอให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตามวรรคหนึ่งดําเนินการตามวรรคหนึ่งก็ได้ หรือหากปรากฏข้อเท็จจริง ดังกล่าวต่อพนักงานเจ้าหน้าที่เนื่องจากการปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ รีบรวบรวมข้อเท็จจริงและหลักฐานแล้วแจ้งไปยังเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องเพื่อดําเนินการต่อไป

ให้ผู้ได้รับการร้องขอจากพนักงานเจ้าหน้าที่ตามวรรคหนึ่ง (1) (2) และ (3) ดําเนินการ ตามคําร้องขอโดยไม่ชักช้า แต่ต้องไม่เกินเจ็ดวันนับแต่วันที่ได้รับคําร้องขอ หรือภายในระยะเวลาที่พนักงาน


หน้า 30

เล่ม 134 ตอนที่ 10 ก ราชกิจจานุเบกษา 24 มกราคม 2560

เจ้าหน้าที่กําหนดซึ่งต้องไม่น้อยกว่าเจ็ดวันและไม่เกินสิบห้าวัน เว้นแต่ในกรณีที่มีเหตุสมควร ต้องได้รับอนุญาต จากพนักงานเจ้าหน้าที่ ทั้งนี้ รัฐมนตรีอาจประกาศในราชกิจจานุเบกษากําหนดระยะเวลาที่ต้องดําเนินการ ที่เหมาะสมกับประเภทของผู้ให้บริการก็ได้  มาตรา 19 การใช้อํานาจของพนักงานเจ้าหน้าที่

ตามมาตรา 18 (4) (5) (6) (7) และ (8)  ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ยื่นคําร้องต่อศาลที่มีเขตอํานาจเพื่อมีคําสั่งอนุญาตให้พนักงานเจ้าหน้าที่ดําเนินการ ตามคําร้อง ทั้งนี้ คําร้องต้องระบุเหตุอันควรเชื่อได้ว่าบุคคลใดกระทําหรือกําลังจะกระทําการอย่างหนึ่ง อย่างใดอันเป็นความผิด เหตุที่ต้องใช้อํานาจ ลักษณะของการกระทําความผิด รายละเอียดเกี่ยวกับอุปกรณ์ ที่ใช้ในการกระทําความผิดและผู้กระทําความผิด เท่าที่สามารถจะระบุได้ ประกอบคําร้องด้วย ในการพิจารณา คําร้องให้ศาลพิจารณาคําร้องดังกล่าวโดยเร็ว

เมื่อศาลมีคําสั่งอนุญาตแล้ว ก่อนดําเนินการตามคําสั่งของศาล ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ส่งสําเนา บันทึกเหตุอันควรเชื่อที่ทําให้ต้องใช้อํานาจตามมาตรา 18 (4) (5) (6) (7) และ (8) มอบให้เจ้าของ หรือผู้ครอบครองระบบคอมพิวเตอร์นั้นไว้เป็นหลักฐาน แต่ถ้าไม่มีเจ้าของหรือผู้ครอบครองเครื่องคอมพิวเตอร์อยู่  ณ ที่นั้น ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ส่งมอบสําเนาบันทึกนั้นให้แก่เจ้าของหรือผู้ครอบครองดังกล่าวในทันที ที่กระทําได้

ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ผู้เป็นหัวหน้าในการดําเนินการตามมาตรา 18 (4) (5) (6) (7) และ (8)  ส่งสําเนาบันทึกรายละเอียดการดําเนินการและเหตุผลแห่งการดําเนินการให้ศาลที่มีเขตอํานาจภายใน สี่สิบแปดชั่วโมงนับแต่เวลาลงมือดําเนินการ เพื่อเป็นหลักฐาน

การทําสําเนาข้อมูลคอมพิวเตอร์ตามมาตรา 18 (4) ให้กระทําได้เฉพาะเมื่อมีเหตุอันควร เชื่อได้ว่ามีการกระทําความผิด และต้องไม่เป็นอุปสรรคในการดําเนินกิจการของเจ้าของหรือผู้ครอบครอง ข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นเกินความจําเป็น

การยึดหรืออายัดตามมาตรา 18 (8) นอกจากจะต้องส่งมอบสําเนาหนังสือแสดงการยึดหรืออายัด มอบให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองระบบคอมพิวเตอร์นั้นไว้เป็นหลักฐานแล้ว พนักงานเจ้าหน้าที่จะสั่งยึด หรืออายัดไว้เกินสามสิบวันมิได้ ในกรณีจําเป็นที่ต้องยึดหรืออายัดไว้นานกว่านั้น ให้ยื่นคําร้องต่อศาลที่มี เขตอํานาจเพื่อขอขยายเวลายึดหรืออายัดได้ แต่ศาลจะอนุญาตให้ขยายเวลาครั้งเดียวหรือหลายครั้ง รวมกันได้อีกไม่เกินหกสิบวัน เมื่อหมดความจําเป็นที่จะยึดหรืออายัดหรือครบกําหนดเวลาดังกล่าวแล้ว  พนักงานเจ้าหน้าที่ต้องส่งคืนระบบคอมพิวเตอร์ที่ยึดหรือถอนการอายัดโดยพลัน

หนังสือแสดงการยึดหรืออายัดตามวรรคห้าให้เป็นไปตามที่กําหนดในกฎกระทรวง”  

มาตรา 14 ให้ยกเลิกความในมาตรา 20 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทําความผิด เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน


หน้า 31

เล่ม 134 ตอนที่ 10 ก ราชกิจจานุเบกษา 24 มกราคม 2560

มาตรา 20 ในกรณีที่มีการทําให้แพร่หลายซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ ดังต่อไปนี้ พนักงานเจ้าหน้าที่ โดยได้รับความเห็นชอบจากรัฐมนตรีอาจยื่นคําร้องพร้อมแสดงพยานหลักฐานต่อศาลที่มีเขตอํานาจขอให้มี คําสั่งระงับการทําให้แพร่หลายหรือลบข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นออกจากระบบคอมพิวเตอร์ได้

(1) ข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่เป็นความผิดตามพระราชบัญญัตินี้

(2) ข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่อาจกระทบกระเทือนต่อความมั่นคงแห่งราชอาณาจักรตามที่กําหนดไว้

ในภาค 2 ลักษณะ 1 หรือลักษณะ 1/1 แห่งประมวลกฎหมายอาญา

(3) ข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่เป็นความผิดอาญาตามกฎหมายเกี่ยวกับทรัพย์สินทางปัญญา หรือกฎหมายอื่นซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นมีลักษณะขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน  และเจ้าหน้าที่ตามกฎหมายนั้นหรือพนักงานสอบสวนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาได้ ร้องขอ ในกรณีที่มีการทําให้แพร่หลายซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่มีลักษณะขัดต่อความสงบเรียบร้อย หรือศีลธรรมอันดีของประชาชน รัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการกลั่นกรองข้อมูลคอมพิวเตอร์ จะมอบหมายให้พนักงานเจ้าหน้าที่ยื่นคําร้องพร้อมแสดงพยานหลักฐานต่อศาลที่มีเขตอํานาจขอให้มีคําสั่ง ระงับการทําให้แพร่หลายหรือลบซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นออกจากระบบคอมพิวเตอร์ได้ ทั้งนี้ ให้นําบทบัญญัติ ว่าด้วยคณะกรรมการที่มีอํานาจดําเนินการพิจารณาทางปกครองตามกฎหมายว่าด้วยวิธีปฏิบัติราชการ ทางปกครองมาใช้บังคับกับการประชุมของคณะกรรมการกลั่นกรองข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยอนุโลม

ให้รัฐมนตรีแต่งตั้งคณะกรรมการกลั่นกรองข้อมูลคอมพิวเตอร์ตามวรรคสองขึ้นคณะหนึ่ง หรือหลายคณะ แต่ละคณะให้มีกรรมการจํานวนเก้าคนซึ่งสามในเก้าคนต้องมาจากผู้แทนภาคเอกชน ด้านสิทธิมนุษยชน ด้านสื่อสารมวลชน ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ หรือด้านอื่นที่เกี่ยวข้อง และให้กรรมการ ได้รับค่าตอบแทนตามหลักเกณฑ์ที่รัฐมนตรีกําหนดโดยได้รับความเห็นชอบจากกระทรวงการคลัง

การดําเนินการของศาลตามวรรคหนึ่งและวรรคสอง ให้นําประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาใช้บังคับโดยอนุโลม ในกรณีที่ศาลมีคําสั่งให้ระงับการทําให้แพร่หลายหรือลบข้อมูลคอมพิวเตอร์ ตามวรรคหนึ่งหรือวรรคสอง พนักงานเจ้าหน้าที่จะทําการระงับการทําให้แพร่หลายหรือลบข้อมูลคอมพิวเตอร์ นั้นเองหรือจะสั่งให้ผู้ให้บริการระงับการทําให้แพร่หลายหรือลบข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นก็ได้ ทั้งนี้ ให้รัฐมนตรี ประกาศกําหนดหลักเกณฑ์ ระยะเวลา และวิธีการปฏิบัติสําหรับการระงับการทําให้แพร่หลายหรือ ลบข้อมูลคอมพิวเตอร์ของพนักงานเจ้าหน้าที่หรือผู้ให้บริการให้เป็นไปในแนวทางเดียวกันโดยคํานึงถึงพัฒนาการ ทางเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงไป เว้นแต่ศาลจะมีคําสั่งเป็นอย่างอื่น

ในกรณีที่มีเหตุจําเป็นเร่งด่วน พนักงานเจ้าหน้าที่จะยื่นคําร้องตามวรรคหนึ่งไปก่อนที่จะได้รับ ความเห็นชอบจากรัฐมนตรี หรือพนักงานเจ้าหน้าที่โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการกลั่นกรอง ข้อมูลคอมพิวเตอร์จะยื่นคําร้องตามวรรคสองไปก่อนที่รัฐมนตรีจะมอบหมายก็ได้ แต่ทั้งนี้ต้องรายงาน ให้รัฐมนตรีทราบโดยเร็ว”


หน้า 32

เล่ม 134 ตอนที่ 10 ก ราชกิจจานุเบกษา 24 มกราคม 2560

มาตรา 15 ให้ยกเลิกความในวรรคสองของมาตรา 21 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วย การกระทําความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ชุดคําสั่งไม่พึงประสงค์ตามวรรคหนึ่งหมายถึงชุดคําสั่งที่มีผลทําให้ข้อมูลคอมพิวเตอร์  หรือระบบคอมพิวเตอร์หรือชุดคําสั่งอ่ืนเกิดความเสียหาย ถูกทําลาย ถูกแก้ไขเปลี่ยนแปลงหรือเพิ่มเติม  ขัดข้องหรือปฏิบัติงานไม่ตรงตามคําสั่ง หรือโดยประการอื่นตามที่กําหนดในกฎกระทรวง เว้นแต่ เป็นชุดคําสั่งไม่พึงประสงค์ที่อาจนํามาใช้เพื่อป้องกันหรือแก้ไขชุดคําสั่งดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ รัฐมนตรี อาจประกาศในราชกิจจานุเบกษากําหนดรายชื่อ ลักษณะ หรือรายละเอียดของชุดคําสั่งไม่พึงประสงค์ ซึ่งอาจนํามาใช้เพื่อป้องกันหรือแก้ไขชุดคําสั่งไม่พึงประสงค์ก็ได้”  

มาตรา 16 ให้ยกเลิกความในมาตรา 22 มาตรา 23 มาตรา 24 

และมาตรา 25  แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทําความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “มาตรา 22 ห้ามมิให้พนักงานเจ้าหน้าที่และพนักงานสอบสวนในกรณีตามมาตรา 18 วรรคสอง  เปิดเผยหรือส่งมอบข้อมูลคอมพิวเตอร์ ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ หรือข้อมูลของผู้ใช้บริการที่ได้มา ตามมาตรา 18 ให้แก่บุคคลใด

ความในวรรคหนึ่งมิให้ใช้บังคับกับการกระทําเพื่อประโยชน์ในการดําเนินคดีกับผู้กระทําความผิด ตามพระราชบัญญัตินี้หรือผู้กระทําความผิดตามกฎหมายอื่นในกรณีตามมาตรา ๑๘ วรรคสอง  หรือเพื่อประโยชน์ในการดําเนินคดีกับพนักงานเจ้าหน้าที่เกี่ยวกับการใช้อํานาจหน้าที่โดยมิชอบ หรือกับพนักงานสอบสวนในส่วนที่เกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรา 18 วรรคสอง โดยมิชอบ  หรือเป็นการกระทําตามคําสั่งหรือที่ได้รับอนุญาตจากศาล

พนักงานเจ้าหน้าที่หรือพนักงานสอบสวนผู้ใดฝ่าฝืนวรรคหนึ่งต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินสามปี  หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ  มาตรา 23 พนักงานเจ้าหน้าที่หรือพนักงานสอบสวนในกรณีตามมาตรา 18 วรรคสอง  ผู้ใดกระทําโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นล่วงรู้ข้อมูลคอมพิวเตอร์ ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ หรือข้อมูล ของผู้ใช้บริการ ที่ได้มาตามมาตรา 18 ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท  หรือทั้งจําทั้งปรับ   มาตรา 24 ผู้ใดล่วงรู้ข้อมูลคอมพิวเตอร์ ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ หรือข้อมูลของ ผู้ใช้บริการที่พนักงานเจ้าหน้าที่หรือพนักงานสอบสวนได้มาตามมาตรา ๑๘ และเปิดเผยข้อมูลนั้นต่อ ผู้หนึ่งผู้ใด ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ   มาตรา 25 ข้อมูล ข้อมูลคอมพิวเตอร์ หรือข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ที่พนักงานเจ้าหน้าที่ได้มา ตามพระราชบัญญัตินี้หรือที่พนักงานสอบสวนได้มาตามมาตรา 18 วรรคสอง ให้อ้างและรับฟังเป็น พยานหลักฐานตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาหรือกฎหมายอื่นอันว่าด้วย


หน้า 33

เล่ม 134 ตอนที่ 10 ก ราชกิจจานุเบกษา 24 มกราคม 2560

การสืบพยานได้ แต่ต้องเป็นชนิดที่มิได้เกิดขึ้นจากการจูงใจ มีคํามั่นสัญญา ขู่เข็ญ หลอกลวง หรือโดยมิชอบ ประการอื่น”  

มาตรา 17 ให้ยกเลิกความในวรรคหนึ่งของมาตรา 26 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วย การกระทําความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “มาตรา 26 ผู้ให้บริการต้องเก็บรักษาข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ไว้ไม่น้อยกว่าเก้าสิบวัน นับแต่วันที่ข้อมูลนั้นเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ แต่ในกรณีจําเป็น พนักงานเจ้าหน้าที่จะสั่งให้ผู้ให้บริการผู้ใด เก็บรักษาข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ไว้เกินเก้าสิบวันแต่ไม่เกินสองปีเป็นกรณีพิเศษเฉพาะราย และเฉพาะคราวก็ได้”  

มาตรา 18 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นวรรคสองและวรรคสาม

ของมาตรา 28 แห่งพระราชบัญญัติ ว่าด้วยการกระทําความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550  

ผู้ที่ได้รับการแต่งตั้งเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้ อาจได้รับค่าตอบแทนพิเศษ ตามที่รัฐมนตรีกําหนดโดยได้รับความเห็นชอบจากกระทรวงการคลัง

ในการกําหนดให้ได้รับค่าตอบแทนพิเศษต้องคํานึงถึงภาระหน้าที่ ความรู้ความเชี่ยวชาญ  ความขาดแคลนในการหาผู้มาปฏิบัติหน้าที่หรือมีการสูญเสียผู้ปฏิบัติงานออกจากระบบราชการเป็นจํานวนมาก  คุณภาพของงาน และการดํารงตนอยู่ในความยุติธรรมโดยเปรียบเทียบค่าตอบแทนของผู้ปฏิบัติงานอื่น ในกระบวนการยุติธรรมด้วย”  

มาตรา 19 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นมาตรา 31 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทําความผิด เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550  มาตรา 31 ค่าใช้จ่ายในเรื่องดังต่อไปนี้ รวมทั้งวิธีการเบิกจ่ายให้เป็นไปตามระเบียบที่รัฐมนตรี กําหนดโดยได้รับความเห็นชอบจากกระทรวงการคลัง

(1) การสืบสวน การแสวงหาข้อมูล และรวบรวมพยานหลักฐานในคดีความผิดตามพระราชบัญญัตินี้

(2) การดําเนินการตามมาตรา 18 วรรคหนึ่ง (4) (5) (6) (7) และ (8) และมาตรา 20

(3) การดําเนินการอื่นใดอันจําเป็นแก่การป้องกันและปราบปรามการกระทําความผิด ตามพระราชบัญญัตินี้”  

มาตรา 20 บรรดาระเบียบหรือประกาศที่ออกตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทําความผิด เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 ที่ใช้บังคับอยู่ในวันก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ให้ยังคง ใช้บังคับต่อไปเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทําความผิดเกี่ยวกับ คอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัตินี้ จนกว่าจะมีระเบียบหรือประกาศที่ต้อง ออกตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทําความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติม โดยพระราชบัญญัตินี้ ใช้บังคับ

 

หน้า 34

เล่ม 134 ตอนที่ 10 ก ราชกิจจานุเบกษา 24 มกราคม 2560

การดําเนินการออกระเบียบหรือประกาศตามวรรคหนึ่ง ให้ดําเนินการให้แล้วเสร็จภายในหกสิบวัน นับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ หากไม่สามารถดําเนินการได้ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัล เพื่อเศรษฐกิจและสังคมรายงานเหตุผลที่ไม่อาจดําเนินการได้ต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อทราบ  

มาตรา 21 ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมรักษาการ ตามพระราชบัญญัตินี้

 

ผู้รับสนองพระราชโองการ

พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา

นายกรัฐมนตรี


หน้า 35

เล่ม 134 ตอนที่ 10 ก ราชกิจจานุเบกษา 24 มกราคม 2560

หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทําความผิด เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 มีบทบัญญัติบางประการที่ไม่เหมาะสมต่อการป้องกันและปราบปราม การกระทําความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ในปัจจุบัน ซึ่งมีรูปแบบการกระทําความผิดที่มีความซับซ้อนมากขึ้น ตามพัฒนาการทางเทคโนโลยีซึ่งเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและโดยที่มีการจัดตั้งกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจ และสังคมซึ่งมีภารกิจในการกําหนดมาตรฐานและมาตรการในการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ รวมทั้ง การเฝ้าระวังและติดตามสถานการณ์ด้านความมั่นคงปลอดภัยของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของประเทศ  สมควรปรับปรุงบทบัญญัติในส่วนที่เกี่ยวกับผู้รักษาการตามกฎหมาย กําหนดฐานความผิดขึ้นใหม่ และแก้ไข เพิ่มเติมฐานความผิดเดิม รวมทั้งบทกําหนดโทษของความผิดดังกล่าว การปรับปรุงกระบวนการและหลักเกณฑ์ ในการระงับการทําให้แพร่หลายหรือลบข้อมูลคอมพิวเตอร์ ตลอดจนกําหนดให้มีคณะกรรมการเปรียบเทียบ ซึ่งมีอํานาจเปรียบเทียบความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทําความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550  และแก้ไขเพิ่มเติมอํานาจหน้าที่ของพนักงานเจ้าหน้าที่ให้เหมาะสมยิ่งขึ้น จึงจําเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้

-----------------------------

พ.ร.บ. สรุปการกระทำความผิด

เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2560

เมื่อวันที่ 23 มกราคม 2560 สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร มีพระราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศใช้ กฎหมายว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวคอมพิวเตอร์ ฉบับที่ 2 พ.ศ.2560 ซึ่ง พ.ร.บ.ดังกล่าว ได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมอัตราโทษปรับหรือจำคุก ฐานส่งข้อมูลก่อให้เกิดความเดือดร้อนรำคาญแก่ผู้รับ หรือนำข้อมูลเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ บิดเบือน ลามก ตัดต่อภาพผู้อื่นให้เสียชื่อเสียง อับอาย รวมถึงมาตรการบรรเทาความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการกระทำความผิด โดยมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม 2560

     เพื่อให้การใช้ออนไลน์เป็นไปอย่างถูกกฎหมาย เราจะสรุปสาระ พระราชบัญญัติว่าด้วย การกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2560 แบบง่ายๆ ดังนี้

1.      การฝากร้านใน Facebook IG ถือเป็นสแปม ปรับ 200,000 บาท
2. ส่ง SMS มาโฆษณา โดยไม่รับความยินยอม ต้องมีทางเลือกให้ผู้รับสามารถปฏิเสธข้อมูลนั้นได้ ไม่เช่นนั้นถือเป็นสแปม ปรับ 200,000 บาท
3. ส่ง e-Mail ขายของ ถือเป็นสแปม ปรับ 200,000 บาท
4. กด Like ได้ไม่ผิด พ.ร.บ. ยกเว้นการกด Like เรื่องเกี่ยวกับสถาบัน เสี่ยงเข้าข่ายความผิดมาตรา 112 หรือมีความผิดร่วม
5. กด Share ถือเป็นการเผยแพร่ หากข้อมูลที่ Share นั้นมีผลกระทบต่อผู้อื่น อาจเข้าข่ายความผิดตาม พ.ร.บ.โดยเฉพาะที่กระทบต่อบุคคลที่ 3
6. พบข้อมูลผิดกฎหมายอยู่ในระบบคอมพิวเตอร์ของเรา แต่ไม่ใช่สิ่งที่เจ้าของคอมพิวเตอร์กระทำเอง สามารถแจ้งไปยังหน่วยงานที่รับผิดชอบได้ หากแจ้งแล้วลบข้อมูลออกเจ้าของก็จะไม่มีความผิดตามกฎหมาย เช่น ความเห็นในเว็บไซต์ต่างๆ รวมไปถึง Facebook ที่ให้แสดงความคิดเห็น หากพบว่าการแสดงความเห็นผิดกฎหมาย เมื่อแจ้งไปที่หน่วยงานที่รับผิดชอบเพื่อลบได้ทันที เจ้าของระบบเว็บไซต์จะไม่มีความผิด
7. ฉะนั้น Admin ที่เปิดให้มีการแสดงความเห็น เมื่อพบข้อความที่ผิด พ.ร.บ. เมื่อลบออกจากพื้นที่ที่ตนดูแล จะถือเป็นผู้พ้นผิด แต่หากไม่ยอมลบออก จะมีโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี ปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
8. การ Post สิ่งลามกอนาจาร ที่ทำให้เกิดการเผยแพร่สู่ประชาชนได้ จำคุกไม่เกิน 5 ปี ปรับไม่เกิน 100,000 บาท
9. การ Post เกี่ยวกับเด็ก เยาวชน ต้องปิดบังใบหน้า ยกเว้นเมื่อเป็นการเชิดชู ชื่นชมอย่างให้เกียรติ
10. การให้ข้อมูลเกี่ยวกับผู้เสียชีวิต ต้องไม่ทำให้เกิดความเสื่อมเสียเชื่อเสียง หรือถูกดูหมิ่นเกลียดชัง ญาติสามารถฟ้องร้องได้ตามกฎหมาย มีโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี ปรับไม่เกิน 200,000 บาท
11. การ Post ด่าว่าผู้อื่น มีกฎหมายอาญาอยู่แล้ว ไม่มีข้อมูลจริง หรือถูกตัดต่อ ผู้ถูกกล่าวหา เอาผิดผู้ Post ได้ โทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี ปรับไม่เกิน 200,000 บาท
12. ไม่ทำการละเมิดลิขสิทธิ์ผู้ใด ไม่ว่าข้อความ เพลง รูปภาพ หรือวิดีโอ
13. ส่งรูปภาพแชร์ของผู้อื่น เช่น สวัสดี อวยพร ไม่ผิด ถ้าไม่เอาภาพไปใช้ในเชิงพาณิชย์ หารายได้

-----------------------------------

จรรยาบรรณวิชาชีพการแพทย์แผนไทย พ.ศ. 2557


หน้า 20

เล่ม 131 ตอนพิเศษ 204 ง ราชกิจจานุเบกษา 13 ตุลาคม 2557

ข้อบังคับสภาการแพทย์แผนไทย

ว่าด้วยจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพการแพทย์แผนไทย พ.ศ. 2557

อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 24 (4) (ฏ) ประกอบมาตรา 30 แห่งพระราชบัญญัติ วิชาชีพการแพทย์แผนไทย พ.ศ. 2556 คณะกรรมการสภาการแพทย์แผนไทยโดยความเห็นชอบของ สภานายกพิเศษ จึงออกข้อบังคับไว้ ดังต่อไปนี้

ข้อ 1 ข้อบังคับนี้เรียกว่า “ข้อบังคับสภาการแพทย์แผนไทย ว่าด้วยจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพ การแพทย์แผนไทย พ.ศ. 2557”

ข้อ 2 ข้อบังคับนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

ข้อ 3 ในข้อบังคับนี้

“วิชาชีพการแพทย์แผนไทย” หมายความว่า วิชาชีพที่เกี่ยวกับการประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทย และการประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทยประยุกต์

“ผู้ประกอบวิชาชีพ” หมายความว่า บุคคลซึ่งได้ขึ้นทะเบียนและรับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพ การแพทย์แผนไทยหรือผู้ประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทยประยุกต์จากสภาการแพทย์แผนไทย “คณะกรรมการว่าด้วยจริยธรรมการทําวิจัยในมนุษย์” หมายความว่า คณะกรรมการที่สถาบัน องค์กรหรือหน่วยงานแต่งตั้งขึ้นเพื่อทําหน้าที่ทบทวนพิจารณาด้านจริยธรรมของการศึกษาวิจัยและ การทดลองในมนุษย์ เพื่อคุ้มครองสิทธิ ความปลอดภัยและความเป็นอยู่ที่ดีของอาสาสมัครในการศึกษาวิจัย และการทดลองในมนุษย์



หมวด 1

หลักทั่วไป

ข้อ 4 ผู้ประกอบวิชาชีพย่อมดํารงตนให้สมควรในสังคมโดยธรรม เคารพต่อกฎหมาย ของบ้านเมือง

ข้อ 5 ผู้ประกอบวิชาชีพย่อมไม่ประพฤติหรือกระทําการใด ๆ อันอาจเป็นเหตุให้เสื่อมเสีย เกียรติศักดิ์แห่งวิชาชีพ

ข้อ 6 ผู้ประกอบวิชาชีพย่อมประกอบวิชาชีพ โดยยึดถือสุขภาพและความปลอดภัยของผู้ป่วย และประชาชนเป็นเป้าหมายสูงสุด โดยไม่คํานึงถึงฐานะ เชื้อชาติ สัญชาติ ศาสนา สังคมหรือการเมือง

หน้า 21

เล่ม 131 ตอนพิเศษ 204 ง ราชกิจจานุเบกษา 13 ตุลาคม 2557

หมวด 2

การประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทย

ข้อ 7 ผู้ประกอบวิชาชีพพึงหมั่นศึกษาหาความรู้ ความก้าวหน้าทางวิชาการต่างๆ เพื่อรักษาไว้ ซึ่งมาตรฐานแห่งวิชาชีพการแพทย์แผนไทย ตามที่สภาวิชาชีพการแพทย์แผนไทยกําหนด

ข้อ 8 ผู้ประกอบวิชาชีพต้องรักษามาตรฐานของการประกอบวิชาชีพในระดับที่ดีที่สุด และพยายามให้ผู้ป่วยพ้นจากอาการทรมานจากโรคและความพิการต่างๆ โดยไม่เรียกร้องสินจ้างรางวัลพิเศษ นอกเหนือจากค่าบริการที่ควรได้รับตามปกติ

ข้อ 9 ประกอบวิชาชีพต้องไม่จูงใจหรือชักชวนให้ผู้ป่วยมารับบริการทางวิชาชีพเพื่อผลประโยชน์ ของตน

ข้อ 10 ผู้ประกอบวิชาชีพต้องไม่ให้หรือรับผลประโยชน์เป็นค่าตอบแทนเนื่องจากการรับ หรือส่งผู้ป่วยเพื่อรับบริการทางการแพทย์

ข้อ 11 ผู้ประกอบวิชาชีพต้องปฏิบัติต่อผู้ป่วยโดยสุภาพมีน้ําใจ มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี ปราศจาก การบังคับขู่เข็ญ ล่วงเกินและลวนลามผู้ป่วยด้วยกาย วาจา ใจ ทางด้านกามารมณ์และอื่น ๆ

ข้อ 12 ผู้ประกอบวิชาชีพต้องไม่หลอกลวงผู้ป่วยให้หลงเข้าใจผิดในการประกอบวิชาชีพ

ข้อ 13 ผู้ประกอบวิชาชีพต้องไม่ประกอบวิชาชีพโดยไม่คํานึงถึงความปลอดภัยและความสิ้นเปลือง ของผู้ป่วย

ข้อ 14 ผู้ประกอบวิชาชีพต้องไม่ให้คํารับรองอันเป็นเท็จ

ข้อ 15 ผู้ประกอบวิชาชีพต้องไม่เปิดเผยความลับของผู้ป่วยซึ่งตนทราบมาเนื่องจาก การประกอบวิชาชีพ เว้นแต่ด้วยความยินยอมของผู้ป่วย หรือเมื่อต้องปฏิบัติตามกฎหมายหรือตามหน้าที่

ข้อ 16 ผู้ประกอบวิชาชีพต้องไม่ปฏิเสธการช่วยเหลือผู้ที่อยู่ในระยะอันตรายจากการเจ็บป่วย เมื่อได้รับคําขอร้องและตนอยู่ในฐานะที่จะช่วยได้

ข้อ 17 ผู้ประกอบวิชาชีพพึงให้คําแนะนําเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพและการใช้ยาแก่ผู้ป่วย

ข้อ 18 ผู้ประกอบวิชาชีพต้องไม่ใช้หรือสนับสนุนให้มีการประกอบวิชาชีพโดยผิดกฎหมาย

หมวด 3

การโฆษณาการประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทย

ข้อ 19 ผู้ประกอบวิชาชีพต้องไม่โฆษณา ใช้ จ้างหรือยินยอมให้ผู้อื่นโฆษณาการประกอบวิชาชีพ ความรู้ความชํานาญในการประกอบวิชาชีพของตน

ข้อ 20 ผู้ประกอบวิชาชีพต้องไม่โฆษณา ใช้ จ้างหรือให้ผู้อื่นโฆษณาการประกอบวิชาชีพ ความรู้ความชํานาญในการประกอบวิชาชีพของผู้อื่น

หน้า 22

เล่ม 131 ตอนพิเศษ 204 ง ราชกิจจานุเบกษา 13 ตุลาคม 2557

ข้อ 21 การโฆษณาตามข้อ 19 และข้อ 20 อาจกระทําได้ในกรณีต่อไปนี้

(1) การแสดงผลงานในวารสารทางวิชาการหรือในการประชุมวิชาการ

(2) การแสดงผลงานในหน้าที่ หรือในการบําเพ็ญประโยชน์สาธารณะ

(3) การแสดงผลงานหรือความก้าวหน้า ทางวิชาการเพื่อการศึกษาของมวลชน

(4) การประกาศเกียรติคุณเป็นทางการโดยสถาบันวิชาการ สมาคม หรือมูลนิธิ

ข้อ 22 ผู้ประกอบวิชาชีพสามารถแสดงข้อความเกี่ยวกับการประกอบวิชาชีพของตนที่สถานที่ ทําการประกอบวิชาชีพได้เพียงข้อความเฉพาะเรื่องต่อไปนี้

(1) ชื่อนามสกุล และอาจมีคําประกอบชื่อได้เพียง ตําแหน่งทางวิชาการ ฐานันดรศักดิ์ ยศ และบรรดาศักดิ์เท่านั้น

(2) ชื่อปริญญา วุฒิบัตรหรือหนังสืออนุมัติ หรือหนังสือแสดงคุณวุฒิอย่างอื่น ซึ่งตนได้รับจาก สภาวิชาชีพการแพทย์แผนไทย หรือสถาบันที่ทางราชการรับรอง

(3) ประเภทของการประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทย

(4) เวลาทําการ

ข้อ 23 ผู้ประกอบวิชาชีพสามารถแจ้งข้อความการประกอบวิชาชีพ เฉพาะการแสดงที่อยู่ ที่ตั้งสถานที่ทําการประกอบวิชาชีพ หมายเลขโทรศัพท์ หรือการสื่อสารอื่น หรือข้อความที่อนุญาต ตามข้อ 22

ข้อ 24 ผู้ประกอบวิชาชีพผู้ทําการเผยแพร่ให้ข้อมูลทางวิชาการหรือตอบปัญหาเกี่ยวกับวิชาชีพ ทางสื่อมวลชน ถ้าแสดงตนว่าเป็นผู้ประกอบวิชาชีพต้องไม่แจ้งสถานที่ทําการประกอบวิชาชีพส่วนตัว ทํานองการโฆษณาและต้องไม่มีการแจ้งข้อความตามข้อ 22 ในที่เดียวกันหรือขณะเดียวกันนั้นด้วย

หมวด 4

การปฏิบัติต่อผู้ร่วมวิชาชีพ

ข้อ 25 ผู้ประกอบวิชาชีพพึงยกย่องให้เกียรติและเคารพในศักดิ์ศรีซึ่งกันและกัน รวมทั้ง สร้างความสามัคคีในหมู่ผู้ร่วมวิชาชีพ

ข้อ 26 ผู้ประกอบวิชาชีพต้องไม่เอาผลงานของผู้ประกอบวิชาชีพอื่นมาเป็นของตน

ข้อ 27 ผู้ประกอบวิชาชีพต้องไม่ให้ร้าย หรือดูหมิ่นเหยียดหยามผู้ร่วมวิชาชีพด้วยกัน

ข้อ 28 ผู้ประกอบวิชาชีพต้องไม่ชักจูงผู้ป่วยของผู้อื่นมาเป็นของตน

หมวด 5

การปฏิบัติต่อผู้ร่วมงาน

ข้อ 29 ผู้ประกอบวิชาชีพพึงยกย่องให้เกียรติและเคารพในศักดิ์ศรีของผู้ร่วมงาน ข้อ 30 ผู้ประกอบวิชาชีพต้องไม่ให้ร้าย หรือดูหมิ่นเหยียดหยามผู้ร่วมงาน

หน้า 23

เล่ม 131 ตอนพิเศษ 204 ง ราชกิจจานุเบกษา 13 ตุลาคม 2557

ข้อ 31 ผู้ประกอบวิชาชีพพึงส่งเสริมและสนับสนุนให้ผู้ร่วมงานมีโอกาสเพิ่มพูนความรู้ ทางวิชาการที่เกี่ยวข้อง



หมวด 6

การทดลองในมนุษย์

ข้อ 32 ผู้ประกอบวิชาชีพผู้ทําการทดลองในมนุษย์ต้องได้รับความยินยอมจากผู้ถูกทดลองเป็น ลายลักษณ์อักษร และต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการว่าด้วยจริยธรรมการทําวิจัยในมนุษย์

หมวด 7

การปฏิบัติตนเกี่ยวกับสถานที่ทําการประกอบวิชาชีพ

ข้อ 33 ผู้ประกอบวิชาชีพต้องปฏิบัติตนเกี่ยวกับสถานที่ทําการประกอบวิชาชีพตามกฎหมาย ว่าด้วยสถานพยาบาลและกฎหมายว่าด้วยยา

ประกาศ ณ วันที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2557

ทรงยศ ชัยชนะ

รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข ปฏิบัติราชการแทน

ปลัดกระทรวงสาธารณสุข

นายกสภาการแพทย์แผนไทย

-----------------------------------

ข้อบังคับสภาการแพทย์แผนไทย

ว่าด้วยการเป็นสมาชิกสภาการแพทย์แผนไทย พ.ศ. 2566


หน้า 51

เล่ม 140 ตอนพิเศษ 187 ง ราชกิจจานุเบกษา 7 สิงหาคม 2566 ข้อบังคับสภาการแพทย์แผนไทย

ว่าด้วยการเป็นสมาชิกสภาการแพทย์แผนไทย  พ.ศ. 2566

เพื่อให้ประชาชนหรือองค์กรอื่นใดที่เกี่ยวข้องกับการแพทย์แผนไทย มีส่วนร่วมเป็นสมาชิก  สภาการแพทย์แผนไทย โดยสร้างความร่วมมือในการช่วยเหลือ แนะนำ เผยแพร่ ให้การศึกษา แก่ประชาชน และองค์กรอื่นในเรื่องที่เกี่ยวกับการแพทย์แผนไทย ตลอดจนส่งเสริมการศึกษา  การพัฒนา การวิจัย การประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทย และการประกอบวิชาชีพการแพทย์ แผนไทยประยุกต์ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในการสืบทอด อนุรักษ์ ศึกษา วิจัย การพัฒนาภูมิปัญญา  รวมถึงองค์ความรู้ต่าง ๆ ทางการแพทย์แผนไทย และการรับเป็นสมาชิกสภาการแพทย์แผนไทย  เป็นไปด้วยความเรียบร้อยภายใต้หลักธรรมาภิบาลและสิทธิเสรีภาพของปวงชนชาวไทย ซึ่งได้รับ

ความคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย

อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 24 วรรคหนึ่ง (4) (ก) ประกอบมาตรา 30 วรรคหนึ่ง (1)  แห่งพระราชบัญญัติวิชาชีพการแพทย์แผนไทย พ.ศ. 2556 คณะกรรมการสภาการแพทย์แผนไทย  โดยความเห็นชอบของสภานายกพิเศษ จึงออกข้อบังคับไว้ ดังต่อไปนี้

ข้อ 1 ข้อบังคับนี้เรียกว่า “ข้อบังคับสภาการแพทย์แผนไทยว่าด้วยการเป็นสมาชิกสภาการแพทย์ แผนไทย พ.ศ. 2566”

ข้อ 2 ข้อบังคับนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

ข้อ 3 ให้ยกเลิก ข้อบังคับสภาการแพทย์แผนไทยว่าด้วยการเป็นสมาชิกสภาการแพทย์ แผนไทย พ.ศ. 2557 และข้อบังคับสภาการแพทย์แผนไทย ว่าด้วยการเป็นสมาชิกสภาการแพทย์ แผนไทย (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2559

บรรดาข้อบังคับ ระเบียบ ประกาศ หรือคำสั่งอื่นใดในส่วนที่ได้กำหนดไว้แล้วในข้อบังคับนี้  หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับข้อบังคับนี้ ให้ใช้ข้อบังคับนี้แทน

ข้อ 4 ในข้อบังคับนี้

คณะกรรมการ” หมายความว่า คณะกรรมการสภาการแพทย์แผนไทย

นายกสภา” หมายความว่า นายกสภาการแพทย์แผนไทย

เลขาธิการ” หมายความว่า เลขาธิการสภาการแพทย์แผนไทย

สมาชิก” หมายความว่า สมาชิกสภาการแพทย์แผนไทย

ข้อ 5 ให้นายกสภาการแพทย์แผนไทยเป็นผู้รักษาการตามข้อบังคับนี้เป็นผู้วินิจฉัยปัญหา เกี่ยวกับการปฏิบัติตามข้อบังคับหรือข้อบังคับนี้ไม่ได้กำหนดไว้ เพื่อปฏิบัติให้เป็นไปตามข้อบังคับนี้ ทั้งนี้ ต้องไม่ให้ขัดหรือแย้งกับกฎหมายมติของคณะรัฐมนตรี และระเบียบ ข้อบังคับ ข้อกำหนด  นโยบาย มติ หรือประกาศที่คณะกรรมการก าหนด


หน้า 52

เล่ม 140 ตอนพิเศษ 187 ง ราชกิจจานุเบกษา 7 สิงหาคม 2566

หมวด 1

การดำเนินการรับสมัครสมาชิก

ข้อ 6 ให้นายกสภาประกาศให้ประชาชนหรือองค์กรอื่นใดที่เกี่ยวข้องกับการแพทย์แผนไทย  ยื่นคำขอเป็นสมาชิกสภาการแพทย์แผนไทย เพื่อร่วมมือในการช่วยเหลือ แนะนำ เผยแพร่ และให้ การศึกษาแก่ประชาชนและองค์กรอื่นในเรื่องที่เกี่ยวกับการแพทย์แผนไทย ตลอดจนส่งเสริมการศึกษา  การพัฒนา การวิจัย การประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทย และการประกอบวิชาชีพการแพทย์ แผนไทยประยุกต์ให้เกิดความร่วมมือในการสืบทอด อนุรักษ์ ศึกษา วิจัย และพัฒนาภูมิปัญญา  รวมถึงองค์ความรู้ต่าง ๆ ทางการแพทย์แผนไทย

ประกาศตามวรรคหนึ่งอย่างน้อยต้องมีรายการ ดังต่อไปนี้

(1) ชื่อประกาศ

(2) เหตุผลหรือบทบัญญัติกฎหมายที่ให้อำนาจในการออกประกาศ

(3) รายละเอียดเกี่ยวกับคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของผู้ที่จะสมัครสมาชิก ระยะเวลา  และสถานที่ขอใบสมัคร สถานที่รับสมัครสมาชิก และวิธีการรับสมัครสมาชิก เอกสารและหลักฐาน ที่ใช้ในการสมัคร ค่าจดทะเบียนสมาชิก ค่าบำรุง ค่าธรรมเนียมในการสมัคร ค่าธรรมเนียมในการ ออกเอกสารประจำตัวใหม่ รวมทั้งวิธีการแจ้งผลการรับสมัครสมาชิก

(4) เงื่อนไข คุณสมบัติและหลักเกณฑ์ความรู้ในวิชาชีพการแพทย์แผนไทยที่กำหนดในการ  สมัครสมาชิก

(5) หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการสอบความรู้หรือการประเมินตามที่กำหนดในการ สมัครสมาชิก

(6) ชื่อบัตรสมาชิก

(7) รูปแบบของบัตรสมาชิก

(8) รูปแบบของหนังสือสำคัญการเป็นสมาชิก

(9) สิทธิประโยชน์ของสมาชิก

(10) วันออกประกาศ

หมวด 2

คุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของสมาชิก

ข้อ 7 สมาชิก แบ่งออกได้ ดังต่อไปนี้

(1) สมาชิกสามัญ

(2) สมาชิกวิสามัญ

(3) สมาชิกกิตติมศักดิ์


หน้า 53 

เล่ม 140 ตอนพิเศษ 187 ง ราชกิจจานุเบกษา 7 สิงหาคม 2566

ข้อ 8 สมาชิก ต้องมีคุณสมบัติทั่วไป และไม่มีลักษณะต้องห้าม ดังต่อไปนี้

ก. คุณสมบัติทั่วไป

(1) มีอายุไม่ต่ ากว่ายี่สิบปีบริบูรณ์

(2) มีความรู้ในวิชาชีพการแพทย์แผนไทย ดังต่อไปนี้

(ก) ได้รับการฝึกอบรมจากสถาบันหรือสถานพยาบาลที่สภาการแพทย์

แผนไทยรับรองโดยมีผู้ประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทยซึ่งได้รับอนุญาตให้ถ่ายทอดความรู้เป็นผู้ให้การอบรม และต้องสอบผ่านความรู้ตามที่กำหนดไว้ในข้อบังคับสภาการแพทย์แผนไทย หรือ (ข) ได้รับปริญญาหรือประกาศนียบัตรเทียบเท่าปริญญาสาขาการแพทย์

แผนไทยหรือสาขาการแพทย์แผนไทยประยุกต์จากสถาบันการศึกษาที่สภาการแพทย์แผนไทยรับรอง และต้องสอบผ่านความรู้ตามที่กำหนดไว้ในข้อบังคับสภาการแพทย์แผนไทย หรือ (ค) เป็นผู้ที่ส่วนราชการรับรองความรู้การแพทย์พื้นบ้านไทย โดยผ่าน

การประเมินหรือการสอบตามที่กำหนดไว้ในข้อบังคับสภาการแพทย์แผนไทย

ข. ลักษณะต้องห้าม

(1) เป็นผู้ประพฤติเสียหายซึ่งคณะกรรมการเห็นว่าจะนำมาซึ่งความเสื่อมเสีย เกียรติศักดิ์แห่งวิชาชีพ

(2) เป็นผู้เคยต้องโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดในคดีที่จะนำมาซึ่งความเสื่อมเสีย เกียรติศักดิ์แห่งวิชาชีพ

(3) เป็นผู้วิกลจริต จิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ หรือไม่เป็นโรคที่กำหนดไว้ใน ข้อบังคับสภาการแพทย์แผนไทย

ข้อ 9 สมาชิกสามัญ ต้องเป็นผู้ที่มีใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทยหรือ ผู้ประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทยประยุกต์ของสภาการแพทย์แผนไทย โดยมีคุณสมบัติทั่วไปและ ไม่มีลักษณะต้องห้ามตามข้อ 8

ข้อ 10 สมาชิกวิสามัญ เป็นผู้ที่มีความรู้ในวิชาชีพการแพทย์แผนไทย โดยมีคุณสมบัติทั่วไป และไม่มีลักษณะต้องห้ามตามข้อ 8

ข้อ 11 สมาชิกกิตติมศักดิ์ เป็นผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งคณะกรรมการแต่งตั้งโดยมติเป็นเอกฉันท์ โดยมีคุณสมบัติทั่วไปและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามข้อ 8

หมวด 3

คำขอเป็นสมาชิก หนังสือสำคัญการเป็นสมาชิก และบัตรสมาชิก

ข้อ 12 ให้เลขาธิการตรวจสอบคำขอเป็นสมาชิกและเอกสารประกอบ หากเห็นว่าถูกต้อง ครบถ้วน ให้เสนอต่อนายกสภา หรือสภาการแพทย์แผนไทยเพื่อพิจารณา แล้วแต่กรณี


หน้า 54

เล่ม 140 ตอนพิเศษ 187 ง ราชกิจจานุเบกษา 7 สิงหาคม 2566

ในกรณีที่เลขาธิการตรวจสอบแล้วเห็นว่าไม่ถูกต้องครบถ้วน ให้แจ้งผู้ยื่นคำขอดำเนินการแก้ไข ให้ถูกต้องหรือเพิ่มเติมเอกสารและหลักฐานให้ครบถ้วนภายในระยะเวลาที่กำหนด หากผู้ยื่นคำขอ ไม่ดำเนินการดังกล่าวให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลาที่กำหนด ให้ถือว่าผู้ยื่นคำขอไม่ประสงค์ จะเป็นสมาชิก

ข้อ 13 เมื่อนายกสภาหรือสภาการแพทย์แผนไทยพิจารณาอนุมัติหรือไม่อนุมัติให้เป็นสมาชิกแล้ว  ให้เลขาธิการแจ้งคำสั่งดังกล่าว ให้แก่ผู้ยื่นคำขอภายในสิบห้าวัน

ในกรณีที่ผู้ยื่นคำขอไม่เห็นด้วยกับคำสั่งไม่อนุมัติให้เป็นสมาชิกของนายกสภา ให้ผู้ยื่นคำขอยื่น อุทธรณ์เป็นหนังสือต่อคณะกรรมการภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำสั่งดังกล่าว คำวินิจฉัยของคณะกรรมการในกรณีดังกล่าว ให้ถือว่าเป็นที่สุด

ข้อ 14 ในกรณีที่ผู้ยื่นคำขอได้รับแจ้งคำสั่งอนุมัติให้เป็นสมาชิกแล้ว ให้ผู้ยื่นคำขอชำระ ค่าจดทะเบียนสมาชิก ค่าบำรุง ค่าธรรมเนียมในการเป็นสมาชิกตามประกาศและรายละเอียดที่กำหนดไว้ ในประกาศตามข้อ 6 ภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำสั่งดังกล่าว แล้วให้เลขาธิการลงทะเบียน สมาชิกและจัดทำหนังสือสำคัญการเป็นสมาชิกตามแบบที่ได้กำหนดไว้ในประกาศตามข้อ 6  แล้วแต่กรณี พร้อมออกบัตรประจำตัวสมาชิกซึ่งมีลายมือชื่อของนายกสภาเป็นหลักฐาน  

ข้อ 15 ในกรณีที่หนังสือสำคัญการเป็นสมาชิก หรือบัตรสมาชิกหมดอายุ สูญหาย  ถูกทำลายในสาระสำคัญ หรือประสงค์ขอออกเอกสารประจำตัวใหม่ เนื่องจากกรณีขอเปลี่ยนชื่อตัว  ชื่อสกุล ยศ ที่อยู่ ที่ติดต่อ รวมทั้งการแก้ไขเพิ่มเติมอื่น ๆ ให้ยื่นคำขอพร้อมชำระค่าธรรมเนียม  แล้วนำความตามข้อ 6 ข้อ 12 ข้อ 13 และข้อ 14 มาบังคับใช้โดยอนุโลม แล้วแต่กรณี

ข้อ 16 คำขอ ใบสมัคร การอนุญาต หรือการดำเนินการใด ๆ ตามข้อบังคับนี้ จะกระทำ ในรูปของข้อมูลและธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ก็ได้ ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยธุรกรรม ทางอิเล็กทรอนิกส์ 

หมวด 5

สิทธิ หน้าที่ของสมาชิก และการสิ้นสุดสมาชิกภาพ

ข้อ 17 สิทธิและหน้าที่ของสมาชิกสามัญ มีดังต่อไปนี้

(1) เป็นผู้ที่ได้รับการขึ้นทะเบียนและรับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทย หรือผู้ประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทยประยุกต์ ขอหนังสืออนุมัติหรือวุฒิบัตรแสดงความรู้ความชำนาญ ในการประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทย หรือการประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทยประยุกต์หรือ ขอหนังสือแสดงวุฒิอื่นในวิชาชีพการแพทย์แผนไทย โดยปฏิบัติตามข้อบังคับ ระเบียบ หรือประกาศ ของสภาการแพทย์แผนไทยว่าด้วยการนั้น

(2) แสดงความเห็นเป็นหนังสือเกี่ยวกับกิจการของสภาการแพทย์แผนไทยส่งไปยังคณะกรรมการ เพื่อพิจารณา และในกรณีที่สมาชิกรวมกันตั้งแต่ห้าสิบคนขึ้นไปเสนอให้คณะกรรมการพิจารณาเรื่องใด


หน้า 55

เล่ม 140 ตอนพิเศษ 187 ง ราชกิจจานุเบกษา 7 สิงหาคม 2566

ที่เกี่ยวกับกิจการของสภาการแพทย์แผนไทย คณะกรรมการต้องพิจารณาและแจ้งผลการพิจารณา ให้ผู้เสนอทราบภายในเก้าสิบวันนับแต่วันได้รับเรื่อง

(3) เลือก รับเลือก หรือรับเลือกตั้งเป็นกรรมการ เฉพาะสมาชิกที่มีใบอนุญาต

(4) ผดุงไว้ซึ่งเกียรติศักดิ์แห่งวิชาชีพและปฏิบัติตนตามพระราชบัญญัติวิชาชีพการแพทย์แผนไทย  พ.ศ. 2556

(5) ส่งเสริมความสามัคคีและผดุงเกียรติของสมาชิก

(6) ผดุงไว้ซึ่งสิทธิ ความเป็นธรรม และส่งเสริมสวัสดิการให้แก่สมาชิก

(7) สิทธิประโยชน์ของสมาชิกตามที่ได้กำหนดไว้ในประกาศตามข้อ 6 แล้วแต่กรณี โดยไม่ขัด ต่อกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้อง

ข้อ 18 สิทธิและหน้าที่ของสมาชิกวิสามัญ มีดังต่อไปนี้

(1) ขอหนังสืออนุมัติหรือวุฒิบัตรแสดงความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพการแพทย์ แผนไทย หรือการประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทยประยุกต์หรือขอหนังสือแสดงวุฒิอื่นในวิชาชีพ การแพทย์แผนไทย โดยปฏิบัติตามข้อบังคับ ระเบียบ หรือประกาศของสภาการแพทย์แผนไทยว่าด้วยการนั้น

(2) แสดงความเห็นเป็นหนังสือเกี่ยวกับกิจการของสภาการแพทย์แผนไทยส่งไปยังคณะกรรมการ เพื่อพิจารณา

(3) ผดุงไว้ซึ่งเกียรติศักดิ์แห่งวิชาชีพและปฏิบัติตนตามพระราชบัญญัติวิชาชีพการแพทย์แผนไทย  พ.ศ. 2556

(4) ส่งเสริมความสามัคคีและผดุงเกียรติของสมาชิก

(5) ผดุงไว้ซึ่งสิทธิ ความเป็นธรรม และส่งเสริมสวัสดิการให้แก่สมาชิก

(6) สิทธิประโยชน์ของสมาชิกตามที่ได้กำหนดไว้ในประกาศตามข้อ 6 แล้วแต่กรณี  โดยไม่ขัดต่อกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้อง

ข้อ 19 สิทธิและหน้าที่ของสมาชิกกิตติมศักดิ์ มีดังต่อไปนี้

(1) ขอหนังสืออนุมัติหรือวุฒิบัตรแสดงความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพการแพทย์ แผนไทย หรือการประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทยประยุกต์หรือขอหนังสือแสดงวุฒิอื่นในวิชาชีพ การแพทย์แผนไทย โดยปฏิบัติตามข้อบังคับ ระเบียบ หรือประกาศของสภาการแพทย์แผนไทย ว่าด้วยการนั้น

(2) แสดงความเห็นเป็นหนังสือเกี่ยวกับกิจการของสภาการแพทย์แผนไทยส่งไปยังคณะกรรมการ เพื่อพิจารณา

(3) ผดุงไว้ซึ่งเกียรติศักดิ์แห่งวิชาชีพและปฏิบัติตนตามพระราชบัญญัติวิชาชีพการแพทย์แผนไทย  พ.ศ. 2556

(4) ส่งเสริมความสามัคคีและผดุงเกียรติของสมาชิก

(5) ผดุงไว้ซึ่งสิทธิ ความเป็นธรรม และส่งเสริมสวัสดิการให้แก่สมาชิก

 

หน้า 56

เล่ม 140 ตอนพิเศษ 187 ง ราชกิจจานุเบกษา 7 สิงหาคม 2566

(6) สิทธิประโยชน์ของสมาชิกตามที่ได้กำหนดไว้ในประกาศตามข้อ 6 แล้วแต่กรณี โดยไม่ขัด ต่อกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้อง

ข้อ 20 สมาชิกภาพของสมาชิกสิ้นสุดลงเมื่อ

(1) ตาย

(2) ลาออก

(3) ขาดคุณสมบัติตามข้อ 8

(4) คณะกรรมการมีมติให้พ้นจากสมาชิกภาพ เพราะเห็นว่าเป็นผู้นำมาซึ่งความเสื่อมเสีย เกียรติศักดิ์แห่งวิชาชีพโดยมีลักษณะต้องห้ามตามข้อ 8 ข (1) หรือ (2)

(5) มีลักษณะต้องห้ามตามข้อ 8 ข (3) และผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมจำนวนไม่น้อยกว่าสามคน  ซึ่งคณะกรรมการกำหนด ลงความเห็นว่าไม่สามารถบำบัดรักษาให้หายเป็นปกติได้หรือต้องใช้ ระยะเวลาในการบำบัดรักษาเกินกว่าสองปี

ในกรณีที่สมาชิกผู้ใดมีลักษณะต้องห้ามตามข้อ 8 ข (3) แต่ยังไม่ถึงขนาดที่สมาชิกภาพ สิ้นสุดลงตามวรรคหนึ่ง (5) คณะกรรมการอาจมีมติให้พักใช้ใบอนุญาตของสมาชิกผู้นั้นได้ โดยมี กำหนดเวลาตามที่เห็นสมควรแต่ไม่เกินสองปี และให้นำความในมาตรา 31 ตามพระราชบัญญัติ วิชาชีพการแพทย์แผนไทย พ.ศ. 2556 มาใช้บังคับโดยอนุโลม

ข้อ 21 เมื่อสมาชิกภาพของสมาชิกผู้ใดสิ้นสุดลง ให้สภาการแพทย์แผนไทยดำเนินการถอนชื่อ สมาชิกผู้นั้นออกจากทะเบียนสมาชิก

ประกาศ ณ วันที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2566

ชนิญญา ชัยสุวรรณ

นายกสภาการแพทย์แผนไทย









จบติวเข้มกฎหมายและจรรยาบรรณวิชาชีพการแพทย์แผนไทย 2567

-----------------------------------





No comments:

Post a Comment